การแต่งเพลงอิงวรรณคดีแต่ไม่รู้เนื้อเรื่องนี่เป็นเทรนด์ฮิตของไทยสมัยใหม่หรือยังไงครับ
ช้ำคือเรา - แรพล่าสุดจาก The Rapper
youtube.com/watch?v=TWM5BLZdayo
(วันทองสองใจไปอยู่กับขุนช้างเพราะรวยอยากสบาย แต่ยังแอบมีใจให้ขุนแผน)
ตัวร้ายที่รักเธอ
youtube.com/watch?v=a8qMHBp7WQ4
(ทศกัณฑ์ยอมทำทุกอย่างให้สีดาสนใจ - ยอมผลาญโคตรเลยทีเดียว)
พระรามอกหัก
youtube.com/watch?v=q0ahRBQOpRM
(อันนี้บิดสุด บิดจนไม่เหลือเค้าโครง)
ที่ดูจะตรงกับเนื้อเรื่องสุดคงจะเป็น
I'M SORRY (สีดา)
youtube.com/watch?v=CQbO1bDRTPA
ที่อิงความรู้สึกผิดของพระรามหลังสีดาเข้าไปอยู่ในป่า
(ซึ่งเอาจริงๆ แม่งก็ไม่ได้รู้สึกผิดหรอก)
ดูท่าทางการแต่งเพลงไทยจะอิงกับบริบทสังคมในวรรณคดีเป็นส่วนมาก เพลงเหล่านี้ทำหน้าที่สะท้อนทัศนคติของตัวละครในบริบทสังคมและยุคสมัยในเรื่อง แต่ไม่ได้ตีความหรือชักนำ (เพลงไม่ได้มองวรรณคดีจากบริบทสังคมปัจจุบัน)
หรือที่จริงแล้วคนแต่งอาจจะรู้เนื้อเรื่องดี และแต่งในบริบทสังคมปัจจุบัน แต่ทัศคติเขายังอยู่ในยุคอยุธยา-รัตนโกสินทร์ต้น อันนี้ก็ไม่ทราบได้
#มิตรสหายท่านหนึ่ง