>>744 มันมีคำพูดที่ว่า Der Mensch ist ein Gewohnheitstier = Man is a creature of habit ก็คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่จะทำอะไรๆ และเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตไปตามความเคยชิน อะไรที่เห็นว่าใช้แล้วดีใช้แล้วสะดวก ก็จะใช้อย่างนั้นจนเคยชิน จนกลายเป็น norm ไปในที่สุด หลายๆครั้งภาษามันก็เปลี่ยนไปตามความเคยชินในการใช้ เช่นแต่แรกคำๆหนึ่งอ่านออกเสียงแบบหนึ่ง แต่คนในสังคมอาจอ่านมันเป็นอีกแบบมากๆเข้า สุดท้ายราชบัณฑิตฯก็อาจออกมาบอกว่า โอเคอ่านได้สองแบบ หรือในภาษาที่มีการผัน noun/ verb อะไรทั้งประโยคอย่างภาษาเยอรมันภาษารัสเซียก็จะเห็นตรงนี้ได้ชัดเหมือนกัน เพราะแกรมม่าหลายๆอย่างจะถูกลดทอนไป หรือเปลี่ยนไปเพราะความเข้าใจผิดของคนในสังคม
หรืออีกอย่างหนึ่ง มันก็มีสิงที่เรียกว่า Ethnolect ก็คือ ภาษาใดภาษาหนึ่งที่ถูกพูดโดยอีกกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาอยู่ในสังคมนั้น แล้วแกรมม่าหรืออะไรก็ตามของภาษามันเปลี่ยนไป เช่นชาวตุรกีในเยอรมัน หรือพม่าในไทยเองก็คงใช่
แต่ทีนี้ ภาษาสก๊อยมันไม่ได้อยู่ในทั้งสองกรณีนี้ คือมันไม่ได้เกิดขึ้นเพราะภาษาเป็นแบบนี้แล้วใช้ง่ายกว่า (ใฌ้ญากเฮี่ยๆเฬยค่) และสก๊อยก็ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตัวสะกดอีกระบบต่างไปจากไทย แต่มันเหมือนการหา identity ให้ตัวเองมากกว่า เฮ้เราคือสตรีที่ชื่นชอบการใช้ชีวิตอยู่กับความเร็วบนเบาะหลังมอเตอร์ไซค์ และพวกเราใช้ภาษาแบบนี้ หรืออะไรก็ว่าไป
ซึ่งกูไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ว่าภาษาสก๊อย เช่น ค้ะ ค๊ ก่ มันจะทำให้ภาษาไทยแต่เดิมเปลี่ยนไปไหม เพราะ หนึ่ง มันใช้ยาก สอง ขอบเขตการแพร่ของภาษานี้มันไม่เร็วหรือกว้างพอที่จะแพร่ไปในระดับกว้าง สาม สังคมหลายๆกลุ่มมองภาษาลักษณะนี้ในแง่ลบ มองว่าเป็นการดีเกรดตัวเองถ้าไปใช้ภาษานี้ กูว่าคำว่า นะค่ะ ยังน่าเป็นห่วงกว่า /ร้องไห้
หรือคำอื่นๆที่ใช้กันเป็นพักๆแล้วหายไปก็ดี เช่น ขิงๆ ฝุดๆ อย่างแรง อะไรก็ว่าไป มันก็ปรากฏขึ้นมาแค่ช่วงหนึ่ง ถูกใช้แค่ช่วงหนึ่ง พอผ่านจากระยะเวลานั้น เราก็จะมองว่า เหย คนใช้คำนี้แม่งตกยุคว่ะ มันเลยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาแบบถาวรขึ้น ราวๆนั้น