Last posted
Total of 1000 posts
Gไปงานนุ้ย ถ่ายเซลฟี่คู่กับนุ้ยแต่ไม่ยอมเอาลง เก็บไว้ดูเองกลัว ชมบ นมเบรค ส่วน ลช อาปังไปงานวันเกิดตัวเอง แต่เสือกถ่ายโมเม้น ปังจสล มาลงแกล้งชป ความเอาใจใส่ฟคแม่งผิดกันจริงๆ
>>779 เด็กนอนฟิน มือพี่หมอนคว้าอย่างแน่น
อะไรวะ เฮ้ย กูเคลิ้ม
>>773
พี่หมอนชวนทุกคน ไปเอาเพชรตรงนั้น
จจ บอก ตายาย ห้ามไม่ให้ข้ามไป
พี่หมอน อย่าโง่น่า ข้ามไปก็ไม่มีใครรู้
พี่หมอนเดินจะพาทุกคนไป
ขณะจะถึงนั่นเอง
หยุดนะ เสียงตาดังขึ้น จะไปไหนกัน
พี่หมอนคิดในใจ ไอ้ warn ยามเฮงซวยนี่เอง
แต่ตอแหล ตอบไปว่า หนูจะไปดูแถวนู้นหน่อยนะจ๊ะ
ตาพูดว่า เตรียม ทุเรียน เนื้อพรีเมียม ประกวดมา อันดับที่1 ของ ภาค ที่ 2 ของประเทศ
ใครไม่กลับ อดแดก ทุกคนเลยกลับไปที่ โฮมสเตย์
หัวค่ำ ยาย เดินผ่านไอน้ำ กลายเป็น สาวสวย โดยมีชายหนุ่มแช่ บ่อน้ำร้อนอยู่
ตาแก่ ได้ข่าวว่า เด็กๆ เกือบจะเข้าเขตต้องห้ามรึ
ชายหนุ่ม ดีที่พี่ขวางไว้ทัน แต่เด็กหมอนดูแปลกๆนะ
ยังไง ยายถาม
มันกินทุเรียนไป8 ลูก เหมือนไม่ค่อยกินอะไรมานานยังงั้น
คืนนั้น
จสล แอบไปที่น้ำตก เพชรทั้งหมดต้องเป้นของเธอ
ขณะที่ เธอ กำลังโกยอยู่นั่นเอง เธอได้กลิ่น ทุเรียน
เมื่อหันไปมอง ก็พบ พี่หมอนตาแดงมองมา
กล้องตัดไปท้องฟ้า พระจันทร์มืด
กรี๊ดดดดดดดด
to be continue
นุ้ยมาสยบข่าวลือโม่งแล้ว จมูกกูยังไม่ได้ทำค่ะ
https://twitter.com/NoeyOfficialFC/status/1681191751296634880
>>789
"เทอจะกรี้ดทำไมเนี่ย ตกอกตกใจหมด"
"ก็เทอน่ะสิ มาทำอะไรข้างนอกดึก ๆ แบบนี้"
"ก็มาอาบน้ำน่ะสิ เทอรู้มั้ย การได้แก้ผ้าอาบน้ำกลางแจ้งน่ะ มันรู้สึกดีมาก ๆ เลยนะ เอ้า มาอาบน้ำด้วยกันสิ"
"ว้าย จับอะไรน่ะ"
และแล้ว พี่หมอนก็จับเธอถอดเสื้อผ้าอย่างคล่องแคล่ว จนทั้งสองต่างก็เปลือยเปล่าใต้แสงจันทร์ ก่อนที่จะอาบน้ำด้วยกันอย่างสนุกสนาน
>>802 โรงเรียนปราบปีศาจ ออกตอนใหม่ยังครับ
>>789
ตอนเช้า ทุกคนไม่เห็น จสล
หลังกินข้าวเช้าเสร็จ ก็ออกตามหา ส่วน พี่หมอน แววตามีพิรุธ สุดๆ
แต่หายังไงก็หาไม่เจอ
นอกจาก กระสอบห้าของ จสล ที่มีหินกรด อยู่เต็มกระสอบเท่านั้น
พี่หมอนเสนอว่า ในป่าฝั่งโน้น เรายังไม่ได้หาเลยนะ
ทุกคนจะไป แต่จจ ล้มก่อนจะถีง และ มี นุ้ยไปช่วย
เมื่อทั้ง 2 มองไป ที่เพื่อนๆเดินข้ามเขต หลักสีแดง
อยู่ ภาพของทุกคนที่เข้าไป หายไปในทันที
โดยมี จจ กับ นุ้ย คกตะลึง
to be continue
เลิกพูดถึงเมมเก่าๆ แล้วมาสนับสนุนเด็กๆ ในยุคสมัยใหม่กันดีกว่าครับ
https://twitter.com/armiikorn48_tk/status/1680086346654941189?s=20
ทำไมกล้องใหญ่ไม่ค่อยถ่าย อม่เลยว่ะ
เพ้อเจ้อจริงๆ นุ้ยมันหายเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่คนจะมา gn mn ทุกวันแบบ นน
เลิกพูดถึงเมมเก่าๆ แล้วมาสนับสนุนนทร ในยุคสมัยใหม่กันดีกว่าครับ
https://pbs.twimg.com/media/Fz4Rf1yaQAEKWQc?format=jpg&name=4096x4096
พค้ มีดราม่ากับตากล้อง vip อีกแล้ว ก็ไปให้ค่าจนสนิทกับพวกนี้เองนะ
คนิ้วเดี๋ยวนี้คร๊อปภาพให้เองเลยหรอ ดีจัง
https://imgur.com/FIN0QEq
https://imgur.com/TWgLWaJ
>>805 เอาละ >> จะมาแบบสรุปนะ
นุ้ย จจ กลับไป ตาบอก แกเอง ก็เข้าไม่ได้ แต่แกเขียนยันต์ ให้นกบินไปที่ป่า
ส่วนพวก นน ก็เข้าไปตาม แล้วเจอ จสล ที่ดูหวาดกลัว
พี่หมอน ยิ้มหยันๆ ก็จะกลับโฮมสเตย์กัน แต่ผ่าน บึงสวย น้ำใส
ก็ลงกัน ปรากฎ สัตว์ประหลาด แดก ไอ้กล้ามไป ส่วน 2ม หนี ในชุด เซกซัี่
พอไปถึงหลักแดง ก็เหมือนกระจก เดินผ่านไม่ได้ ทุกคนตกใจ มองไป เห็น ตา ยาย นุ้ย และ จจ แต่ อีกฝั่งไม่เห็น กลุ่ม นน
นกบินมาหา นน บอกทางออก ต้องเดินทางไป
อยู่ๆ สมุน ตัวโกงก็บุกมา แต่ ตะกรุดของ นน ก็เป็น อาวุธ
นน โชว์เทพ ตบ สมุน ตายเกือบหมด
ก็ไปแก้ปริศนา เจ็บบ้าง ตายบ้าง พี่หมอนแอบป่วนบ้าง
มีฉากแฟลชแบ็ค ชีวิต นางเอกพระเอก เป็น ระยะๆ
ดวลลาสต์บอส ลาสต์บอสตายซ้ำ 2
กลับโฮมสเตย์ พร้อมพระเอก
the end
>>819 ไอดอลน่ะไม่ว่ามึงจะชว่ใส่ด้วยความรักแค่ไหน สุดท้ายแล้วก็ต้องเป็นแบบนี้ทุกคน
https://imgur.com/o3Zetop
จร่ มาเป็น บอค ทำไมวะ สวยเก่งขนาดนี้ไม่ไปออเกา มาเป็นบอคก็แพ้แอ๋วที่หน้าบ้านๆ ไม่สวยไม่เก่ง เสียเวลาเปล่าๆ
มีของอย่าง จร่ ควรไปอยู่ YG เบบี้มอนซาเต้อ
คนไหนไม่ชอบขี้หน้า ก็tagไว้ล่างๆ คนสุดท้ายอะไรแบบนี้ซินะครับ https://pbs.twimg.com/media/F1TbJ0tacAAkTrw?format=jpg&name=large
เออ...เจริญล่ะ มู้บอค.แม่งพูดกันแต่เมมแกรด ไปตั้งอันใหม่ได้มั้ยวะ
คอนเสิร์ต 3 คอนเสิร์ต มันจะมีขายบัตรหน้างานไหม สำหรับคนไม่มีบัตรเครดิต
บัตรน่าจะเหลือ
อยากเป็นเขยจีนเทา
https://twitter.com/daystillnights/status/1680898260930805762?s=20
>>844 หมดเวลากดแล้ว https://www.eventpop.me/e/15496
โม่งบอกทำไมไม่ค่อยมีคนถ่าย อมี่
กรุจะบอกว่าก็เพราะเด็กมึงไม่ดังไง ไม่ดังไม่โดดเด่น
นึกภาพไม่ออกก็ลองไปเทียบกับ จร่ มรี ดูสิมึงจะเข้าใจความโดดเด่นมันเป็นยังไง ส่วน อล เพราะมีเสี่ยดัน
อมี่ กับ มิช กรุให้ไทป์เดียวกันเลยจางทั้งคู่
>>833 โม่งมันเอาแต่บ้าสมมุติเทพรุ่น1 บอกห้ามคุยเรื่องไอดอล ให้คุยแต่รุ่น1อย่างเดียว ปรสิต เกาะกระทู้ชห
ไม่มีใครเขาสนใจรุ่น1เมิงหรอก ไม่ได้มีค่าแม้แต่1%
พนค้ กับพวกกลุ่มเสื้อแดง ที่ยืนถ่ายกันอะหรอ กุว่า พนค้เป็นจำเลยมากกว่านะ เดินผ่านเฉยๆแหละ แต่มันอาศัยเหมือนถ่ายกรุ๊ปช็อต
การล่มสลายของควาเรซและต้าจิน
อารยธรรมจีนเริ่มขึ้นบริเวณลุ่มน้ำหวงเหอ หรือ แม่น้ำเหลือง ก่อนขยายลงไปยังลุ่มแม่น้ำฉางเจียง หรือ แยงซี ที่อยู่ทางใต้ รอบนอกเขตอารยธรรมนี้ถูกล้อมรอบโดยอนารยชนหลายเผ่า
นับแต่อดีต ชาวจีนต้องทำสงครามกับชนเผ่าเหล่านี้ นับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะอนารยชนทางเหนือที่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามตั้งแต่ยุคราชวงศ์โจว ซึ่งแผ่นดินจีนแบ่งเป็นแคว้นใหญ่น้อย บรรดาแคว้นภาคเหนือต่างก็สร้างกำแพงชายแดนเพื่อป้องกันการโจมตีของอนารยชน จนเมื่อแคว้นฉินรวมแคว้นต่างๆเข้าด้วยกัน ฉินซีฮ่องเต้ ได้มีพระบัญชาให้เชื่อมแนวกำแพงเหล่านั้นกลายเป็นกำแพงเมืองจีน ปราการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่โลกเคยรู้จัก แต่ มหาปราการนี้ ก็ยังไม่อาจทำให้แผ่นดินปลอดภัยจากเหล่านักรบคนเถื่อนได้
ปลายศตวรรษที่12 นักรบผู้ยิ่งใหญ่นาม เตมูจิน ได้รวบ รวมชนเผ่ามองโกลกลุ่มต่างๆและพิชิตสี่ชนเผ่าใหญ่ในท้องทุ่งแดนเหนือ ก่อนสถาปนา อาณาจักรมองโกล ในปี ค.ศ.1206 โดยเตมูจินเป็นผู้นำสูงสุดใช้พระนามว่า เจงกีสข่าน
เวลานั้นแผ่นดินจีนอยู่ในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึ่งหลังดินแดนลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ถูกอาณาจักรจิน ของชนเผ่าหนี่เจินยึดดินแดนตอนเหนือไปเมื่อแปดสิบปีก่อน เชื้อพระวงศ์ของซ่งได้อพยพลงใต้ มาตั้งอาณาจักรชื่อ หนานซ่ง หรือ ซ่งใต้ มีเมืองหลวง ชื่อ นครหลินอัน
เจงกีสข่านได้นำทัพโจมตีอาณาจักรจินและยึดครองดินแดนจนถึงแม่น้ำหวงเหอ ก่อนเกิดเหตุ คาราวานพ่อค้าและทูตมองโกลถูกสุลต่านแห่งควาเรซสั่งประหาร จนกลายเป็นชนวนสงครามระหว่างมองโกลกับอาณาจักรควาเรซ ทำให้มองโกลต้องไปทำศึกทางตะวันตกเป็นเวลาหลายปี
หลังเสร็จศึกกับควาเรซและได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอีกฝ่ายในปี ค.ศ.1223 เจงกีสข่านก็ยกทัพกลับ แต่เมื่อทัพมองโกลลับมาถึงได้ไม่นาน ก็มีข่าวว่าอาณาจักรซีเซี่ย ที่เป็นเมืองขึ้นของมองโกลได้ก่อกบฏไปสมคบกับอาณาจักรจินที่เคยพ่ายแพ้ให้กับมองโกลเมื่อหลายปีก่อน ทำให้เจงกีสข่านต้องนำทัพไปจัดการกับซีเซี่ยและอาณาจักรจิน
ต้นฤดูใบไม้ผลิ หลังยึดเมืองหลวงซีเซี่ยได้ เจงกีสข่านส่งทัพย่อยออกจากซีเซี่ยบุกผ่านเขตแดนซ่งใต้เพื่อไปตีต้าจิน ทัพมองโกลได้ปล้นทำลายเมืองของอาณาจักรซ่งไปห้าเมือง แต่ได้ถอนทัพกลับ ในเดือนกรกฎาคม ก่อนไปถึงอาณาเขตต้าจิน เนื่องจากเจงกีสข่านประชวรหนัก ซึ่งนี่เป็นการปะทะกันครั้งแรกระหว่างอาณาจักรซ่งใต้กับมองโกล
เมื่อเจงกีสข่านสวรรคตในเดือน สิงหาคม ค.ศ.1227 โอกาได โอรสองค์ที่สามซึ่งถูกวางตัว เป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ ได้ขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ.1229 เนื่องจากต้องไว้ทุกข์และทำพิธีเลือกผู้สืบทอดตามประเพณี
ภารกิจแรกที่จอมข่านโอกาไดทรงทำ คือการกวาดล้างศัตรูเก่าอย่างอาณาจักรควาเรซ โดยหลังเจงกีสข่านสวรรคต จาลาลอัดดิน สุลต่านองค์ใหม่ของควาเรซก็ได้รวบรวมกองทัพและสร้างฐานที่มั่นในเปอร์เซียเพื่อเตรียมการชิงดินแดนที่เสียให้กับมองโกลกลับคืน
โอกาไดส่งกองทัพไปจัดการกับจาลาลอัดดิน ทว่าทัพมองโกลกลับพ่ายแพ้ต่อทัพควาเรซในการรบที่ดามิกันซึ่งอยู่ทางเหนือของเปอร์เซีย จอมข่านจึงส่งทัพบุกไปอีกครั้งและสามารถเอาชนะกองทัพควาเรซได้ที่อิสฟาฮาน แต่ก็ยังจัดการกับจาลาลอัดดินไม่ได้
ในปี ค.ศ.1230 จอมข่านโอกาไดทรงมีบัญชาให้แม่ทัพ คอร์มากัน ซึ่งเป็นขุนพลฝีมือฉกาจ ที่เคยติดตามเจอเปและสุโบไตบุกรัสเซีย นำทหารห้าหมื่นจากบุคคาราในเอเชียกลางเข้ากวาดล้างพวกควาเรซ
คอร์มากันนำทัพบุกเข้าเปอร์เซียและกวาดล้างกองกำลังของควาเรซจนสิ้นซาก ก่อนนำทัพไล่ล่า จาลาลอัดดิน ที่หนีไป ดิยาบาเคียร์ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ต่อมา ในวันที่15 สิงหาคม ค.ศ.1231 จาลาลอัดดินก็ถูกสังหารที่นั่นและถือเป็นการปิดฉากอาณาจักรควาเรซโดยสิ้นเชิง จากนั้นคอร์มากันจึงนำทัพบุก ไปตีจอร์เจียและอาร์เมเนียพร้อมกับยึดครองดินแดนทั้งสองได้
ในปีเดียวกับที่กองทัพมองโกลจากบุคคาราบุกดินแดนที่เหลือของควาเรซนั้น จอมข่านโอกาไดก็ได้เปิดศึกกับอาณาจักรจิน โดยอ้างสาเหตุว่ากองทหารหนี่เจินได้โจมตีขบวนทูตของมองโกล
จอมข่านส่งทัพใหญ่เข้าโจมตีอาณาจักรจิน ทว่าแม่ทัพใหญ่ หวันเหยียนเฮ่อต๋าของต้าจิน ได้รวบรวมกำลังพลสองแสนเข้าขับไล่ทัพมองโกลจนล่าถอยกลับมา
เมื่อการโจมตีครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ โอกาไดจึงวางแผนเดินทัพผ่านเข้าเขตแดนซ่งใต้เพื่อโจมตีอาณาจักรจินจากด้านหลัง พระองค์ส่งทูตไปติดต่อกับราชสำนักซ่งใต้ ทว่าข้าหลวงซ่งใต้ได้สังหารทูตมองโกลด้วยความเข้าใจผิด ทำให้แผนร่วมมือต้องล้มเหลว
อย่างไรก็ตาม จอมข่านก็ยังดำเนินการตามแผนเดิมต่อไป โดยจะส่งกองทัพเข้าตีอาณาจักรจินพร้อมกันสามทาง คืิอ ทางเหนือ ทางตะวันออก และทางใต้ โดยมีบัญชาให้พระอนุชา นามว่า โตลุย ผู้เป็นโอรสองค์ที่สี่ของเจงกีสข่าน นำทหารม้าสามหมื่นเคลื่อนทัพเข้าเขตแดนซ่งใต้ ในปี ค.ศ.1231เพื่ออ้อมไปตีแนวหลังของต้าจินจากทางด้านใต้
ระหว่างเดินทัพผ่านดินแดนซ่งใต้ ทัพของโตลุยปะทะกับกองทหารซ่งในการรบย่อยๆหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ทหารม้ามองโกลส่วนใหญ่ผ่านกลับไปถึงชายแดนตัาจินได้อย่างปลอดภัย ในขณะที่ทหารซ่งที่มาขวางได้ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ราชสำนักซ่งตื่นตระหนก
หวันเหยียนเฮ่อต๋าคาดการได้ว่า มองโกลจะลอบบุกมาจากด้านใต้ จึงนำกำลังหนึ่งแสนไปรอและปะทะกับทัพของโตลุยที่เขาหยูซานในแถบเติ้งโจว
เมื่อว่า กองทัพของตนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โตลุยจึงถอยทัพออกห่างจากหยูซาน 30ลี้(ราว 15 กิโลเมตร) และเปลี่ยนแผน โดยทิ้งกำลังส่วนหนึ่งคอยหลอกล่อทัพจิน และนำกำลังส่วนใหญ่บุกไปไคฟง
ทัพมองโกลเข้ายึดตำบลและอำเภอต่างๆ ตลอดทางจากเติ้งโจวไปไคฟงได้อย่างง่ายดายพร้อมเผาทำลายเสบียงตลอดทาง ทำให้ทัพจินที่เติ้งโจวถูกตัดเส้นทางเสบียง
เมื่อทราบว่าทัพมองโกลกำลังบุกไปไคฟง หวันเหยียนเฮ่อต๋าจึงให้ถอยทัพกลับไปที่ไคฟง แต่ระหว่างทางก็ ได้ทราบว่าโตลุยตั้งทัพอยู่ที่เนินสามยอด ทัพจินจึงเคลื่อนพลไปที่นั่นเพื่อบดขยี้ข้าศึก พร้อมเรียกกำลังทหารที่เฝ้าแม่น้ำหวงเหอมาสมทบ ในเวลานั้นเป็นฤดูหนาว ไม่นานแม่น้ำหวงเหอก็กลายเป็นน้ำแข็ง
กองทัพสายเหนือซึ่งประกอบด้วยทหารม้าสามหมื่นที่โอกาไดเป็นผู้ควบคุมเอง ก็ใช้จังหวะที่กองทัพจินถอนกำลังออกไป ข้ามแม่น้ำที่เป็นน้ำแข็งเข้ามา
ในขณะเมื่อทัพของหวันเหยียนเฮ่อต๋าและกองหนุนมาถึงเนินสามยอดก็เกิดพายุหิมะขึ้นอย่างกะทันหัน โจลุยให้ทหารมองโกลเข้าหลบหิมะในที่ที่เตรียมไว้ ขณะที่ทหารเจินซึ่งอ่อนล้าจากการเดินทาง ต้องโดนพายุหิมะโหมพัดจนหนาวสั่น ทั้งขาดอาหารเป็นเวลาหลายวัน จะถอยจะบุกก็ทำไม่ได้ จนไพร่พลล้มป่วยอ่อนล้าหมดกำลัง
หลายวันต่อมา เมื่อพายุหิมะผ่านไปแล้ว ทหารจินเกือบหนึ่งแสนห้าหมื่นก็หมดสภาพ ขณะที่ทัพของโตลุยได้ออกจากที่กำบังและรวมพลกับทัพของโอกาไดที่มาถึงเข้าบดขยี้ทัพจินจนย่อยยับ ไพร่พลล้มตายกว่าครึ่งและยอมจำนนอีกนับหมื่น หวันเหยียนเฮ่อต๋า ตายในที่รบพร้อมด้วยนายทหารเกือบทั้งหมด จากนั้น ทัพมองโกลก็บุกเข้าประชิดเมืองไคฟงในปี ค.ศ.1232
จักรพรรดิจินอายจงระดมทหารและชาวเมืองร่วมแสนคนเข้าสู้ แต่พ่ายแพ้ย่อยยับ จึงนำกำลังทหารที่เหลือทิ้งเมืองไคฟง ถอยไปตั้งมั่นที่ไช่โจว
เมื่อได้เมืองไคฟงแล้ว โอกาไดจึงเสด็จกลับคาราโครัมโดยมอบงานที่เหลือให้พระอนุชาจัดการ
หลังราชสำนักซ่งใต้อทราบว่า ทัพมองโกลทำลายทัพใหญ่ของต้าจินและทำให้จักรพรรดิจินอายจงต้องทิ้งเมืองไคฟง ซ่งใต้จึงขอเป็นพันธมิตรกับมองโกล โดยฝ่ายมองโกลได้ตกลงจะมอบดินแดนของอาณาจักรจิน ตั้งแต่เมืองไช่โจวลงไป ให้กับซ่งใต้เป็นการตอบแทน
ในปี ค.ศ.1233 หลังเป็นพันธมิตรกับมองโกลแล้ว ซ่งใต้ได้ส่งแม่ทัพเมิ่งกงนำทหารหนึ่งแสนโจมตีกองทัพจิน ที่นำโดยแม่ทัพหวูเซียนจนย่อยยับ
จักรพรรดิจินอายจงส่งสาส์นไปเตือนราชสำนักซ่ง ว่า อย่าไว้ใจพวกมองโกล เพราะวันใดที่ไม่มีต้าจินเป็นศัตรูร่วมกันแล้ว พวกมองโกลจะหันมาจัดการกับซ่งใต้
ราชสำนักซ่งไม่สนใจคำเตือน และสั่งให้แม่ทัพเมิ่งกงนเคลื่อนทัพไปสมทบกับทัพมองโกลเข้าปิดล้อมเมืองไช่โจว ที่มั่นสุดท้ายของพวกหนี่เจิน
แม้จะสิ้นหวัง แต่ทั้งทหารและชาวเมืองไช่โจวก็ได้ต่อสู้ป้องกันเมืองอย่างสุดกำลัง ทว่าสุดท้าย ทัพพันธมิตร มองโกล-ซ่งใต้ ก็สามารถตีเมืองแตก จักรพรรดิจินอายจงปลงพระชนม์ชีพองค์เอง หลังทราบว่าทัพข้าศึกเข้าเมืองได้แล้ว ซึ่งการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ คืิอวาระสุดท้ายของอาณาจักรจิน
หลังอาณาจักรจินล่มสลาย มองโกลได้ยกเมืองไช่โจวและอาณาเขตทางใต้ลงไปให้ซ่งใต้ ก่อนยกทัพกลับ ในปีรุ่งขึ้น คือ ปี ค.ศ.1234 จอมข่านโอกาไดมีบัญชาให้ส่งทัพใหญ่บุกตะวันตกเพื่อช่วยบาตูขยายอาณาเขตโดยกองทัพสายนี้จะบุกไปถึงยุโรปตะวันออก
ในปีเดียวกันนั้น เมื่อเห็นว่าทัพมองโกลถอยข้ามแม่น้ำหวงเหอไปแล้ว ซ่งใต้จึงเคลื่อนพลขึ้นเหนือเข้ายึด ลั่วหยาง ฉางอาน และเปี้ยนเหลียง หรือไคฟง ทว่าเมืองทั้งสามได้ถูกทัพมองโกลปล้นชิงและเผาทำลายไปนานแล้ว โดยแต่ละเมืองเหลือประชาชนเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น ซึ่งยากเกินกว่าซ่งใต้จะบูรณะหรือดูแล
สงครามซ่ง ยกแรกและศึกนางพญาแห่งมองโกล
เมื่อจอมข่านโอกาไดทรงทราบว่า ซ่งใต้ผิดสัญญา รุกล้ำเขตแดน ก็พิโรธจึงให้ส่งกองทัพบุกลงใต้เพื่อโจมตีอาณาจักรซ่ง ทว่า ทหารมองโกลไม่คุ้นกับภูมิประเทศและภูมิอากาศทางใต้ ทำให้ทั้งคนและม้าล้มป่วยลงเป็นอันมาก ประกอบกับทัพซ่งได้ต่อต้านอย่างดุเดือด กองทัพมองโกลจึงต้องถอยกลับไป
สงครามเต็มรูปแบบระหว่างมองโกลกับซ่งใต้ เริ่มขึ้นใน ค.ศ.1235 โดยในช่วงแรก โอกาไดส่งแม่ทัพคัวตวนเหอชู่ ยกทัพตีมณฑลเสฉวนเพื่อผ่านเข้าสู่ที่ราบเฉิงตู ซึ่งการยึดภูมิภาคนี้ ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการพิชิตดินแดนใต้
ทว่า จากที่ราบเฉิงตู ก่อนเข้าสู่ลุ่มน้ำฉางเจียง อันเป็นที่ตั้งของนครหลินอัน เมืองหลวงของซ่งใต้ มีเมืองเซียงหยางที่อยู่ริมแม่น้ำฮั่นสุ่ย เป็นหน้าด่านสำคัญ ซึ่งหากยึดเมืองนี้ได้ ก็จะเปิดเส้นทางสู่นครหลินอัน
นอกจากกองทัพที่บุกเสฉวนแล้ว โอกาไดยังส่งอีกทัพหนึ่งนำโดยแม่ทัพคัวเหวินปู้ฮัว บุกมาทางตะวันออกในปี ค.ศ.1236
แม่ทัพเฉาหยูเหวิน ผู้รักษาเมืองเซียงหยางยอมจำนนต่อมองโกล โดยหลังรับการสวามิภักดิ์ ทัพมองโกลได้เคลื่อนพลต่อเพื่อเข้าสู่หลินอัน ทว่าต้องเผชิญกับทัพใหญ่ที่นำโดยแม่ทัพเมิ่งกงและแม่ทัพตู้กัวที่ต่อสู้อย่างเข้มแข็ง จนมองโกลไม่อาจไปต่อได้ ขณะที่กองทัพซึ่งบุกทางเสฉวนก็ยังมาไม่ถึง
เมิ่งกงเป็นแม่ทัพฝีมือฉกาจ บรรพชนของเขาเคยเป็นนายทหารของจอมทัพงักฮุยและร่วมสร้างวีรกรรมต่อสู้กับทหารต้าจินอย่างกล้าหาญ ขณะที่เมิ่งกงเองก็สร้างวีรกรรมสามารถนำทัพตีค่ายมองโกลแตก 24 ค่ายและในปี ค.ศ.1239 แม่ทัพเมิ่งกงก็ยึดเมืองเซียงหยางกลับคืนมาได้ และตีกองทัพมองโกลสายตะวันออกจนแตกพ่าย ล่าถอยกลับไป ส่วนทัพมองโกลในเสฉวนยังคงรบติดพันกับกองทัพซ่งในเสฉวน จนไม่อาจรุกคืบ ทั้งนี้การที่มองโกลยังติดพันการศึกในยุโรป ทำให้ไม่อาจทุ่มกำลังมาทำศึกกับอาณาจักรซ่งได้
ไอ้นี่พยายามจะบอมมู้ทิ้ง
ID:TlzYnviwrZ
ID:TlzYnviwrZ
ID:TlzYnviwrZ
ID:TlzYnviwrZ
ID:TlzYnviwrZ
แสดงว่าเมมมันโดนโม่งเล่นอยู่ไม่อยากให้โม่งพูดถึง ย้อนอ่านดูเมมที่โดนโม่งเล่นในมู้นี้มีแค่นุ้ยที่โม่งสงสัยว่าไปศัลย์แสดงว่ามันน่าจะเป็นโม่งนุ้ยที่รับไม่ได้ที่นุ้ยศัลย์
อส กำลังหนุก แปะต่อเร็วๆ ซิ่นจะออกมาตอนไหนวะ
ใจเยน อส
เมื่อถึงปี ค.ศ.1241 จอมข่านโอกาไดเสด็จสวรรคต ทัพมองโกลจึงถอนกำลังกลับ หลังสงครามสงบ ข้าหลวงเสฉวนได้สร้างป้อมปราการที่เตี้ยวอี้เฉิงเพื่อใช้ป้องกันที่ราบเฉิงตูจากการรุกรานของมองโกล ซึ่งด้วยป้อมนี้เอง ที่ทำให้กองทัพซ่งป้องกันเสฉวนได้นานร่วมสิบปี
ในขณะเดียวกับ ราชสำนักซ่งใต้ก็เสริมความแข็งแกร่งให้กับปราการที่เซียงหยางรวมถึงเมืองฟานเฉิงซึ่งอยู่อีกฟากของแม่น้ำฮั่นสุ่ย ให้เป็นป้อมปราการคู่ ซึ่งหากเมืองหนึ่งถูกโจมตี อีกเมืองก็สามารถไปช่วยได้ทันที ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มองโกลใช้กองเรือล่องแม่น้ำฮั่นสุ่ยเข้าสู่ที่ราบลุ่มน้ำฉางเจียง อันเป็นที่ตั้งของนครหลินอัน
ปี ค.ศ.1242 หลังจอมข่านโอกาไดสวรรคต พระนางโตเรจิน ชายาเอกของพระองค์พยายามกุมอำนาจโดยขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการและผลักดันให้ กูยุค โอรสของนางกับจอมข่านโอกาได ขึ้นครองราชย์
พระนางโตเรจิินได้ส่งทูตมาเจรจาสงบศึกกับซ่งใต้ แต่ซ่งใต้จับทูตมองโกลคุมขังไว้ สงครามจึงดำเนินต่อไป โดยมองโกลได้ส่งทัพบุกเสฉวน ทว่าความแข็งแกร่งของแนวป้องกัน รวมทั้งกองทัพที่มีจำนวนพลมากมายของซ่งใต้(อาณาจักรซ่งใต้มีพลเมืองราว 60 ล้านคน) ทำให้มองโกลไม่อาจชนะได้ แต่เนื่องด้วยตอนนั้น แม่ทัพที่ฝีมือเข้มแข็งอย่าง เมิ่งกงและตู้กัวได้เสียชีวิตไปเเล้ว จึงทำให้ฝ่ายซ่งต้องสูญเสียไม่น้อยในการต้านศึกมองโกล
ปีต่อมา อาณาจักรซ่งใต้จึงได้ขอเจรจาสงบศึก ขณะเดียวกัน ฝ่ายมองโกลก็กำลังวุ่นวายกับการชิงตำแหน่งจอมข่าน ทั้งสองฝ่ายจึงได้ทำข้อตกลงสงบศึกกัน
หลังยุติสงครามกับซ่งใต้ พระนางโตเรกีนได้พยายามหาเสียงสนับสนุนให้โอรสของพระนางขึ้นครองราชย์โดยมีคู่แข่งคือ พระนางซอกัจตานิ ชายาหม้ายของโตลุย ที่มีเจ้าชายมองเก เป็นผู้ชิงตำแหน่ง
สำหรับเหตุผลที่ทำให้ทายาทของโตลุยกลายมาเป็นคู่แข่งกับทายาทของโอกาไดนั้น เกิดจากเมื่อครั้งที่จอมข่านโอกาไดเสด็จกลับจากทำสงครามกับต้าจินไม่นานก็ล้มเจ็บด้วยโรคประหลาดที่หมอนานาชาติทั้งมองโกล ฮั่น คิตัน เติร์ก ก็จนปัญญารักษา จึงทำพิธีเชิญเทพมาเข้าร่างทรง และได้คำตอบว่า อาการประชวรครั้งนี้ เกิดจากพระเคราะห์หนัก ทางแก้มีเพียงต้องให้ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดมาดื่มน้ำมนต์ ที่ปลุกเสกแล้ว หาไม่ อาการของจอมข่านโอกาไดอาจรุนแรงถึงสวรรคต
และเนื่องจากพระญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของจอมข่านที่ยังเหลืออยู่ มีเพียงพระอนุชาโตลุย ที่เป็นน้องชายร่วมพ่อแม่เดียวกันเท่านั้น โตลุยจึงยอมดื่มน้ำสะเดาะเคราะห์ และเพื่อตอบแทนตวามเสียสละนี้ โอกาไดให้สัญญาว่าจะให้โตลุยและทายาทได้สืบบัลลังก์ต่อจากพระองค์แต่ไม่กี่วัน ต่อมา หลังพิธีสะเดาะเคราะห์ โตลุยก็ป่วย อาเจียนเป็นเลือดและตาย
โอกาไดทาบทาม ซอกัจจานิ ชายาหม้ายของโตลุยให้แต่งงานกับกูยุค โอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ แต่นางปฏิเสธ ซอกัจตานิเป็นหลานสาวของโตริลข่าน อดีตผู้นำเผ่าเคเรอิท พ่อบุญธรรมของเจงกีสข่าน นางจึงนับว่ามีอิทธิพลมากพอสมควรและทำให้จอมข่านไม่อาจฝืนใจนางได้
พระนางซอกัจตานิ มีโอรสสี่องค์เรียงลำดับ คือ มองเก กุบไล ฮูลากู และ อาริบัค ในเวลานั้น มองเกเพิ่งเข้าวัยหนุ่ม ส่วนกุบไลยังเป็นวัยรุ่น ขณะที่โอรสอีกสององค์ ยังเป็นเด็ก แต่ด้วยสัญญาของจอมข่านที่ให้กับโตลุย จึงทำให้มองเก โอรสองค์ใหญ่ของนาง มีสิทธิสืบทอดตำแหน่งจอมข่าน หรือ คาร์กาน ด้วย
พระนางซอกัจตานิ มีความสนิทสนมกับ บาตู ข่านแห่งโกลเดนท์ฮอร์ด ขณะที่พระนางโตเรกีน นอกจากจะมีกำลังสนับสนุนจากเหล่าแม่ทัพและขุนนางแล้ว ยังได้ รับการสนับสนุนจากเหล่าสมาชิกตระกูลชากาไต ข่านผู้ปกครองเอเชียกลาง
ทั้งนี้ นับแต่จอมข่านโอกาได สวรรคต พระนางโตเรกีนได้ใช้อิทธิพลและเลห์เพทุบายกำจัดฝ่ายตรงข้ามอย่างโหดเหี้ยม ไม่เว้นแม้แต่เชื้อสายราชตระกูลของเจงกีสข่าน จนสุดท้าย ก็สามารถทำให้ กูยุค โอรสของนางขึ้นเป็นจอมข่าน ได้สำเร็จในปี ค.ศ.1246
แม้ฝ่ายตรงข้ามของพระนางโตเรกีนจะถูกกำจัดอย่างโหดเหี้ยม แต่พระนางซอกัจตานิกับโอรส ได้รับความคุ้มครองจากบาตูข่านจึงยังปลอดภัย แต่ก็ต้องอยู่อย่างระวังตัวตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม ความฝันจะมีอำนาจสูงสุดของพระนางโตเรกีนต้องจบลง เพราะหลังกูยุคขึ้นครองราชย์ พระ องค์ได้ยึดอำนาจจากพระมารดารวมทั้งประหารฟาติมา คนสนิทของพระนางและเมื่อจอมข่านกูยุคครองราชย์ได้แปดเดือน พระนางโตเรกีนก็สิ้นพระชนม์
สงครามระหว่างมองโกลกับซ่งใต้ ได้สงบลงในช่วงนี้เนื่องจากกูยุคให้ความสนใจกับการขยายอำนาจไปทางตะวันตกมากกว่า
หลังจอมข่านกูยุคสวรรคตในปี ค.ศ.1248 พระนางโอกุลคามิชพยายามหนุนโอรสของนางกับกูยุคขึ้นเป็นจอมข่าน ทว่าครั้งนี้ ชัยชนะตกเป็นของพระนางซอกัจตานิ ที่โอรสของนาง คือ มองเก ได้ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ.1251 โอกุลคามิชร่วมมือกับชีเรมุน หลานชายของโอกาได วางแผนกบฏแต่ล้มเหลว หลังการต่อสู้อย่างดุเดือดและจบลงด้วยการประหารเชื้อพระวงศ์และแม่ทัพที่อยู่ฝ่ายของตระกูลโอกาไดและชากาไต โดยเชื้อสายของโอกาไดนั้น หมดอำนาจอย่างสิ้นเชิง ขณะที่กลุ่มเชื้อสายชากาไตถูกจำกัดอำนาจเหลือในเขตของตนแถบพื้นที่เอเชียกลางเท่านั้น
สุดท้ายก็ต้องให้จิ๋นซี ไปตัดสินกับฮาเดส
สงครามรอบสองและป้อมมรณะ เตี้ยวอวี้เฉิง
ในช่วงแรกๆที่การรุกรานของมองโกล หยุดชะงักไปนั้น จักรพรรดิซ่งหลีจงแห่งอาณาจักรซ่งใต้ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับป้อมปราการต่างๆทั้งในเสฉวนและลุ่มน้ำฉางเจียง เพื่อเตรียมรับการรุกรานจากมองโกลในอนาคต
ทว่าไม่กี่ปีต่อมา ซ่งหลีจงก็เบื่อหน่าย จนเลิกใส่พระทัยการป้องกันประเทศและหันมาเสพสุขส่วนพระองค์ เปิดโอกาสให้เหล่าขุนนางทุจริตเข้ามาประจบสอพลอ จนเป็นที่โปรดปรานและสร้างอิทธิพล ฉ้อราษฏร์บังหลวง กำจัดทุกคนที่ขัดขวาง ทั้งขุนนางซื่อสัตย์และขุนทหารเรืองฝีมือ จนราชสำนักซ่งใต้เสื่อมทราม มีขุนนางและขุนทหารหลายคนแปรภักดิ์หันไปเข้ากับมองโกล
หลังเจ้าชายมองเก ทรงขึ้นครองราชย์ เป็น คากาน (khagan)หรือ จอมข่าน ใน ปี ค.ศ.1251 พระองค์ทรงวางแผนจะพิชิตอาณาจักรซ่งใต้ โดยจอมข่านทรงเห็นว่า การจะพิชิตอาณาจักรซ่งให้ได้นั้น ต้องใช้การโจมตีจากทางเหนือและใต้ประสานกัน จึงทรงมีบัญชาให้เจ้าชายกุบไล พระอนุชาองค์ที่หนึ่งของพระองค์นำทัพเข้ายึดอาณาจักรต้าหลี่ ในยูนนาน เพื่อใช้เป็นที่มั่นทางใต้สำหรับเข้าตีอาณาจักรซ่ง
กองทัพมองโกลพิชิตต้าหลี่ได้ในปี ค.ศ.1253 แต่ก็ได้เกิดสงครามต่อเนื่องกับไดเวียต(เวียตนาม)และโครยอ (เกาหลี)จนล่วงถึงปลายปี ค.ศ.1254 การศึกจึงได้เสร็จสิ้น จากนั้น จอมข่านมองเคจึงมีบัญชาให้สะสมเสบียง ฝึกฝนไพร่พลเพื่อเตรียมการพิชิตอาณาจักรซ่งใต้ โดยในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ได้นำทัพเข้าตีป้อมปราการตามชายแดนทางเหนือของอาณาจักรซ่ง เพื่อเปิดเส้นทางสำหรับเคลื่อนทัพใหญ่ลงใต้ในอนาคต
ปี ค.ศ.1255 ระหว่างที่มองโกลกำลังเตรียมบุกซ่งใต้ รัฐอิสลามหลายรัฐที่อยู่ทางตะวันตกของจักรวรรดิ ซึ่งเคยสวามิภักดิ์ ได้ตั้งตนเป็นกบฏแข็งเมือง ทั้งยังมีเรื่องมือสังหารจากอลามุตเข้ามาก่อเหตุในจักรวรรดิ
จอมข่านมองเกจึงมีบัญชาให้เจ้าชายฮูลากู พระอนุชาองค์ที่สอง นำทัพจากคาราโครัม พร้อมด้วยกองหนุนจากโกลเดนฮอร์ดและอาณาจักรแห่งข่านชากาไต(ดินแดนเอเชียกลางในปกครองของเชื้อสายชากาไต)รวมพลหนึ่งแสนสองหมื่นนายเคลื่อนไปปราบกบฏโดยถือโอกาสขยายอาณาเขตทางตะวันตกด้วย
กองทัพของฮูลากูได้ทำลายอลามุตและปราบบรรดารัฐที่เป็นกบฏจนราบคาบก่อนจะบุกเข้าโจมตีอิรักและซีเรียเป็นอันดับต่อไป
ส่วนทางคาราโครัม ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1257 หลังเตรียมการทุกอย่างพร้อมแล้ว จอมข่านมองเก ทรงให้ระดมพลหนึ่งแสน เคลื่อนทัพออกจากคาราโครัมเพื่อบุกลงใต้เข้าโจมตีอาณาจักรซ่ง ทั้งทรงมีบัญชาให้พระอนุชา เจ้าชายกุบไล นำทหารหนึ่งแสน จากฐานทัพในต้าหลี่ ยูนนานและแม่ทัพอูเรียงคาไดนำทหารห้าหมื่นจากฐานทัพบริเวณชายแดนกว่างซีบุกอาณาจักรซ่งใต้พร้อมกับทัพหลวง โดยให้พระอนุชาองค์สุดท้อง ชื่ออาริบัค เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ทว่าเส้นทางจากคาราโครัมไปเสฉวนทั้งไกลและยากลำบาก ภูมิประเทศส่วนใหญ่ ประกอบด้วยป่าทึบและเขาสูงชัน เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนทัพ ทำให้ไพร่พล ม้าศึก อ่อนล้า
เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ.1258 จอมข่านได้นำทัพมาตั้งค่ายใกล้เขาลิ่วผานในหนิงเซี่ย โดยหลังจากทรงทราบว่า พระอนุชา ฮูลากู สามารถพิชิตนครแบกแดดได้แล้ว จอมข่านจึงตัดสินพระทัยจะบุกยึดดินแดนเสฉวนให้ได้ โดยให้เร่งเคลื่อนทัพจากเขาลิ่วผานมุ่งลงทางใต้
ปลายปีเดียวกัน กองทัพมองโกลก็เข้าโจมตีเสฉวนและยึดเป่าหนิงได้ โดยจอมข่านทรงมีบัญชาห้ามกองทหารปล้นสะดมภ์หรือทำร้ายราษฎร ซึ่งแม้กระทั่งโอรสของพระองค์ทำให้นาข้าวของชาวบ้านเสียหาย โดยบังเอิญ พระองค์ก็ยังสั่งให้ลงโทษ
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1259 ซึ่งตรงกับวัน ทซากาน ซาร์(Tsagann Sar)หรือปีใหม่ของมองโกล จอมข่านมองเกทรงให้จัดงานเลี้ยงฉลองปีใหม่แก่เหล่าไพร่พลที่เขาจงกุ้ย
ระหว่างงานเลี้ยง โตกาน หัวหน้าเผ่าจาแลร์ พระญาติของจอมข่านมองเก ได้กราบทูล ว่า สภาพอากาศของดินแดนทางใต้มีอันตรายต่อสุขภาพ จึงขอให้จอมข่านเสด็จกลับภาคเหนือ เพื่อความปลอดภัย
บาริทชิ หัวหน้าเผ่าเออลาท ตำหนิว่า คำแนะนำของโตกาน เป็นความคิดของคนขลาด และกราบทูลว่า จอมข่านควรอยู่นำทัพทำศึกต่อไป
มองเก ทรงพอพระทัยในคำกราบทูลของบาริทชิ เนื่องด้วยพระองค์ทรงมีพระประสงค์สร้างชื่อในฐานะผู้พิชิตอาณาจักรซ่งใต้
หลังหมดเทศกาลทซากาน จอมข่านทรงนำทัพเข้าเขตเหอชวน อันเป็นกุญแจสำคัญในการพิชิตที่ราบเฉิงตู ซึ่งการจะยึดเหอชวนได้นั้น จำเป็นต้องตีปัอมปราการเตี้ยวอวี้เฉิงให้แตกก่อน
ป้อมแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยแม่ทัพอวี้เจี๋ย อดีตข้าหลวงเสฉวน ผู้ทำศึกต่อต้านกองทัพมองโกล ที่จอมข่านโอกาได ส่งมาตีเสฉวนในช่วงปี ค.ศ.1235 - 1241 อย่างห้าวหาญ
กองทัพมองโกลมาถึงป้อมเตี้ยวอวี้เฉิงในเดือนมีนาคม ค.ศ.1259 ผู้บัญชาการป้อมในขณะนั้น ชื่อ หวางเจี้ยน เขาปฏิเสธที่จะยอมจำนน แม้จะมีทหารอยู่ไม่กี่พันนาย ขณะที่กองทัพมองโกลมีกำลังพลร่วมแสน ทว่าทหารมองโกลก็ไม่อาจตีป้อมนี้ให้แตกได้ จึงได้แต่ตั้งค่ายล้อมป้อมเอาไว้
ขณะที่ทัพของจอมข่านปิดล้อมเตี้ยวอวี้เฉิง ทัพของเจ้าชายกุบไลก็เข้าล้อมเมืองเอ้อโจว ในมณฑลเหอเป่ย ส่วนทัพของอูเรียงคาได หลังโจมตีกว่างซีแล้วก็บุกไปยังหูหนาน
จอมข่านมองเกทรงให้แม่ทัพชาวฮั่น ชื่อ หวางเต๋อเฉิน ซึ่งเป็น โนยาน คนโปรดของพระองค์ (Noyan ผู้บังคับกองพล โดยแต่ละกองพล มีทหารหนึ่งหมื่นนาย)เป็นแม่ทัพหน้า นำทหารเข้าตีปัอมเตี้ยวอวี้เฉิง
ในกองทัพมองโกลนั้น มีแม่ทัพชาวฮั่นอยู่ด้วย ตั้งแต่สมัยเจงกีสข่านทำศึกกับอาณาจักรต้าจินและเมื่อถึงรัชสมัยของจอมข่านโอกาได ก็ได้มีการตั้งกองพลชาวฮั่น 4 กองพล และมีชาวฮั่นดำรงตำแหน่งโนยาน 4 คนซึ่งพอถึงรัชสมัยที่กุบไลข่านขึ้นครองราชย์ ก็มีกำลังพลชาวฮั่นในกองทัพนับแสนนาย
หวางเต๋อเฉินนำทัพเข้าตีปัอมเตี้ยวอี้เฉิงหลายครั้งแต่ก็ไม่อาจตีให้แตกได้ ขณะที่ไพร่พลโดยเฉพาะที่เป็นชาวมองโกลและชนเผ่าจากเอเชียกลางซึ่งมีอยู่กว่าสองในสามของทั้งกองทัพเริ่มล้มป่วยจากสภาพอากาศ
จอมข่านมองเกจึงคิดเกลี้ยกล่อมให้หวางเจี้ยนและชาวเมืองยอมจำนน โดยทรงให้หวางเต๋อเฉินนำทัพไปหน้าป้อมและเจรจาให้อีกฝ่ายยอมจำนน ทว่าทันทีที่คนของฝ่ายมองโกลพูดจบ พวกทหารซ่งก็ใช้เครื่ิองเหวี่ยงหินโจมตีทันที หวางเต๋อเฉินถูกหินก้อนหนึ่งกระแทกโดนหัวไหล่จนตกจากหลังม้า บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในคืนวันนั้น
การตายของแม่ทัพคนสำคัญทำให้จอมข่านทรงพิโรธและนำทัพเข้าตีเมืองด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในเวลานั้นพระองค์จะเริ่มป่วยแล้วก็ตาม
การโจมตีและปิดล้อมป้อมเตี้ยวอวี้เฉิง ดำเนินไปจนถึงเดือนสิงหาคม และในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ.1259 จอมข่านมองเกก็เสด็จสวรรคต
สำหรับสาเหตุการสวรรคตของมองเก มีการระบุสาเหตุที่แตกต่างกัน เอกสารมองโกลระบุว่า พระองค์สวรรคตด้วย อหิวาตกโรค ส่วนเอกสารของเปอร์เซียระบุสาเหตุการสวรรคต คือโรคบิด เอกสารอาร์เมเนียระบุว่า ทรงจมน้ำสิ้นพระชนม์ ระหว่างนำกองเรือเข้าตีป้อมบนเกาะ ส่วนเอกสารจีนระบุว่า จอมข่านมองเกสวรรคตหลังได้รับบาดเจ็บสาหัสจากลูกระเบิดที่ยิงโดยครื่ิองเหวี่ยงหินระหว่างนำทัพเข้าตีป้อม แต่พวกนายทัพกลบเกลื่อนว่าสวรรคตเพราะประชวร เพื่อไม่ให้ไพร่พลเสียขวัญนอกจากนี้ยังมีเอกสารของซีเรียที่ระบุว่า จอมข่านเสด็จสวรรคตเพราะถูกธนูดอกหนึ่งที่ยิงมาจากบนกำแพง ระหว่างที่ทัพมองโกลเข้าตีป้อม
ไม่ว่าสาเหตุที่แท้จริงจะเป็นเช่นไร แต่การสวรรคตของจอมข่านมองเกก็ทำให้การปิดล้อมป้อมเตี้ยวอวี้เฉิงจบลงและทัพมองโกลก็ถอยออกจากเสฉวน กลับไปยังคาราโครัม
ทางด้านแม่ทัพอูเรียงคาได เมื่อทราบข่าวการสวรรคต ก็ให้ถอยทัพออกจากหูหนานเพื่อไปยังคาราโครัมทันที ขณะที่กองทัพของเจ้าชายกุบไล ซึ่งยังปิดล้อมเอ้อโจว อยู่นั้น เมื่อทราบข่าว ก็เตรียมถอนทัพเช่นกัน
แต่เพราะการรบยังติดพัน ทั้งยังมีข่าวว่า ราชสำนักซ่งได้ส่งทัพใหญ่มาช่วยเอ้อโจว เจ้าชายกุบไล จึงเกรงว่า หากถอยทัพเวลานี้ จะถูกทัพซ่งตามตีตลบหลัง
ทว่าเสนาบดีกลาโหม เจี่ยซื่อเต้า ผู้นำทัพของซ่งใต้นั้นเป็นคนขลาด จึงลอบส่งคนมาติดต่อขอสงบศึก แลกกับการที่ซ่งใต้จะส่งบรรณาการเป็นรายปีให้
เมื่อมีข้อเสนอเช่นนี้ เจ้าชายกุบไลจึงไม่ปฏิเสธ แต่ก่อนถอยทัพ พระองค์ก็ได้ส่งสาส์นไปข่มขู่ เพื่อให้อีกฝ่ายเกิดเกรงกลัวจนไม่กล้าเปลี่ยนใจมาตามตีตลบหลังกอง ทัพมองโกล จากนั้น เจ้าชายกุบไลจึงเร่งยกทัพไปนครคาราโครัมเพื่อร่วมพิธีพระศพก่อนเข้าร่วมคัดเลือกจอมข่านพระองค์ใหม่
ด้วยเหตุนี้ การสิ้นพระชนม์ของจอมข่านมองเก ที่ป้อมเตี้ยวอวี้เฉิง ในปี ค.ศ.1259 จึงทำให้การรุกรานอาณาจักรซ่งใต้ครั้งที่สอง ของจักรวรรดิมองโกลสิ้นสุดลง
สงครามกลางเมืองของจักรวรรดิมองโกล
สำหรับเหตุการณ์ทางตะวันตก หลังจากฮูลากูพิชิตนครแบกแดดและกวาดล้างราชวงศ์อับบาซิดแล้ว พระองค์ได้เข้าโจมตีนครรัฐมุสลิมในซีเรียจนนครรัฐเหล่านั้นถูกพวกมองโกลยึดครองจนหมด จากนั้นฮูลากูจึงสถาปนาอาณาจักรอิลข่านขึ้น
หลังพิชิตซีเรีย ฮูลากูได้ส่งทูตไปอียิปต์ ที่ถูกปกครองโดยราชวงศ์มัมลุคที่เพิ่งก่อตั้งและเรียกร้องบรรณาการรวมทั้งการสวามิภักดิ์
สุลต่านกูตุซแห่งมัมลุคสั่งให้ตัดหัวคณะทูตและส่งกลับไปแทนคำตอบ ทำให้ฮูลากูโกรธมากและเตรียมทำศึกกับอียิปต์
ขณะเดียวกัน เบอร์เก ข่านองค์ที่สี่แห่งโกลเดนท์ฮอร์ด อนุชาของบาตู ผู้สถาปนาโกลเดนท์ฮอร์ดและเป็นข่านองค์แรก ก็ไม่พอใจที่ฮูลากูทำลายนครแบกแดดและสังหารหมู่ชาวมุสลิมจำนวนมาก ระหว่างทำศึกในตะวันออกกลาง เนื่องจากข่านเบอร์เกนั้นนับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ พระองค์ยังมีปัญหากับฮูลากู เรื่องดินแดนอาเซอร์ไบจาน ที่เดิมเป็นของโกลเดนท์ฮอร์ด แต่จอมข่านมองเกมีบัญชาให้ส่งมอบให้ฮูลากู ซึ่งแม้จะไม่พอใจ แต่เบอร์เกก็ต้องยอมรับพระบัญชา
อย่างไรก็ตาม เบอร์เกก็ยังไม่ปะทะกับฮูลากูเนื่องจากเห็นว่า ชาวมองโกลไม่ควรมาฆ่ากันเอง พระองค์จึงส่งจดหมายตำหนิฮูลากูไปร้องเรียนต่อจอมข่าน ทว่าจอมข่านสิ้นพระชนม์ก่อนจดหมายจะไปถึง ซึ่งเมื่อภายหลังฮูลากูได้ทราบเรื่องนี้ ก็ขุ่นเคืองมาก
นอกจากนี้ รัฐสุลต่านมัมลุคยังเคยมีสัมพันธ์การทูตกับโกลเดนท์ฮอร์ดรวมทั้งยังเป็นประเทศคู่ค้ากันด้วย อีกทั้งยังเป็นมุสลิมเหมือนข่านเบอร์เก จึงทำให้ข่านฮูลากูเริ่มหวาดระแวง
ในระหว่างนี้เอง ข่าวการสวรรคตของจอมข่านมองเกก็มาถึง ซึ่งตามกฏมณเฑียรบาลแล้ว ฮูลากูต้องกลับไปคาราโครัมเพื่อร่วมพิธีพระศพและเข้าประชุมใหญ่(สภาคูรุลไต)เพื่อเลือกตั้งจอมข่านพระองค์ใหม่
เวลานั้น ฮูลากูเห็นว่า สถานการณ์ในซีเรียยังไม่น่าเป็นห่วงนัก ประกอบกับช่วงฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง ทำให้มีปริมาณหญ้าและน้ำไม่พอเลี้ยงม้าศึกทั้งหมด พระองค์จึงนำกำลังส่วนใหญ่ของกองทัพมองโกลกลับไปด้วย โดยให้แม่ทัพคิต บูกา สหายสนิทของจอมข่านมองเกพร้อมทหารมองโกล 12,000 นาย อยู่คุมสถานการณ์ในซีเรียร่วมด้วยกำลังพลจากรัฐครูเสดในตะวันออก กลางที่เป็นพันธมิตรของมองโกล
ขณะเดียวกัน เจ้าชายกุบไลที่กำลังนำทัพจากซ่งใต้ ขึ้นเหนือไปคาราโครัม ก็ได้ทราบข่าวว่า พระอนุชา อาริบัค ที่มองเกแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษากรุงคาราโครัม กำลังรวบ รวมผู้สนับสนุน เพืื่อชิงตำแหน่งจอมข่าน โดยมีสมาชิกทั้งหมดของครอบคร้วจอมข่านมองเกและสมาชิกของตระกูลโอกาไดกับชากาไตจำนวนมากให้การสนับสนุน
เมื่ิอประเมินสถานการณ์แล้ว เจ้าชายกุบไลทรงเห็นว่า การไปคาราโครัม มีอันตรายเกินไป เนื่องจากขุมกำลังของฝ่ายตรงข้ามอยู่ที่นั่น พระองค์จึงนำทัพไปยังเมืองไคผิงหรือ เมืองซ่างตูที่อยู่ทางเหนือจีน (ปัจจุบันอยู่ในเขตมองโกเลียในของจีน)และจัดประชุมคูรุลไตขึ้น ซึ่งเป็นการประชุมคูรุลไตครั้งแรกนอกถิ่นฐานเดิมของชาวมองโกลในเอเชียกลาง โดยเจ้าชายกุบไลทรงขึ้นเป็นจอมข่าน ด้วยการสนับสนุนจากผู้ติดตามของพระองค์และเชื้อพระวงศ์อีกจำนวนหนึ่ง
หนึ่งเดือนต่อมา เจ้าชายอาริบัคก็จัดประชุมคูรุลไตที่คา ราโครัมตั้งตนเป็นจอมข่าน ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มของสงคามกลางเมืองระหว่างสองฝ่าย
ฮูลากูที่ยกทัพมาจากอาณาจักรอิลข่านได้สนับสนุนเจ้าชายกุบไลเป็นจอมข่าน เนื่องด้วยสนิทสนมกันมาก่อน ขณะที่ข่านอัลกู ผู้นำอาณาจักรข่านชากาไต สนับสนุนเจ้าชายอาริบัค เช่นเดียวกับ ข่านเบอร์เกแห่งโกลเดนท์ ฮอร์ดที่มีเรื่องบาดหมางกับฮูลากู ก็ให้การสนับสนุนเจ้าชายอาริบัค ด้วย
ส่วนสถานการณ์ทางตะวันตกนั้น หลังจากฮูลากูนำทัพกลับมองโกเลียแล้ว ก็เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างพวกมองโกลกับพวกครูเสด โดยเหตุการณ์ลุกลามจนนำไปสู่การปะทะกัน ทำให้หลานชายของคิตบูกาถูกสังหารพันธมิตรระหว่างสองฝ่ายจึงสิ้นสุด
เมื่อสุลต่านกูตุซทราบเรื่อง ก็นำทัพออกจากอียิปต์เพื่อบุกโจมตีพวกมองโกลในซีเรีย โดยพวกครูเสดไม่ได้มาขัดขวางแต่อย่างใด ทั้งยังให้ทัพมัมลุคผ่านเขตแดนของพวกตนอีกด้วย
คิตบูกานำทัพไปรับศึกที่อัยญาลูตจ์แต่ถูกทัพมัมลุคซุ่มโจมตีจนพ่ายแพ้ยับเยินใน เดือนกันยายน ค.ศ.1260
คิตบูกาพร้อมทหารมองโกลจำนวนมากถูกสังหาร
เมื่อฮูลากู ที่เวลานั้น อยู่ในมองโกเลีย ได้ทราบข่าวร้ายที่อัยญาลูตจ์ ก็โกรธมากและเตรียมการ ยกทัพกลับไปจัดการกับพวกมัมลุคเพื่อล้างแค้นให้กับความพ่ายแพ้ที่อัยญาลูตจ์ และในระหว่างที่ฮูลากูกำลังเตรียมกองทัพเพื่อยกกลับไปทำศึกกับมัมลุคนั้น สงครามกลางเมืองระหว่างกุบไลข่านกับอาริบัคก็เริ่มขึ้น
ปี ค.ศ.1261 สองฝ่ายได้เปิดศึกรอบแรกที่ชีมุลไต(อยู่ใกล้กับพรมแดนจีนและมองโกเลียในปัจจุบัน)กองทัพของกุบไลข่านตีกองทัพอาริบัคที่ยกมาจากคาราโครัมจนแตกพ่ายและต้องถอยกลับไปยังที่มั่นในมองโกเลีย
กองทัพของกุบไลข่านได้ไล่ติดตามทัพของอาริบัคแต่ถูกอีกฝ่ายดักซุ่มโจมตี แถบภูเขาคินกานในมองโกเลียตะวันออก แต่เนื่องจากกองทหารที่ถูกโจมตี เป็นเพียงกองหน้า ไม่ใช่ทัพหลวงที่กุบไลข่านควบคุมเอง จึงไม่สร้างความเสียหายให้กับกำลังพลส่วนใหญ่
ในปีต่อมาคือ ค.ศ.1262 ความขัดแย้งระหว่างฮูลากูกับเบอร์เกก็มาถึงจุดแตกหัก โดยเริ่มจากการที่ฮูลากพยา
ยามกดดันให้เบอร์เก เลิกการขายทาสชาวคิปชัคให้กับมัมลุค ตามมาด้วยการเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนาของเจ้าชายในราชตระกูลโจชิ สามองค์ที่รับราชการในกองทัพของฮูลากู ซึ่งเมื่อรวมกับเรื่องที่ฮูลากูปล้นทำลายกุรงแบกแดดและกรณีพิพาทอาเซอร์ไบจานแล้ว จึงทำให้เบอร์เกตัดสินใจเปิดศึกกับอีกฝ่าย โดยขณะที่ฮูลากูนำทัพกลับอิลข่านในเปอร์เซียและทำสงครามกับพวกมัมลุค เบอร์เกก็ยกทัพโจมตีภาคเหนือของอิลข่าน พร้อมทั้งทำสัญญาเป็นพันธมิตรกับสุลต่านแห่งมัมลุค
การโจมตีของโกลเดนท์ฮอร์ดทำให้ฮูลากูจำต้องยุติศึกกับพวกมัมลุคและหันมารับมือกับเบอร์เก สองฝ่ายเปิดศึกกันแถบเทือกเขาคอเคซัส การรบดำเนินไปอย่างดุเดือด โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด
เมื่อทราบว่า พันธมิตรของตนกำลังรบกับอีกฝ่าย กุบไลข่านจึงส่งเจ้าชายอาบาคา โอรสของฮูลากู คุมกองทัพไปโจมตีโกลเดนท์ฮอร์ด ขณะที่ฝ่ายอาริบัคก็ได้ส่งเจ้าชายโนกายคุมทัพไปโจมตีอิลข่าน ทว่าทั้งกองทัพของโนกายและอาบาคาต่างก็พ่ายแพ้และต้องถอยทัพกลับอย่างสะบักสะบอม
สงครามระหว่างโกลเดนท์ฮอร์ดกับอิลข่าน ทำให้เบอร์เกและฮูลากูไม่อาจมาแทรกแซงสงครามกลางเมืองระหว่างกุบไลข่านกับอาริบัคได้
แม้จะไม่มีพันธมิตรมาช่วยรบ แต่ฝ่ายกุบไลข่านที่ครอบครองพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ในจีนตอนเหนือ ก็ได้เปรียบทั้งในเรื่องเสบียงอาหารและกำลังพล ขณะที่อาริบัคซึ่งมีที่มั่นในทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายของมองโกลเสียเปรียบในเรื่องนี้
ไม่นานกองทัพของกุบไลข่านก็สามารถยึดพื้นที่ในเขตมองโกเลียได้เกือบหมดและบีบให้อาริบัคเริ่มจนมุม จึงไปขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรคืออัลกูข่าน ผู้ครองอาณาจักรข่านชากาไต ทว่าอัลกูข่านกลับฆ่าทูตของอาริบัคและปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือ
แต่ขณะที่อาริบัคกำลังเข้าตาจน ก็ได้เกิดกบฏขึ้นในจีน ทำให้กุบไลข่านต้องถอยทัพออกจากมองโกเลีย เพื่อกลับไปปราบกบฏ อาริบัคจึงรอดจากหายนะไปได้
ด้วยความแค้นที่ถูกหักหลังและต้องการที่มั่นใหม่เพื่อสู้กับกุบไลข่าน อาริบัคจึงนำกองทัพบุกอาณาจักรข่านชากาไต เปิดศึกกับอัลกูข่าน
ในช่วงแรก ทัพของอาริบัคสามารถขับไล่ฝ่ายอัลกูข่านจนต้องถอยทัพไปตั้งมั่นอยู่แถบโอเอซีสใกล้ชายแดนแม้จะชนะอัลกูข่าน แต่อาริบัคก็เสียกำลังทหารไปมาก ขณะที่พรรคพวกของพระองค์ก็พากันไปสวามิภักดิ์ต่อกุบไลข่าน จึงทำให้ทัพของอาริบัคอ่อนแอลง
ต่อมา อัลกูข่านที่ไปสวามิภักดิ์ต่อกุบไลข่าน ได้นำทัพพร้อมกำลังเสริมจากกุบไลข่าน กลับมาชิงดินแดนคืนโดยบดขยีี้ทัพของอาริบัคยับเยินและขับไล่ออกไปจากอาณาจักร
และแล้ว ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1264 เจ้าชายอาริบัคที่ยามนี้มีกำลังคนเพียงหยิบมือ และไม่มีพันธมิตรหลงเหลืออีกแล้ว ก็เดินทางไปเมืองซ่างตูเพียงลำพังและยอมจำนนต่อกุบไลข่าน
ในที่สุด หลังจากสงครามกลางเมืองได้ดำเนินมาถึงสี่ปี กุบไลข่านก็เอาชนะอาริบัคได้ในปี ค.ศ.1264 เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนศึกที่สนับสนุนอาริบัคถูกประหาร ส่วนอาริบัคนั้น กุบไลข่านทรงให้คุมขังไว้ในคุก และให้จัดประชุมคูรุลไตเพื่อพิจารณาโทษ โดยให้คนถือสาส์นไปแจ้งฮูลากูและเบอร์เกให้มาเข้าร่วมประชุม ทว่าทั้งสอง
ไม่อาจมาได้เนื่องจากยังทำสงครามกันอยู่ การประชุมคูรุลไตจึงถูกยกเลิก
ต้นปี ค.ศ.1265 กุบไลข่านได้ส่งทหารม้าชาวมองโกลสามหมื่นนายไปช่วยฮูลากูทำศึกและยุติวิกฤตการณ์ ในภาคตะวันตกของจักรวรรดิ แต่ไม่นาน ข่านฮูลากูก็ล้มป่วยและสิ้นพระชนม์ในวันที่8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1265
สองสามเดือน หลังจากฮูลากูสิ้นพระชนม์ อัลกูข่าน ผู้ครองอาณาจักรข่านชากาไต ที่หันมาสวามิภักดิ์กุบไลข่านก็สิ้นพระชนม์ที่อัลมาลิคในเอเชียกลาง
การสิ้นพระชนม์ของข่านทั้งสองทำให้เกิดสูญญากาศ อำนาจและส่งผลให้อำนาจในการควบคุมภาคตะวันตกของกุบไลข่านอ่อนแอลง
สงครามระหว่างโกลเดนท์ฮอร์ดกับอิลข่านยังคงดำเนินต่อไป จนถึงปี ค.ศ.1266 ขณะที่ข่านเบอร์เกกำลังข้ามแม่น้ำคูรา ในอาเซอร์ไบจาน เพื่อไปโจมตีข่านอาบาคาโอรสของฮูลากูและผู้นำคนใหม่ของอิลข่าน พระองค์ก็สิ้นพระชนม์กะทันหัน ทำให้สงครามระหว่างโกลเดนท์ ฮอร์ดกับอิลข่านสิ้นสุดลงและในปีเดียวกันนั้นเอง เจ้าชายอาริบัคที่อยู่ในคุกก็สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน(นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า พระองค์ถูกวางยาพิษโดยบัญชาของกุบไลข่าน)
กุบไลข่านทรงแต่งตั้งเมนกูตีมูร์ หลานปู่ของบาตูข่านเป็นข่านพระองค์ใหม่ของโกลเดนท์ฮอร์ด และแต่งตั้งบาแรค เหลนของชากาไตเป็นผู้ปกครองอาณาจักรข่านชากาไต
แม้กุบไลข่านจะสามารถครองตำแหน่งคากานและเข้าควบคุมจักรวรรดิทั้งหมด แต่ความแตกแยกอันเกิดจากสงครามกลางเมืองที่เพิ่งสิ้นสุด ก็แทรกซึมในจักรวรรดิมองโกลและรอเวลาที่จะทำให้จักรวรรดิแตกเป็นเสี่ยงๆ
อย่างไรก็ตาม การสิ้นสุดของสงครามกลางเมือง ก็ทำ ให้กุบไลข่านสามารถสานต่องานใหญ่ที่สืบเนื่องมาแต่
ยุคจอมข่านโอกาได นั่นคือ การพิชิตอาณาจักรซ่งใต้
ในปี ค.ศ.1265 หนึ่งปีหลังการยอมแพ้ของอาริบัค กุบไลข่ายได้เริ่มทำศึกกับซ่งใต้อีกครั้ง โดยเป้าหมายแรกคือ ป้อมเตี้ยวอวี้เฉิง
เปิดรับรุ่น5 เลย
รับกี่คนดี
อันนี้มันแอพอะไรวะ โคตรเด็ด จะได้โหลดมาบ้าง
https://video.twimg.com/ext_tw_video/1678086260093751297/pu/vid/432x848/VBgq-Utz2SLizMek.mp4?tag=12
อห รบกับพระเจ้าชัยวรมันเมื่อไหร่ โทรไปเรียกกูด้วยนะ
>>890 มึงโผล่ กูจัด
กังฉินแห่งซ่งใต้และปราการสุดท้ายที่เซียงหยาง
ในส่วนเหตุการณ์ทางอาณาจักรซ่งใต้นั้น หลังจอมข่านมองเกสวรรคตและกองทัพมองโกลล่าถอยไปแล้ว เสนาบดีกลาโหม เจี่ยซื่อเต้า ซึ่งจักรพรรดิซ่งหลีจงทรงให้ยกทัพมารับศึกที่เมืองเอ้อโจวแต่กลับลอบเจรจา ขอส่งบรรณาการ แลกกับการให้ทัพมองโกลของเจ้าชาย กุบไลถอยทัพ ได้ไปอ้างความดีความชอบกับราชสำนักซ่งและได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวาในปี ค.ศ.1260
ระหว่างที่มองโกลเกิดสงครามกลางเมือง ราชสำนักซ่ง ใต้ก็เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น แบ่งพรรคแบ่งพวกของเหล่าขุนนาง ขณะที่องค์จักรพรรดิก็สนพระทัยแต่เสพสุข ซึ่งในสภาพเช่นนี้เองที่เจี่ยซื่อเต้า ได้ขึ้นมาเป็นใหญ่
เจี่ยซื่อเต้า เป็นพี่ชายของพระนางเจี่ย ซึ่งเป็นพระชายาคนโปรดของจักรพรรดิซ่งหลีจง แม้จะเป็นคนฉลาด แต่มีนิสัยละโมบ เสเพล ทั้งไม่มีความรู้ความสามารถ หากด้วยอาศัยใบบุญน้องสาวรวมกับการประจบสอพลอ จึงได้เป็นคนโปรดของจักรพรรดิ
หลังขึ้นเป็นอัครเสนาบดีขวา เจี่ยซื่อเต้าก็กำจัดฝ่ายตรงข้าม โดยวางแผนใส่ร้ายอู๋เฉียน อัครเสนาบดีฝ่ายซ้ายจนถูกปลดจากตำแหน่งและเนรเทศ ส่วนพวกพ้องของ อัครเสนาบดีฝ่ายซ้าย ล้วนโดนเล่นงาน จนถูกปลดจากราชการ บ้างก็ถูกประหารหรือจำคุก ทั้งยังใส่ร้ายขุนศึกฝีมือเข้มแข็งที่ต่อต้านมองโกลจนต้องออกจากราชการแล้วจึงเอาคนของตนเข้าแทนที่ เพื่อสร้างอิทธิพลให้ตนเอง จนทำให้กองทัพซ่งใต้อ่อนแอลงยิ่งกว่าเดิม
เมื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามหมดแล้ว เจี่ยซื่อเต้าก็กุมอำนาจบริหารแผ่นดิน แต่ก็ไม่ได้เอาใจใส่งานบ้านเมือง กลับเอาแต่เสพสุข โดยเลี้ยงนางคณิกาและภิกษุณีรูปงามจำนวนมากไว้เป็นนางบำเรอ ทั้งชื่นชอบการกัดจิ้งหรีดจนเขียนเป็นคัมภีร์จิ้งหรีด วันใดอากาศดีก็ขนเหล่านางบำเรอลงเรือล่องทะเลสาปซีหูเป็นที่สุขสำราญ(ชิลแท้) จนผู้คนกล่าวขานว่า ไปทำเนียบมิพบอัครเสนาบดี ด้วยสำราญเปรมปรีดิ์อยู่ซีหู
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งขณะล่องเรือในทะเลสาบซีหู นางบำเรอคนหนึ่งของเจี่ยซื่อเต้าหลุดปากเอ่ยชมชายหนุ่มรูปงามที่ยืนอยู่ในเรืออีกลำ ให้เพื่อนฟัง เมื่อเจี่ยซื่อเต้าได้ยินเข้าโดยบังเอิญก็เรียกมาถามยิ้มๆ ว่า ชอบหนุ่มผู้นั้นหรือไม่ หากชอบจริง ก็จะเป็นพ่อสื่อ จัดงานแต่งให้
หญิงสาวรีบปฏิเสธ ด้วยความตกใจว่าจะถูกลงโทษ แต่อีกฝ่ายก็เพียงแต่หัวเราะอย่างไม่ถือสา
พอถึงตอนค่ำวันนั้น เจี่ยซื่อเต้าก็ให้นางบำเรอทุกคนมารวมกันและกล่าวว่า เขาจะจัดงานแต่งงานให้นางบำเรอที่เอ่ยชมชายหนุ่มรูปงามที่พบเมื่อตอนกลางวัน และให้ทุกคนเป็นสักขีพยาน จากนั้นก็ให้คนยกกล่องใบใหญ่มาวางและเมื่อเปิดกล่อง เหล่านางบำเรอก็พากันกรีดร้องตกใจกลัว ที่ได้เห็นหัวของนางบำเรอผู้นั้นกับหนุ่มรูปงามเมื่อตอนกลางวันถูกตัดวางไว้คู่กัน ขณะที่อัครเสนาบดีหัวเราะชอบใจ
หลังจักรพรรดิซ่งหลีจงสวรรคตในปี ค.ศ.1264 ซ่งตู้จงคือขึ้นครองราชย์ อำนาจของเจี่ยซื่อเต้าก็สูงยิ่งกว่าผู้ใดในอาณาจักร
แม้จะได้ชื่อว่าเป็นกังฉิน แต่หากจะกล่าวว่า เจี่ยซื่อเต้าไร้ผลงาน ก็ไม่ถูกนัก ด้วยเขาได้บุกเบิกนโยบายปฏิรูปที่ดินเป็นผลสำเร็จ โดยการเวนคืนที่ดินจากเจ้าที่ดินรายใหญ่ทั่วอาณาจักรมาเป็นของรัฐและไม่มีการจ่ายค่าชด เชยแม้แต่อีแปะเดียว(เรียกสั้นว่า ยึด)
ภัยคุกคามของมองโกล ทำให้มีความจำเป็นต้องเสริมสร้างกองทัพและป้อมปราการต่างๆให้แข็งแกร่งและด้วยความจำเป็นนี้เอง ทำให้เจี่ยซื่อเต้าสามารถยึดที่ดินทั่วทั้งอาณาจักรได้มากกว่าครึ่ง โดยเอกชนจะถูกจำกัดการครอบครองที่ดินขนาดใหญ่ เหลือให้เพียงที่แปลงเล็กๆ ส่วนที่ดินที่เหลือ จะกลายเป็นนารัฐ หรือ กงเถียน ซึ่งผลผลิตและรายได้ต่างๆจากกงเถียน จะถูกนำมาใช้สนับสนุน กิจการกองทัพ
นโยบายนี้ถูกใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1263 และทำให้เจ้าที่ดินทั้งหลายโกรธแค้น ซึ่งก็มีเจ้าที่ดินจำนวนมากที่เป็นขุน นางของราชสำนักด้วย
นอกจากปฏิรูปที่ดินแล้ว เจี่ยซื่อเต้ายังยกเลิกนโยบายเหอตี้ หรือการที่รัฐซื้อพืชผลของชาวนาเพื่อควบคุมราคาพืชผล โดยจะนำออกมาจำหน่ายในราคาถูกเมื่อเกิดภัยแล้ง หรือใช้เป็นเสบียงกองทัพ โดยปกติรัฐจะรับซื้อในราคาสูงกว่าราคาตลาด เพื่อให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น เเต่เนื่องจากการซื้อพืชผลต้องใช้เงินมาก ราชสำนักจึงต้องออกตั๋วแลกเงินเพื่อใช้แทนเงินสด ยิ่งซื้อมากในราคาสูง ก็ต้องออกตั๋วแลกเงินมาก ส่งผลให้มีปริมาณเงินในตลาดมากขึ้น จนเกิดเงินเฟ้อทำให้สินค้าราคาแพง เจี่ยซื่อเต้าต้องการลดเงินเฟ้อ จึงให้ยกเลิกนโยบายนี้
แม้นโยบายปฏิรูปที่ดินและการยกเลิกการซื้อพืชผลจะ
สร้างรายได้ให้อาณาจักรทำให้มีเงินมากพอสนับสนุนกองทัพโดยไม่ต้องรีดภาษีเพิ่ม ทว่าก็มีคนที่เดือดร้อนเสียผลประโยชน์เป็นจำนวนมาก อีกทั้งเจี่ยซื่อเต้าและพรรคพวกยังหาผลประโยชน์ส่วนตัวจาก นโยบายดังกล่าวด้วย จึงทำให้มีผู้เกลียดชังเขาเป็นจำนวนมาก แต่เพราะเจี่ยซื่อเต้ากุมอำนาจสูงสุดในราชสำนัก จึงไม่มีใครกล้าขัดขวาง
ฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ.1265 กุบไลข่าน จอมข่านแห่งจักร วรรดิมองโกลส่งทัพใหญ่บุกเสฉวน ซึ่งแม้กองทัพมอง โกลจะสามารถทำลายกองทัพซ่งในเสฉวนได้ทั้งหมดพร้อมกับยึดเมืองได้หลายเมือง แต่ก็ไม่สามารถตีป้อมเตี้ยวอวี้เฉิงให้แตกได้และกลายเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการเคลื่อนทัพจากเสฉวนเข้าสู่ลุ่มน้ำฉางเจียง
กุบไลข่านจึงเปลี่ยนแผนโดยใช้การบุกทางน้ำผ่านทาง แม่น้ำฮั่นสุ่ยเพื่ิอบุกราชธานีหลินอันของซ่งใต้ทว่าการใช้วิธีนี้ก็ยังมีอุปสรรคสำคัญ นั่นคือ เมืองเซียงหยาง
เมืองเซียงหยางตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำฮั่นสุ่ยโดยคู่กับเมืองฟานเฉิงที่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ มีราษฎรที่อาศัยอยู่ทั้งในและรอบเมืองทั้งสองราวสองแสน
ทั้งสองเมืองเคยถูกมองโกลเข้ายึดได้เมื่อปี ค.ศ.1236 และฝ่ายซ่งแย่งคืนมาได้ในปี ค.ศ.1239 จากนั้นก็ได้มีการเสริมสร้างเมืองทั้งสอง จนกลายเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่งและทำหน้าที่เป็นหน้าด่านสำหรับป้องกันลุ่มน้ำฉางเจียง
ใน ปี ค.ศ.1257 ทหารม้ามองโกลหลายพันนาย ได้เข้าโจมตีเมืองเซียงหยาง แต่เพราะไม่รู้ว่า เมืองนี้มีกำแพงสองชั้น พวกมองโกลจึงถูกหลอกให้เข้าไปอยู่ระหว่างกำแพงชั้นนอกและชั้นใน ก่อนถูกกองทหารที่ป้องกันเมืองสังหารจนหมดสิ้น
นอกจาก เมืองทั้งสองจะแข็งแกร่งแล้ว ภูมิประเทศและสภาพอากาศของภาคใต้ยังเป็นปัญหากับกำลังพลชาวมองโกลและชนท้องทุ่งอื่นๆด้วย กุบไลข่านจึงตั้งกอง ทัพชาวฮั่นขึ้น เพื่อใช้เป็นกำลังหลักในการทำศึกครั้งนี้
โดยกองทัพฮั่นที่กุบไลข่านตั้งขึ้นนี้ ประกอบด้วยทหารฮั่นของกองทัพจินและทหารจีนฮั่นของอาณาจักรซ่งใต้ที่มาสวามิภักดิ์ โดยทหารซ่งใต้ที่ยอมจำนนและสวามิ ภักดิ์ จะได้รับหญิงชาวเกาหลีเป็นภรรยา พร้อมกับ วัวเสื้อผ้าและที่ดินทำกิน
ทั้งนี้ จักรวรรดิมองโกลได้รุกรานอาณาจักรโครยอบนคาบสมุทรเกาหลีหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยจอมข่านโอกาไดและได้กวาดต้อนชาวเกาหลีกลับมาเป็นจำนวนมาก จนเมื่อถึงรัชสมัยของกุบไลข่าน โครยอก็ยอมศิโรราบกลายเป็นเมืองขึ้นของมองโกล
ปี ค.ศ.1267 กุบไลข่านส่งนายพลอาจู บุตรชายของแม่ทัพอูเรียงคาไดและหลานปู่ ของสุโบไต ผู้เป็นหนึ่งในสามแม่ทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมองโกล นำทัพหนึ่งแสน ซึ่งใช้ชาวฮั่นเป็นกำลังหลัก มาตีเมืองเซียงหยาง โดยมี ขุนนางของซ่งใต้ที่มาสวามิภักดิ์ ชื่อ หลิวเจิ้ง เป็นผู้ช่วย
นายพลอาจูกับหลิวเจิ้งนำทัพมาถึงเซียงหยางและฟานเฉิงในปี ค.ศ.1268 และตั้งค่ายล้อมไว้เพื่อให้ในเมืองขาดเสบียง อีกทั้งได้นำเครื่องเหวี่ยงหิน หรือ เทรบูเชต์ แบบใช้แรงฉุด(traction trebuchet)มาอีก 100 เครื่ิองเพื่อใช้ทำลายป้อมปราการ เทรบูเชต์เหล่านี้ถูกเรียกอีกชื่อว่า แมงโกเนล(mangonel)โดยมีระยะยิงอยู่ที่ 100 เมตร และยิงหินได้หนัก 40- 50 กิโลกรัม โดยมองโกลเคยใช้เทรบูเชต์ทำลายป้อมปราการของอาณาจักรจินจนพินาศมาแล้ว
ด้านเมืองเซียงหยางนั้น มีแม่ทัพลู่เหวินหวนกับทหาร รักษาเมือง 8,000 นาย พร้อมราษฎรอีกแสนเศษ ส่วนฟานเฉิงก็มีทหารจำนวนใกล้เคียงกันทำหน้าที่รักษาเมืองพร้อมราษฎรอีกหลายหมื่นคน
แม้จะกำลังพลฝ่ายเซียงหยางจะน้อยกว่าฝ่ายมองโกลมาก แต่กำแพงเมืองนั้นมีความหนาถึง 7 เมตร ทั้งยังถูกเสริมความหนาด้วยดินเหนียวหุ้มตาข่าย พร้อมกับมีการขยายคูเมืองและสร้างเครื่องกีดขวางเป็นแนวกว้างเกือบ 150 เมตร รอบเมือง รวมทั้งติดตั้งเครื่องดีดหินและหน้าไม้ยักษ์สำหรับยิงก้อนหินและระเบิด
คูเมืองที่กว้างและกำแพงที่เสริมจนหนา ทำให้เครื่องเหวี่ยงหินของมองโกลไร้อานุภาพ โดยไม่อาจทำความเสียหายให้กับกำแพงเมืองได้เลย และเมื่อส่งทหารบุกข้ามคูเมืองและฝ่าแนวเครื่องกีดขวางเข้าปีนกำแพงเมือง ก็ถูกทหารซ่งระดมยิงด้วยระเบิดและก้อนหินกับธนูหน้าไม้ ทำให้ทหารมองโกลล้มตายเป็นอันมาก
เมื่อการบุกตีเมืองไม่ได้ผล หลิวเจิ้งจึงเสนอให้ แม่ทัพอาจู ปิดล้อมเมืองทั้งสองจนกว่าจะขาดเสบียงและหมดกำลังสู้
นายพลอาจู ใช้เรือ 5,000 ลำ พร้อมทหารฮั่น 70,000 นาย ทำการปิดล้อมเมืองทั้งสองทั้งทางบกและทางน้ำ ทั้งยังให้ตั้งค่ายทหารปิดทุกเส้นทางเข้าออก เมืองทั้งสอง โดยจัดกองทหารม้ามองโกลประจำทุกค่าย เพื่อตัดขาดทั้งสองเมืองจากอาณาจักรซ่งใต้ส่วนที่เหลือ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก ทัพมองโกลก็ยังไม่อาจตัดการติดต่อระหว่างทั้งสองเมืองได้ โดยเซียงหยางและฟานเฉิงได้ใช้เรือท้องแบนจอด ต่อกันเป็นสะพานแพข้ามแม่น้ำฮั่นสุ่ย ซึ่งสองฟากของสะพานดังกล่าว เป็นจุดที่ทหารรักษาเมืองเซียงหยางและฟานเฉิงพยายามทำลายวงล้อมของกองทัพมองโกล
แม้การปิดล้อมของมองโกลจะสามารถตัดขาดเมืองทั้งสองออกจากส่วนอื่นของซ่งใต้ได้ แต่ในเซียงหยางได้สะสมเสบียงอาหารสำหรับพอเลี้ยงทหารและชาวเมืองได้หลายปี จึงทำให้การปิดล้อมยืดเยื้อ
นับแต่ทัพมองโกลล้อมเมืองเซียงหยาง ทางราชสำนักได้ส่งทหารไปเสริมกำลังพร้อมกับนำเสบียงไปให้เมืองเซียงหยางหลายครั้งแต่ก็ล้มเหลวทุกครั้ง เพราะเมื่อต้องสู้กันนอกเมืองแล้ว กองทหารซ่งไม่อาจเทียบกองทหารม้าชาวมองโกลได้เลย
โดยจากบันทึกการศึกระบุว่า เดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1270 กองหนุนของซ่งใต้ ได้ล้มตายไป 1,000 นาย หลังเข้าปะทะกับทหารม้ามองโกลเพื่อจะนำเสบียงเข้าไปในเมือง ต่อมาในการต่อสู้ เดือนสิงหาคม ปีค.ศ.1271 มีทหารซ่งถูกฆ่า 2,000 นาย และในเดือนต่อมา ทหารซ่งที่เป็นกองหนุนจำนวน 3,000 นายที่พยายามเข้าไปเสริมกำลังให้เมืองซียงหยาบ ได้ถูกทหารม้ามองโกลสังหารจนหมดสิ้น
เเม้จะไม่มีกำลังทหารและเสบียงมาเพิ่ม แต่ปราการอันแข็งแกร่งก็ช่วยให้ทหารและชาวเมืองเซียงหยางกับฟานเฉิงสามารถยืนหยัดต้านทานกองทัพมองโกลได้ เป็นเวลาถึงสี่ปี นับแต่ ค.ศ.1268 จนถึง ค.ศ.1271
ขณะที่กองทัพมองโกลที่นำโดยนายพลอาจู พยายามเข้ายึดเมืองเซียงหยางและฟานเฉิงนั้น กุบไลข่านก็ให้ส่งทัพอีกสายหนึ่งจากอาณาจักรต้าหลี่ ไปตีป้อมเตี้ยว อวี้เฉิงเพื่อเปิดเส้นทางสำหรับเคลื่อนทัพบกจากเสฉวนเข้าสู่ลุ่มน้ำฉางเจียง แต่ก็ไม่สามารถทำลายป้อมภูเขาที่มีน้ำล้อมรอบแห่งนี้ได้ จักรวรรดิมองโกลจึงทำได้เพียงตั้งทัพประจัญหน้าและรอโอกาสที่สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงเท่านั้น
สงสารเมมจิกะว่ะ เมมดี คนดูแลกระจอก
ใครไปทำอะไรโม่ง พข อีกแล้ววะ
ความปราชัยของเซียงหยาง
แม้ว่าเมืองเซียงหยางและฟานเฉิงจะตั้งรับทัพมองโกลได้อย่างเข้มแข็ง แต่ก็มีปัญหาการเมืองที่บั่นทอนประ สิทธิภาพการทำศึกของฝ่ายซ่งใต้ โดยมีที่มาจากการที่นายพลลู่เหวินเต๋อ ผู้บัญชาการทหารประจำลุ่มน้ำฉางเจียง ซึ่งรับผิดชอบแนวป้องกันทางเหนือ ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ.1269 (ลู่เหวินเต๋อผู้นี้ ป็นคนกล่าวหาหลิวเจิ้ง อดีตผู้ว่าเมืองหลู่โจวด้วยข้อหาฉ้อราษฏร์บังหลวง จนทำให้หลิวเจิ้งต้องหนีไปเข้ากับมองโกล และหลิวเจิ้งก็เป็นคนที่กราบทูลกุบไลข่านว่า เซียงหยาง คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้บุกถึงหลินอันผ่านเส้นทางน้ำได้ จึงทำให้กุบไลข่านส่งทัพมาตีเซียงหยาง)
เนื่ิองจากตอนที่ลู่เหวินเต๋อยังอยู่นั้น ตระกูลลู่มีอิทธิพลสูงในกองทัพ จนเคยถูกสงสัยในเรื่องความภักดี ทว่ามีอัครมหาเสนาบดีเจี่ยซื่อเต้าให้การสนับสนุนอยู่ จึงไม่มีใครทำอะไรได้ ต่อมาหลังลู่เหวินเต๋อตาย ด้วยความที่ไม่ต้องการให้ตระกูลลู่มีอิทธิพลมากไป จักรพรรดิซ่งตู้จงจึงให้หลี่ติ้งจี้ ซึ่งขัดแย้งกับตระกูลลู่ มารับตำแหน่งแทน และทรงห้ามเจี่ยซื่อเต้าไม่ให้มายุ่งกับเรื่องนี้
ทว่าเจี่ยซื้อเต้าได้แอบหนุนหลังคนตระกูลลู่ ในกองทัพให้ขัดคำสั่งหลี่ติ้งจี้ ทำให้ขาดเสถียรภาพในสายบังคับบัญชา จนหลี่ติ้งจี้ไม่อาจทำอะไรได้ นอกจากส่งเสบียงหนุน ซึ่งก็ถูกมองโกลแย่งไปทุกครั้ง
แม้สถานการณ์ชายแดนภาคเหนือจะคับขัน ทว่าเรื่องนี้กลับไม่ล่วงถึงจักรพรรดิซ่งตู้จง ด้วยเจี่ยซื่อเต้า ปิดบังอำพรางข้อเท็จจริง เพราะเกรงจะมีการสืบสาวจนเรื่องที่ตนแอบขัดรับสั่ง เข้าไปยุ่งกับสายการบังคับบัญชา ทำให้กองทัพชายแดนขาดเสถียรภาพถูกเปิดเผย และเนื่องด้วยจักรพรรดิซ่งตู้จงชื่นชอบแต่เสพสุราเคล้านารีจึงไม่ใช่เรื่องยากที่เจี่ยซื่อเต้าจะปิดข่าวชายแดน
เมื่อถึงปี ค.ศ.1271 เสบียงอาหารในเมืองเซียงหยางก็ใกล้จะหมดลง ขณะที่มองโกลสามารถตัดการติดต่อระหว่างเซียงหยางกับฟานเฉิงได้ แต่ทั้งสองเมืองยังคงยืนหยัดที่จะสู้ต่อไป และในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1271 กุบไลข่านก็ได้สถาปนาราชวงศ์หยวนที่เมืองข่านบาลิก
ปี ค.ศ.1272 ขณะที่เสบียงในเมืองเซียงหยางกำลังจะหมดนั้นเอง กองทหารซ่งสามพันนายก็สามารถบุกฝ่าวงล้อมข้าศึกและนำเสบียงเข้าไปส่งในเมืองได้ ทำให้ขวัญกำลังใจของชาวเมืองดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีใครสามารถกลับออกจากเมืองได้ ทำให้ทางกองบัญชาการ คิดว่า การส่งเสบียงล้มเหลว และเมืองทั้งสองคงขาดเสบียงอาหาร จนยากที่จะรักษาเมืองต่อไปได้ ทำให้ไม่มีการส่งกำลังพลกับเสบียงมาเพิ่มอีก
ทางด้านมองโกล นายพลชาวฮั่น ชื่อ กั๊วขั่น ซึ่งติดตามข่านฮูลากูไปทำศึกในตะวันออกกลาง ได้กลับมายังจีน กั๊วขั่นได้กราบทูลกุบไลข่าน ถึงเครื่องเหวี่ยงหินขนาดยักษ์ ที่ข่านฮูลากูใช้ทำลายกำแพงเมืองแบกแดดและเสนอให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการตีเซียงฟาน(ชื่อเรียกรวมของ เซียงหยางกับฟานเฉิง)
กุบไลข่านทรงเห็นด้วย จึงมีพระบัญชาไปยังพระนัดดา อาบาคา ซึ่งเป็นโอรสของฮูลากูและเป็นประมุขแห่งอิลข่าน ส่งผู้เชี่ยวชาญ มาช่วยสร้างอาวุธดังกล่าว จากนั้นจอมข่านจึงทรงมีพระบัญชา ให้กั๊วขั่นนำทหารราบ ชาวฮั่นสองหมื่นนายไปช่วยนายพลอาจูทำศึกที่เซียงหยาง
ทางอิลข่าน หลังข่านอาบาคาได้รับสาส์น ก็ส่งช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธหนักชาวมุสลิม ชื่อ อิสมาอิล กับ อัลอาดิน พร้อมกองทหารช่างชาวเปอร์เซียมาให้ โดยพวกทหารช่างของอิลข่านได้มาถึงจีน ช่วงปลายปี ค.ศ.1272
กุบไลข่านทรงให้อาริคกียา นายพลชาวอุยกูร์ ดูแลการสร้างอาวุธหนักของนายช่างทั้งสองโดยใช้ทหารอุยกูร์เป็นพลประจำหน่วยอาวุธหนัก
เทส ไอ้กระจอก ไอ้ขี้ฟ้อง มึงมันทุเรศ
มันแค้นที่นฟ้ ร้องเพลงเสียงสูงจนมบร้องเพี้ยนนั้นแหละ ออกงานใหญ่แต่ไม่ยอมซ้อมกันมา ไอ้พวกครูก็คิดว่าเมมเสียงเทพ
ตวกำลังมา มบ ปก ต้องรีบเข็นตัวเองแล้วว่ะ ไม่งั้นโดนแซงแน่
ตาหวาน อิสราภา ธวัชภักดี อดีตสมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปชื่อดัง BNK48 ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นศิลปินภายใต้สังกัด UNEQ Entertainment เจ้าของเสียงร้องที่เคยฝากผลงานเอาไว้อย่างเพลง “ข้าง ๆ” ประกอบภาพยนตร์ “The Cheese Sisters” และ “Yokaze no Shiwaza (พระจันทร์เสี้ยว)” จากโปรเจ็กต์ “Charaline : Verb of Feeling” กับความสามารถที่หลากหลาย และยังเคยได้รับสมญานามว่าเป็น ‘เอสของวง’ ที่ครบเครื่องทั้งด้านการร้องและการเต้น การันตีคุณภาพด้วยตำแหน่งเซ็นเตอร์เพลง Namida Surprise! (ประกายน้ำตาและรอยยิ้ม) - BNK48 เสริมด้วยตำแหน่งกัปตันทีม NV ด้วยเนื้อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ จึงทำให้ตาหวานถูกชื่นชมถึงทักษะการร้องที่เหนือชั้นจากผู้ที่ได้รับฟังเรื่อยมา
.
ส่วนในเส้นทางของการเป็นนักร้องเดี่ยว ยังคงเป็นสิ่งใหม่ที่เธอพร้อมเรียนรู้ และพร้อมที่จะแสดงศักยภาพทั้งหมด ให้ผู้ที่ได้รับฟังเคลิบเคลิ้มไปกับบทเพลงที่เธอถ่ายทอดด้วยความตั้งใจในฐานะ “ตาหวาน อิสราภา” ซึ่งล่าสุดได้ร้องเพลงชื่อ “หวังรัก (Like A Windfall)” ประกอบเว็บตูน “หวังรักในปักษา (Bird of Paradise)” จาก WEBTOON THAILAND ประเภทเว็บตูนวาย หรือ LGBTQ+/Y จากนักเขียนนามปากกา “ก่อนกรกฎ” และเป็นผลงานเรื่องแรกของนักวาด @_yy2900 โดย หวังรักในปักษา เป็นเว็บตูนเรื่องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไป
จร่ ได้เจอพอกสีสมใจแล้วว่ะ
จิเรื่มขายพ่วงเเล้วสินะ ช่วงนี้เจอกับฟอกสีอย่างบ่อย
ฌ ไม่รู้ตัวว่าตัวเองร้องเพลงไม่เพราะหรอ ซิง14เอาเพลงที่มีท่อนโซโล่เปิดหมดเลย เสียงแย่สัด เปิดมาเจองี้ใครจะฟังต่อ ปิดทิ้งหมด
G เลือกเมมที่จะไปเจอฟอกสียังไงวะ
เห็นตอนอยู่ในวงนี้ปากดีจัง พอแกรดออกไปอยู่ค่ายนอก แล้วเงียบเลยนะ เขาไม่หางานให้ มีงานน้อย ทำไมเมมไม่มาไลฟ์แซะค่ายเหมือนตอนอยู่ในวงละ ส่วน ฟค เมมก็ติดแฮชแท็กด่าค่ายซิ แฮชแท็กแบนค่ายไม่ทำอะ เห็นตอนอยู่ในวงชอบทำนิ
รุ่น4 อล ออกงานอย่างเยอะ เมมอื่นไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดแล้ว
แอ๋ว โมเอะจังวันนี้ คุให้อภัยยัง
>>942 ถ้าไม่ใช่เรื่องวัว คุไม่ค่อยถือหรอก
มองว่า ปสด นิดๆ ขี้งอนหน่อยๆ ก็น่ารักไปอีกแบบ
https://www.youtube.com/watch?v=osFpo23HQdE
ไปกับใครครับ
https://imgur.com/nYnsZCA
มันมีกันที่ให้สื่อ ให้ญาติเมม ทุกคอน
อ๋ ไลฟ์คนดูไม่ถึงสองร้อยเหมือนเดิม
นวด หายไปไหน ฮรือออ ทำไมไม่กล้าโชว์หน้าตรง ทำไมต้องลงรูปเก่า
https://youtu.be/hV9w2KQn26U
นางเอกMVนี่มัน ลูกสาวพคโนะป่าวว่ะ?
https://www.instagram.com/thepigwipa/?hl=th
สรุปคอน แบทเทิล 2 วง ขายดีจัด แถว 2000บาท ก็หมด กุคงไม่ได้ไปหล่ะ กุจะเอาโปสเตอร์ปญอมาเพื่อกับราคา 2800 บาท
คอนพี่หมอนPD ตอนสมัยวงแมสๆ ที่คนชมว่างานดี ตอนนั้นมันจัดกี่ทีวะ
วงมิ้น ลก 2นา คนดูเยอะ วงม่วงแพ้วงมิ้นตรงไหนวะ
มันกันที่ AL กับ BL ไว้แจกสื่อ เพื่อนจิ แล้วก็ญาติเมมจริงๆ ด้วย กันไว้อย่างเยอะเลย แต่ก็ดี จะได้ไม่โล่ง
https://pbs.twimg.com/media/F1UuhQpaIAIwJPp.png
https://pbs.twimg.com/media/F1UurPAaEAgkbsM.png
https://pbs.twimg.com/media/F1UuxSDagAUcU1F.png
>>967 จัดสยามพิฆ น่าจะประมาณพันที่
ไม่ได้ตามนานละ โนะมีวัวยัง
คอนG ต้องกั๊กที่ให้ครอบครัวไหม
ปก มาไลฟ์ นน ไปบวชชีว่ะ ปก กำลังจะรับปริญญา ส้มส้มมีเฮ โมเม้นGปก น่าจะมาก่อน Gโนะ
สิตา มาไลฟ์
ปิดให้โน๊ะ
สต วันนี้ ดูมีมากกว่าปกติ
กรูอยากได้สต เป็นเเฟนวะ
ชพ ชพ ชพแปลว่าอะไหร้
ปิดให้ พะแพง
Topic has reached maximum number of posts.
Please start a new topic.
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.