Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 9th quotes

Last posted

Total of 1000 posts

693 Nameless Fanboi Posted ID:cqFAe/mwe1

“สงครามสหรัฐ ฯ กับ Huawei, การพยายามก้าวเป็นผู้นำโลกด้านเทค และปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา”
.
ถึงแม้ส่วนตัวจะไม่ค่อยชอบทรัมป์ จะบอกว่าเกลียดเลยก็คงได้ แต่จะว่าไปเราก็ค่อนข้างเห็นด้วยหน่อย ๆ กับการตัดสินใจของสหรัฐ ฯ ที่แบน Huawei และยกเป็นปัญหาระดับชาติ
.
ในมุมของคนทั่วไปอาจจะรู้สึกว่าสหรัฐ ฯ กีดกันจีนทางการค้าและกลัวว่าจะโดนจีนแซง แต่ถ้ามามองในมุม “ความแฟร์” โดยละเอียดแล้วหละก็ ภาพหลาย ๆ อย่างในหัวอาจเปลี่ยนไปได้เลย
.
จริงอยู่ที่สหรัฐ ฯ กลัวจีนแซงด้านเทคโนโลยี เพราะจีนวางแผนจะแซงสหรัฐ ฯ จริง ๆ แต่ที่น่ากลัวคือ “Huawei ที่แบคด้วยรัฐบาลจีนกลับเลือกทำโดยไม่เลือกวิธีการ” และวิธีที่ Huawei ใช้มานานแล้วก็จะไปในทางจีนคือ “ละเมิดทรัพย์สินทางปัญหาและขโมยมาเลย”
.
ในมาตรฐานสากล “ทรัพย์สินทางปัญญา” ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะกว่าแต่ละคนจะคิดผลิตอะไรขึ้นมาได้ก็ล้วนต้องลงทุนมากมายมหาศาล สุดท้ายใครจะใช้งานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญานั้น ก็ต้องจ่ายเงินค่า License ไป ถ้าไม่อยากใช้ก็หาทางพัฒนาของตัวเองขึ้นมา เลือกเอาว่าจะไปทางไหน
.
แต่พอเป็นจีน มาตรฐานกลับเป็นอีกแบบนึงคือ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและเอามาใช้เลย ไม่จ่ายค่า License ด้วย จับได้ค่อยมาฟ้องทีหลังนะ
.
ช่วงที่ผ่านมาเราเห็น Huawei เติบโตและผู้คนชื่นชมว่าทำโน่นทำนี่ได้เยอะจังเก่งจัง แต่หารู้ไม่ว่าหลายอย่างนั้น “ถูกขโมยมาขาย”
.
กรณีแรก ๆ คงย้อนไปปี 2003 ที่ Huawei ไป “แฮค” Source Code ของ Cisco แล้วเอามาใส่ใน Router ของตัวเองขายตัดราคา นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ Huawei เริ่มโดนจับตามองจากสหรัฐ ฯ (เคสนี้ถือว่าวิธีการเลวร้ายมาก)
.
ปี 2007 หัวเว่ยจ่ายเงินให้พนักงาน Motorola เพื่อซื้อข้อมูลลับของบริษัทและเอามาทำเป็นโปรดักส์ของตัวเอง เกิดเป็นคดีใหญ่โตในปี 2010
.
ปี 2012 Huawei พยายามขโมยข้อมูลสำคัญของการผลิต Tappy หุ่นยนต์ทดสอบมือถือของ T-Mobile โดยละเมิดข้อห้ามมากมาย รวมถึงให้พนักงาน Huawei USA ที่ได้รับอนุญาตเข้าไปใช้งาน Tappy แอบถ่ายรูปส่งกลับไปจีนให้ Huawei China
.
ปี 2014 หัวเว่ยให้นักประดิษฐ์ชาวโปรตุเกสบินมานำเสนอ “กล้อง 360 แบบเสียบมือถือ” ที่กำลังอยู่ในระหว่างการจด Patent อยู่ให้กับทีมงาน ปรากฎหลังจากผ่าน Meeting ไปก็ไม่เคยได้รับการติดต่อกลับจาก Huawei อีกเลย จนกระทั่งปี 2017 หัวเว่ยก็เปิดตัวกล้อง Envizion 360 ที่เหมือนกับผลงานที่นักประดิษฐ์คนนี้นำไปเสนอทุกกระเบียดนิ้ว ยังคงเป็นคดีความอยู่ในตอนนี้
.
ต้นปีที่ผ่านมา Huawei โดนฟ้องจากเยอรมันคดีเอา MPEG ไปใช้โดยซึ่ง ๆ ทั้ง ๆ ที่มันมีค่า License ซึ่งก็จบลงด้วยดีด้วยการที่เดือนถัดไป Huawei ก็เข้าร่วม MPEG LA ยอมจ่ายค่า License เป็นที่เรียบร้อย
.
หากประเมินแล้ว สหรัฐ ฯ เสียหายถึงประมาณปีละ “$600B” ในส่วนที่จีนละเมิดไปและขายสินค้าโดยไม่ยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ เงินเข้าจีนแบบสบาย ๆ ส่วนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญากลับไม่ได้อะไร
.
ถ้ามองเรื่องการกีดกันแล้ว เคสที่กำลังดังอยู่ตอนนี้คนจะมองไปว่าสหรัฐ ฯ กีดกันเทคโนโลยีจีนไม่ให้ถูกใช้ในประเทศ แต่สิ่งหนึ่งที่คนกลับไม่ได้มองย้อนกลับไปคือ จริง ๆ จีนก็กีดกันไม่ให้เทคโนโลยีสหรัฐ ฯ อย่าง Google หรือ Facebook เข้าไปทำธุรกิจเช่นกัน

(ต่อเม้นล่าง)

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.