Last posted
Total of 760 posts
>>698 กระไร อันใด ดอก นี่พอจะเจอในนิยายแปลจีนเก่าๆอยู่นะ แต่ไม่ได้ใช้ถี่มาก เซินเจิ้นกับแปลจีนใหม่ๆบางเรื่องอันใด เยี่ยงไร กระไรแม่งทุกประโยค ใช้ อะไร บ้างก็ได้นะ อะไรก็คำโบราณเหมือนกัน
แต่ดอกหนาไม่ได้จริง อยู่ในนิยายไทยยังเลี่ยนเลย มาเป็นนิยายจีนยิ่งผิดที่ผิดทาง
ถามเฉยๆว่าถ้าอยากเขียนแนวจีนโบราณ จำเป็นต้องพล็อตแน่น เกมการเมือง ชิงบัลลังก์ ทำการค้า วางแผนอะไรกันตลอดป่ะวะ กูอยากเขียนแนวสโลว์ไลฟ์เฉยๆ ท่านหญิงนอนอืดเอื่อยในตำหนักกินขนมจิบชาไปวันๆแบบเรื่อยเปื่อยเฉยๆ พออ่านแนวจีนโบราณทีไรแม่งต้องมาพร้อมพลังซูอะไรพวกนี้ตลอด กูเหนื่อย และกูไม่ฉลาดพอที่จะเขียนแนวชิงอำนาจด้วย
แต่แนวผักมันเยอะเลยยกมาเฉยๆ
>>706 ทำไมถึงคิดว่าดูถูกคนอ่าน อยากอ่านแนวชิงอำนาจก็ไปอ่านเรื่องที่เขาโชว์เหนือโชว์ฉลาดในด้านเกมการเมืองเถอะ คนเราก็ใช่ว่าจะอยากอ่านอะไรเข้มๆใช้สมองกันตลอดนี่หว่า ทีแนวเจ้าหญิงยุโรปแม่งก็มีเรื่องเรื่อยๆเปื่อยๆไปวันๆเหมือนกัน ทั้งที่ฝั่งนั้นก็รบกันอุตลุต ฆ่ากันชิงอำนาจเยอะไม่แพ้ฝั่งจีน ไม่เห็นจะมีใครบ่นว่าเขียนแนวนี้คือการดูถูกคนอ่านแบบที่มึงบ่น
>>708 กุว่ามันน่าจะเจอแบบที่เซตติ้งอีหยังวะ จิ๊กโฉ่วผสมปลาร้ามาเยอะมั้งมึง (กุก็เจอโคตรบ่อย) แบบในวังมันก็มีระบบระเบียบส่วนนึงที่คนอ่านนิยายจีนมาจะคุ้นเป็นพื้นขนบอยู่ พอเอาไปปรับให้เป็นคอมเมดี้สโลว์ไลฟ์มันก็อาจจะยากนิดหนึ่งว่าชงยังไงถึงจะสนุกกลมกล่อมแต่ไม่ขาดความสมเหตุสมผลน่ะ
ถ้าเขียนดีๆ มันก็สนุกแหละ คนอ่านชอบอะไรเบาๆกันอยู่แล้ว ที่เคยเจอแล้วคิดว่าเข้าข่ายสโลว์ไลฟ์ส่วนมากมันจะต้องมีพันโครงสร้างอำนาจอยู่หน่อยๆ แบบทำนองให้รู้ว่าสนมนี่มาจากฝ่ายนึง เลยหมั่นไส้ สนมนี่ ฮ่องเต้ติดคสพ.เครือญาติกะคนนี้เลยลืมตาหลับตาข้าง แต่นอกนั้นก็เฮฮารักๆใคร่ๆ ไปตามเรื่องตามราว
องค์หญิงฝรั่ง องค์หญิงญี่ปุ่นยังสโลไลฟ์ได้ องค์หญิงจีนทำไมจะสโลไลฟ์ไม่ได้วะ พวกแนวพีเรียดย้อนยุคมันก็ไม่ใช่ว่าจะเครียดชิงอำนาจตบตีกันตลอดเวลานี่หว่า แนวองค์หญิงฝรั่งพวกเกาะมันเอามาเขียนเรื่อยๆเปื่อยๆตั้งเยอะไม่เห็นมีใครจับผิดห่าไร รู้ลำดับอำนาจกับเส้นสายแค่นี้ก็เขียนได้ละ ลูกดยุคลูกคิงลูกจักรพรรดิที่พ่อรักและตามใจหนักมาก อยากนอนกินมาการองไปวันๆพ่อก็ไม่ว่า ลูกท่านอ๋องลูกฮ่องเต้อยากนอนกินถังหูลู่ไปวันๆก็ต้องทำได้เหมือนกัน
สมมุติยุคเอาน่ะ
>>713 นิยายจีนโดยคนจีนแท้ๆก็ใช่ว่าจะเขียนตามขนบเป๊ะๆ บริบท ยุคสมัยก็ไม่อิงห่าไรเลย กำหนดเซ็ตติ้งใหม่ อิงจากโลกจริงบ้างแต่ก็สร้างเป็นเซตติ้งตัวเอง เหมือนอีเกาะอีเกาที่เอาเซตติ้งท่านดยุคขุนนางฝรั่งนั่นนี่มาสร้างโลกของตัวเอง ไม่ใช่ว่าจะเอาตามปวศ.ไปซะทุกอย่าง
สรุปคือจะเขียนอะไรก็เขียนไป แค่ไม่มีอะไรแปลกปลอมขัดตามากๆแบบที่ใส่ชุดจีนกรุยกรายยุคต้าถัง ใช้ดาบรบกันบนหลังม้า แต่ดันมีรถไฟฟ้ากับเครื่องบิน f16 โผล่มาในเรื่องก็พอแล้ว
>>717 อีเกาะนี่แทรกวัฒนธรรมมันลงไปตลอดไม่ว่าจะเซ็ตติ้งไหนอะ พ่อบ้านดำยุควิคตอเรียยังให้ใช้ตะเกียบแดกข้าวหน้าเนื้อกันเลย กินข้าวก็ตบมือไหว้ โค้งหัวสุมิมาเซน เซตติ้งไฮสคูลขุนนางฝรั่งก็โรงเรียนม.ปลายญี่ปุ่นดีๆนี่เอง มีเบนโตะอาหารกลางวัน เซตติ้งจีนมันยังทำไข่ม้วนกินกันเลย แต่ถ้ามันไม่ขัดตามากก็ปล่อยๆไปไม่ซีเรียส
>>719 555 เออ แต่กุก็ขัด+ขำทุกครั้งนะ โดนเฉพาะอีพวกทะลุแฟนตาซีต่างโลกไปธีมยุโรป แต่คนท้องถิ่นกลับบ้านมายังมีกลับมาแล้ว/ กลับมาแล้วเหรอคะ จากนั้นก็กินอาหารฟูลคอร์สดื่มไวน์แบบฝรั่งด้วยการตบมือว่าทานล่ะนะ สำนวนการพูดก็จะเน้นขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ สไตล์ปุ้นๆ ชัดเจน
แต่ก็แหละ งานสัญชาติข้ามเซตติ้ง มันก็จะมีพวกนี้เสมอแหละ บางอันข้ามไหวก็ขำๆ อันไหนขัดไปเกินก็ปิดวางเอา 555
>>720 ถ้าเป็นอีเกาะเขียนวัฒนธรรมพวกนี้ลงไปในงาน กูจะมองว่ามันจงใจใส่ลงไป กูมีวัฒนธรรมแบบนี้และอยากเผยแพร่ แม้เซตติ้งจะเป็นขุนนางยุโรปก็ตาม แต่อีฝรั่งที่เขียนเซตติ้งญี่ปุ่นแต่เขียนให้ใส่รองเท้าเดินในบ้าน ใส่รองเท้าขึ้นเตียง เอาวัฒนธรรมหรือค่านิยมแบบฝรั่งๆมายัดใส่เอเชีย กูดันมองแม่ง weeb ชิบหาย เพราะฝรั่งความไม่รู้เรื่องโลกภายนอกมันสูง คิดว่าโลกหมุนรอบประเทศมันเลยดูมีเสร่อสูงกว่าป่ะวะ 555555555
เซ็ตติ้งฝรั่งวัฒนธรรมชาวเกาะนี่มันจงใจไม่ใช่เหรอ เป็น genre นึงในวงการบ้านเขา มันต่างจากฝรั่งที่พยายามญี่ปุ่นแต่ไม่เนียน หรือพยายามจีนแต่โป๊ะนะ
ยังมีใครเล่นมู้นี้อยู่มั้ยย ช่วยแนะนำนิยายปกสวย ๆ ให้กุหน่อย เดี๋ยวนี้นิยายจีนเซินเจิ้นส่วนใหญ่มีแต่ปกตัวละครหน้าเบี้ยว เนื้อเรื่องดีแต่เห็นปกแล้วกุหมดแรงอ่าน
นิยายจีนนี่มันจำเป็นต้องเขียนชื่อพวกผักผลไม้เป็นภาษาจีนด้วยเหรอวะถึงจะได้ฟีลจีน แบบนางเอกทำกับข้าวที ยกผักแบบชื่อจีนมาทั้งสวน มันนึกไม่ออกในแว่บแรกว่ามันคืออะไรอ่ะ นี่กูอ่านนิยายหรือหนังสือเรียนภาษาจีนวะ
กูคิดเหมือนคนหมู่มากว่ะ มันได้ฟีลจีนดี มีอะไรให้ครุ่นคิด ว่ามันแปลว่าอะไรวะ พวกสามเค่อ สี่เค่อก็ด้วย ถ้าอ่านเจอท่านพี่ข้าอยากกินตะขบ น้อยหน่า มังคุด กูว่ามันตลกอะ
คำวิจารณ์ของนักอ่านบางคนนี่เมินๆไปก็ได้นะ ไม่อยากให้นักเขียนนักแปลไปอ่านเลย ขืนบ้าจี้ทำตามคุณภาพได้ตกกันหมด พวกนี้บางทีอ่านมาแต่นิยายกากๆ พอมาเจองานดีๆสำนวนดีๆก็ไปว่าเค้าเพราะตัวเองไม่เคยเจอ
ไม่เอาแบบอาหมีก็พอละ
>>736 ขอตอบแทนละกันนะ ข้อในที่นี้คือข้อปล้อง แบบข้อนิ้ว ข้อไม้ไผ่ ข้อโซ่ ไม่ใช่โจทย์ข้อ 1 2 3
ทีนี้นาฬิกาแดดจีนแบบโบราณเนี่ย มันแบ่งหนึ่งชั่วยาม (2 ชั่วโมง = 120 นาที) ออกเป็นแปดส่วน เรียกว่าเค่อ คนแปลบางคนเขาก็เลยแปลคำว่าเค่อตัวนี้เป็นข้อยาม เพราะดูตามนาฬิกาจีนแล้ว มันก็เป็นข้อๆ นั่นแหละ กูคิดว่านักอ่านที่โวยวายอาจจะไม่ทันได้นึกว่าข้อมันแปลแบบนี้ได้ด้วย เลยฟันธงก่อนเลยว่านักแปลแปลผิด
อันนี้น่าจะมีรูปนาฬิกาแดดจีน มึงลองดู
https://www.youtube.com/watch?v=GgGqcgpF3i8
>>736 เออ บอกไว้ก่อนว่า >>737 เนี่ย กูเดาเอาแล้วลองไปหารูปนาฬิกาแดดดูเองนะ ไม่ได้ไปเจอคำอธิบายตรงไหน คิดว่ามันไม่ใช่คำเฉพาะที่มีอยู่แล้วในภาษาไทย แค่คนแปลพยายามใช้ภาษาไทยอธิบายนี่แหละ ส่วนตัวกูอ่านแล้วก็เข้าใจเลย มองว่ามันเดาไม่ยาก แต่รู้สึกว่าเพื่อนๆนักอ่านบางคนมีปมเขื่องว่ะ คิดว่าตัวเองอ่านมาเยอะ เก่งกว่านักแปล พอเจอศัพท์ที่ไม่รู้จักก็ตัดสินเลยว่าเขาแปลผิด แทนที่จะลองเดาหรือลองถามดูก่อน
>>738 ขอบคุณมากมึง ทีแรกกูนึกว่าหน่วยวัดความยาวแบบวัดก้านธูป 1 ก้านธูปมันประมาณ 1 ชั่วโมง 1 ข้อยามเลยน่าจะราวๆ 15 นาทีป้ะนะ แต่คิดอีกทีข้อมันก็เล็กเกิน น่าจะน้อยกว่า 15 นาที เลยเดาว่าคงไม่ใช่ 555
เรื่องคำแปลอะไรกูไม่ได้ติดนะ กูชอบแบบแปลไทยด้วย กูเบื่อทับศัพท์ในบางทีที่มันเยอะเกิ๊น แต่ข้อยามนี่บอกตรงๆ กูเดาไปไม่ถึง เพราะช่องเวลากูไม่ได้เรียกข้อน่ะ หลายคนก็น่าจะเดาไม่ถูกเพราะไม่ใช่ปกติใช้กัน จริงๆ การบัญญัติศัพท์ใหม่มันก็ไม่แปลก แต่ถ้าคนทั่วไปไม่คุ้นชินหรือปกติไม่ได้ใช้กับสิ่งนี้ทางคนแปลน่าจะอธิบายไว้หน่อย หรือมันเป็นจุดเล็กๆ ที่ไม่ค่อยสำคัญก็ไม่รู้
รอเพื่อนโม่ง 732 มาอธิบายอีกที เผื่อมีข้อมูลชัดๆ กว่านี้ ขอบคุณ 737 738 มากจ้า
ข้อยามกูว่าประหลาดเกิน เค่อเนี่ยกูจำได้ว่า 15 นาทีแล้ว ใช้กันทั่วไป ข้อยามนี่คือบัญญัติศัพท์ใหม่แปลเองปะวะ ถ้ามึงไม่ได้โด่งดังระดับ น.นพรัตน์ อย่าหาทำเลย ไอ้บัญญัติศัพท์อะ โดยเฉพาะถ้าศัพท์มึงมึงใช้เองคนเดียว คนแปลคนอื่นไม่มีใครเอาด้วย มันยิ่งแป๊ก
ถ้ามึงอยากแปลมากก็มั่น ๆ แปลไปเลย 15 นาที ทุกคนเข้าใจ ถึงจะไม่ตรงต้นฉบับนิดหน่อยแต่ก็ยังโอเคกว่าข้อยามนะกูว่า
ส่วนก้านธูปแม่ง ครึ่งชม. 2 เค่อ มันคนละเวลากันเลยอะดิ
ปล. นักแปล "บางคน" ที่มึงว่ามันมีกี่คน ใครบ้างวะ เพราะกูไม่เคยเจอสักครั้งเลย.......
ปล.2 กูลองกูเกิลดูเผื่อว่ากูโง่เอง ไม่เคยเห็น ไม่เจอเลยว่ะ จนกูเกิล "ข้อยาม" แบบมี "" ถึงเจอในโพสต์กูกูอันเดียว มีคนมาเมนต์ว่า "ขอบคุณค่ะ ตกลงอ่านว่าเค่อนะคะ สงสัยมานานอ่านเรื่องแปลบางเรื่อง ข้อยามนี่มันข้ออะไร" เรียกได้ว่าเป็นศัพท์ที่ไร้คนใช้แบบสุด ๆ
>>740 จำได้ว่าแต่ก่อนเมืองยิ้มใช้กันเยอะอยู่นะ พวกรุ่นเจินหวน หงส์กรีดปีก แนวๆนั้น จะว่าบัญญัติศัพท์ใหม่ก็ไม่เชิง กูว่ามันคือคำประสม เป็นการอธิบายโดยใช้คำไทยนี่แหละ ข้อ+ยาม ลุ่นๆเลย ไม่ใช่คำเฉพาะ แค่อ่านแล้วก็ดูความหมายของคำ แค่นั้นเลย แต่นักอ่านรุ่นหลังๆไม่พยายามทำความเข้าใจแล้วไง นักแปลก็โดนด่าจนต้องเปลี่ยนเป็นเค่อกันหมด แล้วพอเปลี่ยนหนึ่งคำ คำอื่นๆก็ตามมา ทำไมแปลว่าคืบ วา ศอก ทำไมไม่ฉื่อ จั้ง ชุ่น ทำไมแอปเปิ้ล ทำไมไม่ผิงกั่ว แล้วนักแปลก็ตามใจไง ใครจะอยากโดนด่า จริงปะ แล้วก็ลงท้ายด้วยมาด่านักแปลในโม่งบนนี่ไงว่าทับศัพท์ทำไม
กูเจอเรื่องที่ใช้ข้อยามล่าสุดเมื่อสี่ห้าปีที่แล้วมั้ง ช่วงที่แนวสนมตบกันในวังบูมๆอะ หลังๆพอเริ่มปลูกผักปลูกหญ้าเป็นหมอนั่นนี่ก็ไม่เจอละ แต่มีช่วงนึงเจอบ่อยจริง
เอาคำมาประสมกันเป็นคำใหม่มันก็คือสร้างคำใหม่อะเน้อ เป็นคำเฉพาะไว้เรียกเศษส่วนของโมงยาม ในที่นี้คือ 1/8 ชั่วยาม(จีน) ตามความหมายของคนแปล
กูว่ามันไม่เกี่ยวกับอ่านมากอ่านน้อย เกี่ยวกับอ่านถูกเล่มมากกว่า ไม่มีใครอ่านหนังสือได้ครอบคลุมไปหมดหรอกมึง แต่ทีนี้ ข้อยาม ที่เป็นประเด็นเนี่ยน่าจะไม่ได้ใช้กันทั่วไปขนาดที่เห็นปุ๊บก็เดาได้ อย่างแรก ข้อ ในแง่ที่นับเป็นหน่วยวัด ปกติมันเป็นหน่วยความยาวไม่ใช่หน่วยเวลา หรือถ้าเอาตามข้างบนอธิบายคือข้อ ปล้องของนาฬิกาแดด ส่วนใหญ่คนเขาก็ไม่เรียกไอ้ช่องๆ ที่แบ่งหน้าปัดออกเป็นส่วนว่า ข้อ กันนะมึง (ขออ้างอิงข้างบนไว้ก่อน เพราะยังไม่ชัดเจนว่ามันมาจากหน้าปัดนาฬิกาแดดหรือมาจากไหนกันแน่) แล้วพูดถึงเวลาในนิยายจีนก็ไม่ใช่ส่วนใหญ่จะนึกถึงหน้าปัดนาฬิกาไงมึง มันจะไปนึกถึงที่คุ้นชินอย่าง โมง ยาม ชั่วน้ำเดือด ก้านธูปอะไรพวกนี้มากกว่า แน่นอนว่ามีคนหัวไวเดาได้ง่ายๆ แต่โดยพื้นฐานแล้วการแปลมันต้องถอดความให้ถูกความหมาย ได้อรรถรส เข้าใจได้เป็นส่วนใหญ่นะ ส่วนที่เฉพาะเจาะจงก็น่าจะอธิบายกันไว้นิดนึง นักอ่านส่วนมากไม่ค่อยคิดซับซ้อนหลายชั้นกับเรื่องพื้นๆ อย่างหน่วยเวลาอะมึง ซึ่งจะโทษว่านักอ่านไม่ขวนขวายทำความเข้าใจเลยมันก็ไม่ถูกสำหรับกรณีนี้นะ ส่วนกรณีอื่นๆ ก็แล้วแต่เหตุการณ์ไป
ขอยกตัวอย่างหน่อย อย่าง ฆาตกาม ที่รงส์ วงศ์สวรรค์ ประสมเป็นคำใหม่ขึ้นมาเอง อ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่ามาจาก ฆาตกร กับ กาม รวมแล้วหมายถึงนักฆ่าข่มขืน คือมันเข้าใจได้โดยศัพท์ ในขณะที่ ข้อยาม จะมีกี่คนที่เข้าใจว่ามันเป็นเวลากี่นาที กี่วินาที เป็นส่วนเท่าไหร่ของชั่วยาม
เรื่องใช้คืบ ศอก หลา แทนหน่วยจีนเลย อันนี้มันต้องดูนะว่ามันเทียบหน่วยกันแล้วออกมาถูกต้องแค่ไหน ขนาดจิน กิโลกรัมจีน ปริมาณมันยังไม่เหมือนชาวบ้านเค้าเลย ส่วนตัวกูเจอคำทับศัพท์อังกฤษในนิยายจีนโบราณก็สะดุดนะ แต่ถ้าเป็นแปลไทยที่มีคำไทยอยู่แล้วอย่างน้อยหน่า ลิ้นจี่ นี่เฉยๆ แฮะ อย่างดอกไม้อะไรงิ กุก็ชอบแปลไทย ยกเว้นคนละสายพันธุ์ที่ไม่มีในไทยแล้วมันเทียบยากก็ทับศัพท์ไปก็ได้ ทั้งนี้กูว่าขึ้นอยู่กับวิจารณญาณนักแปลด้วยว่าจะเลือกยังไง นักอ่านบางจำพวกที่เรื่องเยอะก็ไม่ต้องตามใจไปหมดก็ได้ (ว่าแต่นี่มู้จีนเสิ่นเจิ้นป้ะ กูคุยผิดมู้ไหมเนี่ย)
เรื่องนักอ่านขี้โวยวายกูเห็นอยู่ เห็นใจนักแปลด้วย ในกรณีคำศัพท์ที่มีความหมายแน่ชัด ค้นได้อยู่แล้วกูเข้าข้างนักแปลนะ แต่กับ ข้อยาม นี่กูมาถามเพราะไม่เข้าใจจริงๆ เลยอยากรู้ว่าเดิมเรามีใช้คำนี้กันมั้ย เผื่อจะได้จดจำไปใช้บ้าง
>>745 เรื่องไหนบ้างเหรอ กูจะได้พลิกไปดูมั่งว่ามันอยู่ตรงไหน เพราะกูไม่เคยเจอจริง ๆ นี่ก็ว่าอ่านมาเยอะพอควรแล้วนะ เผลอ ๆ ที่เป็นไปได้คือกูเคยเจอจริงแต่สมองอ่านเป็นชั่วยามไปดื้อ ๆ ก็เป็นไปได้ เข้าใจเวลาผิดเป็นแปดเท่าไปเลย
แต่มีในเจินหวนใช่มะ เรื่องนั้นกูก็อ่าน ทำไมจำไม่ได้วะว่าเคยเจอ เดี๋ยวไปอ่านอีกรอบ
แต่หน่วยน้ำหนักจีนนี่เมื่อก่อนมันแปลเป็น ตำลึงหรือชั่งปะวะ แบบ สี่ตำลึงปาดพันชั่ง แต่กูก็ไม่รู้หรอกว่า ตำลึง กับ ชั่ง มันหนักเท่าไหร่กันแน่ แค่จำไปว่า อืม ๆ มันเป็นหน่วยน้ำหนักจีนนะ 5555 ซึ่งกูก็ว่ามันไม่ได้ทำให้กูเก็ตขึ้นมาได้เลยว่ามันหนักเท่าไหร่
ว่าแต่แล้วอันไหนคือ "จิน" วะ......
ส่วนหน่วยความยาว ฉื่อ/เชี๊ยะ/ศอก นี่กูว่ากูได้หมดอะ เอาให้มันเหมือน ๆ กันทั้งเรื่องแล้วกัน
กูโตมากับนิยายกำลังภายในยุคเก่าเลย ซึ่งทับศัพท์กันแบบสะบั้นหั่นแหลก ฉายาชาวยุทธ์ยังทับศัพท์ คนฉายามังกรทองนี่อย่าหวังเลยนะว่าจะแปลเป็นมังกรทอง ต้องแปลเป็น กิมหลงค่า แล้วถ้าแก๊งมีมังกรห้าสี มึงก็จำไปดิว่าสีไหนคือคำไหน
แล้วจู่ ๆ นักแปลก็เกิดการเปลี่ยนวิธีมาแปลเป็นภาษาไทยหมดทุกอย่าง ซึ่งกูก็ปรับตัวแล้วอ่านตาม
จนตอนนี้เหมือนจะย้อนกลับไปวันวานนิดหน่อย ทับศัพท์มากขึ้น (แต่เป็นจีนกลางแทน) กูก็เลยไม่รู้สึกอะไรอะนะ
>>750 กูเข้าใจเลย แล้วเมื่อก่อนท่านนักแปลก็ชอบวงเล็บคำแปลฉายาไว้ให้แค่คำแรกคำเดียวด้วย ที่เหลือแต้จิ๋วไปสิ ตอนกลับมาอ่านจีนกลางกูก็มึนไปพักนึงเหมือนกัน 5555 แต่กูก็ชอบที่เค้าแปลออกมาสละสลวยนะ อ่านแล้วโบร๊านโบราณดี
คำจินนี่ครึ่งโลจีนกูใส่มาเป็นตัวอย่างเฉยๆ น่ะ ถ้าทำให้งงกูขอโทษด้วย แต่อย่างหน่วยวัดแบบจีนกูก็ยังอยากให้ทับศัพท์ไปนะ มันกะระยะง่ายกว่าเวลาอ่าน อันนี้สำหรับกูน่ะ ซึ่งจะยังไงก็แล้วแต่นักแปล แต่ส่วนอื่นๆ ที่แปลได้ก็อยากให้แปลแหละ มันอ่านแล้วได้อารมณ์กว่าน่ะ ในความรู้สึกกู
>>750 เท่าที่เข้าใจ จิน คือ ชั่ง ปะวะ แล้วก็มีอีแปะอีกอัน เดี๋ยวนี้เห็นคนแปลว่าเฉียนหรือเหวินอะไรนี่แหละ หวังว่าคงไม่มีใครโวยนักแปลที่ใช้คำว่าอีแปะนะเว้ย 55555555
เดี๋ยวนี้คงเพราะมีโซเชียลมั้ง กูเห็นนักอ่านนักวิจารณ์ตั้งข้อสงสัยกับคำศัพท์เยอะมาก บางคนก็ช่างหัวมันเถอะ แต่บางคนตั้งข้อสังเกตน่าสนใจนะ กูเคยอ่านบล็อกของนักรีวิวคนนึง เขายกคำว่า "ทรยศรานพระคุณ" มา บอกว่าไม่เคยเห็นคำว่าราน พอไปเปิดรบฑก็บอกว่ามันแปลว่าตัดกิ่งไม้ เพราะงั้นควรใช้คำว่า "ลาญ" มากกว่าหรือเปล่า กูก็งงว่าเดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้แล้วเหรอวะ รานพระคุณ รานน้ำใจ อะไรเงี้ย แต่ที่เขาพูดมาก็ถูก หรือสมัยก่อนมันอุปมาพระคุณกับน้ำใจว่าเป็นกิ่งไม้กำลังงอกงาม แต่คนไปตัดมัน อะไรงี้เหรอวะ
>>752 รานน้ำใจเคยเห็นในหนังสือเก่า สมัยเดียวกับพวกมูลบทบรรพกิจนู่น ส่วนใหญ่เป็นกลอน ข้อยามก็จากหนังสือเก่าเหมือนกัน ของไทยนี่แหละ รู้สึกจะดรุณศึกษามั้ง ปกติมันก็ใช้กันประปรายมาเรื่อยๆจนถึงเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อน แต่พอยุคนิยายวัยรุ่นมีอีโมจิฮิตกัน ศัพท์พวกนี้ก็หายไปเลย ถ้าเจอหนังสือเล่มไหนที่ใช้คำพวกนี้อยู่ก็ยินดีด้วย มึงเจอของแรร์ หมดรุ่นนี้ก็น่าจะหมดแล้วละ
เพื่อนโม่ง ช่วงนี้อ่านไรกันบ้างอ่า
ไม่ได้เข้ามานานเพราะมูฟจากวงการเสิ่นเจิ้นไปทั้งอ่านเขียน กำลังจะกลับมาเลยแวะส่องโม่งถึงกับหาห้องไม่เจอ555 ในนี้เองก็ซบเซาสินะ
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.