หนึ่งในเรื่องสำคัญที่หลายต่อหลายคนมองข้าม ก็คือ "พิมพ์ดีด"
ต้องฝึกให้คล่องนะ อย่างน้อยๆ นี่ 30 คำต่อนาทีขึ้นไปควรจะได้ ไม่งั้นจะ inefficient มากในการทำงาน
และแน่นอนว่าการพิมพ์ที่ดี ควรพิมพ์ได้โดยไม่ต้องมองแป้นพิมพ์เลยแม้แต่นิดเดียว
ไม่เช่นนั้นก็จะมี interruption ของกระบวนการคิดเกิดขึ้นตลอดเวลา ... สมองจะต้องทำ context switching ระหว่างคิดสิ่งที่จะต้องพิมพ์ และการมองคีย์บอร์ดตลอด ทำให้คิดอะไรซับซ้อนและต่อเนื่องลำบาก .... คิดอะไรได้ไม่เท่าไหร่ ก็ต้องเปลี่ยนโหมดมาดูแป้นพิมพ์แล้ว ...
ถ้าไม่ฝึกให้มือมันดูแลตัวเองได้ รับผิดชอบเรื่องการพิมพ์ด้วยตัวมันได้ สมองก็จะต้องมาทำหน้าที่ช่วยมันไปเรื่อยๆ ..... งานหนักขึ้นเปล่าๆ ...
โปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดดีๆ นี่ช่วยได้เยอะมากเลย
โปรแกรมที่ผมชอบมาก ก็คือ GNU Typist (gtypist) .... ที่มีลำดับในการสอนที่ดีมาก และมีปรัชญาในการสอนที่ดีเลย ก็คือแทนที่จะเน้นไปที่พิมพ์เร็ว .... เขาจะเน้นที่จังหวะการพิมพ์ (rhythm) และความถูกต้อง .... ถ้าพิมพ์ข้อความแล้วผิดเกิน 3% นี่จะไปต่อไม่ได้ (และผิดแล้วผิดเลย แก้ไม่ได้)
พิมพ์เร็วนี่ไม่ยากหรอก ถ้าพิมพ์เป็นจังหวะที่ดีและคงที่ได้ .... พิมพ์รักษาจังหวะไว้ จากนั้นมันจะค่อยๆ เร็วขึ้นเอง
อ่อ แล้วการคิด WPM (Words-per-Minute) ของมัน จะเอาจำนวนที่เราพิมพ์ผิดมาคิดด้วย ว่าจริงๆ แล้วเราพิมพ์ได้กี่คำต่อนาทีกันแน่
จะเห็นว่าในรูปแรก ผมพิมพ์ถูกหมด WPM ก็เป็นไปตาม Raw speed (95 WPM) แต่รูปที่สองนี่มีผิดอยู่หน่อย (2%) ทำให้แม้ว่าจะพิมพ์ที่ Raw speed 83 WPM ก็ถูก adjusted เหลือ 75
ที่สำคัญที่สุด คือมันทำบทเรียนหรือแบบฝึกหัดเองง่ายมาก ..... อย่างรูปสุดท้าย นี่ผมเอาโค้ด Haskell ที่ผมเขียนไว้สอนใน Workshop หนึ่งมาเป็นแบบฝึกหัดเลย
เอาไว้ให้พวกเด็กฝึกงานหรือพนักงานใหม่ฝึกพิมพ์ดีดไปกับสไตล์การเขียนโค้ดที่ใช้ในทีมได้เลย