เห็นยังไงบ้างกับข้อความข้างล่าง:
เท่าที่สังเกต การใช้ไม้ยมก ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางการ (พวกงบการเงิน บทความวิชาการ) เขาจะไม่วรรคหน้ากันแล้ว แต่จะวรรคเฉพาะหลัง
จึงกล่าวได้ว่า การใช้ "ที่ถูกต้องจริงๆ" คือการวรรคเฉพาะหลัง แต่ไม่ต้องวรรคหน้า
"หลักเกณฑ์" ที่อ้างโดยส่วนกลางต่างหากที่ผิด ที่ไม่ปรับปรุงไปตามยุคสมัย
อย่าเข้าใจผิด มนุษย์ (ในที่นี้คือ คนไทย) คือ เจ้าของภาษา ถือเป็นนายของภาษา ไม่ใช่ภาษาเป็นนายเรา ดังนั้น หลักไวยากรณ์และการใช้ภาษาที่ถูกต้องคือ หลักอะไรก็ตามที่คนในสังคมอันเป็นเจ้าของภาษา เขายอมรับใช้กันโดยทั่วไป
โดยตรรกะเดียวกัน ถ้าต่อไปสังคมส่วนใหญ่ยอมรับการใช้ "นะค่ะ" มันก็กลายเป็นการใช้ที่ถูกต้องนั่นเอง (แต่ตอนนี้มันยังไม่เป็นที่ยอมรับขนาดนั้น เลยถือว่าผิด)
(และควรสังเกตด้วยว่า การใช้ "ค่ะ" (รวมถึงคำว่า "น่ะ") ว่ากันตามตัวอักษรเป๊ะๆ มันก็ผิด เพราะในการใช้จริงๆ เราจะอ่านว่า "ขะ" ซึ่งเป็นเสียงเอก แต่พยัญชนะเสียงต่ำมันไม่มีเสียงเอก ดังนั้น ถ้าไม่ใช่ออกเสียงผิด ก็ต้องสะกดผิด (ว่ากันตามหลักอะนะ) แต่ที่มันมีข้อยกเว้นว่ามันถูก ก็เพราะคนเจ้าของภาษาอย่างเรายอมรับว่ามันถูก ดังนั้น ถ้าต่อไปการใช้ "นะค่ะ" มันกลายเป็นสิ่งที่ถูก จะไปแปลกอะไร)
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้