Fanboi Channel

รวมพลคนรักเครื่องเสียง หูทอง หูตะกั่ว หูหาเรื่อง เชิญทางนี้ ชุดที่ 1

Last posted

Total of 107 posts

95 Nameless Fanboi Posted ID:MmNo52u+PJ

โพสก่อนเรื่อง jitter มีคนขอในส่วน network audio ด้วย วันนี้ผมก็จะมาอธิบายในส่วน network audio นะครับว่ามีผลอย่างไร ผมจะพยายามอธิบายหลักการทำงานโดยอิงกับ OSI model ที่ชาว IT น่าจะคุ้นเคยกันดีนะครับ ใครที่อยากศึกษาทำความเข้าใจว่า network audio ในโลกของ Pro Audio ที่เขาวิจัยพัฒนาสินค้ากันนั้นมีผลอย่างไร โพสนี้ก็จะช่วยทำให้คุณเข้าใจได้ครับ ส่วนใครที่ไม่สนใจก็เลื่อนผ่านไปได้เลยครับ โพสนี้จะยาวหน่อย ผมก็ตั้งใจพิมพ์ให้ความรู้ด้วยความหวังดี ถ้าใครมา comment ไม่สร้างสรรค์หรือกด emote หัวเราะก่อกวนผมจะ block ทันทีนะครับ

96 Nameless Fanboi Posted ID:eB/2dM3ASe

ผมควรเร่งวอลลุ่มที่แอมป์ขึ้นไปมากแค่ไหน.?
----------
ก่อนตอบคำถามนี้ อยากให้ทำความเข้าใจซะก่อนว่า ระดับ "ความดัง" ของเสียงที่คุณได้ยินว่าดังออกมาจากชุดเครื่องเสียงของคุณนั้น เกิดจากตัวแปร 3 ตัว ที่ส่งผลถึงกัน ตัวแรกคือ "เกน" ของสัญญาณจากแหล่งต้นทาง X, ตัวที่สองคือ "เกน" ของแอมป์ที่ผ่านวอลลุ่ม Y, และตัวที่สามคือ "ความต้านทาน" ของลำโพง Z
.
ดังนั้น "ความดังที่คุณต้องการ" = X x Y - Z
.
ต้นเหตุที่ทำให้เกนของสัญญาณเพลงแต่ละอัลบั้มมีความแตกต่างกันมีที่มาอยู่ 2 แหล่ง ที่แรกคือถูกกำหนดมาจากสตูิโอโดยซาวนด์เอ็นจิเนียร์ที่ดูแลการทำมาสเตอร์อัลบั้มชุดนั้น ส่วนแหล่งที่สองถูกกำหนดโดยซาวนด์เอ็นจิเนียร์ที่จัดเตรียมมาสเตอร์สำหรับปั๊มแผ่น ถึงแม้ว่าจะมี "เกนมาตรฐาน" ซึ่งเป็นค่ากลางๆ กำหนดไว้ แต่ถ้าได้มีโอกาสฟังเปรียบเทียบความดังของเพลงในแต่ละอัลบั้มจะพบว่า มักจะมีความแตกต่างของ "เกนสัญญาณ" ที่บันทึกอยู่ในแผ่นเพลงออกมาให้ได้ยินตลอด บางอัลบั้มทำเกนมาเบามาก (ยกตัวอย่างแผ่นของค่าย Sheffield Labs กับค่าย Mobile Fidelity Sound Lab) ในขณะที่บางอัลบั้มบันทึกเกนสัญญาณมาแรงมาก (ยกตัวอย่างเพลงไทยส่วนใหญ่)
.
อยากให้พิจารณาตรงนี้ จากสมการ “ความดัง” = X x Y – Z สมมุติว่า ความดังเฉลี่ยที่คุณต้องการฟังอยู่ที่ระดับ 80dB ซึ่งเป็นความดังที่เกิดจาก "เกน" ของสัญญาณเพลง x "อัตราขยาย" ของแอมป์ที่กำหนดปริมาณโดยวอลลุ่ม ลบด้วย "แรงต้าน" จากคุณสมบัติของความเป็นพาสซีฟของลำโพง (*คำนวนจากสเปคฯ "ความไว" หรือ sensitivity + "ความต้านทาน” หรือ impedance) จะเห็นว่า ค่า X จะเป็นค่าคงที่ ขึ้นอยู่กับเกนของอัลบั้มนั้นๆ รวมถึงค่าความต้านทานของลำโพงก็คงที่ ขึ้นอยู่กับสเปคฯ ของลำโพงรุ่นนั้นๆ ซึ่งไม่เท่ากัน ส่วนที่สามารถปรับให้สูงหรือต่ำได้ก็เหลือแค่ "เกนขยาย" ของแอมป์ที่ปรับผ่านวอลลุ่มเท่านั้น
.
ในกรณีที่ต้องการความดังจากลำโพงอยู่ที่ 80dB คงที่ สมมุติว่า ไปเจอเพลงที่ทำเกนมาเบา (X มีค่าน้อย) เพื่อรักษาความดังที่ออกจากลำโพงให้คงอยูที่ระดับ 80dB ตลอดเวลา เราจึงต้องทำการเร่งวอลลุ่มที่แอมป์ให้ "สูงขึ้น" เพื่อชดเชยให้กับเกนของเพลงที่เบา ในทางตรงข้าม พอเจอกับเพลงที่บันทึกเกนมาแรงๆ เราก็ต้องทำการหรี่วอลลุ่มให้ "ต่ำลง" เพื่อรักษาระดับความดังที่ออกจากลำโพงให้คงที่อยู่ที่ 80dB ตามต้องการ
.
ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่า ไม่มีใครสามารถกำหนดตายตัวได้ว่า ระดับวอลลุ่มที่แอมป์ควรจะเป็นเท่าไหร่.? แต่ควรจะพิจารณาจาก "ความดัง" ของเสียงเพลงที่ออกมาจากลำโพงโดยตรง ให้กำหนดเลือกระดับวอลลุ่มของแอมป์โดยอาศัยฟังด้วยหู บวกกับความชอบของตัวเองในการกำหนดความดังของเพลงที่ฟังโดยไม่ต้องสนใจว่าจะต้องปรับสเกลของวอลลุ่มที่แอมป์ไปมากหรือน้อย...
#ถ้าเปลี่ยนลำโพงก็อาจจะต้องเปลี่ยนระดับวอลลุ่มด้วย

97 Nameless Fanboi Posted ID:gsyA2yEp0X

>>96 ปกติไม่ว่าจะเปลี่ยนลำโพงหรือamp เขาทำ volume matching โดยใช้ voltage meter วัดเอาครับ ใช้หูคนเราไม่แม่นหรอก เครื่องวัดphono ก็ยังมีเรื่องของย่านความถี่ มันใช้การ average เพลงแต่ละเพลงมันก็ไม่เท่ากันที่เคยลองทำปรับยากกว่าเยอะ

ชัวร์สุดคือวัด voltage ที่ output ของ amp เลยนั่นแหละ โดยใช้ความถี่แบบ sweep test

98 Nameless Fanboi Posted ID:94s6Kh1b1r

เรื่องของเรื่องก็คือ ขณะกำลังทดสอบลำโพง Usher Audio รุ่น UA-50 โดยใช้ด้วยอินติเกรตแอมป์ Audiolab รุ่น 9000A อยู่นั้น ผมก็ทดลองเอาตัวรองเครื่อง หรือ Damper ของ Audio Bastion สองรุ่น คือรุ่น ‘Redline Damper’ กับรุ่น 'Redline Damper Plus+’ มาทดลองวางใต้ขาตั้งทั้ง 4 ขาของ 9000A โดยทีแรกผมใช้รุ่นใหญ่กว่าคือ ‘Redline Damper Plus+’ (ตัวละ 550 บาท) รองก่อนแล้วฟังดู ปรากฏว่า เสียงโดยรวมโปร่งขึ้น กลาง-แหลมลอยมากขึ้น แต่เบสบางลงไปเยอะ ผมไม่ชอบเสียงที่ได้ เลยลองเปลี่ยนเอาตัวเล็กกว่า (จริงๆ ก็คือรุ่นเล็กสุดในกลุ่ม Redline นั่นแหละ!) คือรุ่น ‘Redline Damper’ ซึ่งมีราคาตัวละ 300 บาท มารองแทน ปรากฏว่าแจ๊คพอตอย่างที่ว่า.. คือได้เสียงโดยรวมออกมาลงตัวมาก.!! รับรู้ได้เลยว่า "ทุกเสียง" ทั้งเสียงเครื่องดนตรีทุกชิ้นรวมถึงเสียงร้อง มีขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้น พองตัวออกมามากขึ้น คล้ายกับว่าเดิมเสียงเหล่านั้นมันถูกกดเอาไว้ บีบเอาไว้ ไม่พองตัวออกมา พอเอาตัว Redline Damper ที่ว่านี้ไปรองใต้ขาตั้งทั้ง 4 ขาของ 9000A ก็เหมือนกับเข้าไปปลดพันธนาการที่กดทับ (compressed) เสียงเหล่านั้นให้หลุดออกไป ทำให้ทุกเสียงมีบอดี้ที่ขยายใหญ่ขึ้น มีอัตราสวิงไดนามิกที่เป็นอิสระมากขึ้น และยังรับรู้ได้ว่าแบนด์วิธ หรือ "ย่านความถี่" ของเสียงที่พุ่งผ่านลำโพงออกมามันถูกขยายให้กว้างขึ้นด้วย รับรู้ได้ว่าเบสลงได้ลึกมากขึ้น ปลายแหลมก็ทอดไปได้ไกลมากขึ้น
อุปกรณ์เสริมประเภทที่ใช้รองซับความสั่นสะเทือนเหล่านี้ มันจะให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งก็ต่อเมื่อ น้ำหนักของเครื่องที่มันเข้าไปรองรับจะต้องอยู่ในระดับที่ "ไม่หนักมากไป" และ "ไม่เบาเกินไป" ซึ่งเกณฑ์คร่าวๆ ที่พอใช้เป็นแนวทางได้ก็คือ น้ำหนักเครื่องอยู่ในระดับประมาณ ½ ของน้ำหนักสูงสุดที่อุปกรณ์เสริมตัวนั้นรองรับได้ ซึ่งในกรณีนี้ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ เพราะน้ำหนักสูงสุดที่ตัว Redline Damper รองรับได้ อยู่ที่ 5 kg ต่อตัว เราใช้รองสี่ขาก็คือ 4 ตัว กรณีนี้ก็คือ 5 x 4 = 20 kg ในขณะที่ตัวอินติเกรตแอมป์ของ Audiolab รุ่น 9000A ที่ขาตั้งทั้งสี่ของมันยืนเหยียบอยู่บนตัว Redline Damper ทั้งสี่ตัวนั้น มีน้ำหนักรวมอยู่ที่ 11.2kg (gross weight)
เสียงที่ได้ถือว่าคุ้มซะยังกว่าคุ้มกับการลงทุนแค่ 1,200 บาท สำหรับตัวรองขาตั้งเครื่อง Audio Bastion รุ่น Redline Damper จำนวน 4 ตัว.. ใครใช้ Audiolab รุ่น 9000A อยู่ หรือเครื่องเสียงอื่นที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 9 - 11kg แนะนำให้ลอง..!!!

99 Nameless Fanboi Posted ID:IM6lcyOv6F

https://www.facebook.com/audiophilevideophileth/videos/700956338283301

100 Nameless Fanboi Posted ID:IM6lcyOv6F

https://www.facebook.com/audiophilevideophileth/videos/354209637032941

101 Nameless Fanboi Posted ID:mv3AsJ.T+7

เปลี่ยนตำแแหน่งสายไฟเอซีในซิสเต็ม... ชีวิตเปลี่ยนเลย.!!!
----------
ปกติผมจะใช้สายไฟเอซีของ Life Audio รุ่น Signature I ตัวนี้กับแอมป์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอินติเกรตแอมป์หรือเพาเวอร์แอมป์ สายไฟเอซีเส้นนี้จะถูกรับหน้าที่จ่ายไฟให้กับแอมป์มาตลอด
.
ช่วงที่ได้เพาเวอร์แอมป์ของ QUAD มาทดสอบเป็นสถานการณ์ที่บังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เพราะเพาเวอร์แอมป์ของ QUAD รุ่น Artera Mono เป็นเพาเวอร์แอมป์โมโมบล็อก คือแยกซ้าย-ขวามาข้างละตัว ต้องใช้สายไฟเอซี 2 เส้นแยกกันสำหรับเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว ผมมี Signature I อยู่เส้นเดียว จึงต้องเปลี่ยนไปใช้รุ่น Essence 1 มาทำหน้าที่แทนเพราะผมมีอยู่ 2 เส้นพอดี ส่วนรุ่น Signature I ผมก็ย้ายไปใช้กับปลั๊กรางที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต้นทางแทนสายไฟเอซีรุ่น Essence I MK 3 ซึ่งเป็นรุ่นเล็กกว่า ด้วยความเข้าใจว่า เปลี่ยนเป็นรุ่นใหญ่กว่าเข้าไปเสียงโดยรวมน่าจะดีขึ้น ซึ่งตอนเปลี่ยนเข้าไปตอนแรกเสียงของซิสเต็มที่ออกมาก็ยังไม่น่าพอใจนัก แต่เพราะเป็นช่วงที่เพาเวอร์แอมป์ใหม่ยังไม่เบิร์นฯ ผมก็เลยวางใจว่ารอให้แอมป์เบิร์นฯ แล้วเสียงน่าจะดีขึ้น
.
ตอนนี้แอมป์เบิร์นฯ เกิน 100 ชั่วโมงแล้ว เสียงโดยรวมดีขึ้นกว่าตอนแรกมาก เผอิญได้ลำโพง Diptyque Audio มาทดสอบด้วย เสียงโดยรวมของซิสเต็มจึงต่างไปจากเดิมมาก...
.
หลังจากทั้งเพาเวอร์แอมป์และลำโพงพ้นเบิร์นฯ (เกิน 100 ชั่วโมงไปแล้ว) ผมก็ทดลองเซ็ตอัพลำโพงอย่างละเอียดเพื่อทำการทดสอบ จนได้ตำแแหน่งที่เสียงดีที่สุดในสถานการณ์นั้น แต่ลึกๆ ในใจผมยังรู้สึกว่า มันมี "อะไร" บางอย่างที่ยังไม่ใช่สิ่งที่เคยสัมผัสมาก่อนหน้าที่แอมป์กับลำโพงคู่นี้จะเข้ามา... มันคืออะไรหว่า.???
.
หลังจากรื้อๆ ค้นๆ มาหลายวัน พยายามทบทวนว่า ตอนได้แอมป์กับลำโพงคู่นี้มาผมทำอะไรต่างไปจากเดิมบ้าง.? ค่อยๆ ไล่กลับไปที่จุดเดิม เมื่อคืนผมก็ฉุกคิดได้ว่า ผมเปลี่ยนตำแแหน่งสายไฟ Signaure I จากใช้กับแอมป์มาที่แหล่งต้นทาง ซึ่งในใจก็คิดว่า ไม่น่าจะเกี่ยว และถ้าเกี่ยว ก็น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีต่อเสียง เพราะรุ่น Signature I เป็นรุ่นใหญ่กว่า Essence I MK 3 มาก ราคาต่างกันเยอะ แต่เพื่อให้หายคาใจ.. เมื่อคืนก่อนยุติการฟังตอนตีหนึ่งกว่าๆ ผมปิดเครื่องทั้งหมดแล้วย้ายสายไฟ Signature I ออกไปแล้วเอา Essence I MK 3 ตัวที่เคยทำหน้าที่อยู่ตรงนั้นเข้าไปแทน แต่เมื่อคืนง่วงมากแล้วจึงไม่ได้เปิดฟังทันที..
.
เช้านี้ตื่นขึ้นมาก็เปิดเครื่องฟัง.. พระเจ้าช่วย.! "อะไร" ที่ผมรู้สึกว่ามันหายไปก่อนหน้านี้ มันกลับมาแล้ว.! มันคือ "ความปลดปล่อย" ที่ทำให้แต่ละเสียงในเพลงที่ฟังมีความเริงร่า เป็นอิสระ ดีดดิ้น และดีดเด้งไปตามจังหวะของเพลงอย่างสนุกสนาน ไม่ป้อแป้ ไม่เนิบอืด เป็นอะไรที่ทำให้ผมอึ้ง.!!!
#ปาฏิหารย์เกิดขึ้นเสมอในห้องฟัง
#ใกล้เคียงมโนแต่คุณรู้ว่าไม่ใช่
#แสดงว่าสายไฟแแต่ะรุ่นมันมีความเหมาะสมในที่ของมัน

102 Nameless Fanboi Posted ID:e7IZ8zMIbM

>>101 สายไฟลากจากโรงไฟฟ้า​ไม่รู้กี่สิบกี่ร้อยโล​ สายอลูมั่ง​ ทองแดงมั่ง​ บางเส้นขี้เกลือขึ้น​ เถาวัลย์พัน​ ไม่ก็ไปม้วนรวมกะสายเน็ตสายโทรสับ​ แต่มาดีได้เพราะมึงเปลี่ยนสาย​ ac ปลายทางยาวไม่กี่เมตร​ เ​ ยดเข้

103 Nameless Fanboi Posted ID6:b0+LgK5Yde

>>102 ก็ขายของอะครับ

จะว่าไปไม่เห็นใครลงทุนลากสาย main ใหม่ แบบเผื่อจากมาตรฐาน แล้วตู้ consumer เกรดโรงงานกันเลย เปลี่ยนหมดเผลอๆถูกกว่าสายไฟ AC audio grade ที่พี่เขาขายกันอีก

เห็นมาซื้อเต้ารับแพงๆ เปลี่ยนแค่ที่ผนัง หรือใส่รางปลั๊กเทพ กล่องไม้สัก มันจะดีขึ้นตรงไหนฟะ

แล้วที่ว่าดีขึ้นก็ไม่เคยมีใครเอาอะไรไปวัด วิศวะไฟฟ้าไม่ต้องทำงาน ให้หูนักขายทำงานแทน

104 Nameless Fanboi Posted ID:BWr/Ro1X7F

>>103 ตะ แต่ว่า อาจารย์เขาบอกว่าเขาแยกเสียง cat6 cat8 ได้ แยกเสียง flac wav ได้นะคนับ

105 Nameless Fanboi Posted ID:j9OTI.BK.W

เดิมทีผมวาง Roon nucleus+ ของผมไว้บนชั้นวางเครื่องเสียงที่สูงจากพื้นห้อง 1 เมตร โดยที่ตัว Roon nucleus+ วางอยู่บนชั้นที่ทำด้วยแผ่นกระจกหนา 0.8 ม.ม. หลังจากทดลองปรับจูนอยู่นาน จนมาลงตัวโดยรองใต้ Roon nucleus+ ด้วยก้อนไม้สนโตเร็ว ทรงกระบอก 3 ท่อน (ซื้อมาจากร้าน Daiso) โดยวางหน้า 2 หลัง 1 ได้เสียงที่ผมพอใจ ซึ่งที่ผ่านมาผมก็วางก้อนไม้ทั้งสามก้อนไว้ใต้ Roon nucleus+ มาโดยตลอด
.
เมื่อคืนผมแวะไปทานข้าวเย็นที่เซ็นทรัล เวสเกต หลังอาหารก็แวะเข้าไปเดินดูอะไรเล่นๆ ที่ร้าน Nitori ซึ่งเพิ่งเปิดใหม่อยู่ชั้นใต้ถุนของห้างเซ็นทรัล ที่นั่นผมไปเจอแผ่นหินชนวนวางขายอยู่ จุดประสงค์จริงๆ ของเขาทำออกมาเพื่อใช้วางอาหารว่างประเภทค็อกเทล ขนาดของแผ่นมีหลายไซร้ มีทั้งรูปทรงผืนผ้าและสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผมไปสะดุดแผ่นที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 20x20 ซ.ม. โดยที่ความหนาของแผ่นประมาณ 0.5 ซ.ม. เพราะผมมองแล้วน่าจะเอามารองใต้ Roon nucleus+ ได้เลยซื้อมาหนึ่งแผ่น ราคาแผ่นละ 79 บาท
.
หลังจากกลับถึงบ้าน พอแกะแพ็คเกจออกมาแล้ว ใต้แผ่นหินชนวนที่มุมทั้ง 4 มุมเขาได้ติดแผ่นฟองน้ำชิ้นเล็กๆ ไว้ด้วย และยังแถมฟองน้ำแบบเดียวกันนั้นมาอีก 4 แผ่นด้วย
.
ผมทดลองเอาแผ่นหินชนวนที่ว่านี้ไปรองใต้ Roon nucleus+ แทนที่ก้อนไม้ทั้ง 3 ก้อนเพื่อทดลองฟังเสียง ผลปรากฏว่า หินชนวนให้แบนด์วิธของเสียงออกมา "แคบกว่า" รองด้วยก้อนไม้เดิม หลังจากนั้นผมทดลองเอาแผ่นหินชนวนออก แล้วเอาตัว Roon nucleus+ วางลงไปบนชั้นวางที่เป็นแผ่นกระจกโดยตรง ปรากฏว่า ปลายเสียงทั้งด้านแหลมและด้านทุ้ม "หดแคบลง" ไปกว่าตอนรองด้วยแผ่นหินชนวนซะอีก สรุปแล้ว วาง Roon nucleus+ บนแผ่นหินชนวนให้เสียงออกมา "ดีกว่า" วางบนแผ่นกระจกตรงๆ แต่สู้วางบนก้อนไม้ Daiso 3 ก้อนไม่ได้
.
ถ้าไม่มีก้อนไม้สนของ Daiso การรองใต้ Roon nucleus+ ด้วยแผ่นหินชนวนก็ให้เสียงโดยรวมดีกว่าวางลงไปบนแผ่นกระจกโดยตรงในประเด็นที่ได้ "ความสงัด" ดีกว่า ช่องว่างระหว่างแต่ละเสียงจะมีลักษณะ "ดำมืด" เพราะปลายเสียงเก็บตัวเร็ว ไม่ฟุ้งกระจาย ฟังดีไปแบบหนึ่ง ...
#สนุกดี
#เล่นกับอุปกรณ์เสริม

106 Nameless Fanboi Posted ID6:zLKUCgXmi5

เสียงมันเดินผ่านอากาศ แต่เมืองไทยฝุ่นโครตเยอะ พวกหูทองไม่เอ๊ะใจบ้างเรอะวะ ไหนจะ PM2.5 อีก
ไหนจะอากาศร้อน อากาศเย็นอีก แต่คิดว่าคงนั่งฟังในห้องแอร์แหละ เสียงแอร์ไม่ปนไปกับเสียงลำโพงเรอะวะ

107 Nameless Fanboi Posted ID6:sy.oTOIYeW

สายแลนทำให้เสียงดีขึ้นจริงหรือไม่

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.