จะพยายามพิมพ์สั้น ๆ
>>426 เราเข้าใจ >>423 ในเคสที่เรายกตัวอย่างมา อย่างการเลือกเพลงที่ว่าจะเหมาะกับนักร้องหรือไม่ เอาจริง ๆ ถ้าเพลงนั้นเหมาะสมแล้ว นักร้องก็จะร้องออกมาดีเอง... ถ้าไม่เหมาะสมมันก็จะร้องออกมาได้ไม่ดีที่สุด ซึ่งมันจะไปแสดงผลในคะแนนร้องอยู่แล้ว
ตัวอย่าง การที่ทีมนั้นเลือกเพลงที่มีความเสี่ยงสูงก็ไม่ได้ผิดซะทีเดียว ความเสี่ยงสูงแปลว่าผลตอบแทนด้านคะแนนมันก็มีโอกาสได้เพิ่มขึ้นเยอะหรือลดลงหรือคะแนนเหวี่ยงเยอะกว่าทีมที่เน้นความเสี่ยงต่ำในการเลือกเพลง แปลว่าทีมนั้นเขาตกลงที่จะยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดของงานเอง ซึ่งผลลัพธ์ของความเสี่ยงมันก็จะแสดงออกมาในเสียงร้องอยู่แล้ว...
ส่วนเรื่อง "แต่ในแต่ละหัวข้อเขาก็จะแบ่งเป็นข้อปลีกย่อยอีก อะไรก็ว่าไป แล้วแบ่งเลขให้มันหาร 20 ได้ลงตัว แต่มันไม่ได้หมายความว่าเลขน้อยมันจะแปลว่าสิ่งนั้นจะสำคัญน้อยกว่าตัวที่หารได้เลขมากกว่าในหมวดหมู่อื่น มันคือบัญญัตยางค์อ่ะรู้จักมั้ย เทียบเอาสิใช้ common sense อ่ะง่ายๆ"
---อาจคิดกันคนละแบบ แต่ถ้าคิดในแง่ของการ weight ของเปอร์เซนต์การให้คะแนน การเวทน้ำหนักเยอะแปลว่าให้ความสำคัญ--- เหมือนเวลาที่เราคิดค่าเฉลี่ยแบบ weighted average หรือค่าเฉลี่ยแบบถัวน้ำหนัก เราจะให้น้ำหนักกับสิ่งที่เราให่ความสำคัญมากกว่า...
แต่เราก็ไม่เข้าใจเทียบบัญญัติไตรยางของเธอเท่าไหร่งง ๆ ถ้าสมมุติ คะแนนร้องได้ 80% ของส่วนร้องแปลว่าได้ 8 คะแนน (10*80%)
แล้วในขณะที่คะแนนภาพรวมได้ 80% เท่ากัน นั้นจะได้คะแนนภาพรวม 16 คะแนน (20*80%)