3.มาวิเคราะปัญหาจากข้อ 1. กัน
.
3.1. คนละแบรนด์
แน่นอนว่าที่แยกจากกันเพราะฐานลูกค้าต่างกัน
ถ้าเราถาม แฟนๆ hololive ว่าทำไมไม่ตาม holostars
คำตอบง่ายๆ ก็คือ
"เรื่องอะไรกูต้องตามตัวผู้" "ก็กูไม่อยากดู" "ฟังไม่รู้เรื่อง[Reddit]"
.
ทางแก้ ต้องพิสูจน์ว่า holostars เป็นหนึ่งใน
"Hololive Production" ซึ่งก็มี
"hololive production summerfes" "holocomi"
.
3.2. การโปรโมทตัวเอง จากตัวเอง และทางค่าย
มาเปรียบเทียบ วิธีการโปรโมทพร้อม
จัดเรียงตาม ประสิทธิภาพต่ำสุดไปดีสุด พร้อมข้อบกพร่อง
.
1.โปรโมทข่าวสารทาง Twitter
ข้อดี คนจะได้เห็นเหตุการณ์ของอีกกลุ่ม
ข้อเสีย ถ้าไม่ใช่สิ่งที่สนใจ เขาก็ปล่อยผ่าน
.
2.ชุดใหม่ live2D ใหม่ 3D debut
ข้อดี ได้สิ่งใหม่ๆมา สามารถมีกำลังใจในการไลฟ์ต่อได้
ข้อเสีย คนดูส่วนมากมักเป็นขาจร จบแล้วก็แยก ถ้าไม่มีอะไรโดดเด่นก็ไม่ติดตาม
.
3.ขายของ
ข้อดี เข้าถึงลูกค้าง่ายกว่า รายได้หักน้อยกว่า
ข้อเสีย อาจจำกัดเรื่องสินค้า พื้นที่
ผู้จำหน่ายอาจจะต้องออกรายจ่ายเอง
.
สรุปข้อ 3.2.2. และ 3.2.3.
Stuff like merchandise, live 2d updates, vtuber debuts,
etc are useless if people don't recognize them.
.
4. collaboration กับวีคนอื่น (ส่วนตัว)
ข้อดี ฐานแฟนทั้งสองฝ่ายได้ทราบถึงอีกฝ่าย
ข้อเสีย แฟนๆ บางคนอาจจะไม่พอใจ (ซึ่งแม่งเสียงดังฉิบหาย)
.
5. collaboration ซ้ำๆ กับคนเดิมๆ
ข้อดี ได้ผู้ติดตามประจำ
ข้อเสีย แฟนๆ บางกลุ่มอาจไม่พอใจ
หรือเลิกติดตามฝ่ายที่เคยติดตาม
.
6.อีเว้นข้ามค่ายต่างๆ เช่น collab กับแบรนด์อื่นๆ
ข้อดี ได้สื่อในการแสดงออกเพื่ม
ข้อเสีย ถ้าเข้าถึงไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์
.
7. เข้าร่วมกิจกรรมกับคนต่างกลุ่ม ต่างค่าย
ข้อดี คนต่างกลุ่มจะได้รู้จักและอาจมาติดตาม
ข้อเสีย แฟนๆบางคนไม่พอใจ และอาจจะเลิกติดตาม
.
คำถาม สรุปแล้ว ค่ายโปรโมท holostars หรือไม่
ตอบ
โปรโมทครับ แต่ก็ทำได้ที่สุดแล้ว ตามข้อ 3.2.6
เพราะถ้า collab ข้ามกลุ่ม มักไม่ค่อยเกิดผลดี
แต่ผลเสียจะมากกว่า เลยไม่ทำจะดีกว่า
.
3.3. ความร่วมมือกับ hololive
Hololive จริงๆแล้ว การcollab ระหว่าง holostars นั้น
ยกเลิกการห้ามไปเมื่อ กันยา 2019 แต่
1.ตัวทาเล้นเอง ด้วยเหตุผลเช่น
"ไม่รู้จัก(รูเซีย)"
"คุยกับผู้ชายไม่ได้(ดันโจ)"
"กาจิตามเยอะ(อีเอ๋อ)"
"introvert รุนแรง(อีต่าย)"
"อยากได้กาจิ(เป็ด)"
"ต้องการรักษาความบริสุทธิ์(อีเลสเบี้ยนโรคจิต)"
"เบื้องหลังกับผู้ชายไม่ดี(อีโค่)" "เขาไม่มาชวน(โทวะ)"
"เคยโดนทัวร์ลง(แกะ,อีไก่)"
"โฟกัสกับงานhololive(อาเมะ)"
"นนนนนนาาาาาาาา(ป้าลูน่าหลังรู้ว่าทามะกิเป็นตัวผู้)"
ที่เหลือก็ เหตุผลต่างๆนๆ
"idol culture" "คุยกับผู้ชายไม่ได้"
"หรือกลัวโดนทัวร์ลง" ยกเว้นบางคนที่โอเคกับเรื่องนี้
แล้วก็โคแลปกับ holostars ปกติ
.
2.อีเว้นร่วม เช่น "hololive sportsfes" "Usaken summer"
หรือ servers Minecraft ที่ไม่ได้เชื่อมกัน
ซึ่งก็ต้องเข้าใจเหตุผลเบื้องต้นด้วย ทำ
.
3.ตัวค่าย
อย่างที่เรารู้ดีว่า กลุ่มเป้าหมายของแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน
การที่ค่ายบังคับมาคอลแลปกันอาจจะสร้างผลลบมากกว่าผลดี
เราจึงพบว่า อีเว้นท์ไหนที่ hololive ได้ร่วม holostars จะไม่ได้ร่วม
เนื่องด้วยความแตกต่าง ต่างจาก nijisanji ที่ร่วมทั้งชายและหญิง
.
3.4 ฐานแฟน
พูดถึงทฤษฎี กลุ่มเป้าหมายว่า
"ผู้ชายจะตามวีหญิง ผู้หญิงจะตามวีชาย"
ในเชิงแนวคิด มันก็จริงในตัวมันเอง
ในความเป็นจริง ไม่ใช่
.
ผู้ชมวีส่วนมาก เป็นผู้ชาย แล้วก็ตามผู้ชายด้วย น่าทึ่งเปล่าล่ะ
แล้วผู้ชมที่เป็นผู้หญิงล่ะ ไปไหน ไม่ได้ไหนหรอก สัดส่วนของผู้หญิง
ที่รับชมสื่อบันเทิงเอเชีย ประกอบด้วย
สื่อที่เป็นคนจริงๆ 70%
สื่อ2D 30% ในส่วนนี้มี จากอนิเมะ มังงะ เกม นิยาย และ vtuber
แต่ถ้าพูดถึงนิสัยผู้บริโภค ผู้หญิงจะเปย์หนักกว่า
.
Nijisanji ชาย ที่มีชื่อเสียงอย่าง แวมนีท คะน้า อักกี้ มายูยุ ฟูวะ
ผู้ติดตามส่วนมากเป็นผู้ชายแต่คนเปย์เป็นผู้หญิง คิดเป็นอัตราส่วน
ชาย:หญิง 7:3 จึงทำให้ nijisanji ชาย ประสพความสำเร็จใน
ยอดซับ และ รายได้ รวมถึงการที่ nijisanji มีหน้าสื่อในญี่ปุ่นเกือบทุกด้าน
.ทำให้ใครหลายคนรู้จักในญี่ปุ่นมากกว่า
.
ตัดกลับมาที่ holostars ถึงแม้ว่าเป้าหมายจะเป็นผู้หญิงในทฤษฎี
แต่เชิงปฏิบัติแล้ว ผู้ติดตามส่วนมาก ก็มาจาก hololive อยู่ดี
แล้วความดังของ hololive มาจากคลิปส่วนมาก
ซึ่งคลิปของ holostars เมื่อปีก่อนแทบจะไม่มี อีกทั้งค่ายเลือกที่จะ
ไม่โปรโมท holostars ร่วมกับ hololive จึงทำได้ไม่มีใครรู้จักเท่าไหร่
.
เป้าหมายของ holostars ต้องหาฐานแฟนในญี่ปุ่นให้เหนียวแน่นก่อน
จึงจะเรียกได้ว่า มั่นคง พร้อมเปิดสาขาต่างประเทศ