Fanboi Channel

มิตรสหายนักพัฒนาซอฟต์แวร์ท่านหนึ่ง

Last posted

Total of 364 posts

113 Nameless Fanboi Posted ID:AhbCzfjIm1

ประชาพิจารณ์ หลักสูตร ict ของ สสวท

บอกตรงๆเลยนะ ไม่คิดว่าจะผ่าน เนื้อหาไม่ค่อยได้เปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนวิธีคิด และการดำเนินการกับคนจำนวนมากมันเป็นเรื่องยาก

ก่อนอื่น ต้องบอกว่า มีทีมงานร่างหลายหลาก ยืน ภู่วรวรรณ เป็นประธาน และมีอาจารย์มหาลัยหลากหลายแห่ง และ ครูผู้สอนจากทั่วประเทศ มาช่วยกันปล้ำจนเป็นรูปร่างได้

หลักสูตรนี้ ตั้งบนพื้นฐานที่ว่า เปลี่ยนให้น้อย แต่อยากได้ผลที่มาก เราไม่อยากปรับตำรา ปรับชั่วโมงเรียน ปรับการใช้ชีวิตของทั้งครูและนักเรียน เลยเพราะว่าปรับเยอะ ก็คงไม่มีใครเอา

ทีนี้ปรับน้อยคือยังไง เราพยายามเปลี่ยนวิธีคิดว่า เราจะไม่เรียนคอมพิวเตอร์ แต่เราจะสอน "วิธีคิด"

แทนที่ ให้เด็กประถมต้นทำ powerpoint แสดงแผนที่บริเวณบ้าน เราอยากให้เด็กอธิบายได้ว่า เส้นทางกลับบ้านเป็นอย่างไร เลือกเส้นทางนี้เพราะเหตุใด และนำเสนอได้ ไม่ว่าเส้นทางนั้นจะมีขนม หรือ ของเล่นขาย หรือ เป็นเส้นทางที่ปลอดภัย เด็กควรจะคิดได้ และอธิบายเป็นขั้นตอน ไม่ต้องเขียน ไม่ต้องใช้คอมพ์ พูดเอาก็พอแล้ว .. แต่ถ้าใช้เครื่องมือได้ก็ดีขึ้นอีกหน่อย

ดังนั้น แค่นี้แหละครับ ถ้าอยากจะบอกว่า ประถมต้น เรียน ict แล้วได้อะไร ก็ได้วิธีคิดและอธิบายทุกอย่างเป็นขั้นตอนในชีวิตประจำวัน

ผมขอให้ keyword ของประถมต้นว่า "Unplugged" ซึ่งก็คือเรียน ict กับชีวิตจริงเป็นหลัก (แน่นอนว่า ถ้ามีเครื่องจะเสียบปลั๊กก็ไม่ได้ว่าอะไร)

ประถมปลายนี่ เด็กเริ่มใช้เน็ตเป็น เล่นไลน์ ค้นเน็ต ลอกการบ้านจาก วิกิ ส่งครูได้ การเข้าใจเครื่องมือที่มีไม่ว่า จะ I(nternet) หรือ C(omputer) หรือ T(elecomm) ก็จะเริ่มแถวๆนี้แหละ แต่เราจะให้เด็กคิดว่าอะไรควรหรือไม่ควร เนื้อหาบางอย่างได้สอดแทรกเข้าไปเช่น logical fallacy เพื่อให้เด็กสามารถมีตรรกะที่จะต่อต้านข่าวปลอม หรือ พฤติกรรมไม่เข้าท่าในเน็ต เด็กเราจะได้ไม่โดนแชร์ลูกโซ่ หรือ โดนหลอกบริจาคทั้งที่บ้านไม่จนได้

ผมให้ keyword ของประถมปลายว่า "Daily" ซึ่งหมายถึงการใช้ ict กับชีวิตประจำวัน ไม่ว่าในการเรียนวิชาต่างๆ การเขียนบล๊อกหรือส่งเมล์ควรเรียนในภาษาไทย การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ควรอยู่ในคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ การทำภาพกราฟิกควรอยู่ในวิชาศิลปะ

ทีนี้ มัธยมต้น สิ่งที่ต้องการและอยากมากให้เด็กไทยทุกคนทำได้คือสร้างข้อมูลปฐมภูมิเองได้ เด็กมีข้อมูลปฐมภูมิเอง ก็จะมีความรู้เป็นของตนเอง นั่นคือเขาจะสร้างความรู้ขึ้นมาเองได้ และเขาจะเข้าใจเองได้ว่าสิทธิของข้อมูลคืออะไร คนเราไม่เคยเป็นเจ้าของอะไร ก็ไม่รู้หรอกว่าทำไมถึงหวง เช่น ถ้าให้เด็กทดลองการทำอาหารจนได้สูตรที่โดนใจคนทั้งเมือง และเอามาทำเป็นอาชีพได้ เด็กก็จะเข้าใจเองว่า อะไรคือความลับทางการค้า อะไรคือสิทธิ อะไรคือการละเมิด แต่ที่สำคัญเราได้ใส่เมล็ดพันธุ์ที่จะบ่มเพาะว่า ข้อมูลที่เขาสร้างเอง มีความสำคัญต่อการแข่งขันได้ของตัวเองและประเทศในอนาคต

การเรียนใน ม.ต้น จึงเน้นระเบียบและเทคโนโลยีการเก็บข้อมูล ตั้งแต่แบบสอบถาม แบบสำรวจ จนกระทั่ง Internet of Things (IoT) แล้วแต่ว่าโรงเรียนไหนจะไหว ย้ำอีกที เราสอนวิธีคิดนะ ไม่ได้สอนการใช้เทคโนโลยี

ผมให้ keyword ของ ม.ต้นว่า "primary data"

การเรียน ม.ปลาย เป็นภาคจบแล้วที่จะต้องนำความรู้หลายๆด้านมาประมวลผลรวมกัน การเรียนรู้ขั้นสูงในวิชาต่างๆไม่ว่าจะวิทย์หรือศิลป์ จะต้องมีกระบวนการคิดแบบบูรณาการ การใช้งานจากข้อมูลตามแหล่งต่างๆ และสามารถเป็นแหล่งข้อมูลเองได้ เพื่อให้เกิดแนวคิดการสร้างความรู้ขั้นสูงไปกว่าเดิม

ซึ่งผมให้ keyword ของ ม.ปลายว่า "secondary data"

แม้ว่าอาจจะต้องปรับปรุงตำรา แต่ก็คิดว่าหนังสือที่ใช้ก็คิดว่าเรียนเล่มเดิมเป็นหลัก ย้ำว่าเราเปลี่ยนแค่วิธีคิด แต่ เนื้อหาสาระ คงไม่ต่างจากเดิม เด็กคิดได้ เดี๋ยวก็ไปเรียนกันเองแหละ

แต่อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การเปลี่ยน mind set จาก "ทำอะไรได้ แปลว่า คิดได้" มาเป็น "คิดได้ เดี๋ยวก็ทำได้เอง" ยังเป็นความท้าทายอย่างยิ่งครับ

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.