เท่าที่คุย ๆ ฟัง ๆ แล้วดูเหมือนคนไทยยังใส่ใจในการวางรากสร้างระบบขายของออนไลน์กันน้อย
.
จริง ๆ เรื่องที่จะเล่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องเดิมที่รู้ ๆ กันอยู่ เช่น ต้องสร้างแบรนด์ ต้องมีสื่อ ต้องมีเว็บ ต้องการขายหลายช่องทาง ฯลฯ เพียงแต่ปีหน้าและปีต่อ ๆ ไป คนที่วางรากฐานธุรกิจละเอียดกว่าจะยั่งยืนกว่า
.
อย่างที่บอก ฝรั่งขายของออนไลน์เขาปูรากฐานทั้งระบบ
.
1. มีเว็บไซต์ --- อันนี้ทำให้เนื้อหาติด Search engine คนหาเจอ เข้าเว็บไซต์ฝัง Facebook Tracking Pixel เอาไว้
.
2. ทำ Facebook ads --- คนโดน Pixel เข้าไปแล้ว มาที่ Facebook เจอ Re-target โฆษณาขายของ
.
3. ทำ Google ads --- คนดู Youtube เยอะ ก็ Re-target โฆษณาไป Youtube ต่อ
.
4. เอาของไปขายบน Amazon --- แต่มันบอกให้ไปซื้อบนอเมซอน ใช้ระบบการจัดการของอเมซอนไปเลยง่ายกว่า 55
.
นี่บ้าน ๆ ยังไม่นับ Lead generation, List building และ Chatbot ซึ่งเอาจริง ๆ แค่มี List ในมือก็ขายของได้หลายบาทโดยยิงโฆษณาน้อยลง หรือยิงก็คือยิงเพื่อขยาย List
.
หรือรวบให้สั้น ถ้านึกไม่ออกว่าจะสร้าง ระบบ สร้างโปรเซสไปทำไม ให้จำคีย์เวิร์ดเดียว
.
'AUDIENCE' สร้างและสะสมฐานออเดียนให้อยู่ในกำมือคุณ
.
อ่ะ ต่อ ๆ ----
.
แต่ว่าการสร้างรากฐานและวางระบบทั้งหมดนี้มันเป็นงานละเอียดและใช้เวลา นำไปสู่โจทย์ กวนตีน ๆ ว่าเรากล้ายอมรับกันไหมว่า… พวกเราเป็นคนง่าย ๆ --- มักง่าย และ ขี้เกียจ
.
ขี้เกียจ ทำอะไรที่ยาก ๆ (ในช่วงแรก)
มักง่าย ทำอะไรง่าย ๆ ได้ผลไว ๆ (ชิบหายค่อยหาทางใหม่)
.
สมัยหนึ่งเฟสบุ๊คโพสต์อะไรก็ขาย ก็แห่จาก Hi5 มาโพสต์ขายในเฟสบุ๊คจนเฟสฯ กลายเป็นขยะ และสมัยหนึ่งไอจีขายได้ ก็แห่ไปหาไอจี
.
และทุกยุคทุกสมัยจะมีคนถามว่า ขายบนทวิตเตอร์ดีไหม ขายบนพินเทอเรสต์ดีไหม ขายในเฟสบุ๊คกรุ๊ปดีไหม ยิงแอดดีไหม รีทาร์เก็ตติ้งดีไหม
.
คือตอนแรกทุกที่ที่ถามมาดีหมด... แต่พอขายไปสักพักจะเริ่มได้ยินเสียงเหล่านี้
.
"เฟสขายไม่ดีเลย" "เฟสบุ๊คกรุ๊ปขายไม่ได้เลย" "ไอจีขายไม่ดีเลย" ฯลฯ สรุปแม่งขายไม่ดีสักที่ รีชลด แอดแพง คนไม่เห็น ฯลฯ
.
แต่เราก็ไม่เคยเรียนรู้กันเลยว่า "เราทำอะไรผิดพลาดไปหรือไม่" หรือ "เราข้ามขั้นตอนทางธุรกิจบางอย่างไปหรือไม่"
.
บางครั้งเราอาจกำลังทำสิ่งที่ผิดมาโดยตลอด แต่ดันเข้าใจว่ามันถูก และพอถึงวันหนึ่งมันไม่ได้ผล (กลไกการทำงานกลับคืนสู่ค่า Default เดิมของมัน) เราก็โทษระบบ โทษเครื่องมือ และโทษเศรษฐกิจ
.
คำพูดที่กระทบผมบ่อย ๆ เช่น...
.
พอล ทำเว็บไปทำไม ในเมื่อเฟสฯ ก็โพสต์บทความได้
พอล ทำอีเลิร์นนิ่งไปทำไม ในเมื่อเฟส ก็โพสต์คอร์สได้
.
ทำไม?...
.
คำตอบ คือ 1) ผมสร้าง Web asset และ 2) ผมสร้าง Own media
.
ระบบพวกนี้สากลโลก หลักสูตรการตลาดออนไลน์ทั้งในระบบการศึกษาและในคอร์สสัมมนาก็สอน เป็น พื้นฐาน และ เป็นรากฐาน ถ้าไม่วางรากฐาน ก็นึกภาพไม่ออกว่าคนเหล่านั้นจะทำธุรกิจยังไงในอีก 10 ปีข้างหน้า
.
ผมเชื่อว่าอีก 10 ปี เฟสบุ๊คคงไม่เหมือนเดิม (แค่ 2-3 ปีที่ผ่านมาก็เปลี่ยนไปมาก) จะมาโพสต์ขายยิงแอดแบบเดิม ๆ คงไม่ได้ผลเท่าไร --- หรือจะย้ายไปขายใน มาร์เก็ตเพลส? วันนี้แบรนด์ใหญ่ และรายตรงจากจีนก็โพสต์ขายเองแล้ว
.
พฤติกรรมเดิม ๆ ใครขายอะไรดีก็หามาขายตามแบบซื้อมาขายไป ตัดราคา ยิงแอด ฯลฯ ฆ่ากันจะเป็นจะตาย สุดท้ายก็สู้ต้นสังกัดลงมาขายเองไม่ได้ ทั้ง ราคา วาไรตี้ของสินค้า และงบโฆษณา ซึ่งปรากฏการณ์นี้มันจะชัดขึ้นเรื่อย ๆ
.
เริ่มจาก Amazon มาร์เก็ตเพลสรายใหญ่ของโลกก็มาถึงจุดที่ ผลิตสินค้าแบรนด์ตัวเองขายเองแล้ว ส่วน Lazada ผู้ผลิตก็ลงมาขาย ผู้ค้าส่ง ตัวแทนจำหน่าย เจ้าของแบรนด์ ก็ลงมาขายเอง เข้าเว็บไปเจอของแบรนด์ใหญ่ก่อนเลย
.
ขายของออนไลน์ มันคือการทำธุรกิจชนิดหนึ่ง ไม่ได้มีข้อยกเว้นว่า ออนไลน์ จะง่าย หรือ ดีกว่า ออฟไลน์ ให้มองมันเป็น ธุรกิจจริงจังได้แล้ว
.
เคยถามบางคนว่า ขายออนไลน์รายได้ดีกว่าแล้วทำไมยังไม่ลาออกมาขายเต็มตัว?
.
คำตอบคือ… กลัวว่าขายออนไลน์มันจะไม่แน่นอน
.
ทัศนคตินี้แสดงให้เห็นว่า บางคน (หรืออาจจะหลายคน) ไม่คิดแบบ Entrepreneur --- อารมณ์คล้าย ๆ คนทำ Freelance บางคนที่มองว่า เป็นจ็อบเสริมรายได้ หรือจ็อบสำหรับคนไม่มีงานทำ ทั้งที่จริง Freelance ก็เป็น Entrepreneur ชนิดหนึ่ง
.
จากนี้ไป ถ้าอยากขายของออนไลน์ เปลี่ยนจากคำว่า ขายของออนไลน์ ไปเป็นคำว่าอยากเป็น Entrepreneur ดีกว่า จะได้ตั้งต้นเรียนรู้และสร้างทัศนคติแบบ นักธุรกิจจริงจัง ตั้งแต่เดย์วัน
.
โพสต์นี้เล่าสำหรับปี 2018 ไม่แน่ใจว่าจบยัง เดี๋ยวนึกออกมาเล่าต่อ จบเท่านี้ก่อน รอ Episode ถัดไปครับ