----------------------
80% ไม่มีข้อมูล 13% ข้อมูลไม่ครบ
----------------------
- ข้อมูลของประเทศส่วนใหญ่กว่า 80% จากรายงานฉบับนี้ของ Credit Suisse เป็นการกะเอาอย่างชัดเจน บางอันก็ไม่มีข้อมูล ผังที่แสดงความสมบูรณ์ของข้อมูลในหน้า 19-22 ก็ระบุว่า กว่าร้อยละ 80 อยู่ในสภาพแย่ (poor) และแย่มาก (very poor)
เอาจริงๆ ผมก็สงสัยว่ารายงานฉบับนี้ทำออกมาได้อย่างไรกัน ?
- และจริงๆ มันไม่ใช่ 80% ด้วย เพราะไอ้กลุ่มข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์มันก็คือมั่วๆ เอาเหมือนกัน แต่มั่วบ้างจริงบ้างบางส่วนแค่นั้นเอง สุดท้ายข้อมูลที่ใช้ได้จริงมีแค่ 13.6% ของประเทศทั่วโลก ที่เหลือก็มั่วเอาทั้งนั้น
----------------------
ข้อมูลที่ไม่ตรงกับเอกสาร
----------------------
- ในขณะที่ข้อมูลการถือครองทรัพย์สินของประเทศไทยนั้น "ไม่มี" และแบงก์ชาติก็ไม่ได้ทำไว้ (ไม่มีใครยอมบอกข้อมูลทรัพย์สินที่แท้จริงหรอกครับ ขนาดให้แสดงบัญชีทรัพย์สิน มันยังปกปิดกันเลย ตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับสูงก็เหมือนๆ กัน)
แล้ว Credit Suisse ไป "เสกข้อมูล" มาจากไหน?
- เขาระบุว่าเขาอ้างจากโพลสำรวจในเอกสารรายงาน ที่ชื่อ The Wealth and Debt of Thai Households: Risk Management and Financial Access
- หรือในชื่อภาษาไทยว่า "ความมั่งคั่งและหนี้สินครัวเรือนไทย: การบริหารความเสี่ยงและการเข้าถึงบริการทางการเงิน" โดย ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย (ซึ่งตอนนั้นทำงานในแบงก์ชาติ) และทีมงาน
*** ที่ตลกคือ เอกสารชุดนั้นไม่ได้มีระบุเรื่องระดับการถือครองทรัพย์สินของคนในประเทศ เพราะในเอกสารเน้นการอธิบายเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ และ เงินเดือนโดยเฉลี่ยของผู้ต้องการกู้ซื้อบ้าน
(โดยทำเป็นแบบสอบถามที่ถามถึงทรัพย์สินและหนี้สินของครัวเรือนประมาณหมื่นกว่าคนจากทั้งประเทศ)
*** ซึ่งผมก็งง ว่าแล้วที่ Credit Suisse มันอ้าง มันเอาตัวเองหรือข้อมูลมาจากไหน... อ้างเอกสารประกอบ แต่เอกสารไม่มีข้อมูลดังกล่าวที่อ้างมา -_-"
----------------------
อ้างเอกสารที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย
----------------------
- ข้อมูลอีกชุดที่ Credit Suisse อ้างถึงประเทศไทยก็คือ หน้า 11 ที่ชี้แจงว่าข้อมูล "การถือครองอสังหาริมทรัพย์" เอามาจากไหน ปรากฎว่าอันนี้หนักกว่าอันที่แล้วอีก!!
- คือ Credit Suisse ไม่มีข้อมูลประเทศไทย (n.a.) / not available แต่ดันใส่เอกสาร IMF : Household Credit Growth In Emerging Market Countries 2006 บทที่ 2 มา
- ทั้งที่จริงๆ เอกสาร IMF ดังกล่าวไม่มีข้อมูลอะไรที่เกี่ยวกับประเทศไทยเลย เอกสารบทนี้ชื่อ THE INFLUENCE OF CREDIT DERIVATIVE AND STRUCTURED CREDIT MARKETS ON FINANCIAL STABILITY
- ซึ่งพูดถึงสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อในเศรษฐกิจโลก การบริหารจัดการความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อ ธุรกิจประกันภัย บลาๆๆ ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่า Credit Suisse ใส่ลิ้งนี้มาว่าเป็นข้อมูลประเทศไทยได้อย่างไร ไม่มีข้อมูลของประเทศไหนเลย!!!
- นี่ผมงงว่าสถาบันการเงินชื่อดัง เขาทำรายงานกันแบบนี้จริงๆ เหรอ? ยังกะรายงานของมหาวิทยาลัยห้องแถวก็ไม่ปาน...