>>88 เดาว่ามาจากรสชา เหมือนชาฝรั่งแหละว่าแต่ละชนิดมีกลิ่นรส ความเข้ม และเหมาะกับวาระต่างๆไม่เหมือนกัน
ทิกวนอิม : เข้มมาก ชุ่มคอ ชงยากถ้าให้เป๊ะจริงคือรายละเอียดเยอะทั้งขั้นตอน วิธี เรื่องน้ำ ไปยันกากับถ้วยกมีแบบเฉพาะ ที่กูเคยกินคือขมชิบหาย นี่พูดในแง่กูเป็นคอชาฝรั่งนะ คิดว่าคงไม่ชินกับรสชาจีนด้วยส่วนนึงเพราะกินหลายแบบก็ขมอะ แต่ทิกวนอิมนี่แบบ เชี่ยยยย ขมติดลิ้น แต่คนที่ชอบชาจีนเค้าบอกหอมชุ่มคอ!? - แปลงเป็นนิสัยคนก็แนวพิธีการ มีมาดหน่อย แบบไม่ใช่อะไรที่ดูสบายๆ เข้ม(เป็นคนขมๆสินะ 555) อาจจะขรึมมั้ง คนที่ชอบกินส่วนใหญ่แนวเหมือนพวกคงแก่เรียน คอชาก็จะมาดนิ่งๆสุขุม ไม่ก็คนมีอายุหน่อยไปเลย อารมณ์เหมือนจิบไปถกปรัชญากันไป
ชาเก๊กฮวย : จิบสบายๆ กูรู้สึกว่าชาเก๊กฮวยนี่มาแนวเดียวกับชาคาโมมายล์เลยในความรู้สึก เป็นพืชตระกูลเดียวกันด้วย หน้าตาก็คล้ายกันมากอยู่ แค่คนละสายพัธุ์แต่รวมๆก็ยังพวกเดียวกัน เป็นชาแบบกินแล้วผ่อนคลายนะ รสอ่อนๆเบาๆ จิบสบายๆ ชงก็ง่ายไม่ได้มีขั้นอะไรเยอะแยะ คือพวกชาดอกไม้นี่ลำดับขั้นและวิธีชงจะไม่วุ่นเท่าสารพัดชาจีนเป็นใบๆ พวกชาชั้นสูงทั้งหลาย จะมีรายละเอียดเยอะกว่า - เป็นนิสัยก็ตรงตัวนะ ดูสบายๆ ไม่พิธีการอะไรมาก รสอ่อนสีอ่อนคือจิบไปไม่ได้ขมปึ้ดอะไรเป็นพิเศษ กลิ่นก็อ่อนๆ ก็ดูเป็นคนง่ายๆไรงี้
ชาบุปผาคลี่ : หน้าตาสวยรสจืดสนิท 5555 คือไม่มีรสเลยเป็นส่วนใหญ่ ถ้ามีก็จางมาก กลิ่นก็จาง แต่เด่นที่เวลาชงแล้วหน้าตามันโอเค อันนี้ก็ไม่ได้มีพิธีอะไรมาก ตัดเป็นชาประยุกต์ด้วยอะ แบบสมัยใหม่หน่อย วิธีชงก็ไม่ได้มีขั้นตอนล้ำลึกปรัชญาอะไรเหมือนกัน - เป็นนิสัยนี่ก็คงหน้าตาดี น่ารักสวยงาม สบายๆง่ายๆ ความง่ายๆนี่ขั้นกว่าของเก๊กฮวยอีกตะหาก อ่อนเบาสบายๆอะไรแบนั้น