มันมีการรวมตัวกันของนักเล่นว่างั้น
แต่ หัวสีในเว็บเป็นร้านที่เปนพวกกันหมดเลย
พอคนถามมันบอกเวบรวน
Last posted
Total of 107 posts
มันมีการรวมตัวกันของนักเล่นว่างั้น
แต่ หัวสีในเว็บเป็นร้านที่เปนพวกกันหมดเลย
พอคนถามมันบอกเวบรวน
จากประสบการณ์ที่เจอมา ผมว่า noise หรือสัญญาณรบกวนของระบบมิวสิคสตรีมเมอร์ดูจะมีความรุนแรงมากที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับ noise ที่เกิดกับส่วนอื่นๆ ของระบบ
.
เมื่อเกิด noise ในระบบสตรีมเมอร์ มันทำให้เกิดความเสียหายกับเสียงโดยรวมมหาศาลมาก ที่มาของ glare ที่ทำให้ความหยาบเกิดขึ้นกับเสียง ที่มาของคำว่า “เสียงแบบดิจิตัล” ซึ่งกว่าจะรู้ถึงผลเสียของมันได้อย่างชัดถนัดหูก็คือตอนที่ค้นพบ “แหล่งกำเนิด” ที่ทำให้ noise เกิดขึ้นและกำจัดมันออกไปได้นี่เอง..!!!
.
จุดแรก (1) ที่เปิดรับ noise เข้ามาในระบบเต็มๆ ก็คือ “จุดเชื่อมต่อ” สาย LAN จาก router เข้ามาที่ระบบสตรีมมิ่งของชุดเครื่องเสียง ซึ่งคุณต้องหาวิธีบล็อก noise ตรงจุดนี้เอาไว้ให้ได้มากที่สุด (* ในภาพผมลองใช้ตัวบล็อกน้อยส์ของสาย LAN ของ Life Audio ดูแล้ว ปรากฏว่ามันเวิร์ค.!! noise หายไปเยอะ..!!!)
.
ส่วนจุดที่สอง (2) ที่เป็นตัวกำเนิด noise และจ่ายแจกน๊อยซ์ให้กระจายออกไปในระบบเครื่องเสียงก็คือ “ตัวสตรีมเมอร์” เอง ซึ่งส่วนมากจะใช้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานหลักของระบบสตรีมเมอร์ ซึ่งทำงานด้วยการประมวลผลด้วยโปรเซสเซอร์ที่สร้าง noise ที่ความถี่สูงจำนวนมากแล้วกระจายมันออกมา (* ในภาพผมลองใช้ตัวดัก noise ของ Shunyata Research ลองดูด noise จากช่อง USB เอ๊าต์พุตของ ROON Nucleus+ แล้วดึง noise ออกไปทิ้งทางรูกราวนด์ของปลั๊กไฟเอซีบนผนังห้อง)
#เรื่องของnoiseของระบบเครื่องเสียง
#น้อยส์ของระบบสตรีมมิ่งนี่แหละที่มาของเสียงแบบดิจิตัลที่เขาว่ากัน
หูฟัง waner ที่อวยในกลุ่มหูฟังดีจริงหรือแค่อวยอุปทานหมู่ครับ
𝐂𝟑 𝐋𝐞𝐝𝐢𝐬𝐪_𝐌𝐚𝐠𝐧𝐞𝐭𝐢𝐪 (เลอดิสก์ แมกเนติก)
แผ่นทองเลอดิสก์ รูปดาวจาก 𝐂𝟑 สำหรับติดแม่เหล็กดอกลำโพง ยกระดับซิสเท็มได้อย่างชัดเจน ติดตั้งได้ทั้งลำโพงบ้านเเละรถยนต์ ฟังออกง่าย เสียงดีขึ้นแบบยกระดับชุดเครื่องเสียงไปอีกมากมายครับ
𝐂𝟑 𝐋𝐞𝐝𝐢𝐬𝐪_𝐌𝐚𝐠𝐧𝐞𝐭𝐢𝐪 ที่ทำหน้าที่ในการเกลี่ยเรโซแนนซ์ ที่เกิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนของสนามแม่เหล็กและคลื่นความถี่ของดอกลำโพง ลดการหักล้างทางเฟสของความถี่ตอบสนองในย่านการทำงานของดอกลำโพง ทั้งในบ้านและในรถยนต์
ใช้ติดตรงขอบแม่เหล็กดอกลำโพงได้ตั้งแต่ 1 ชิ้น ไปถึง 3 ชิ้นต่อดอกครับ
.
#C3_เลอดิสก์ ทุกรุ่น ทำมือทีละชิ้นโดยช่างฝีมือระดับจิวเวอรี่ แผ่นโลหะผลิตจากอัลลอยด์สูตรพิเศษ แล้วเพลทด้วย 𝗣𝗹𝗮𝘁𝗶𝗻𝘂𝗺 𝗚𝗼𝗹𝗱 ยกระดับซิสเท็มได้ดีขึ้นอีกมาก
แผ่นทองเลอดิสก์ สำหรับติดดอกทวีตเตอร์และมิดเร้นท์
𝗟𝗲 𝗗𝗶𝘀𝗾 𝗠𝗮𝗴𝗻𝗲𝘁𝗶𝗾 (ดาวเล็ก)
🚩 ราคา 9,600 บาท/ ชุด 4 ชิ้น
🚩 ราคา 2,600 บาท/ 1 ชิ้น
.
แผ่นทองเลอดิสก์ ซับ สำหรับติดดอกซับวู๊ฟเฟอร์ขนาดดอก 8 นิ้ว - 12 นิ้ว
🚩 𝗟𝗲 𝗗𝗶𝘀𝗾 𝗠𝗮𝗴𝗻𝗲𝘁𝗶𝗾 𝗦𝘂𝗯 (ดาวใหญ่) ราคา 3,600 บาท / ชิ้น
.
คติสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงของยุคนี้คือ "ถ้าเจอ DAC จีน ให้หยุดดู" แต่เป็นอย่างอื่นข้ามไปก่อนได้ เหตุผลที่แนะนำแบบนั้นก็เพราะว่า ช่วงเวลานี้ จีนกำลังคุกคามวงการ DAC อย่างหนัก.! ทั้งทางด้านการออกแบบวงจรภายใน, ดีไซน์หน้าตาภายนอก ไปจนถึงคุณภาพเสียง..!!!
.
ถอยหลังไปสัก 4-5 ปีที่แล้ว DAC จีนจะครองพื้นที่อยู่ในระดับเริ่มต้น ตัวละไม่กี่ตังค์ แต่มาถึงตอนนี้ DAC จีนได้รุกขึ้นมาอาละวาดถึงกลุ่มมิดเอ็นด์เรียบร้อยแล้ว และกำลังคืบขยายเข้าสู่กลุ่มไฮเอ็นด์ฯ ด้วย จากที่ผมสัมผัสมา ทางด้านฮาร์ดแวร์ผมว่า DAC จีนไม่แพ้ DAC ฝรั่งแล้ว ถ้าไม่ใช่แบรนด์ระดับซุปเปอร์ไฮเอ็นด์หรืออัลตร้าไฮเอ็นด์ บางตัวของจีนทำออกมาได้ฝรั่งจ๋าเลย..
.
แต่ประเด็นที่ทำให้ผมสะดุดตากับ DAC จีนแบรนด์ CEN.Grand ตัวนี้เป็นเพราะมันระบุชัดเจนว่า ออกแบบมาสำหรับแปลงสัญญาณ DSD เป็นหลัก.!
.
ทำไมถึงต้องสนใจประเด็นนี้.? เพราะสัญญาณ DSD มันเกิดจากกระบวนการสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีในการแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตัลที่ใช้อัตราสุ่มตัวอย่าง (sampling rate) สูงลิบถึงระดับ 2.8MHz สูงกว่าแซมปลิ้งเรตของฟอร์แม็ต CD ถึง 64 เท่า.! ด้วยเหตุนี้ ภาค DAC ที่จะสามารถแปลงสัญญาณ DSD ให้กลับออกมาเป็นสัญญาณอะนาลอกได้ "เหมือนกับ" ต้นฉบับเดิมมากที่สุดจึงต้องมีความสามารถในการประมวลผลที่สูงมาก และจะต้องเป็นเทคโนโลยีที่มี "ความแม่นยำสูง" อีกด้วย ไม่ใช่แค่ใช้อัตราสุ่มตัวอย่างสูงๆ แต่ระบบการทำงานเต็มไปด้วยความผิดเพี้ยนทางด้าน clock มหาศาล ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น เอ๊าต์พุตอะนาลอกที่แปลงออกมาก็จะมีคุณภาพที่แย่มาก เผลอๆ จะสู้ฟอร์แม็ต CD ที่ผ่านกระบวนการ D-to-A ที่มีประสิทธิภาพสูงไม่ได้ซะด้วยซ้ำไป
.
สรุปคือ DAC ที่ถอดสัญญาณ DSD ออกมาได้เสียงที่ดีมากๆ นั้น.. หายาก.!!!
.
ดีทูเอฯ ของแบรนด์ CEN.Grand ตัวนี้ระบุชัดว่าออกแบบมาเพื่อสัญญาณ DSD โดยเฉพาะ ซึ่งพวกเขามีเทคโนโลยีชื่อแปลกๆ อยู่ 2-3 ชื่อ นั่นคือ High-precision frequency rise algorithm, Synchronous direct clock technology, Clock blocking จับประเด็นได้ว่า พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องของ "สัญญาณนาฬิกา" หรือ clock ที่ใช้ควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมด มีการกล่าวถึง ‘Femtosecond clock to picosecond’ ที่พวกเขาใช้ และอ้างว่าเป็นระบบ clock ที่แอดวานซ์มาก.!
.
ความยากในการประเมิน "ประสิทธิภาพในการทำงาน" และ "คุณภาพเสียง" ของอุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (ทั้งดิจิตัลและอะนาลอก) จะอยู่ตรง "หลักการ" ที่ผู้ผลิตแต่ละเจ้ายกมาอ้างนี่แหละ ใครจะไปค้านได้.? แต่หลักการเหล่านั้นจะส่งผลดีต่อเสียงจริงมั้ย.? ใครจะตอบได้.. ถ้าไม่ได้ฟังเสียงของมัน ซึ่งงานนี้ไม่มีโชว์เสียง เลยได้แต่เก็บภาพและข้อมูลมาฝาก ใครอ่านแล้วคัน อยากลองดูซิว่าจะโดนกุมารจีนหลอกมั้ย ก็ให้ลองสั่งมาลองฟังดูเถิด.. ใครสั่งมาแล้วถ้าไม่มั่นใจว่ามันดีหรือไม่ดี จะให้ผมไปช่วยฟังเป็นกรรมการตัดสินให้ก็บอกมาเลยยินดีมาก..!!!
DAC จีนดีๆชนะยี่ห้อดังๆในเรื่องของSNR,distortion ในแง่ความคุ้มราคานานแล้ว แต่ที่ยังด้อยคือเรื่องการออกแบบหน้าตา และความทนทาน แต่ราคาตัวไม่ถึงหมื่นก็พอทำใจเรื่องประกันไป
เรื่องคุณภาพเสียงมันตรวจวัดได้อยู่แล้ว อุปกรณ์พวก Audio Analyzer ระดับอุตสาหกรรมใช้กันทั่วไป เหลือแต่นักรีวิวที่อ่านกราฟไม่เป็น
จะว่าไปสำหรับคนงบน้อย เริ่มต้นที่ USB type C to 3.5mm dongle ของ apple ราคา 390 บาทแต่ได้ SINAD 99 dB ก็ถือว่าเหนือกว่า DAC/เครื่องเสียงยุคสิบกว่าปีก่อนเยอะแล้วล่ะ พวก AVR ยี่ห้อตลาดราคา2-3หมื่นยังได้ SINAD แถวๆ 80กว่าๆเองพวกครึ่งแสนถึงจะได้เกิน90
แต่external DAC จีนหลายตัวราคาสามพันพันได้ 115dB นะ ถ้างบไปใกล้ๆหมื่นก็ได้ระดับ 120dB ก็ว่าได้(ว่ากันว่าหูคนเราแยกแยะได้ถึงแค่ 105-110dB)
ย้ำว่าหาเจ้าที่มีผลเทสรองรับ แม้จะใช้chip DAC เดียวกันแต่ถ้าออกแบบวงจรห่วยผลก็ออกมาห่วย เคยซื้อexternal DAC จีนราคาไม่ถึงพันบอกใช้ chip ESS 9016 พอฟังแล้วต้องโยนทิ้ง noise บานยิ่งกว่าsound card creative/Asus เก่าๆอีก
กุละเซงกะพวกอวยลำโพงตู้พกพาแบบdiy งบเท่ากันยังไงของแบรนด์ก็เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ถ้าจะโมให้ดีกว่ายังไงงบก้บาน มีการมาเถียงอีกว่าเสียงที่ได้จากลำโพงโมไงๆลำโพงแบรนด์ก็ให้ไม่ได้ เออเอาที่สบายใจ
kz กะ trn ทำไมโดนด่าเยอะจังวะ
KZ ปัจจุบันเป็นไงบ้างโม่งกูเคยใช้สมัย ZST แหลมแสบดากชิบหายเลยหนีไปใช้ TFZ
KZก็แค่แบรนที่ทำเหมือนเป็นมิตรกับคนงบน้อย เอาเข้าจริงก็ต้องไปจบกับตัวแพงอยู่ดี
PS-550 แจ้งว่า สภาพไฟฟ้าในห้องฟังของผมเช้านี้ มี distortion อยู่ประมาณ 2% (กดปุ่ด Input ของฟังท์ชั่น Distortion บนหน้าจอของ PS-550) รูปคลื่นของไฟ 50Hz ตรงอินพุตที่เข้าเครื่องมีบิดเบี้ยวเสียทรงเล็กน้อย ส่วนเอ๊าต์พุตที่ออกมาสวยงามหลังจากผ่านกระบวนการขจัด noise และปรับรูปคลื่นภายในตัว PS-550
.
ในการทดลองฟัง ผมใช้วิธีเสียบสายไฟเอซีที่ใช้กับ QB-9 ตรงเข้าปลั๊กผนัง คือไม่ผ่าน PS-550 สลับกับเสียบผ่านเอ๊าต์พุตของ PS-550 โดยฟังเสียงเทียบกันด้วยเพลงเดียวกันที่เล่นผ่าน Roon nucleus+
.
ผลที่ได้ยิน… หลังจากดึงสายไฟเอซีของ QB-9 ที่เสียบบนปลั๊กผนังมาเสียบผ่าน PS-550 เสียงที่ออกมามีความแตกต่างกัน "อย่างชัดเจน" ตอนเสียบผ่านปลั๊กผนังก็ไม่ได้รู้สึกถึงตำหนิอะไรชัดเจน คงเป็นเพราะไฟฟ้าในห้องฟังที่บ้านผมไม่ได้มีปัญหาเรื่องของ Voltage คือไฟไม่ได้ตกไปมากจาก 230V มาตรฐาน เมื่อเสียบตรงเข้าผลั๊กผนัง เสียงรวมๆ ก็เลยออกมาในลักษณะที่ฟังได้ดี ไม่รู้สึกผิดปกติอะไร แต่พอย้ายสายไฟของ QB-9 ไปเสียบเข้าที่เอ๊าต์พุตของ PS-550 ถึงได้รับรู้ว่าจริงๆ แล้ว เสียงทีไ่ด้จากการเสียบตรงเข้าผนังมันมี "ตำหนิ" ปนอยู่ในเสียงมากเหมือนกัน เพราะวินาทีแรกที่ได้ยินหลังจากเสียบผ่าน PS-550 ผมรู้สึกได้ก่อนเลยว่า เสียงทั้งหมดมันมีลักษณะที่ "สุขุม" มากขึ้น คือฟังไปแค่ 3-4 วินาที ก็รู้สึกได้ว่า ลีลาของเพลงมันมีความ "ราบรื่น" มากขึ้น พอเพลงผ่านไป 10-15 วินาที ผมก็รู้สึกได้ว่า เสียบผ่าน PS-550 มันให้ "ไทมิ่ง" ของเสียงที่เคลื่อนไปข้างหน้าแบบมั่นคง ไม่รู้สึกวูบวาบ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากลักษณะของ "ความต่อเนื่อง" ของเสียงเพลงที่ดำเนินไปด้วยสปีดที่ "คงที่และมั่นคง" (เพลงที่ใช้ทดสอบคือเพลง ‘The Shadow of Your Smile’ ของ Rosemary Clooney จากอัลบั้มชุด Sings Ballads)
.
หลังจากยืดเวลาในการฟังเทียบให้ยาวขึ้นไปจนจบเพลง เปรียบเทียบกันระหว่างเสียบ QB-9 ตรงเข้าผลั๊กผนังกับผ่าน PS-550 ผมพบว่า เสียบผ่าน PS-550 มันทำให้ผม "เข้าถึง" อารมณ์ของเพลงเร็วขึ้น รู้สึกได้เลยว่า หลังจากเสียบผ่าน PS-550 แล้วมันทำให้ผมมี "อารมณ์ร่วม" ไปกับอารมณ์ของเพลงได้ง่ายขึ้นและต่อเนื่องไปจนจบเพลงโดยไม่มีอาการสะดุด รับรู้ถึงความละมุนละมัยของลีลาเพลงได้ลึกซึ้งมากขึ้น ติดตามลีลาการร้องของนักร้องได้ทุกพยางค์ และรับรู้ได้ถึงลักษณะการใช้เทคนิคในการขับร้องของศิลปินคนนี้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งตอนเสียบผ่านปลั๊กผนังผมไม่ได้รู้สึกลึกซึ้งมากเท่านี้ …
กลับมาเป็นกระแสขึ้นมาอีกครั้งครับกับประเด็นของ ‘สายแลนเทพ’ ที่ล่าสุดมีคนเล่นหูฟังมาท้านายอาร์มทำ Blind Test ลงเงิน 1 ล้านบาท
– ที่จริงเรื่องนี้เคยเป็นประเด็นดังมาตั้งแต่ กันยายน 2021 ที่มีร้านขายหูฟังแห่งหนึ่งออกมาโปรโมท ‘สาย Lan เทพ’ สาย Lan ราคาแพง พร้อมระบุว่ามันทำให้ฟังเพลงในระบบ Streaming เสียงจะดีขึ้น เสียงอวบอิ่มมากขึ้น เพราะสายรับสัญญาณมาได้ดีขึ้นนั่นเอง
– ทำให้คนที่เรียนสาย IT มาแย้งว่าตามทฤษฏีมันเป็นไปไม่ได้ เพราะระบบ Digital จะส่งข้อมูลแค่ 1 กับ 0 การทำให้เสียงดีขึ้น อวบอิ่มขึ้นนั้น มันเป็นเรื่องเกินจริงในทางทฤษฎี
– นายอาร์ม ยูทูบเบอร์สาย IT ชื่อดังคือหนึ่งในคนที่ไม่เชื่อเรื่องสาย Lan เทพ และทำคลิปออกมาอธิบายว่าทำไม แต่ฝั่งที่เชื่อก็ยังไม่ยอม
– จึงเกิดการท้าให้ทำ Blind Test ขึ้นมา (ให้ฟังแล้วเดาว่าอันนี้เปิดด้วยสายแลนเทพหรือสายแลนธรรมดา) แต่อีกฝั่งไม่รับคำท้า พอเวลาผ่านไปกระแสก็ค่อยๆ จางไป
– แล้วเรื่องนี้กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังมีไอเท็มใหม่ ‘Router เทพ’ ที่เป็นการเอา Router ธรรมดามาโมให้เทพขึ้น ได้ถูกพูดถึงในกลุ่มคนเล่นหูฟังช่วงนี้ โดยมี ‘พี่นน’ มาบอกว่า Router เทพช่วยให้ภาพและเสียงของคลิป Yotube ดีขึ้น ภาพชัดขึ้น
– จนเมื่อวานนี้ (4 กันยายน) ได้มี Audiophile (บุคคลผู้มีความสนใจในเรื่องของคุณภาพเสียงเป็นพิเศษ หรือ ชาวหูทอง) ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Tong มาโพสต์ว่าฝรั่งเขามีการทดสอบเรื่องอุปกรณ์ แล้วก็ทดสอบกันจริง ก่อนพาดพิงใส่นายอาร์มว่า
“นี่คือ พวกวิศวะของจริง มีความรู้ของจริง มีของจริงในมือ มีเครื่องมือวัดในมือ เขาเถียงกันนะ ไม่ใช่แบบ นายอาร์ม & และกลุ่มไทยอินฟลูทั้งหลายที่ไม่รู้เรื่องอะไร ไม่มีอะไรในมือ ไม่เคยไปทดลองฟังด้วยซ้ำ แล้วมาเคลมว่าอุปกรณ์พวกนี้ไม่มีผล สัญญาณดิจิตอลมีแค่ 0 กับ 1 สาย LAN สั้นยาวความต้านทานเท่ากัน ”
– พอกลับมาเป็นกระแส นายอาร์มก็มาแสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ด้วย โดยบอกว่าให้เอา Audiophile (ชาวหูทอง) มา 4-5 คนมา Blind Test กันเลย เพราะถ้าสาย Lan/Router มันทำให้เสียงต่างจริงก็ต้องตอบให้ถูกได้สัก 9-10 ครั้ง
– นายอาร์มเลยบอกว่า “ไม่จบ ทั้งๆ ที่ท้าเทสไปกี่รอบก็ไม่รู้ ก็เคยท้าทดสอบไปเมื่อสองปีก่อนแล้ว ไม่มีใครมา ท้า Blind Test แบบวางตังก็ไม่มา อย่าพูดแบบนี้แต่ในบ้านตัวเองเลยครับ เทสเถอะ” พร้อมกับชวนมาออก Live ด้วย
– แต่ชาวหูทองก็แย้งด้วยหลายเหตุผลครับ เช่น กติกาหยาบไปแยกอะไรไม่ได้หรอก ตั้งกติกาเองแล้วเอาคนอื่นมาเขาก็ไม่ไปเทสหรอก
– จนกระทั่งมีผู้ใช้เฟซบุ๊ก N ออกมาบอกว่ามีคนรับคำท้า Blind Test สาย Lan กับนายอาร์มด้วยเงิน 1 ล้านบาทแล้ว ก่อนที่ต่อมาจะบอกว่าตัวเองก็ขอรับคำท้าและเดิมพันด้วย
– นายอาร์มออกมาตอบรับ บอกว่าเอากติกามาคุยกันเลย
– แต่คุณ N ได้ขอเพิ่มเงื่อนไข บอกว่าจะขอเทสครั้งละ 1 ล้าน (จากเดิมที่เทสหลายรอบ แล้วถ้าเดาถูกเกินครั้งที่กำหนดไว้ก็จะได้เงินพนันไป)
– ชาวเน็ตเริ่มรู้สึกว่าคุณ Nทำการบ่ายเบี่ยง และสงสัยว่าแบบนี้เอาเงินมาข่มรึเปล่า? เพราะการเดามันก็ 50/50 และก็คอมเมนต์เชียร์ให้ทำ Blind Test กันจริงๆ สักที จะได้รู้ว่าหูทองจริงไหม
– ตอนนี้นายอาร์มยังไม่ได้ออกมาตอบกลับ (คาดว่ากำลังหลับอยู่เพราะตอนนี้ตี 1 ครึ่งที่สหรัฐฯ) จะมีการทดสอบเกิดขึ้นมาหรือไม่ แล้วจะวางเดิมพันกันหรือไม่ ก็ต้องรอติดตามกันต่อไปครับ
อส กลุ่มพวกนี้มันกระจอกจริง จะท้าพนันยังไม่กล้าเลย ปญอ นึกว่าจะแน่ อยากเห็นว่าที่กระทรวงดิจิทัล โดนตบสั่งสอนหน่อยไม่มันเลย ราวเตอร์เทพ สายLANเทพ แค่ชื่อกุก็ฮาละ
ถึงขั้นต้องมาหาที่คุย พวกหูเทพนี่ทำไมขี้แถจังวะ
ล่าสุดกว่าคือตอนนี้เริ่มเห็นโพสสอนการปรับแต่งosเพื่อการฟังเพลงกลับมาอีกแล้ว มีกระทั่งให้ไปปิดฟังก์ชั่นในไบออส
อยากได้ลำโพงคอมสัก1000-2000 แนะนำยี่ห้อกับรุ่นหน่อย
เรื่องเล่าชาวเครื่องเสียง
มีชายคนนึงได้ซื้อเครื่องเสียง100ล้าน
วันหนึ่งมีบุคคลนึงเดินมาถามว่า
คุณสังเกตได้ถึงความแปลกของเพลงนี้หรือไม่ เขาตอบว่าไม่
ผู้ถามจึงตบหน้า แล้วบอกว่า ไวโอลินเสียงเพี้ยนไป 0.1เปอเซนต์
เพราะชุดเครื่องเสียงผม1,000ล้าน
วันหนึ่งเจ้าของชุดเครื่องเสียงพันล้านได้เดินไปตามถนน เขาได้พบกับชายเร่ร่อน
ชายเร่ร่อนเอ่ยปาก คุณสังเกตได้ถึงความแปลกของเพลงนี้หรือไม่
เป็นคำถามเดิมที่เขาเคยถามผู้อื่น
เขาตอบว่าไม่ ชายเร่ร่อนจึงบอกว่ามีคนนึงตดเล็ดระหว่างบรรเลง
จึงโดนตบหน้าหัน
เพราะชายเร่ร่อนนั้นคือเจ้าของชุดเครื่องเสียงหมื่นล้าน
โดยเขาใช้เงินทั้งหมดที่มี ทำให้ต้องนอนข้างถนน
ชายเร่ร่อนได้ไปบ้านของหัวหน้าวงบรรเลงระดับโลก
แม้เขาจะเสียไปแล้วแต่เขาได้สั่งกับลูกหลานว่าสักวันจะมีคนพบเฉลยและมาที่บ้านเริ่องนี้
โพสก่อนเรื่อง jitter มีคนขอในส่วน network audio ด้วย วันนี้ผมก็จะมาอธิบายในส่วน network audio นะครับว่ามีผลอย่างไร ผมจะพยายามอธิบายหลักการทำงานโดยอิงกับ OSI model ที่ชาว IT น่าจะคุ้นเคยกันดีนะครับ ใครที่อยากศึกษาทำความเข้าใจว่า network audio ในโลกของ Pro Audio ที่เขาวิจัยพัฒนาสินค้ากันนั้นมีผลอย่างไร โพสนี้ก็จะช่วยทำให้คุณเข้าใจได้ครับ ส่วนใครที่ไม่สนใจก็เลื่อนผ่านไปได้เลยครับ โพสนี้จะยาวหน่อย ผมก็ตั้งใจพิมพ์ให้ความรู้ด้วยความหวังดี ถ้าใครมา comment ไม่สร้างสรรค์หรือกด emote หัวเราะก่อกวนผมจะ block ทันทีนะครับ
ผมควรเร่งวอลลุ่มที่แอมป์ขึ้นไปมากแค่ไหน.?
----------
ก่อนตอบคำถามนี้ อยากให้ทำความเข้าใจซะก่อนว่า ระดับ "ความดัง" ของเสียงที่คุณได้ยินว่าดังออกมาจากชุดเครื่องเสียงของคุณนั้น เกิดจากตัวแปร 3 ตัว ที่ส่งผลถึงกัน ตัวแรกคือ "เกน" ของสัญญาณจากแหล่งต้นทาง X, ตัวที่สองคือ "เกน" ของแอมป์ที่ผ่านวอลลุ่ม Y, และตัวที่สามคือ "ความต้านทาน" ของลำโพง Z
.
ดังนั้น "ความดังที่คุณต้องการ" = X x Y - Z
.
ต้นเหตุที่ทำให้เกนของสัญญาณเพลงแต่ละอัลบั้มมีความแตกต่างกันมีที่มาอยู่ 2 แหล่ง ที่แรกคือถูกกำหนดมาจากสตูิโอโดยซาวนด์เอ็นจิเนียร์ที่ดูแลการทำมาสเตอร์อัลบั้มชุดนั้น ส่วนแหล่งที่สองถูกกำหนดโดยซาวนด์เอ็นจิเนียร์ที่จัดเตรียมมาสเตอร์สำหรับปั๊มแผ่น ถึงแม้ว่าจะมี "เกนมาตรฐาน" ซึ่งเป็นค่ากลางๆ กำหนดไว้ แต่ถ้าได้มีโอกาสฟังเปรียบเทียบความดังของเพลงในแต่ละอัลบั้มจะพบว่า มักจะมีความแตกต่างของ "เกนสัญญาณ" ที่บันทึกอยู่ในแผ่นเพลงออกมาให้ได้ยินตลอด บางอัลบั้มทำเกนมาเบามาก (ยกตัวอย่างแผ่นของค่าย Sheffield Labs กับค่าย Mobile Fidelity Sound Lab) ในขณะที่บางอัลบั้มบันทึกเกนสัญญาณมาแรงมาก (ยกตัวอย่างเพลงไทยส่วนใหญ่)
.
อยากให้พิจารณาตรงนี้ จากสมการ “ความดัง” = X x Y – Z สมมุติว่า ความดังเฉลี่ยที่คุณต้องการฟังอยู่ที่ระดับ 80dB ซึ่งเป็นความดังที่เกิดจาก "เกน" ของสัญญาณเพลง x "อัตราขยาย" ของแอมป์ที่กำหนดปริมาณโดยวอลลุ่ม ลบด้วย "แรงต้าน" จากคุณสมบัติของความเป็นพาสซีฟของลำโพง (*คำนวนจากสเปคฯ "ความไว" หรือ sensitivity + "ความต้านทาน” หรือ impedance) จะเห็นว่า ค่า X จะเป็นค่าคงที่ ขึ้นอยู่กับเกนของอัลบั้มนั้นๆ รวมถึงค่าความต้านทานของลำโพงก็คงที่ ขึ้นอยู่กับสเปคฯ ของลำโพงรุ่นนั้นๆ ซึ่งไม่เท่ากัน ส่วนที่สามารถปรับให้สูงหรือต่ำได้ก็เหลือแค่ "เกนขยาย" ของแอมป์ที่ปรับผ่านวอลลุ่มเท่านั้น
.
ในกรณีที่ต้องการความดังจากลำโพงอยู่ที่ 80dB คงที่ สมมุติว่า ไปเจอเพลงที่ทำเกนมาเบา (X มีค่าน้อย) เพื่อรักษาความดังที่ออกจากลำโพงให้คงอยูที่ระดับ 80dB ตลอดเวลา เราจึงต้องทำการเร่งวอลลุ่มที่แอมป์ให้ "สูงขึ้น" เพื่อชดเชยให้กับเกนของเพลงที่เบา ในทางตรงข้าม พอเจอกับเพลงที่บันทึกเกนมาแรงๆ เราก็ต้องทำการหรี่วอลลุ่มให้ "ต่ำลง" เพื่อรักษาระดับความดังที่ออกจากลำโพงให้คงที่อยู่ที่ 80dB ตามต้องการ
.
ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่า ไม่มีใครสามารถกำหนดตายตัวได้ว่า ระดับวอลลุ่มที่แอมป์ควรจะเป็นเท่าไหร่.? แต่ควรจะพิจารณาจาก "ความดัง" ของเสียงเพลงที่ออกมาจากลำโพงโดยตรง ให้กำหนดเลือกระดับวอลลุ่มของแอมป์โดยอาศัยฟังด้วยหู บวกกับความชอบของตัวเองในการกำหนดความดังของเพลงที่ฟังโดยไม่ต้องสนใจว่าจะต้องปรับสเกลของวอลลุ่มที่แอมป์ไปมากหรือน้อย...
#ถ้าเปลี่ยนลำโพงก็อาจจะต้องเปลี่ยนระดับวอลลุ่มด้วย
>>96 ปกติไม่ว่าจะเปลี่ยนลำโพงหรือamp เขาทำ volume matching โดยใช้ voltage meter วัดเอาครับ ใช้หูคนเราไม่แม่นหรอก เครื่องวัดphono ก็ยังมีเรื่องของย่านความถี่ มันใช้การ average เพลงแต่ละเพลงมันก็ไม่เท่ากันที่เคยลองทำปรับยากกว่าเยอะ
ชัวร์สุดคือวัด voltage ที่ output ของ amp เลยนั่นแหละ โดยใช้ความถี่แบบ sweep test
เรื่องของเรื่องก็คือ ขณะกำลังทดสอบลำโพง Usher Audio รุ่น UA-50 โดยใช้ด้วยอินติเกรตแอมป์ Audiolab รุ่น 9000A อยู่นั้น ผมก็ทดลองเอาตัวรองเครื่อง หรือ Damper ของ Audio Bastion สองรุ่น คือรุ่น ‘Redline Damper’ กับรุ่น 'Redline Damper Plus+’ มาทดลองวางใต้ขาตั้งทั้ง 4 ขาของ 9000A โดยทีแรกผมใช้รุ่นใหญ่กว่าคือ ‘Redline Damper Plus+’ (ตัวละ 550 บาท) รองก่อนแล้วฟังดู ปรากฏว่า เสียงโดยรวมโปร่งขึ้น กลาง-แหลมลอยมากขึ้น แต่เบสบางลงไปเยอะ ผมไม่ชอบเสียงที่ได้ เลยลองเปลี่ยนเอาตัวเล็กกว่า (จริงๆ ก็คือรุ่นเล็กสุดในกลุ่ม Redline นั่นแหละ!) คือรุ่น ‘Redline Damper’ ซึ่งมีราคาตัวละ 300 บาท มารองแทน ปรากฏว่าแจ๊คพอตอย่างที่ว่า.. คือได้เสียงโดยรวมออกมาลงตัวมาก.!! รับรู้ได้เลยว่า "ทุกเสียง" ทั้งเสียงเครื่องดนตรีทุกชิ้นรวมถึงเสียงร้อง มีขนาดที่ขยายใหญ่ขึ้น พองตัวออกมามากขึ้น คล้ายกับว่าเดิมเสียงเหล่านั้นมันถูกกดเอาไว้ บีบเอาไว้ ไม่พองตัวออกมา พอเอาตัว Redline Damper ที่ว่านี้ไปรองใต้ขาตั้งทั้ง 4 ขาของ 9000A ก็เหมือนกับเข้าไปปลดพันธนาการที่กดทับ (compressed) เสียงเหล่านั้นให้หลุดออกไป ทำให้ทุกเสียงมีบอดี้ที่ขยายใหญ่ขึ้น มีอัตราสวิงไดนามิกที่เป็นอิสระมากขึ้น และยังรับรู้ได้ว่าแบนด์วิธ หรือ "ย่านความถี่" ของเสียงที่พุ่งผ่านลำโพงออกมามันถูกขยายให้กว้างขึ้นด้วย รับรู้ได้ว่าเบสลงได้ลึกมากขึ้น ปลายแหลมก็ทอดไปได้ไกลมากขึ้น
อุปกรณ์เสริมประเภทที่ใช้รองซับความสั่นสะเทือนเหล่านี้ มันจะให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งก็ต่อเมื่อ น้ำหนักของเครื่องที่มันเข้าไปรองรับจะต้องอยู่ในระดับที่ "ไม่หนักมากไป" และ "ไม่เบาเกินไป" ซึ่งเกณฑ์คร่าวๆ ที่พอใช้เป็นแนวทางได้ก็คือ น้ำหนักเครื่องอยู่ในระดับประมาณ ½ ของน้ำหนักสูงสุดที่อุปกรณ์เสริมตัวนั้นรองรับได้ ซึ่งในกรณีนี้ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ เพราะน้ำหนักสูงสุดที่ตัว Redline Damper รองรับได้ อยู่ที่ 5 kg ต่อตัว เราใช้รองสี่ขาก็คือ 4 ตัว กรณีนี้ก็คือ 5 x 4 = 20 kg ในขณะที่ตัวอินติเกรตแอมป์ของ Audiolab รุ่น 9000A ที่ขาตั้งทั้งสี่ของมันยืนเหยียบอยู่บนตัว Redline Damper ทั้งสี่ตัวนั้น มีน้ำหนักรวมอยู่ที่ 11.2kg (gross weight)
เสียงที่ได้ถือว่าคุ้มซะยังกว่าคุ้มกับการลงทุนแค่ 1,200 บาท สำหรับตัวรองขาตั้งเครื่อง Audio Bastion รุ่น Redline Damper จำนวน 4 ตัว.. ใครใช้ Audiolab รุ่น 9000A อยู่ หรือเครื่องเสียงอื่นที่มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 9 - 11kg แนะนำให้ลอง..!!!
เปลี่ยนตำแแหน่งสายไฟเอซีในซิสเต็ม... ชีวิตเปลี่ยนเลย.!!!
----------
ปกติผมจะใช้สายไฟเอซีของ Life Audio รุ่น Signature I ตัวนี้กับแอมป์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอินติเกรตแอมป์หรือเพาเวอร์แอมป์ สายไฟเอซีเส้นนี้จะถูกรับหน้าที่จ่ายไฟให้กับแอมป์มาตลอด
.
ช่วงที่ได้เพาเวอร์แอมป์ของ QUAD มาทดสอบเป็นสถานการณ์ที่บังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น เพราะเพาเวอร์แอมป์ของ QUAD รุ่น Artera Mono เป็นเพาเวอร์แอมป์โมโมบล็อก คือแยกซ้าย-ขวามาข้างละตัว ต้องใช้สายไฟเอซี 2 เส้นแยกกันสำหรับเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว ผมมี Signature I อยู่เส้นเดียว จึงต้องเปลี่ยนไปใช้รุ่น Essence 1 มาทำหน้าที่แทนเพราะผมมีอยู่ 2 เส้นพอดี ส่วนรุ่น Signature I ผมก็ย้ายไปใช้กับปลั๊กรางที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต้นทางแทนสายไฟเอซีรุ่น Essence I MK 3 ซึ่งเป็นรุ่นเล็กกว่า ด้วยความเข้าใจว่า เปลี่ยนเป็นรุ่นใหญ่กว่าเข้าไปเสียงโดยรวมน่าจะดีขึ้น ซึ่งตอนเปลี่ยนเข้าไปตอนแรกเสียงของซิสเต็มที่ออกมาก็ยังไม่น่าพอใจนัก แต่เพราะเป็นช่วงที่เพาเวอร์แอมป์ใหม่ยังไม่เบิร์นฯ ผมก็เลยวางใจว่ารอให้แอมป์เบิร์นฯ แล้วเสียงน่าจะดีขึ้น
.
ตอนนี้แอมป์เบิร์นฯ เกิน 100 ชั่วโมงแล้ว เสียงโดยรวมดีขึ้นกว่าตอนแรกมาก เผอิญได้ลำโพง Diptyque Audio มาทดสอบด้วย เสียงโดยรวมของซิสเต็มจึงต่างไปจากเดิมมาก...
.
หลังจากทั้งเพาเวอร์แอมป์และลำโพงพ้นเบิร์นฯ (เกิน 100 ชั่วโมงไปแล้ว) ผมก็ทดลองเซ็ตอัพลำโพงอย่างละเอียดเพื่อทำการทดสอบ จนได้ตำแแหน่งที่เสียงดีที่สุดในสถานการณ์นั้น แต่ลึกๆ ในใจผมยังรู้สึกว่า มันมี "อะไร" บางอย่างที่ยังไม่ใช่สิ่งที่เคยสัมผัสมาก่อนหน้าที่แอมป์กับลำโพงคู่นี้จะเข้ามา... มันคืออะไรหว่า.???
.
หลังจากรื้อๆ ค้นๆ มาหลายวัน พยายามทบทวนว่า ตอนได้แอมป์กับลำโพงคู่นี้มาผมทำอะไรต่างไปจากเดิมบ้าง.? ค่อยๆ ไล่กลับไปที่จุดเดิม เมื่อคืนผมก็ฉุกคิดได้ว่า ผมเปลี่ยนตำแแหน่งสายไฟ Signaure I จากใช้กับแอมป์มาที่แหล่งต้นทาง ซึ่งในใจก็คิดว่า ไม่น่าจะเกี่ยว และถ้าเกี่ยว ก็น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีต่อเสียง เพราะรุ่น Signature I เป็นรุ่นใหญ่กว่า Essence I MK 3 มาก ราคาต่างกันเยอะ แต่เพื่อให้หายคาใจ.. เมื่อคืนก่อนยุติการฟังตอนตีหนึ่งกว่าๆ ผมปิดเครื่องทั้งหมดแล้วย้ายสายไฟ Signature I ออกไปแล้วเอา Essence I MK 3 ตัวที่เคยทำหน้าที่อยู่ตรงนั้นเข้าไปแทน แต่เมื่อคืนง่วงมากแล้วจึงไม่ได้เปิดฟังทันที..
.
เช้านี้ตื่นขึ้นมาก็เปิดเครื่องฟัง.. พระเจ้าช่วย.! "อะไร" ที่ผมรู้สึกว่ามันหายไปก่อนหน้านี้ มันกลับมาแล้ว.! มันคือ "ความปลดปล่อย" ที่ทำให้แต่ละเสียงในเพลงที่ฟังมีความเริงร่า เป็นอิสระ ดีดดิ้น และดีดเด้งไปตามจังหวะของเพลงอย่างสนุกสนาน ไม่ป้อแป้ ไม่เนิบอืด เป็นอะไรที่ทำให้ผมอึ้ง.!!!
#ปาฏิหารย์เกิดขึ้นเสมอในห้องฟัง
#ใกล้เคียงมโนแต่คุณรู้ว่าไม่ใช่
#แสดงว่าสายไฟแแต่ะรุ่นมันมีความเหมาะสมในที่ของมัน
>>102 ก็ขายของอะครับ
จะว่าไปไม่เห็นใครลงทุนลากสาย main ใหม่ แบบเผื่อจากมาตรฐาน แล้วตู้ consumer เกรดโรงงานกันเลย เปลี่ยนหมดเผลอๆถูกกว่าสายไฟ AC audio grade ที่พี่เขาขายกันอีก
เห็นมาซื้อเต้ารับแพงๆ เปลี่ยนแค่ที่ผนัง หรือใส่รางปลั๊กเทพ กล่องไม้สัก มันจะดีขึ้นตรงไหนฟะ
แล้วที่ว่าดีขึ้นก็ไม่เคยมีใครเอาอะไรไปวัด วิศวะไฟฟ้าไม่ต้องทำงาน ให้หูนักขายทำงานแทน
เดิมทีผมวาง Roon nucleus+ ของผมไว้บนชั้นวางเครื่องเสียงที่สูงจากพื้นห้อง 1 เมตร โดยที่ตัว Roon nucleus+ วางอยู่บนชั้นที่ทำด้วยแผ่นกระจกหนา 0.8 ม.ม. หลังจากทดลองปรับจูนอยู่นาน จนมาลงตัวโดยรองใต้ Roon nucleus+ ด้วยก้อนไม้สนโตเร็ว ทรงกระบอก 3 ท่อน (ซื้อมาจากร้าน Daiso) โดยวางหน้า 2 หลัง 1 ได้เสียงที่ผมพอใจ ซึ่งที่ผ่านมาผมก็วางก้อนไม้ทั้งสามก้อนไว้ใต้ Roon nucleus+ มาโดยตลอด
.
เมื่อคืนผมแวะไปทานข้าวเย็นที่เซ็นทรัล เวสเกต หลังอาหารก็แวะเข้าไปเดินดูอะไรเล่นๆ ที่ร้าน Nitori ซึ่งเพิ่งเปิดใหม่อยู่ชั้นใต้ถุนของห้างเซ็นทรัล ที่นั่นผมไปเจอแผ่นหินชนวนวางขายอยู่ จุดประสงค์จริงๆ ของเขาทำออกมาเพื่อใช้วางอาหารว่างประเภทค็อกเทล ขนาดของแผ่นมีหลายไซร้ มีทั้งรูปทรงผืนผ้าและสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผมไปสะดุดแผ่นที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 20x20 ซ.ม. โดยที่ความหนาของแผ่นประมาณ 0.5 ซ.ม. เพราะผมมองแล้วน่าจะเอามารองใต้ Roon nucleus+ ได้เลยซื้อมาหนึ่งแผ่น ราคาแผ่นละ 79 บาท
.
หลังจากกลับถึงบ้าน พอแกะแพ็คเกจออกมาแล้ว ใต้แผ่นหินชนวนที่มุมทั้ง 4 มุมเขาได้ติดแผ่นฟองน้ำชิ้นเล็กๆ ไว้ด้วย และยังแถมฟองน้ำแบบเดียวกันนั้นมาอีก 4 แผ่นด้วย
.
ผมทดลองเอาแผ่นหินชนวนที่ว่านี้ไปรองใต้ Roon nucleus+ แทนที่ก้อนไม้ทั้ง 3 ก้อนเพื่อทดลองฟังเสียง ผลปรากฏว่า หินชนวนให้แบนด์วิธของเสียงออกมา "แคบกว่า" รองด้วยก้อนไม้เดิม หลังจากนั้นผมทดลองเอาแผ่นหินชนวนออก แล้วเอาตัว Roon nucleus+ วางลงไปบนชั้นวางที่เป็นแผ่นกระจกโดยตรง ปรากฏว่า ปลายเสียงทั้งด้านแหลมและด้านทุ้ม "หดแคบลง" ไปกว่าตอนรองด้วยแผ่นหินชนวนซะอีก สรุปแล้ว วาง Roon nucleus+ บนแผ่นหินชนวนให้เสียงออกมา "ดีกว่า" วางบนแผ่นกระจกตรงๆ แต่สู้วางบนก้อนไม้ Daiso 3 ก้อนไม่ได้
.
ถ้าไม่มีก้อนไม้สนของ Daiso การรองใต้ Roon nucleus+ ด้วยแผ่นหินชนวนก็ให้เสียงโดยรวมดีกว่าวางลงไปบนแผ่นกระจกโดยตรงในประเด็นที่ได้ "ความสงัด" ดีกว่า ช่องว่างระหว่างแต่ละเสียงจะมีลักษณะ "ดำมืด" เพราะปลายเสียงเก็บตัวเร็ว ไม่ฟุ้งกระจาย ฟังดีไปแบบหนึ่ง ...
#สนุกดี
#เล่นกับอุปกรณ์เสริม
เสียงมันเดินผ่านอากาศ แต่เมืองไทยฝุ่นโครตเยอะ พวกหูทองไม่เอ๊ะใจบ้างเรอะวะ ไหนจะ PM2.5 อีก
ไหนจะอากาศร้อน อากาศเย็นอีก แต่คิดว่าคงนั่งฟังในห้องแอร์แหละ เสียงแอร์ไม่ปนไปกับเสียงลำโพงเรอะวะ
สายแลนทำให้เสียงดีขึ้นจริงหรือไม่
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.