The Invisible Economist
Page Liked · 5 hrs ·
เรื่องย้อนแย้งหนึ่งคือว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้คณิตศาสตร์หนักมาก แต่เพื่อไม่ให้นักเรียนยึดติดกับสมการเกินไปจึงต้องย้ำให้นักเรียนอธิบายด้วยภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจง่าย
.
อีกนัยหนึ่งคือ การที่เราอธิบายด้วยภาษาทั่วไปได้แปลว่าเราเข้าใจเรื่องราวในแบบจำลองชัดเจน ไม่ใช่แค่ว่ามันจริงเพราะสมการบอกว่าจริง
.
อย่างไรก็ดี เพราะพยายามอธิบายด้วยภาษาคนง่ายๆ คนทั่วไปจึงชอบมองว่านักเศรษฐศาสตร์ "มั่ว" พูดจาลอยๆ เป็นประจำครับ ทั้งที่ความจริงแล้วคือมีสมการวิ่งๆอยู่ในหัวว่าอะไรส่งผลอะไรแค่ไหน
.
แค่มีคนมาถามว่าขึ้นดอกเบี้ยแล้ว GDP จะลดลงหรือไม่ คำตอบมีเยอะมากเลยนะครับ และแต่ละคำตอบขึ้นอยู่กับข้อสมมติพื้นฐานที่เราใช้ด้วย
.
_________________________
เนื้อหา ม.ปลาย -- อัตราดอกเบี้ยไม่ส่งผลต่อการบริโภค โดยมองว่าการบริโภคขึ้นกับรายได้เท่านั้น
.
เนื้อหา ป.ตรี -- อัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อการบริโภคระหว่างสองช่วงเวลา ผ่านแรงจูงใจในการออม ผลกระทบขึ้นกับว่าเป็นผู้กู้หรือผู้ออม
.
เนื้อหา ป.โท -- อัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อการบริโภคระหว่างสองช่วงเวลาใดๆ ผ่านแรงจูงใจในการออม และการบริโภคอาจถูกกำหนดด้วยความสามารถในการกู้เงินด้วย
.
เนื้อหา ป.เอก -- อัตราดอกเบี้ยส่งผลต่อการบริโภคระหว่างสองช่วงเวลาใด และขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าประเภทไหน สินค้าคงทน (เครื่องใช้ไฟฟ้า รถ บ้าน) หรือ สินค้าใช้แล้วหมดไป (อาหาร น้ำมัน) ร้านค้าปรับตัวการผลิตอย่างไร แรงงานและราคาวัตถุดิบแต่ละชนิดปรับตัวอย่างไร การนำเข้าและส่งออกวัตถุดิบและสินค้าเพื่อการบริโภคเป็นอย่างไร ทั้งหมดส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมแค่ไหน
.