วันนี้จึงมีผู้ที่พูดถึงแอนนิมอลฟาร์มนี้กันเยอะ
ผมเดาว่าหลายคนคงจะไม่มีเวลาอ่าน สรุปให้ฟังเลยดีกว่าว่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร
animal farm เป็นนิยายที่โดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวบริเตน ปรมจารย์ด้านงานเขียนแนวเสียดสีการเมือง
ผมสารภาพว่าเคยอ่านงานออร์เวลล์แค่สามเรื่องคือ แอนนิมอลฟาร์ม, 1984, กับ แด่คันตาโลเนีย
จอร์จ ออร์เวลล์ เกิดปี 1903 ที่อินเดีย (ซึ่งยังเป็นอาณานิคมของ UK) เคยทำงานที่พม่า (ของ UK) ก่อนจะย้ายไปอังกฤษ สมัยหนุ่มเคยประทับใจอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายจึงไปช่วยพวกฝ่ายซ้ายรบในสงครามกลางเมืองสเปน แต่ก็พบกับความไร้ประสิทธิภาพของฝ่ายซ้าย (ซึ่งเล่าประสบการณ์มาเป็นเรื่อง แด่คันตาโลเนีย) สุดท้ายก็ไปทำงานให้ BBC
ประสบการณ์ทำให้ออร์เวลล์ เห็นทั้งความไม่เป็นธรรมในอาณานิคม การแบ่งแยกชนชั้นในสังคมอังกฤษสมัยนั้น การเอาเปรียบของฝ่ายขวาและ ความไร้ประสิทธิภาพของฝ่ายซ้าย และความน่ารังเกียจของการโฆษณาชวนเชื่อ
แอนนิมอลฟาร์ม เป็นนิยายเสียดสีเผด็จการณ์ ซึ่งทำให้อ่านง่ายเหมือนนิทาน และสนุกด้วย
เรื่องคือฟาร์มแห่งหนึ่งซึ่งมีเจ้าของคือชาวไร่ขี้เมา ชาวไร่เอาแค่กดขี่ใช้แรงงานสัตว์ จนในที่สุดสัตว์ก็ทนไม่ไหวจนเกิดจลาจลขึ้น นำโดย หมูตัวหนึ่งชื่อ เทศมนตรีเฒ่า
ซึ่งชาวไร่คือซาร์นิโคลาส - เทศมนตรีเฒ่าคือเลนิน นั่นเอง
พวกสัตว์ช่วยกันอย่างแข็งขัน ในช่วงแรกทุกอย่างดูยิ่งใหญ่ สดใสไปหมด ในที่สุดสัตว์ก็เอาชนะ ไล่มนุษย์ออกไป และเริ่มปกครองไร่
พวกเขาเขียนกฎบนผนังฟาร์มเช่น "สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน" และเริ่มเขียนกฎขึ้นเพื่อไม่ให้สัตว์ทำตัวเหมือนมนุษย์ เช่นห้ามยืนสองขา ห้ามใส่เสื้อ ห้ามดื่มเหล้า (แต่จริงๆก็แทนจะไม่มีสัตว์ตัวไหนอ่านออก)
แต่แล้วเทศมนตรีเฒ่าก็ตาย
อำนาจตกเป็นของหมูนโปเลียน (สตาร์ลิน) หมูทหาร กับหมูสโนบอล (ตอร์ทสกี้) หมูฉลาด
พวกหมูเริ่มหว่านล้อมเหล่าสัตว์ว่าควรอยู่ใต้การปกครองของหมู เพราะหมูฉลาดว่าสัตว์อื่น หมูจึงควรมีหน้าที่ปกครอง ม้าที่ขยันแต่โง่ควรทำนา เป็นการแบ่งงานกันทำ เพื่อประโยชน์สูงสุดของฟาร์มและเหล่าสัตว์
นโปเลียนให้ลูกน้องชื่อ สวีเลอร์ไปโฆษณาชวนเชื่อหลอกสัตว์ เช่นบอกว่า "จะทำให้แต่ละสัปดาห์มี 5 วัน จะได้ทำงานน้อยลง เหลือแค่ทำสัปดาห์ละ 5 วัน"
สโนบอลพยายามแย่งอำนาจ แต่ก็ถูกนโปเลียนเขียทิ้ง ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จจนต้องหนีออกจากฟาร์ม
จากนั้นสวีเลอร์ก็อัดโฆษณาชวนเชื่อว่า สโนบอลติดต่อกับมนุษย์
นโปเลียนปกครองไร่เบ็ดเสร็จ ควบคุมการจัดการอาหาร และสั่งทำโครงการกังหันน้ำ ซึ่งตอนแรกเป็นแนวคิดของสโนบอล แต่แน่นอนว่าลูกน้องโฆษณาว่าเป็นวิสัยทัศน์ของท่านนโปเลียน
พวกสัตว์เริ่มรู้สึกว่าอาหารของตัวเองน้อยลงเรื่อยๆ แต่ลูกน้องของนโปเลียนก็บอกพวกสัตว์ว่าเป็นเพราะมนุษย์
เริ่มมีสัตว์สงสัยในตัวนโปเลียน แต่บ็อกเซอร์ ม้าผู้ซื่อสัตว์ ทำงานหนัก เป็นสัตว์ดี แต่โง่ ก็จะไปจัดการพวกผู้ต่อต้านนโปเลียน บ็อกเซอร์เชื่อว่าผู้ต่อต้านนโปเลียนคือสายของพวกมนุษย์
ในที่สุดนโปเลียนก็ติดต่อกับมนุษย์ เพื่อซื้อเหล้า แต่บ็อกเซอร์ (ตัวแทนของชนชั้นกรรมาชีพ) ไม่เคยสงสัยในตัวนโปเลียน
พวกหมูเริ่มยืนสองขา ใส่สูท พวกนี้เริ่มเอาผลผลิตในฟาร์มไปขายให้มนุษย์ และซื้อเหล้า ซื้ออาหารมากินกันเองในหมู่พวกหมู
ในที่สุด ฉากสุดท้ายของเรื่อง เป็นฉากที่พวกสัตว์มองเข้าไปในโรงนา เห็นหมูกำลังใส่สูทสังสรรค์กับมนุษย์โดยที่เหล่าสัตว์ไม่เกี่ยวข้องด้วย กฎที่กำแพงเหลืออยู่ข้อเดียวคือ "สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน แต่บางตัวเท่าเทียมว่าสัตว์ตัวอื่น" สุดท้ายแล้ว ก็ไม่แน่ใจว่าใครเป็นสัตว์ ใครเป็นมนุษย์
แอนนิมอลฟาร์มเป็นหนังสือที่ดี บาง อ่านง่าย เพราะเขียนเหมือนนิทาน ที่อังกฤษกำหนดให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของชั้นประถม
เรื่องนี้ผมเห็นด้วยกับลุงตู่ จริงๆควรจะกำหนดไว้ในหลักสูตรประถมหรือ ม.ต้น ให้เด็กอ่านกันทุกคน
เนื่องจาก จอร์จ ออร์เวลล์ เสียชีวิตไปนาน ลิขสิทธิ์หลุดไปแล้ว จึงอ่านฉบับภาษาอังกฤษฟรีได้ที่นี่ครับ
https://ebooks.adelaide.edu.au/o/orwell/george/o79a/complete.html
#มิตรสหายท่านหนึ่ง