>>164 สั้นๆ บุคคลที่หนึ่งคือการเล่าเรื่องของตัวละครผ่านมุมมองของตัวมันเอง เช่น 'เสียงไก่ขันปลุกให้ข้าตื่นตั้งแต่เช้าตรู่ หนอยแน่เจ้าไก่บ้า ไม่รู้หรือยังไงว่าเมื่อคืนข้าแทบไม่ได้นอน ประเดี๋ยวพ่อจับต้มให้หมดเล้าเสียเลยนี่'
ข้อดี: คนอ่านอินกับตัวละครง่าย ข้อเสีย: การอธิบายถึงสิ่งไกลตัวทำได้ยาก เพราะมองผ่านมุมมองของตัวเอก ถ้าตัวเอกไม่รู้เรื่องอะไร ก็จะอธิบายออกมาไม่ได้เลย เช่น เหตุการณ์กลางสนามรบ ตัวเอกก็จะรับรู้แค่การต่อสู้ตรงหน้า ไม่สามารถมองเห็นได้ว่าสถานการณ์จริงๆมันเป็นยังไง
บุรุษที่สอง อันนี้ถ้าเคยอ่านเชอร์ล็อคโฮล์มจะเข้าใจดี เป็นการบรรยายตัวละครเอกโดยตัวละครอื่นอีกคน เช่น 'จูเลียนเงยหน้าขึ้นมาจากหนังสือพิมพ์กรอบเช้า เมื่อเห็นข้าพเจ้าเขาก็ยิ้มออกมาอย่างยินดี "อรุณสวัสดิ์จอร์จ" เพื่อนสนิทของข้าพเจ้ากล่าวทักทาย "เมื่อคืนนี้มีสุภาพบุรุษจากคิวบาคนหนึ่งมาหากัน เขาทิ้งซิการ์อย่างดีกล่องหนึ่งไว้นั่นแน่ะ แกลองชมดูซี" '
ข้อดีข้อเสียไม่พูดถึงแล้วกัน ไม่ค่อยแน่ใจ และปกติก็ไม่เห็นคนนิยมเขียนแนวนี้เท่าไหร่นะ
ส่วนบุรุษที่สามก็ที่เห็นกันบ่อยๆ บรรยายฉาก บรรยายลมฟ้าอากาศด้วยมุมมองของพระเจ้า 'เสียงกระดิ่งยามต้องลมปลุกหญิงสาวให้ตื่นขึ้นจากห้วงนิทรา เธอจ้องมองเพดานที่ถูกแสงตะวันอาบจนเปลี่ยนเป็นสีส้ม ในใจยังคำนึงถึงชายหนุ่มที่เธอพบพานในความฝัน'