"IPv9 เป็นแค่เรื่องโกหกวัน April Fool's Day ปี 1994"
.
เห็นคนแชร์ IPv9 มาหลายวัน ป่านนี้ก็ยังมีคนเชื่ออีก ตอนแรกว่าจะไม่เขียนละ แต่เพื่อไม่ให้เรื่องหลอกลวงมันกระจายไปมากกว่านี้ ก็ขอยืนยัน ณ ตรงนี้นะครับว่า "IPv9" เป็นเรื่อง "โกหก" ล้วน ๆ
.
แรกเริ่มตอนอินเทอร์เนตเกิดมา IPv4 ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อระบุว่าเครื่องไหนเป็นเครื่องไหน เหมือนกับบ้านเลขที่ของคอมพ์เครื่องนั้น ๆ ตอนที่ต่อเนตนั่นเอง
.
แต่ด้วยการที่ IPv4 เป็นตัวเลขขนาด 32 บิต จึงสามารถสร้างเลขที่ไม่ซ้ำกันได้เพียง 4,294,967,296 ตัวเลขเท่านั้น
.
ฟังดูเหมือนเยอะ ตอนหลายสิบปีที่แล้วตอนที่คนคิด IPv4 ขึ้นมาก็นึกว่ามันเยอะขนาดนี้ มันต้องพอสิ แต่จะบอกว่าตอนนี้จำนวนอุปกรณ์ที่ต่อเนตตอนนี้ได้ทะลุเลขนั้นไปที่เรียบร้อยแล้วจย้าาาา
.
ดูถูกกันไปละนะคนในอดีต !
.
นี่คือแค่อุปกรณ์มือถือ คอมพิวเตอร์ อะไรพวกนี้นะ ถ้าตลาด IoT บูมนี่คือเพิ่มมาอีกกี่พันล้านอุปกรณ์ก็ไม่รู้
.
ปี 1995 ตัว IPv6 จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับจำนวนอุปกรณ์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลด้วยตัวเลขขนาด 128 บิตหรือ ... คูณเป็นตัวเลขแล้วพูดยาก เอาเป็นว่าเยอะกว่าจำนวนเม็ดทรายในโลก จับทรายทุกเม็ดมาต่อเนตเลขยังเหลือว่างั้น
.
และมันก็จบแค่นั้น จะว่าไปจนถึงตอนนี้คนส่วนใหญ่ก็ยังคงคุ้นชินกับ IPv4 อยู่ดี (พวกตัวเลข 8.8.8.8 อะไรพวกนี้) ส่วน IPv6 นี่น้อยคนมากที่จะรู้ รวมถึงคนใช้งานจริงก็ยังน้อยมาก
.
แล้วถามว่าใครเป็นองค์กรที่กำหนด Internet Protocol ที่เราใช้ ๆ กันอยู่ ?
.
องค์กรนั้นมีนามว่า Internet Engineer Task Force (IETF) ซึ่งที่เห็น IPv4, IPv6 ก็ล้วนมาจากการตกลงร่วมกันผ่านองค์กรนี้ทั้งสิ้น
.
แล้ว IPv9 มาตอนไหน ...
.
ก็อิ IETF นี่แหละ !
.
วันที่ 1 เมษายน 1994 (ก่อนปีที่ IPv6 จะถูกตั้งสเปค 1 ปี) IETF เกิดนึกสนุก ปล่อยเอกสาร RFC1606 ที่ดูเป็นทางการมากออกมา เอ่ยถึงเรื่อง "IPv9" เนื้อหาดูจริงจังมาก แต่ตบท้ายด้วยการบอกว่า
.
"Those who do not study history, are doomed to repeat it.
"
.
เมืองนอกเล่น April Fool กันได้แสบมากแต่ก็สร้างสรรค์ เผื่อใครอยากอ่านเล่น >>> https://tools.ietf.org/html/rfc1606
.
ซึ่งก็เป็นไปตามที่เค้าเขียน ... จากนั้นคนก็เอาไปสร้างเป็นเรื่องเป็นตุเป็นตะ ผ่านมา 25 ปี ก็ยังจะเชื่อกันอยู่อี๊กกกกก ล่าสุดก็เพิ่งมีคนไทยแชร์เป็นบทความยาวเหยียด
.
ซึ่งยืนยันตรงนี้อีกทีนะครับว่าไม่มีเรื่องจริงเลยแม้แต่นิดเดียว
.
ความจริง IPv9 ก็มี Patent File อยู่จริง ๆ ฉบับนึงด้วยนะ จดโดย Xie Jian-Ping เมื่อปี 2002 บอกว่า IPv6 มันแค่ 128 บิต ไม่พอหรอก เอาเป็น 256 บิตไปเลยสิ !
.
ผลสุดท้ายก็เป็นได้แค่ Patent ไม่มีการใช้งานจริงแต่อย่างใด ไม่มี Implementation ด้วย กลายเป็น Patent กึ่งโจ๊กที่จะเอาลงจาก Patent ก็ไม่ทันแล้ว
.
ก็จูนให้เข้าใจตรงกัน จะได้ไม่เก้อเนอะ ๆ =)
#มิตรสหายท่านหนึ่ง