Fanboi Channel

รวมพลคนรักเครื่องเสียง หูทอง หูตะกั่ว หูหาเรื่อง เชิญทางนี้ ชุดที่ 1

Last posted

Total of 106 posts

51 Nameless Fanboi Posted ID:eKdCfBuKae

จุดประสงค์ในการนำเอาตัวเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์มาใช้ในซิสเต็มก็เพื่อช่วยขจัดขยะที่เข้ามารบกวนระบบไฟของซิสเต็ม ซึ่งผลลัพธ์ของมันจะส่งผลกับเสียง 2-3 ด้านขึ้นอยู่กับการออกแบบ อย่างแรกสุดคือ “ความสะอาดของพื้นเสียง” เนื่องจากพื้นฐานหลักของอุปกรณ์เพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ก็คือ “วงจรฟิลเตอร์” ที่ช่วยกรองสัญญาณรบกวนและคลื่นรบกวนประเภท EMI, RFI รวมถึง Vibration รูปแบบต่างๆ ซึ่งหากออกแบบวงจรฟิลเตอร์ได้ดี สิ่งที่ถูกกรองทิ้งไปก็จะเป็นคลื่นรบกวนต่างๆ แต่ถ้าออกแบบมาไม่ดีพอ วงจรฟิลเตอร์ที่ใช้กรองจะตัดเอาความถี่เสียงบางความถี่ออกไปด้วย ซึ่งเราสามารถรับรู้ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ตัวเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ในซิสเต็มได้ 2 ทาง คือจากการฟัง “รายละเอียดของเสียงดนตรี” ด้วยหู และใช้ความรู้สึกสัมผัสกับ “แอมเบี้ยนต์” ที่อยู่นอกเหนือระดับการได้ยิน
ผลงานอย่างที่สองของเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ที่ออกแบบมาดีก็คือ “พลังเสียง” ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของอัตราสวิงไดนามิกที่เปิดกว้างขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของเสียงมีการเน้นย้ำน้ำหนักที่ดีขึ้น เนื่องจากวงจรไฟฟ้าในตัวอุปกรณ์เครื่องเสียงทุกตัวทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นขยะในกระแสไฟนั่นเอง
Sine S20A กับ Clef Audio PowerBRIDGE-8 เป็นเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ที่ช่วยยกระดับเสียงให้กับซิสเต็มขนาดกลางๆ (ทั้งชุดระหว่าง 100,000 – 200,000 บาท) ได้อย่างชัดเจน คนที่รู้สึกว่าซิสเต็มของตัวเองให้เสียงที่ขาดความกระชับ หนักแน่น ไม่มีความย้ำเน้น แนะนำให้เอา S20A ไปทดลองใช้ดู แต่ถ้าชอบโทนเสียงเดิมอยู่แล้ว แต่อยากให้ได้พื้นเสียงที่สะอาดมากขึ้น ลงทุนแค่ PowerBRIDGE-8 ก็คุ้มเงินที่สุดแล้ว

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.