เรื่องนึงที่พูดถึงในคลาสที่แล้วคือ คนเราหลายๆ ทีจะสับสนระหว่างการ “มีอำนาจ“ และการ “มีความสามารถในการควบคุมได้”
หรือภาษาอังกฤษคือ authority does not imply control.
เวลาที่เรา lead บนตำแหน่ง แน่นอนเรามีอำนาจในทีม เราอาจจะสามารถตั้งกฎหลายๆ อย่าง เราอาจจะเดินไปบอกให้ใครต่อใครต้องทำอะไร ต้องเป็นยังไง เรามี authority แน่ๆ
แต่สุดท้าย เราควบคุมใครไม่ได้เลย นั่นคือจริงๆ เราไม่เคยมี control เราทำได้มากสุดก็แค่ตั้ง consequence บางอย่าง แต่ถามว่าเราควบคุมใครได้มั้ย ไม่ได้เลย
ที่เขาทำตามเราคือเขา ”ยินยอม“ นะ อย่าสับสนว่าเราควบคุมคนอื่นได้
เราทำได้มากสุดคือใช้อำนาจที่มี รวมกับความสามารถในการคุมร่างกายตัวเอง พาเอาร่างกายตัวเองไปพูด ไปเคลื่อนไหว ไปกระทำการใดๆ แล้วหวังว่าคำพูดและความเคลื่อนไหวนั้นจะทำให้คนในทีมเรา ”ยินยอม“
เราควบคุมได้มากสุดแค่นั้นแต่เริ่มแล้ว ไม่เคยควบคุมอะไรได้มากกว่านั้น
(มีหลายคนบ่นว่าเด็กสมัยนี้คุมไม่ได้ ผมจะบอกว่าคุณไม่เคยคุมอะไรได้แต่ต้น ทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้วแหละ คุณแค่เข้าใจผิด)
ทีนี้ถ้าเราตระหนักรู้ได้ว่าจริงๆ เราควบคุมใครไม่ได้เลย มันเปิดโอกาสให้เราเรียนรู้ตามความเป็นจริงครับ
มันเปิดโอกาสให้เราเรียนรู้กลไกที่จะทำให้มีโอกาสที่จะควบคุมในสิ่งที่เราควบคุมได้คือตัวเอง ไปทำในสิ่งที่เพิ่มโอกาสที่คนจะ ”ยินยอม“ ตามเรามากขึ้น โดยไม่สับสนว่าเราจะต้องควบคุมอะไรได้
เพราะเราควบคุมไม่ได้อยู่แล้วเว้ย
และเมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงแล้ว มันจะไม่ฝืน
การ ”ควบคุม“ มันต้องเป็นดั่งใจหวัง แกต้องตามฉัน
การ ”ไม่ควบคุม“ แต่ให้ยินยอม เรารู้ตลอดว่าคนยอมตามคำพูด กฎ policy ต่างๆ จากอะไร เราใช้ต้นทุนตรงไหนอยู่
แล้วเมื่อเราเข้าใจต้นทุนที่เราใช้ เราก็บริหารได้ง่ายขึ้น
เรา appreciate เวลาคนมีศรัทธากับเราได้มากขึ้น
เวลาเราสั่งหรือฟาดใคร เราก็เข้าใจว่าเราจ่ายอะไรลงไปมากขึ้น
เราเข้าใจและทำใจว่า action ที่จะทำให้เกิดการ “ยินยอม” มันเปลี่ยนตามยุคสมัยมากขึ้น
ซึ่งมันต่างจากมุมมองแบบที่ว่าเราต้อง ”ควบคุมได้“ ไปเยอะมากครับ คนละเรื่องกันเลย
ถ้าเราเข้าใจว่าคำว่า “อำนาจ” มันมีพลังแค่ไหน ไม่มากเกินที่มันเป็น ไม่น้อยกว่าที่มันเป็น เราก็จะไม่หลงไปกับอำนาจครับ