>>313 นึกถึง #มิตรสหายเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่ง ทันที
"ท่านจะเห็นภาพภาพหนึ่งคือชาวนาจำนวนหนึ่งปลูกข้าวแล้วไม่ได้กำไร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บอกไปปลูกอย่างอื่น บางคนบอกไม่เชื่อหรอกทางการ เอาปราชญ์ชาวบ้านก็ได้มาบอกไปปลูกอย่างอื่นสิแล้วจะได้รายได้สูงขึ้น ทำไมเขาไม่เปลี่ยนกันอยู่ดี เพราะว่าในชุมชนเขามีค่านิยมการอยู่อย่างพอเพียง แปลว่าถ้าเขาเปลี่ยนแล้วสำเร็จไม่เป็นไร แต่ถ้าเขาเปลี่ยนแล้วล้มเหลว เท้ามาเต็มเลย ปลูกข้าวดีๆ อยู่แล้ว ไปเชื่อเขา เขาไม่รู้จักชุมชนเราดี เราต้องปลูกข้าว คำแบบนี้เต็มไปหมด จริงๆ ไม่แค่ชุมชนแต่ในสังคมไทย ถ้าท่านทำแบบเดิมแต่ไม่ประสบความสำเร็จไม่มีใครว่า ถ้าท่านเปลี่ยนแล้วล้มเหลวจะมีคนช่วยเหยียบ ถามว่ามันคืออะไร มันคือวัฒนธรรมของการเหมือนกันสอดคล้องกัน (conformity) ทำให้คนอยู่ในชุมชนร่วมกันได้ด้วยความเหมือนๆ กัน เพราะฉะนั้นเวลาที่ชาวนาไม่เปลี่ยนไปปลูกอย่างอื่น มันไม่ใช่ไม่เชื่อว่ามันดีกว่า เวลานักเศรษฐศาสตร์ไปก็คิดว่าโอกาสได้กำไรดีกว่านะ แต่เขาไม่สนใจ เขาถามคำแรกเลยว่าขาดทุนเท่าไหร่ จะขาดทุนหรือไม่ เพราะเขารู้ว่าขาดทุนเมื่อไหร่ เพื่อนบ้านคนรอบข้างพร้อมจะมาหา ส่วนหนึ่งของการไม่เปลี่ยนแปลงมันมาจากค่านิยมหรือคุณค่าของการอยู่อย่างไม่ปรับตัว เรียบง่าย พอมีพอกิน"