พักนี้เหมือนว่าจะมีความพยายามผลักประเด็น ทาทา ปั่นจั่น ไปเป็นเรื่องสิทธิ์ในการวิจารณ์การเมืองของดารา
ผมชวนคิดแบบนี้
อย่างแรกในเรื่องสิทธิ์
ลองคิดกลับกันว่าคนทั่วไปมีสิทธิ์วิจารณ์ดารากันขนาดไหน
แน่นอนเราวิจารณ์ได้ว่า "แสดงไม่ดี" "ร้องเพลงห่วย" "หนังบทไม่ได้เรื่อง" เพราะมันเป็นส่วนของงาน
ดาราอยากให้คนพูดถึงตัวเองว่า "ฉันจะไปดักตบอีXX" "อีตุ๊ด" "อีกระxรี่" หรือเปล่า?
ถ้าพวกคุณโดนแบบนี้ ก็คงรู้สึกว่า มันไม่ใช่การวิจารณ์ติชมแล้วเหมือนกันแหละ
อย่างที่สอง ในเรื่องความเป็นจริงทางธุรกิจ
สมมุติคุณเปิดร้านเหล้า มีนักศึกษามาเป็นลูกค้า แล้วมานั่งบ่นกันทุกวันว่า "อาจารย์แม่งแย่ว่ะให้ F กู"
คุณจะเดินไปพูดกับลูกค้าว่า "พี่ว่าไม่ใช่ความผิดอาจารย์หรอก เป็นเพราะน้องใช้ชิวิตแบบนี้ เอาแต่กินเหล้าทุกวันนี้แหละ น้องเลิกกินเหล้าแล้วไปอ่านหนังสือเถอะ" หรือเปล่า?
ผมว่านักศึกษาได้ยินคงบอกว่า "ครับพี่ ผมเชื่อพี่ จะไม่มีร้านพี่อีกแล้ว เอาเวลาไปอ่านหนังสือดีกว่า"
ลองคิดถึงร้านอาหารแถวบ้าน ระหว่างร้านที่พนักงานพูดจาดีบริการดี กับร้านที่พนักงานปากเสีย ด่าลูกค้า คิดว่าคนอยากจะไปที่ไหน
ใครจะไปยืนด่าลูกค้าตัวเองหน้าร้าน
ขนาดแท็กซี่นั่งคุยเรื่องการเมือง เรายังไม่ค่อยอยากขึ้นเลย
ตรงส่วนนี้แน่นอนว่า ถึงมันจะอยู่ในขอบเขตของการวิจารณ์ และทุกคนมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
แต่ความเป็นจริง สิทธิ์ในการควักเงินออกมาจากกระเป๋า เพื่อซื้อสินค้า และบริการของเราเป็นของลูกค้า
ถ้าคุณขายประกัน ลูกค้าให้เข้าบ้าน เดินเข้าไปแขวนนกหวีด มีรูปไปม็อบกู้ชาติ คุณจะบอกว่า "ประกันผมไม่ขายให้สลิ่ มหรอก" แล้วเดินออกจากบ้านป่ะ
ความเห็นส่วนตัว กับความเป็นโปรทางอาชีพเลยแยกจากกัน ต่อให้ประเทศเสรีจัดๆอย่างสหรัฐเอง ก็คงไม่อยากให้พนักงานที่ส่งผลต่อแบรนด์ทวีตอะไรที่จะมีผลทำให้เสียลูกค้าเท่าไหร่
ความยากของการเป็นดารามันอยู่ตรงนี้แหละ เพราะดาราเป็นอาชีพขายความนิยม ยกเว้นจะขายเฉพาะกลุ่มแฟนคลับที่โอเคกับเรื่องพวกนี้ หรือชินไปแล้วอย่างพี่เสก จะด่าใครก็ไม่มีใครว่า
ส่วนใหญ่ถ้ามีการห้ามแสดงความเห็นทางการเมือง ผมคิดว่าก็คงออกมาจากค่าย เพื่อปกป้องผลรายได้ของดาราเองนั่นแหละ
#มิตรสหายท่านหนึ่ง