Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 8th quotes

Last posted

Total of 1000 posts

206 Nameless Fanboi Posted ID:fTMMic.ElX

ไขประเด็นวิวาทะ "ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของไทย"
##################################

ภรรยาของผมขอให้ผมเขียนบทความเพื่อไขข้อข้องใจของสังคมไทยต่อวิทาทะในครั้งนี้ เนื่องจากการคำนวณความเหลื่อมล้ำของ Credit Suisse ที่ทำโดยคณะวิจัยของ Anthony F. Shorrocks อดีตผู้อำนวยการของ UNU-WIDER (ขอเรียกสั้นๆ ว่า WIDER) ได้ใช้ข้อมูล โปรแกรม และงานวิจัยด้านความเหลื่อมล้ำที่ใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติของ WIDER โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผมได้รับการทาบทามให้ไปช่วยงานที่เป็นส่วนหนึ่งของ long-term project ของทาง WIDER ในเรื่องความเหลื่อมล้ำในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐมิติ

จริงๆ แล้วเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาทาง WIDER ได้เชิญภรรยาผมไปเข้าร่วมงานประชุมที่มีการนำเสนองานวิจัยโดย Anthony F. Shorrocks และคณะที่นำไปสู่การพัฒนาเทคนิคการคำนวณความเหลื่อมล้ำของไทยที่เป็นประเด็นในตอนนี้ แต่ทว่าภรรยาผมมีความเห็นว่าผมน่าจะถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีกว่าในฐานะที่เป็นนักเศรษฐมิติและเคยเห็นและใช้ข้อมูลด้านความเหลื่อมล้ำของ WIDER โดยหลังจากทำการศึกษา Global Wealth Report ของ Credit Suisse และงานวิจัยเก่าๆ ของคณะวิจัยของ Anthony F. Shorrocks ผมได้ข้อสรุปดังนี้

##################################

ข้อสรุป --- ประเด็นที่กำลังถกเถียงกันในสื่อต่างๆ ที่ผมติดตามอ่านนั้น มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อความตั้งใจ และวิธีการศึกษาที่ถูกเผยแพร่ใน Global Wealth Report

1. ตัวเลขความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง (Wealth Inequality) ของไทยโดย Credit Suisse ในปี 2018 ได้คำนวณมาจาก หนึ่ง แบบจำลองทางเศรษฐมิติ (ที่มีข้อจำกัดทางเทคนิคมากมาย) สอง ข้อมูลความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และสาม ข้อมูลความมั่งคั่งของเศรษฐีไทยจากนิตยสาร Forbes จึงทำให้ตัวเลขดังกล่าวมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้มากเพราะเป็นตัวเลขจากแบบจำลอง ไม่ได้คำนวณมาจากข้อมูลความมั่งคั่งของไทยโดยตรง

2. การคำนวณของ Credit Suisse มีปัญหาจริง แต่คณะผู้วิจัยก็ได้ชี้แจงปัญหาของการคำนวณอย่างละเอียด (อ่านได้จากลิงค์ของงานวิจัยที่แนบมาท้ายบทความนี้) เพียงแค่แทบจะไม่มีใครนำปัญหาของการคำนวณนี้ที่คณะวิจัยได้ชี้แจงมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน

3. มีความชัดเจนจากเอกสารประกอบการศึกษาจาก Credit Suisse ว่าสามารถนำข้อมูล Socioeconomic Survey (SES) ที่อัพเดทของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ทำร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดังที่เคยถูกนำข้อมูลบางส่วนมาเสนอในงานวิจัยของ ดร. เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา และคณะในปี 2007 มาผนวกกับข้อมูลของนิตยสาร Forbes เพื่อใช้ในการคำนวณความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของไทยได้ ซึ่งน่าจะได้ตัวเลขที่มีคุณภาพดีกว่าการประมาณการโดยใช้แบบจำลอง

โดยผมจะขอชี้แจงการคำนวณและข้อจำกัดของการคำนวณตัวเลขความเหลื่อมล้ำที่คณะวิจัยของ Credit Suisse ได้ชี้แจงโดยละเอียดในเอกสารอ้างอิงดังต่อไปนี้

##################################
คณะวิจัยของ Credit Suisse ประกอบด้วยใครบ้าง
##################################

ประกอบด้วย Anthony Shorrocks และ Jim Davies นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เชื่ยวชาญอันดับต้นๆ ของโลกทางด้านความเหลื่อมล้ำ และมี Rodrigo Lluberas เป็นผู้ร่วมคณะวิจัย

##################################
เป้าหมายงานวิจัยของ Anthony Shorrocks และ Jim Davies คืออะไร
##################################

Davies et al. (2011) ได้เขียนเป้าหมายหลักของงานวิจัยไว้ชัดเจนว่า จากการใช้ข้อมูลในปี 2000 คณะวิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งจากประมาณ 20 ประเทศที่ครอบคลุม 59% ของประชากรโลก และประมาณ 75% ของความมั่งคั่งของโลก แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ "การประมาณการความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของทั้งโลก" ไม่ใช่เพียงแค่ประมาณ 20 ประเทศเท่านั้น ถ้าคณะวิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลจากประเทศที่เหลือได้งานวิจัยก็จะเป็นแค่การคำนวณง่ายๆ แต่ทว่าคณะวิจัยไม่มีข้อมูลความเหลื่อมล้ำของประเทศที่เหลือ คณะวิจัยจึงพยายามสร้างโมเดลทางเศรษฐมิติในการช่วยประมาณการความเหลื่อมล้ำของทั้งโลก โดยในขณะนั้นคณะวิจัยไม่มีข้อมูลจากประเทศไทยเพื่อใช้ในการศึกษาความเหลื่อมล้ำในปี 2000

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.