กูเจอเรื่องที่ใช้ข้อยามล่าสุดเมื่อสี่ห้าปีที่แล้วมั้ง ช่วงที่แนวสนมตบกันในวังบูมๆอะ หลังๆพอเริ่มปลูกผักปลูกหญ้าเป็นหมอนั่นนี่ก็ไม่เจอละ แต่มีช่วงนึงเจอบ่อยจริง
Last posted
Total of 760 posts
กูเจอเรื่องที่ใช้ข้อยามล่าสุดเมื่อสี่ห้าปีที่แล้วมั้ง ช่วงที่แนวสนมตบกันในวังบูมๆอะ หลังๆพอเริ่มปลูกผักปลูกหญ้าเป็นหมอนั่นนี่ก็ไม่เจอละ แต่มีช่วงนึงเจอบ่อยจริง
เอาคำมาประสมกันเป็นคำใหม่มันก็คือสร้างคำใหม่อะเน้อ เป็นคำเฉพาะไว้เรียกเศษส่วนของโมงยาม ในที่นี้คือ 1/8 ชั่วยาม(จีน) ตามความหมายของคนแปล
กูว่ามันไม่เกี่ยวกับอ่านมากอ่านน้อย เกี่ยวกับอ่านถูกเล่มมากกว่า ไม่มีใครอ่านหนังสือได้ครอบคลุมไปหมดหรอกมึง แต่ทีนี้ ข้อยาม ที่เป็นประเด็นเนี่ยน่าจะไม่ได้ใช้กันทั่วไปขนาดที่เห็นปุ๊บก็เดาได้ อย่างแรก ข้อ ในแง่ที่นับเป็นหน่วยวัด ปกติมันเป็นหน่วยความยาวไม่ใช่หน่วยเวลา หรือถ้าเอาตามข้างบนอธิบายคือข้อ ปล้องของนาฬิกาแดด ส่วนใหญ่คนเขาก็ไม่เรียกไอ้ช่องๆ ที่แบ่งหน้าปัดออกเป็นส่วนว่า ข้อ กันนะมึง (ขออ้างอิงข้างบนไว้ก่อน เพราะยังไม่ชัดเจนว่ามันมาจากหน้าปัดนาฬิกาแดดหรือมาจากไหนกันแน่) แล้วพูดถึงเวลาในนิยายจีนก็ไม่ใช่ส่วนใหญ่จะนึกถึงหน้าปัดนาฬิกาไงมึง มันจะไปนึกถึงที่คุ้นชินอย่าง โมง ยาม ชั่วน้ำเดือด ก้านธูปอะไรพวกนี้มากกว่า แน่นอนว่ามีคนหัวไวเดาได้ง่ายๆ แต่โดยพื้นฐานแล้วการแปลมันต้องถอดความให้ถูกความหมาย ได้อรรถรส เข้าใจได้เป็นส่วนใหญ่นะ ส่วนที่เฉพาะเจาะจงก็น่าจะอธิบายกันไว้นิดนึง นักอ่านส่วนมากไม่ค่อยคิดซับซ้อนหลายชั้นกับเรื่องพื้นๆ อย่างหน่วยเวลาอะมึง ซึ่งจะโทษว่านักอ่านไม่ขวนขวายทำความเข้าใจเลยมันก็ไม่ถูกสำหรับกรณีนี้นะ ส่วนกรณีอื่นๆ ก็แล้วแต่เหตุการณ์ไป
ขอยกตัวอย่างหน่อย อย่าง ฆาตกาม ที่รงส์ วงศ์สวรรค์ ประสมเป็นคำใหม่ขึ้นมาเอง อ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่ามาจาก ฆาตกร กับ กาม รวมแล้วหมายถึงนักฆ่าข่มขืน คือมันเข้าใจได้โดยศัพท์ ในขณะที่ ข้อยาม จะมีกี่คนที่เข้าใจว่ามันเป็นเวลากี่นาที กี่วินาที เป็นส่วนเท่าไหร่ของชั่วยาม
เรื่องใช้คืบ ศอก หลา แทนหน่วยจีนเลย อันนี้มันต้องดูนะว่ามันเทียบหน่วยกันแล้วออกมาถูกต้องแค่ไหน ขนาดจิน กิโลกรัมจีน ปริมาณมันยังไม่เหมือนชาวบ้านเค้าเลย ส่วนตัวกูเจอคำทับศัพท์อังกฤษในนิยายจีนโบราณก็สะดุดนะ แต่ถ้าเป็นแปลไทยที่มีคำไทยอยู่แล้วอย่างน้อยหน่า ลิ้นจี่ นี่เฉยๆ แฮะ อย่างดอกไม้อะไรงิ กุก็ชอบแปลไทย ยกเว้นคนละสายพันธุ์ที่ไม่มีในไทยแล้วมันเทียบยากก็ทับศัพท์ไปก็ได้ ทั้งนี้กูว่าขึ้นอยู่กับวิจารณญาณนักแปลด้วยว่าจะเลือกยังไง นักอ่านบางจำพวกที่เรื่องเยอะก็ไม่ต้องตามใจไปหมดก็ได้ (ว่าแต่นี่มู้จีนเสิ่นเจิ้นป้ะ กูคุยผิดมู้ไหมเนี่ย)
เรื่องนักอ่านขี้โวยวายกูเห็นอยู่ เห็นใจนักแปลด้วย ในกรณีคำศัพท์ที่มีความหมายแน่ชัด ค้นได้อยู่แล้วกูเข้าข้างนักแปลนะ แต่กับ ข้อยาม นี่กูมาถามเพราะไม่เข้าใจจริงๆ เลยอยากรู้ว่าเดิมเรามีใช้คำนี้กันมั้ย เผื่อจะได้จดจำไปใช้บ้าง
>>745 เรื่องไหนบ้างเหรอ กูจะได้พลิกไปดูมั่งว่ามันอยู่ตรงไหน เพราะกูไม่เคยเจอจริง ๆ นี่ก็ว่าอ่านมาเยอะพอควรแล้วนะ เผลอ ๆ ที่เป็นไปได้คือกูเคยเจอจริงแต่สมองอ่านเป็นชั่วยามไปดื้อ ๆ ก็เป็นไปได้ เข้าใจเวลาผิดเป็นแปดเท่าไปเลย
แต่มีในเจินหวนใช่มะ เรื่องนั้นกูก็อ่าน ทำไมจำไม่ได้วะว่าเคยเจอ เดี๋ยวไปอ่านอีกรอบ
แต่หน่วยน้ำหนักจีนนี่เมื่อก่อนมันแปลเป็น ตำลึงหรือชั่งปะวะ แบบ สี่ตำลึงปาดพันชั่ง แต่กูก็ไม่รู้หรอกว่า ตำลึง กับ ชั่ง มันหนักเท่าไหร่กันแน่ แค่จำไปว่า อืม ๆ มันเป็นหน่วยน้ำหนักจีนนะ 5555 ซึ่งกูก็ว่ามันไม่ได้ทำให้กูเก็ตขึ้นมาได้เลยว่ามันหนักเท่าไหร่
ว่าแต่แล้วอันไหนคือ "จิน" วะ......
ส่วนหน่วยความยาว ฉื่อ/เชี๊ยะ/ศอก นี่กูว่ากูได้หมดอะ เอาให้มันเหมือน ๆ กันทั้งเรื่องแล้วกัน
กูโตมากับนิยายกำลังภายในยุคเก่าเลย ซึ่งทับศัพท์กันแบบสะบั้นหั่นแหลก ฉายาชาวยุทธ์ยังทับศัพท์ คนฉายามังกรทองนี่อย่าหวังเลยนะว่าจะแปลเป็นมังกรทอง ต้องแปลเป็น กิมหลงค่า แล้วถ้าแก๊งมีมังกรห้าสี มึงก็จำไปดิว่าสีไหนคือคำไหน
แล้วจู่ ๆ นักแปลก็เกิดการเปลี่ยนวิธีมาแปลเป็นภาษาไทยหมดทุกอย่าง ซึ่งกูก็ปรับตัวแล้วอ่านตาม
จนตอนนี้เหมือนจะย้อนกลับไปวันวานนิดหน่อย ทับศัพท์มากขึ้น (แต่เป็นจีนกลางแทน) กูก็เลยไม่รู้สึกอะไรอะนะ
>>750 กูเข้าใจเลย แล้วเมื่อก่อนท่านนักแปลก็ชอบวงเล็บคำแปลฉายาไว้ให้แค่คำแรกคำเดียวด้วย ที่เหลือแต้จิ๋วไปสิ ตอนกลับมาอ่านจีนกลางกูก็มึนไปพักนึงเหมือนกัน 5555 แต่กูก็ชอบที่เค้าแปลออกมาสละสลวยนะ อ่านแล้วโบร๊านโบราณดี
คำจินนี่ครึ่งโลจีนกูใส่มาเป็นตัวอย่างเฉยๆ น่ะ ถ้าทำให้งงกูขอโทษด้วย แต่อย่างหน่วยวัดแบบจีนกูก็ยังอยากให้ทับศัพท์ไปนะ มันกะระยะง่ายกว่าเวลาอ่าน อันนี้สำหรับกูน่ะ ซึ่งจะยังไงก็แล้วแต่นักแปล แต่ส่วนอื่นๆ ที่แปลได้ก็อยากให้แปลแหละ มันอ่านแล้วได้อารมณ์กว่าน่ะ ในความรู้สึกกู
>>750 เท่าที่เข้าใจ จิน คือ ชั่ง ปะวะ แล้วก็มีอีแปะอีกอัน เดี๋ยวนี้เห็นคนแปลว่าเฉียนหรือเหวินอะไรนี่แหละ หวังว่าคงไม่มีใครโวยนักแปลที่ใช้คำว่าอีแปะนะเว้ย 55555555
เดี๋ยวนี้คงเพราะมีโซเชียลมั้ง กูเห็นนักอ่านนักวิจารณ์ตั้งข้อสงสัยกับคำศัพท์เยอะมาก บางคนก็ช่างหัวมันเถอะ แต่บางคนตั้งข้อสังเกตน่าสนใจนะ กูเคยอ่านบล็อกของนักรีวิวคนนึง เขายกคำว่า "ทรยศรานพระคุณ" มา บอกว่าไม่เคยเห็นคำว่าราน พอไปเปิดรบฑก็บอกว่ามันแปลว่าตัดกิ่งไม้ เพราะงั้นควรใช้คำว่า "ลาญ" มากกว่าหรือเปล่า กูก็งงว่าเดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้แล้วเหรอวะ รานพระคุณ รานน้ำใจ อะไรเงี้ย แต่ที่เขาพูดมาก็ถูก หรือสมัยก่อนมันอุปมาพระคุณกับน้ำใจว่าเป็นกิ่งไม้กำลังงอกงาม แต่คนไปตัดมัน อะไรงี้เหรอวะ
>>752 รานน้ำใจเคยเห็นในหนังสือเก่า สมัยเดียวกับพวกมูลบทบรรพกิจนู่น ส่วนใหญ่เป็นกลอน ข้อยามก็จากหนังสือเก่าเหมือนกัน ของไทยนี่แหละ รู้สึกจะดรุณศึกษามั้ง ปกติมันก็ใช้กันประปรายมาเรื่อยๆจนถึงเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อน แต่พอยุคนิยายวัยรุ่นมีอีโมจิฮิตกัน ศัพท์พวกนี้ก็หายไปเลย ถ้าเจอหนังสือเล่มไหนที่ใช้คำพวกนี้อยู่ก็ยินดีด้วย มึงเจอของแรร์ หมดรุ่นนี้ก็น่าจะหมดแล้วละ
เพื่อนโม่ง ช่วงนี้อ่านไรกันบ้างอ่า
ไม่ได้เข้ามานานเพราะมูฟจากวงการเสิ่นเจิ้นไปทั้งอ่านเขียน กำลังจะกลับมาเลยแวะส่องโม่งถึงกับหาห้องไม่เจอ555 ในนี้เองก็ซบเซาสินะ
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.