>>702 แข่งราคาไม่ได้ก็แข่งความหลากหลายไง ถ้าเรื่องใหนมันลดได้ร้านก็จะซื้อเรื่องนั้นมาสต็อคไว้ ทำให้กอินพื้นที่ร้าน แต่ถ้ามันลดไม่ได้ ร้านค้าก็จะไม่ซื้อมาสต็อคเยอะๆ แต่จะกระจายความเสี่ยงแทน โดยไปเลือกหนังสือหลายๆประเภทเพื่อขยายกลุ่มลูกค้า ถ้าร้านหนังสือมีลูกค้าหลายประเภทมากขึ้น ก็มีโอกาศที่หนังสือบางประเภทจะขายได้ดีขึ้น
แต่เรื่องนี้โดยพื้นฐานแล้วเอื้อต่อร้านค้าขนาดเล็กมากกว่า เพราะทำให้ร้านใหญ่ๆไม่สามารถผูกขาดการลดราคาได้ ถ้ามีกฏหมายนี้ ร้านเล็กๆที่มีหนังสืออินดี้ก็จะมีโอกาศขายหนังสือที่ร้านใหญ่ๆไม่เอาเข้าได้ กูเชื่อว่าพวกมึงส่วนใหญ่ไม่รู้จักหนังสืออินดี้ประเภทพิมพ์ทีละน้อยๆและไม่ได้ลงร้านใหญ่ สนพ.บางแห่งก็ระดมทุนพิมพ์จากคนอ่านเอาเองเลย เจ๊หลินโม่วก็เข้าข่ายแบบนี้
กูแนะนำให้พวกมึงลองเข้าไปดู
วรรณกรรมไม่จำกัด
มาตรฐานวรรณกรรมพิมพ์จำกัด
bookmoby
หนังสือพวกนี้มักไม่มีขายตามร้านใหญ่ เพราะพิมพ์มาน้อย แถมเฉพาะทาง คนที่จะขายและซื้อก็อินดี้พอกัน หนังสือพวกนี้ส่วนใหญ่จะไม่ลดราคา เพราะมีต้นทุนที่สูง(เนื่องจากพิมพ์มาน้อย) หนังสืออินดี้พวกนี้เป็นหนทางทำกินของร้านเล็กๆ เพราะมีหนังสือที่ร้านใหญ่ไม่มีเนื่องจากการขายของลดราคาทำกำไรดีกว่า แต่ถ้าส่งเสริมการขายด้วยราคาไม่ได้ ก็ต้องส่งเสริมด้วยกิจกรรมและความหลากหลาย เมื่อมีการส่งเสริมความหลากหลายแปลว่าจะมีการสั่งซื้อหนังสืออินดี้มาขายในร้านใหญ่ ทำให้ยอดพิมพ์มากขึ้น ส่งผลให้ราคาถูกลง เป็นการส่งเสริมการเขียนหนังสือนอกกระแสมากขึ้น
สรุปคร่าวๆก็ประมาณนี้ รายละเอียดเชิงลึกกูไม่รู้ แต่โมเดลนี้น่าจะส่งผลแบบนี้นะเท่าที่กูคำนวนดู เพราะที่หนังสือหน้าเท่ากันแต่ราคาต่างกันหลายๆครั้งมาจากจำนวนการพิมพ์ ถ้ามีการพิมพ์เยอะขึ้นก็จะทำให้หนังสือถูกลงตามกลไกการตลาด และส่งเสริมร้านเล็กๆให้แข่งกับร้านใหญ่ๆได้อีกทาง