จะว่าไปผลงานของเจ๊ซูซานหว่องนี่เป็นระดับ must have ของวงการนักเล่น hires บ้านเราสินะ
แต่สำหรับกูๆว่าเฉยๆหว่ะ องค์ประกอบเพลงมันรีดลำโพงให้เค้นมาทุกย่านเสียงก็จริงแต่ฟังแล้วไม่รู้สึกเพราะเลย
ถ้าสรุปแบบอคติหน่อยคือบางคนมันเน้นฟังเสียงไม่ได้ฟังเพลง
Last posted
Total of 107 posts
จะว่าไปผลงานของเจ๊ซูซานหว่องนี่เป็นระดับ must have ของวงการนักเล่น hires บ้านเราสินะ
แต่สำหรับกูๆว่าเฉยๆหว่ะ องค์ประกอบเพลงมันรีดลำโพงให้เค้นมาทุกย่านเสียงก็จริงแต่ฟังแล้วไม่รู้สึกเพราะเลย
ถ้าสรุปแบบอคติหน่อยคือบางคนมันเน้นฟังเสียงไม่ได้ฟังเพลง
ใช่ไอ้พวกที่บอกว่า HDD จานหมุนกับ HDD แบบ SSD ให้เสียงต่างกันป่ะ ทุกวันนี้โลกจะไปถึงเรื่อง UFO มนุษย์ต่างดาวกันแล้วนี่มึงยังดักดานกันอยู่แค่นี้เหรอวะ 55555+ วันหลังก็จุดธูปกราบไหว้ System ก่อนใช้งานนะเผื่อเสียงมันอาจจะดีขึ้น 55555+
>>2 บางเรื่องมันก็เกินไป อย่างไม่ให้สายไฟแตะพื้นเดี๋ยวเสียงจะเพี้ยน สายแลนแพงให้เสียงดีกว่าสายแลนถูก หลายๆเรื่องมันชักจะเป็นวิทยาศาสตร์เทียมไปละ เคยเจอเว็บนึงให้คนที่ใช้คอมลงโปรแกรมจูนวินโดวส์ให้กินทรัพยากรเครื่องน้อยที่สุดจนแทบจะเป็นเซฟโหมด ซีพียูจะได้ทำงานน้อยไม่มีสัญญาณไปรบกวนชิปการ์ดเสียง
งบไม่เกินหมื่นตอนนี้เล่นลำโพงตัวไหนดีคับ ไม่ต้องมีบลูทูธก็ได้คับเน้นต่อคอม ชอบแนวเสียงใสเบสนุ่ม ฟังเพลงทุกแนวแต่เน้นป็อปร็อคเป็นหลักคับ
หลังจากสาย CAT8 ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องมานานเกิน 100 ชั่วโมง ใกล้ๆ 200 ชั่วโมงผมก็เริ่มทดลองฟังเทียบกับสาย CAT6a เดิม พบว่า สาย CAT8 ให้เสียงที่ดีกว่าใน “ทุกด้าน” แม้ว่าในช่วงแรกที่เปลี่ยนสาย CAT6a ลงไปแทน CAT8 ผมได้ยินว่าเสียงโดยรวมมีลักษณะที่นุ่มลง แต่จริงๆ แล้ว เสียงในย่านแหลมมันถูกฟิลเตอร์หายไป ไม่เปิดกระจ่างออกมา ทำให้เสียงโดยรวมมีลักษณะที่อึมครึม และสาย CAT6a ก็ให้อัตราสวิงของไดนามิกเร้นจ์แคบกว่า ทำให้ความสดของเสียงไม่แสดงตัวออกมาอย่างเต็มที่ เมื่อเปลี่ยนเอา CAT8 ลงไปแทน อาการอึมครึมที่ปกคลุมเสียงทั้งหมดหายไป ความถี่ด้านบนเปิดกระจ่างขึ้น ส่งผลให้รายละเอียดของโน๊ตในย่านสูงเผยตัวออกมาได้อย่างเต็มที่ ไดนามิกเร้นจ์และไดนามิกคอนทราสน์ดีขึ้นมาก สวิงตัวได้เต็มสเกลมากขึ้น “โดยไม่มี” อาการแสบหู
จริงๆ แล้ว ไม่ใช่แค่เสียงแหลมที่เปิดกระจ่างมากขึ้น เสียงกลางกับเสียงทุ้มก็เปิดกระจ่างออกมามากขึ้นเช่นกัน แต่เนื่องจากเปอร์เซ็นต์ที่เกิดกับเสียงแหลมมันเยอะกว่าและหูของเราก็ไวกับเสียงแหลมมากกว่าความถี่อื่น จึงรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่า สรุปแล้ว สาย Ethernet CAT8 ที่คุณอึ่งเอามาให้ผมทดลองฟังมันมีผลช่วยอัพเกรดเสียงของซิสเต็มที่ผมใช้ทดสอบมากเกิน 20% รับรู้ได้ชัดเจนถึงลักษณะของเสียงที่เปิดและโล่งมากขึ้น เป็นความเปิดโล่งที่เกิดจากพื้นเสียงที่ทีความโปร่งใส (transparent) มากขึ้น เมื่อเทียบกับใช้สาย Ethernet CAT6a ตัวเดิม
มีคนบอกว่าริปซีดีออกมาเป็นไฟล์ WAV เสียงดีกว่า FLAC จริงหรือครับ.? เพราะอะไร ในเมื่อ FLAC ก็เป็นไฟล์ Lossless?
----------
คำตอบคือ "จริง" ส่วนเหตุผลที่ริปซีดีออกมาเป็นไฟล์ WAV แล้วให้เสียงดีกว่า FLAC เป็นเพราะว่า เมื่อเลือกไฟล์ WAV ในการริปเพลงจากแผ่นซีดี ตัวโปรแกรมริปแผ่นจะทำการก๊อปปี้สัญญาณเพลงที่อยู่ในแผ่นซีดีออกมา "ทั้งหมด" โดยไม่มีการตัดทอนส่วนใดทิ้ง สัญญาณที่ริปออกมาจากแผ่นซีดีจะเป็นสัญญาณ PCM 16/44.1 ที่มีจำนวนบิตข้อมูลเสียงครบถ้วนตามที่ถูกบันทึกอยู่บนแผ่น และถูกแพ็คเข้าไปในแพ็คเกจของ WAV ทั้งหมดนั้น และสัญญาณเสียงเหล่านั้นจะถูกส่งผ่านไปบนคอมพิวเตอร์ด้วยอัตราความเร็วอยู่ที่ 1411kbps ตรงตามมาตรฐานของซีดี
.
ส่วนการริปเพลงจากแผ่นซีดีแล้วเลือกเอ๊าต์พุตจากโปรแกรมริปแผ่นให้ออกมาเป็นไฟล์ FLAC นั้น แม้ว่าตัวฟอร์แม็ตจะระบุชื่อว่าเป็นไฟล์แบบ Lossless (FLAC = Free Lossless Audio Coding) คือไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้นในขั้นตอนเข้ารหัส (endcode), ขั้นตอนส่งผ่าน (transfer) ไปจนถึงขั้นตอนที่แตกไฟล์ (decode) FLAC ออกมาเป็นสัญญาณ PCM ซึ่งทีมผู้ให้กำเนิดฟอร์แม็ต FLAC ยืนยันไว้แบบนั้น
.
ทว่า หลังจากมีการทดลองริปเพลงจากซีดีแผ่นเดียวกันออกมาเป็นไฟล์ WAV และไฟล์ FLAC แล้วนำไฟล์เพลงทั้งสองรูปแบบนั้นมาฟังเปรียบเทียบกันผ่านชุดเครื่องเสียงชุดเดียวกัน ผลออกมาว่า เสียงไม่เหมือนกัน ซึ่งผลจากการทดลองฟังหลายๆ เพลงได้ข้อสรุปออกมาว่า ไฟล์ WAV ให้คุณภาพเสียงออกมา "ดีกว่า" ไฟล์ FLAC
.
เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น.?
.
จริงๆ แล้ว การเข้ารหัสสัญญาณเสียงด้วยไฟล์ FLAC ก็มีการ "ตัด" ข้อมูลเสียงบางส่วนทิ้งไปในขั้นตอนการเข้ารหัส เพียงแต่ว่า ข้อมูลเสียงที่ตัดทิ้งไปนั้นคือส่วนที่เป็นแค่องค์ประกอบย่อยมากๆ ที่เรียกว่า Less Significant Bit = LSB ของเสียง อย่างเช่น ปลายๆ เสียงฮาร์มอนิกที่เบามากๆ ซึ่งไม่ใช่ส่วนสำคัญ (Most Significant Bit = MSB) ที่เป็นข้อมูลเสียงที่ได้ยินชัดๆ ผู้ให้กำเนิดไฟล์ FLAC ใช้มาตรฐานการวัดผลที่อิงอยู่กับ human perception โดยทั่วไปที่ไม่สามารถรับรู้ถึงรายละเอียดลึกๆ ที่ตัดทิ้งไป คนทั่วไปจึงฟังความแตกต่างของเสียงที่ได้จากการเล่นไฟล์ทั้งสองประเภทไม่ออก แต่ถ้าผู้ฟังมีเวลามากพอในการนั่งฟังเพื่อจับความแตกต่างผ่านชุดเครื่องเสียงที่มีคุณภาพสูง จะสามารถรับรู้ได้.. /
#ยิ่งเครื่องเสียงดีบวกกับเซ็ตอัพดียิ่งฟังออกง่าย
>>9 FLAC ใช้วิธี Compression โดยการย่อ Bit ที่ซ้ำกันให้สั้นลงแล้วพอจะ Playback ก็ขยายคืนตามเดิม LSB,MSB เชี่ยอะไรแค่ชื่อเรียกบิตตัวหน้ากับตัวหลังไม่เกี่ยวห่าไรกับ Harmonic เลยคนละเรื่อง อยากรู้มั้ยว่า WAV กับ FLAC เสียงต่างกันยังไง ก็เอามากลับ Phase ไงผลออกมาคือ Phase Cancellation 100% เสียงเงียบสนิท ต่างกันตรงไหนวะ บอกแล้ววงการไสยศาสตร์อ้างศัทพ์เทคนิคมั่วซั่วใครหลงเชื่อหลงเอาตังไปเปย์ให้พวกนี้แม่งหน้าโง่ชิบหาย
ผมยอมรับเลยว่า ผมรู้สึกกังวลมากเป็นพิเศษกับการทำรีวิวของ QNET ตัวนี้ ผมไม่ได้กังวลสงสัยในประสิทธิภาพของมัน เพราะฟังออกและสัมผัสได้ แต่สิ่งที่รบกวนความรู้สึกของผมก็คือผลที่เกิดขึ้นกับบางเงื่อนไขของการเซ็ตอัพใช้งานตัว QNET ที่ทำให้มันแสดงผลลัพธ์ออกมาต่างจากที่ผมคาดคิดไว้ในใจ เหมือนกับว่า การใช้งานตัว Network Switch ในชุดเครื่องเสียงยังมี “อะไร” บางอย่างที่เรายังไม่รู้ความสัมพันธ์ของมันอย่างถ่องแท้ ทำให้การคาดเดาสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนการทดลองฟังจริงมีความคลาดเคลื่อนไปได้ ผลลัพธ์มันบิดไปจากแนวทางที่คาดคิดไว้ในบางแง่มุม ใครที่คิดจะซื้อหาตัว Network Switch เข้าไปใช้ในชุดเครื่องเสียง แนะนำให้ทดลองสลับรูปแบบการเชื่อมต่อแล้วฟังเสียงดูด้วยนะ
มีบางช่วงได้ทำการฟังเปรียบเทียบกับ Network Switch ระดับไอที เกรดที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ทั่วไปด้วย ผลลัพธ์ก็เป็นไปในแนวทางที่คาด คือ Network Switch ระดับออดิโอ เกรดให้ผลทางเสียงที่ดีกว่าระดับไอที เกรดมาก ฟังแค่ไม่กี่นาทีก็ต้องถอดออก..
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ทดลองใช้งานตัว QNET นานนับเดือน ผลที่ได้ยินก็ถือว่าเป็นประจักษ์พยานที่ยืนยันได้ว่า Network Switch ระดับออดิโอ เกรดที่ออกแบบมาเพื่อการสตรีมไฟล์เพลงโดยเฉพาะมีส่วนทำให้เสียงของแหล่งต้นทางประเภทมิวสิค สตรีมมิ่งดีขึ้นจริง เนื่องจาก Network Switch “ทุกตัว” ที่ผมทดสอบไปมันก็ให้ผลออกมาทางเดียวกันนี้ จะต่างกันก็แค่ระดับความมาก–น้อยของผลที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งเบาะแสที่ค้นพบตอนนี้ยังชี้นำไปในแนวทางที่ว่า “ยิ่งแพง–ยิ่งดี” แสดงว่าแนวคิดเบื้องต้นที่ผู้ผลิตแต่ละเจ้านำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบตัว Network Switch นั้นถูกต้องแล้ว สิ่งที่ทำให้ Network Switch ของแต่ละแบรนด์ให้ผลทางเสียงออกมาต่างกันก็อยู่ที่ว่า แบรนด์ไหนใครจะใส่ใจพิถีพิถันในแต่ละจุดมาก–น้อยกว่ากันแค่ไหนเท่านั้นเอง /
อยากรู้หูฟังระดับหลักหมื่นหลักแสนนี่เสียงมันจะเทพขนาดไหนวะ
>>13
ตัวนี้เป็นอุปกรณ์เสริมประเภทที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน (active accessories) โดยตรง.! ถือว่าเป็นปราการด่านหน้าสุดของชุดเครื่องเสียง ซึ่งส่งผลต่อเสียงอย่างมาก เนื่องจากเต้ารับบนผนังเป็นช่องทางที่ใช้เชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าที่เดินทางจากตู้เมนไปยังชุดเครื่องเสียงของเรา ถ้าเต้ารับบนผนังไม่มีคุณภาพ นำกระแสได้ไม่ดี กระแสไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงชุดเครื่องเสียงก็จะไหลไปได้ไม่เต็มที่ แน่นอนว่าต้องส่งผลลัพธ์ต่อคุณภาพเสียงของชุดเครื่องเสียงอย่างไม่มีทางเลี่ยง เพราะอุปกรณ์เครื่องเสียงที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค “ทุกชิ้น” ในชุดเครื่องเสียงล้วนอาศัยกระแสไฟฟ้าเป็นพื้นฐานในการทำงานทั้งสิ้น
เมื่อพิจารณาทางด้านโทนเสียงซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งที่บ่งชี้ถึงบุคลิกของเสียงระหว่างเต้ารับ Panasonic ตัวเก่ากับ Life Audio ตัวใหม่ ผมพบว่า โทนเสียงของซิสเต็มเมื่อเสียบผ่านเต้ารับของ Life Audio มีลักษณะที่สด และสว่างกว่าเสียบผ่านเต้ารับของพานาฯ เล็กน้อย ซึ่งอาการของบุคลิกเสียงของซิสเต็มที่มีลักษณะสด กระจ่างมากขึ้นนั้นถือว่าเป็นปกติวิสัยที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อชุดเครื่องเสียงได้รับกระแสไฟเต็มที่มากกว่าเดิม คล้ายๆ อาการที่เกิดขึ้นตอนไฟมาเต็มเทียบกับตอนไฟตกนั่นแหละ ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับบุคลิกเสียงเมื่อเปลี่ยนเต้ารับของ Life Audio เข้าไปแทน Panasonic นี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เพราะมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ทำให้อรรถรสของเพลงด้อยลง มิหนำซ้ำ กลับช่วยทำให้ได้อรรถรสเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก
สรุป
ผมพอใจกับคุณภาพเสียงและบุคลิกเสียงที่ได้จากซิสเต็มหลังจากใช้เต้ารับของ Life Audio ชุดนี้มาก มันทำให้เสียงออกมาดีขึ้นโดยมีผลเปลี่ยนแปลง “บุคลิกเสียง” ของซิสเต็มที่ผมแม็ทชิ่งอุปกรณ์ไว้ดีแล้วไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ดีขึ้น สดขึ้น ซึ่งตรงกับรสนิยมของผมพอดี
>>17
ลุ่มถูกเร่งขึ้นมา ซึ่งนี่แหละคือกำแพงหนาๆ ที่ขวางกั้นไม่ให้ซิสเต็มเครื่องเสียงทะยานไปถึงจุด top performance ของมัน จนเมื่อได้ Venom PS10 เข้ามาปลดล็อคให้นี่แหละ ผมถึงได้รู้ว่า จริงๆ แล้วซิสเต็มที่ฟังดีอยู่แล้วของผมมันสามารถขยับคุณภาพขึ้นไปได้อีกไกลเลย.!!!
Venom PS10 ไม่ได้แสดงอาการของผลข้างเคียงใดๆ ออกมาให้ได้ยินเลยตลอดการใช้งานอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา ไม่ว่าผมจะทดลองเสียบแบบไม่ครบรู หรือทดลองเสียบเข้าไปจนเต็มจนไม่เหลือรูเสียบ หรือแม้แต่ทดลองเสียบอะแด๊ปเตอร์ 2 ขาที่ไม่แยกกราวนด์ลงไปก็ไม่ส่งผลกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ และไม่ทำให้ผลโดยรวมของเสียงแย่ลงด้วย สุดยอดมาก.!! แสดงว่ามันเสียบได้ทุกอย่างจริงๆ
ในช่วงท้ายๆ ของการทดสอบผมลองเอา Venom PS10 ไปทดลองใช้กับชุดดูหนังที่ห้องรับแขก โดยเสียบทีวีกับแอมป์สองแชนเนลที่ใช้ดูหนัง–ฟังเพลง เสียงกับภาพก็ออกมาดีกว่าเสียบปลั๊กจากตัวเครื่อง (ทีวี, แอมป์) เข้าไปที่เต้ารับบนผนังเยอะมาก แสดงว่า วงจรฟิลเตอร์ของ Venom PS10 มันทำงานไปไกลถึงระดับเมกกะเฮิร์ตแน่ๆ (ในสเปคฯ ระบุว่าสามารถกรองสัญญาณรบกวนตั้งแต่ย่านความถี่ 100kHz – 30MHz ลงไปได้มากกว่า 24dB)
สรุป
จริงๆ แล้ว ปลั๊กพ่วงหลายๆ ตัวในท้องตลาดก็มีความสามารถในการรองรับการจ่ายกระแสไฟ (หรือยอมให้กระแสไหลผ่านอย่างสะดวก) ได้เยอะ แต่ที่พบว่าบางตัวมีอาการที่ทำให้เสียงอั้นเหมือนจ่ายกระแสไม่ทันเวลาเสียบแอมป์หรือเสียบเครื่องเสียงหลายชิ้นพร้อมกันก็คงจะมาจากการออกแบบฟิลเตอร์ที่ใช้ในการกรอง noise ที่ยังไม่ดีพอ กับอีกอย่างคือประเภทของ “เบรคเกอร์” ที่ใช้ก็น่าจะมีผลเยอะ
หลังจากใช้งานมาเดือนกว่าๆ ผมรู้สึกว่า คุณภาพเสียงมันไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากวันแรกมาก มีอิ่มและเปิดขึ้นแน่ๆ แต่ไม่มาก แสดงว่าเทคนิคพิเศษที่ชื่อว่า KPIP ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าไม่ต้องเบิร์นฯ ก็ให้เสียงดีตั้งแต่แรกเหมือนผ่านการเบิร์นฯ มาแล้ว มันน่าจะได้ผลจริงตามที่เขาว่า เพราะผมรู้สึกว่าเสียงมันเปลี่ยนไปน้อยมาก รู้สึกถึงเสียงของซิสเต็มที่ดีขึ้นตั้งแต่นาทีแรกๆ ที่เสียบใช้งาน
>>19
ตัวนี้เป็นอุปกรณ์เสริมประเภท standalone isolation จัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์เสริมที่ไม่ต้องเสียบไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นแท่นรองสำหรับวางอุปกรณ์เครื่องเสียงไว้ด้านบน ใช้ได้กับเครื่องเสียงทุกประเภท ตั้งแต่ อุปกรณ์ประเภทเครื่องเล่นต่างๆ (เครื่องเล่นซีดี, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, DAC, Streamer ฯลฯ) รวมถึงอุปกรณ์ประเภทแอมปลิฟาย (ปรีแอมป์, เพาเวอร์แอมป์, อินติเกรตแอมป์, ออล–อิน–วัน ฯลฯ)
จุดเด่นที่ผมชอบมากๆ ของแท่นรอง Solid Tech ตัวนี้ คือมันสามารถปรับจูนเสียงให้ออกไปทาง “นุ่ม + สลัว (dark)” หรือ “กระชับ + สว่าง (bright)” หรือระหว่างแนวเสียงทั้งสองแบบนั้นได้ตามต้องการ ด้วยการปรับใช้จำนวนสปริงที่ขาตั้งแต่ละขาของแท่นรองตัวนี้เท่านั้น พอได้ลองใช้งานจริงจะพบว่ามันไม่ยากในการเพิ่ม/ลดจำนวนสปริง และมันให้ผลลัพธ์ที่ฟังออกชัดเจนมาก บางครั้งผลลัพธ์ของมันเยอะมากจนทำเอาผมรู้สึกประหลาดใจซะด้วยซ้ำ เมื่อเลือกจำนวนสปริงที่ใช้ให้ลงตัวสัมพันธ์กับน้ำหนักของเครื่องเสียงที่วางบนแท่นได้แล้ว ผมบอกเลยว่าพอใจมากกับผลลัพธ์ทางเสียงที่ได้กลับมา ซึ่งผลลัพธ์ทางเสียงโดยรวมที่ได้ออกมามันไปทางบวกทั้งหมด ไม่มีผลข้างเคียงทางลบออกมาเลย
>>21 จากประสบการณ์ผมพบว่า การอัพเกรดสายไฟเอซีเป็นวิธีที่มักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าเสีย “ถ้า” คุณเลือกสายไฟเอซีที่มีคุณภาพดีจริงๆ
หลังจากทดสอบมาเป็นเวลานาน ทดลองฟังกับซิสเต็มที่หลากหลาย ผมพบว่า Diamond Revision “NEPTUNE” เส้นนี้ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมากในความเห็นของผม มันให้ผลทางเสียงที่โดดเด่นชัดเจนไปในแนวทางของมัน กรณีที่คุณต้องการปรับจูน “เสียงกลาง” ของซิสเต็มให้มีความนุ่มหวานมากขึ้น สายไฟเอซีเส้นนี้จะให้ผลลัพธ์ตรงความต้องการมากที่สุด แนะนำให้หาโอกาสทดลองฟังสายไฟเอซีเส้นนี้ให้ได้ถ้าคุณตั้งงบประมาณในการอัพเกรดสายไฟเอซีไว้ในระดับเฉียดๆ 100K /
>>23
vibration หรือความสั่นสะเทือนมีหลายระดับ แตกต่างกันทั้งในแง่ของ “ความถี่” และ “ความรุนแรง” และสามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ได้ทุกชนิด สามารถแพร่กระจายไปได้ดีบนวัตถุที่มีความหนาแน่นของมวลสูงๆ เหตุที่ vibration ที่เกิดบนอุปกรณ์เครื่องเสียงส่งผลกระทบกับคุณภาพเสียงก็เพราะว่า เสียงเพลงที่เราฟังก็เกิดจาก vibration ที่เกิดขึ้นบนไดอะแฟรมของลำโพง ดังนั้น ถ้ามี vibration ที่เกิดขึ้นจากแหล่งต้นทางอื่นๆ ปะปนเข้าไปในสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า เจ้าคลื่นความสั่นสะเทือนที่ว่านั้นมันจะเข้าไป modulate หรือ “ควบกล้ำ” เข้ากับสัญญาณเพลง ก่อให้เกิดการ “เสริม” และ “หักล้าง” ขึ้นระหว่างความถี่เดียวกันที่เป็นส่วนของสัญญาณเสียงกับคลื่นความสั่นสะเทือนภายนอก ส่งผลให้สัญญาณเสียงมีลักษณะที่ผิดไปจากต้นฉบับที่ออกมาจากเครื่องเล่นต้นทาง
หลังจากใช้ DoS รองใต้เครื่องแล้ว เสียงโดยรวมจะลอยตัวขึ้น ในขณะที่ความถี่ต่ำก็ยังสามารถแผ่ลงด้านล่างได้ นั่นเป็นเพราะว่าอาการขุ่นที่เกิดจากความฟุ้งในย่านเสียงทุ้มลดลง แสดงว่า ข้อมูลที่ผู้ผลิตเคลมไว้ว่าสามารถลดความสั่นสะเทือนที่ระดับความถี่ 20Hz ลงไปได้ถึง 88.48% เป็นความจริง..??? ซึ่งอุปกรณ์ประเภท absorber ส่วนมากจะใช้วิธี filter หรือลดปริมาณความสั่นสะเทือนด้วยการ “ตัด” ความถี่บริเวณย่านที่ถูกกระตุ้นให้สั่นลงไปดื้อๆ ซึ่งจะส่งผลให้ความถี่ที่เป็นรายละเอียดของเสียงดนตรีในย่านเดียวกันรวมถึงบริเวณความถี่ใกล้เคียงถูกตัดทิ้งไปด้วย เสียงทุ้มที่ออกมาจากการทำงานของ absorber เหล่านั้นจึงมีลักษณะที่ด้วนกุด พื้นเสียงใสขึ้นจริงและให้น้ำหนักหัวเบสที่ชัดขึ้น แต่เบสจะไม่ทิ้งตัวกระจายลงพื้นและไม่ยกเวทีเสียงให้ลอยขึ้น
>>25
โดยปกติแล้ว router สามารถส่งสัญญาณเน็ทเวิร์คมาที่ตัว network streamer หรือตัว network player transpot ได้โดยตรง ผ่านทางสาย Ethernet หรือไร้สายด้วยคลื่น Wi-Fi ก็ได้ แต่ในชีวิตความเป็นจริงแล้ว ระบบเน็ทเวิร์คที่ใช้ในบ้านพักอาศัยของผู้คนในปัจจุบัน (บางคนก็เรียกว่า Home Network) มักจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชนิดที่ใช้เน็ทเวิร์คร่วมกันในบ้าน อย่างเช่น คอมพิวเตอร์, ทีวี หรือระบบโฮม ออโตเมชั่น ฯลฯ ทำให้ตัว router ซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจ่ายสัญญาณเน็ทเวิร์คให้กับอุปกรณ์ทั้งหมดมักจะถูกติดตั้งไว้ในจุดที่อุปกรณ์อื่นๆ สามารถเข้าถึงได้ง่าย อย่างเช่น ในห้องควบคุมระบบสื่อสารของบ้าน (บ้านใหญ่ๆ จะมี) หรือบริเวณห้องรับแขกของบ้าน ซึ่งในกรณีนั้น จึงจำเป็นต้องลากสาย Ethernet (สาย LAN) จาก router ไปที่ชุดเครื่องเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ไกลจากห้องรับแขกไปมากหลายเมตร ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้เกิดปัญหา latency หรือความผิดพลาดของข้อมูลเสียงทางด้าน “เวลา” (clock) และมีโอกาสที่สาย LAN จะทำตัวเป็นเสาอากาศรับคลื่นรบกวน RF และคลื่นความถี่สูงจากภายนอกเข้ามาในตัวสายและแพร่กระจายไปถึงอุปกรณ์ network player ในระบบ มีผลให้เสียงแย่ลง
ซึ่งการลงทุนกับ NuPrime Omnia SW-8 ด้วยเงินหมื่นกว่าบาท เมื่อเทียบกับคุณภาพเสียงที่ได้ยินออกมาจากซิสเต็มเดิมแล้ว จากประสบการณ์ของผม ต้องขอบอกเลยว่า โค–ตะ–ระ คุ้มเลยครับ! ส่วน LPS-205 ช่วยเพิ่มน้ำหนักเสียงกับความต่อเนื่องขึ้นมาอีกประมาณ 10-15% /
>>26 โคตรมั่วชิบหายนี่มันสัญญาณ Digital จะมีคลื่นแทรกอะไรก่อน ใช้ตรรกะนี้งั้นตอนมึงกดโหลดไฟล์เพลงจากในเน็ตเสียงมันไม่ชิบหายก่อนเหรอ เพราะมันต้องขึ้นไปผ่านอวกาศไปบนดาวเทียมเจอโคตรคลื่นพลังงานยิ่งกว่า RF อีก ขอบอกว่าใครเชื่อบทความแบบนี้แม่ง โค-ต-ระ โง่บัดซบชิบหายเกใือนแค่เอาศัพท์เทคนิคมาพล่ามแบบโง่ๆเพื่อให้ทันดูน่าเชื่อถือแต่ความจริงแล้วแม่งมั่วทั้งเพ ทำตัวเซลขายของหลอกลวงผู้บริโภคโฆษณาเกินจริงชิบหาย
>>29 พูดง่ายๆ ก็คือว่า ฮาร์ดแวร์ NUC ที่อยู่ในร่างของ nucleus และ nucleus+ ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์จิ๋ว NUC ที่วางขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่เป็น NUC ที่ทาง intel ทำการ custom ให้ตามความต้องการของ roon นั่นเอง.!
จากภาพประกอบของการเชื่อมต่อ nucleus+ ด้านบน จะเห็นว่า องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นต้องมีก็คือ Router ซึ่งมีหน้าที่เป็นเหมือน “ศูนย์กลาง” ของการเชื่อมต่อ คุณต้องมี Router ถึงจะสามารถใช้งาน nucleus+ ได้ และผมแนะนำให้คุณเลือกใช้ Gigabit Router ที่มีประสิทธิภาพสูงสักนิด ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะ Router จะทำหน้าที่เหมือนศูนย์ควบคุมจราจรที่ดูแลการรับ–ส่งข้อมูล (เสียงและดาต้า) ให้วิ่งไป–มาบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์นั่นเอง ถ้า Router มีความเร็วสูง การรับส่งข้อมูลเสียงในระบบเครือข่ายระหว่างต้นทางและปลายทางก็จะไม่มีการ delay เสียงก็จะออกมาดี
ผลจากการทดลองเทียบกัน สิ่งแรกผมพบว่า nucleus+ แสดงข้อมูลเพลงขึ้นมาบน Library ได้เร็วกว่า Mac mini ของผมมาก รู้สึกได้เลย (จาก ext.HD ลูกเดียวกัน) จากนั้นก็เป็นเรื่องของเสียง ซึ่ง nucleus+ ให้พื้นเสียงที่เปิดโล่งมากกว่า Mac mini ของผมในระดับที่รู้สึกได้หลังจากฟังเพลงต่างๆ ผ่านไปสักระยะหนึ่ง และเป็นจังหวะที่ผมทดลองฟังเพลงแนวคลาสสิกคือจังหวะที่ผมรู้สึกได้ชัดว่า nucleus+ แสดงรายละเอียดของเสียงดนตรีที่อยู่ถัดๆ ลงไปในซาวนด์สเตจด้านลึกที่ให้ความเด่นชัดมากกว่า ในแง่ระยะความลึกของตำแหน่งเลเยอร์ของดนตรีนั้นผมฟังว่าไม่ต่างกันมาก แต่ที่ต่างกันรู้สึกได้ก็คือความรู้สึกว่า ณ ตำแหน่งของเสียงดนตรีที่อยู่ลึกลงไปด้านหลังของเวทีเสียงนั้นมันมีความอบอวลของ “บรรยากาศ” แผ่ล้อมและห่อหุ้มเสียงดนตรีนั้นเอาไว้
>>31 หลังจากทดลองฟังมานานแรมเดือน ผมว่าผมชอบเสียงของสายไฟเอซีเส้นนี้นะ คือว่าสายไฟเอซีบางเส้นนั้น พอใส่มันเข้าไปในซิสเต็มแล้ว มันแสดงอาการเบ่งกล้ามให้เห็นทันทีด้วยการ boost ความถี่บางความถี่ขึ้นมาให้โด่งล้ำนำหน้าความถี่อื่นๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นความถี่ในย่านทุ้ม ซึ่งผมคิดว่า น่าจะเป็นเพราะคนทำเขาจูนเสียงมาแบบนั้น อาจจะมีความเข้าใจผิดๆ ที่ว่า สายไฟเอซีที่ดีเสียบเข้าไปแล้วเบสต้องบึ้ม.. แหลมต้องเฟี้ยว อะไรแบบนี้ ซึ่งจริงๆ แล้ว สายไฟที่ดีมีหน้าที่แค่ 2 อย่างที่มันต้องทำให้ดีที่สุด อย่างแรกคือ > ป้องกันสัญญาณรบกวนให้ได้มากที่สุด และสอง > ทำหน้าที่เป็น “สะพานไฟ” ที่ดี คือทำหน้าที่นำพาไฟฟ้าจากปลั๊กต้นทางไปส่งให้กับเครื่องเสียงที่ปลายทางได้ตามที่เครื่องเสียงต้องการโดยไม่ตกหล่น แค่นี้ก็พอแล้ว ไม่ควรเข้าไปยุ่งกับบุคลิกเสียง เพราะจะทำให้เกิด “คัลเลอร์” กับเสียงเพลงที่เราฟัง
และนี่คือเหตุผลที่ผมชอบเสียงของสายไฟเอซี Essence 1 ตัวนี้ คือมันทำให้ผมได้ยินเสียงของเพลงออกมา “อย่างที่เพลงนั้นควรจะเป็น” ไม่ได้พยายามไปปรุงแต่งเสียงของเพลงที่ผมกำลังฟังให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับของมัน /
>>33 จากประสบการณ์ของผม ผมพบว่า ระหว่าง “สายไฟแถมมากับเครื่อง” กับ “สายไฟอัพเกรด” ที่แบรนด์ต่างๆ ทำออกมามักจะให้ผลลัพธ์กับเสียงต่างกันอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือ “เพิ่มพลังให้กับเสียง” ซึ่งสายอัพเกรด (ที่ดี) จะให้เสียงที่มีพลังดีดตัว พลังความกระแทกกระทั้น และพลังอัดฉีดของไดนามิกที่เหนือกว่าสายไฟแถมมากับเครื่อง ซึ่งประเด็นนี้ฟังไม่ยาก แค่ถอดสลับฟังเทียบกันสอง–สามครั้งก็พอฟังออกแล้ว อย่างที่สองที่สายไฟอัพเกรด (มักจะ) ทำได้ดีกว่าสายไฟแถมก็คือ “ให้ความสะอาดกับเสียง” ประเด็นนี้อาจจะฟังยากหน่อย ต้องลองสลับฟังเทียบด้วยชุดเครื่องเสียงที่มีคุณภาพสูงหน่อยและเซ็ตอัพลงตัวจริงๆ ถึงจะ “รับรู้” ได้ชัด ผมตั้งใจใช้คำว่า “รับรู้” แทนคำว่า “ได้ยิน” เพราะความสะอาดของเสียงมันไม่ได้มีตัวตนของมันออกมาให้เราได้ยิน แต่ผลของมันจะทำให้เรา “รับรู้” ถึงการมีอยู่ของ “รายละเอียด” เสียงได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะรายละเอียดของเสียงที่ระดับความดังต่ำๆ (Low Level Resolution) ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถในการป้องกัน noise จากภายนอกแทรกซึมเข้ามาในตัวสายนั่นเอง ซึ่งสังเกตได้ว่า สายไฟอัพเกรดจะมีโครงสร้างของระบบชีลด์ที่แน่นหนากว่าสายไฟแถมมาก
>>36 สิ่งที่สายไฟ NEPTUNE เส้นนี้แสดงออกมาให้เห็นก็คือพลังเสียงที่เกลี่ยออกไปในทุกความถี่ ผมพบว่า สายไฟเอซีเส้นนี้ทำให้เกิดอาการ “เด้งดึ๋ง” ขึ้นกับทุกความถี่เสมอกัน นั่นไม่แค่ทำให้เสียงเบสมีพลังมากขึ้น แต่ทำให้ “เวทีเสียง” มีลักษณะขยายตัวโป่งพองออกไปรอบด้านด้วยเพราะพลังเสียงที่สายไฟเส้นนี้ถ่ายทอดออกมามันไปเกิดขึ้นกับความถี่ในย่านกลางและแหลมด้วยนั่นเอง
สายไฟเอซีรุ่น Diamond Revision “NEPTUNE” ของ Purist Audio Design ตัวนี้มีคุณสมบัติที่ “หายาก” อยู่ในตัว คือมันให้ค่าเฉลี่ยระหว่าง “พลัง” กับ “ความเนียน ลื่นไหล” ที่พอดีๆ ไม่บู๊สต์เสียงย่านใดย่านหนึ่งออกมามากเกินไป เมื่อใช้กับแอมป์มีผลให้ทุกย่านเสียงถูก enhance ขึ้นมาทั้งหมด เหมือนลูกโป่งที่ถูกเป่าลมเข้าไปจนพองตัวออกไปรอบด้าน นั่นคือที่มาของมิติ–เวทีเสียงที่ดีขึ้น
หลังจากทดสอบมาเป็นเวลานาน ทดลองฟังกับซิสเต็มที่หลากหลาย ผมพบว่า Diamond Revision “NEPTUNE” เส้นนี้ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมากในความเห็นของผม มันให้ผลทางเสียงที่โดดเด่นชัดเจนไปในแนวทางของมัน กรณีที่คุณต้องการปรับจูน “เสียงกลาง” ของซิสเต็มให้มีความนุ่มหวานมากขึ้น สายไฟเอซีเส้นนี้จะให้ผลลัพธ์ตรงความต้องการมากที่สุด แนะนำให้หาโอกาสทดลองฟังสายไฟเอซีเส้นนี้ให้ได้ถ้าคุณตั้งงบประมาณในการอัพเกรดสายไฟเอซีไว้ในระดับเฉียดๆ 100K /
มีใครใช้จุกspinfitบ้าง มันดีอย่างที่เขาว่ามั้ย ราคามันก็เอาเรื่องอยู่
ใช้อยู่ทั้งสองอันครับ
spiral dot เสียงจะเปิดกว่า กว้างกว่า แหลมไปไกลกว่า
Spinfit อย่างแรกสำหรับผมเลยคือใส่สบายกว่าเยอะ มวลเบสเยอะกว่า jvcจะเบสกระชับกว่า
ตอนเริ่มต้นขณะที่ซิสเต็มยังไม่ซับซ้อนมาก มีเครื่องเสียงแค่ไม่กี่ชิ้นในระบบ สายเชื่อมต่อต่างๆ อย่างเช่นสายสัญญาณและสายไฟเอซี ก็ยังมีอยู่แค่ไม่กี่เส้น ซึ่งคนที่ซีเรียสเรื่องคุณภาพเสียงมักจะหาวิธีจัดวางสายเชื่อมต่อเหล่านั้นไว้อย่างเป็นระเบียบ ที่สำคัญคือไม่ให้สายไฟกับสายสัญญาณแตะโดนกัน เพราะมันส่งผลรบกวนคุณภาพเสียง
.
แต่พอซิสเต็มขยายใหญ่ขึ้น มีอุปกรณ์เครื่องเสียงเข้ามาสมทบมากขึ้น ก็เริ่มต้องมีชั้นวางเครื่องเสียงเข้ามาใช้เพื่อแยกเครื่องแต่ละตัวให้ห่างออกจากกัน หวังผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานอย่างเต็มที่ และป้องกันการรบกวนระหว่างกันไปในตัว ทว่า พอเครื่องเสียงมากชิ้น ทำให้สายต่อเชื่อมต่างๆ ก็เพิ่มจำนวนเข้ามาด้วย ถึงตอนนี้ การจัดระเบียบให้กับสายสัญญาณและสายไฟเอซีก็เริ่มมีปัญหา ทำได้ยากขึ้น… ถ้าแก้ไขอะไรไม่ได้ก็ต้องยอมปล่อยสายไฟเอซีกับสายสัญญาณแตะโดนกันนัวเนียไปหมด
.
Solid Tech เป็นแบรนด์ที่มีความละเอียดลึกซึ้งมาก ผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาคิดค้นผลิตออกมามันสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจเกี่ยวกับการเล่นเครื่องเสียงอย่างชัดเจน เห็นได้จากอุปกรณ์เสริมตัวใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า “Cable Rack” ที่พวกเขาประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความรุงรังของสายสายสัญญาณ, สายลำโพง และสายไฟเอซีได้อย่างตรงประเด็นมากที่สุด Cable Rack เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ล็อคยึดสายเชื่อมต่อต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังของตัวเครื่องไม่ให้ทับสุมกันอย่างไร้ระเบียบ ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้พื้นที่ด้านหลังชั้นวางเครื่องเสียงดูเป็นระเบียบเรียบร้อยแล้ว Cable Rack ตัวนี้ยังช่วยลดปัญหาการรบกวนสัญญาณเสียงที่เกิดขึ้นจากการเหนี่ยวนำของสายไฟเอซีที่พาดแตะอยู่กับสายสัญญาณได้ด้วย
.
การทำงานของ Cable Rack ก็ง่ายๆ ตรงไปตรงมา โครงสร้างของมันประกอบด้วยแท่งโลหะ (C) กับเส้นฟองน้ำเนื้อแน่น (A, B) ที่ใช้กดทับสาย โดยมีน็อตเกลียวขันลงบนแท่งโลหะกดทับลงไปบนเส้นฟองน้ำเพื่อล็อคสายเอาไว้ (ดูจากภาพประกอบ) คุณสามารถต่อตัว Cable Rack ขึ้นไปในแนวสูงได้หลายชั้น ตามความสูงของชั้นวางเครื่องเสียงของคุณ ซึ่งเป็นประดิษฐกรรมใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ัปัญหาที่เกิดขึ้นมานานได้เป็นผลสำเร็จ …
ผมทดลองฟังเสียงของชุดสตรีมเมอร์ที่ไม่มีตัว network switch เข้าไปอยู่ในระบบก่อน ปลดออกหมดทุกจุด ต่อสาย LAN จาก nucleus+ และจาก NAS ตรงเข้าที่ router ผ่านทางจุดรับสาย LAN บนผนังห้องตามภาพด้านบน ซึ่งบอกเลยว่า ไม่ต้องฟังนาน เพราะที่ผ่านมาผมฟังแบบมีตัว network switch คั่นอยู่ทุกช่วงระหว่างจุดรับสาย LAN บนผนังกับอุปกรณ์เน็ทเวิร์คมานานเป็นปีแล้ว พอปลดตัว network switch ออกไปจากระบบ เสียงโดยรวมแย่ลงมากกว่า 20% น้ำหนักเสียงบางเบาลงไป ฐานเสียงไม่แน่น ฟังแล้วเสียงมีลักษณะลอยๆ การย้ำเน้นน้ำหนักกระแทกของหัวเสียงหายไปเยอะ โฟกัสก็เหมือนจะมีอาการเบลอมัวลงไป รสชาติของเพลงจืดชืดลงไปเลย
หลังจากเอาตัว Silent Switch OCXO เข้าไปเชื่อมต่อในระบบ เสียงโดยรวมก็มีลักษณะที่ “เปิดโล่ง” มากขึ้นทันที พื้นเสียงใสขึ้น จากนั้นก็ส่งผลต่อเนื่องมาที่ “ความกระจ่างชัด” ของแต่ละเสียงที่เด้งตัวออกมาให้ได้ยินมากขึ้น อาการเบลอๆ มัวๆ ของโฟกัสก็ทุเลาลงไป ทำให้รับรู้ถึงตำแหน่งของตัวเสียงได้ชัดขึ้น
ผมทดลองสลับไป–มาอยู่ 3-4 รอบ ระหว่าง “ใส่” กับ “ไม่ใส่” ตัว Silent Switch OCXO เข้าไปในระบบ โดยใช้เพลง The Power Of Love เพลงนี้เพลงเดียวในการฟังตัดสินก็เพียงพอที่จะสรุปผลได้เลยว่า ถ้าไม่มีตัว Silent Switch OCXO เข้ามาอยู่ในซิสเต็มนี้ ผมต้องสูญเสียคุณภาพเสียงของชุดนี้ไปไม่ต่ำกว่า 20% ที่แย่ที่สุดก็คือ “อารมณ์ของเพลง” ซึ่งตอนมี Silent Switch OCXO ติดตั้งอยู่ในระบบเน็ทเวิร์ค ยิ่งฟังนานยิ่งได้อารมณ์ที่ซึมลึกลงไปเรื่อยๆ แต่พอปลดเอาตัว Silent Switch OCXO ออกไปจากระบบ ผมพบว่า อารมณ์เพลงมันจะชืดลงไปทันที พอฟังไปนานๆ จะเริ่มรู้สึกเบื่อ เป็นผลมาจากไดนามิกคอนทราสน์ที่แย่ลงตอนไม่มีตัว Silent Switch OCXO อยู่ในระบบนั่นเอง (***ไดนามิกคอนทราสน์นี่แหละคือหัวใจของความเป็นดนตรี!)
หลังจากทดสอบตัว Silent Switch OCXO ตัวนี้ไปแล้ว ผมก็ยิ่งมั่นใจกับข้อสรุปที่ว่า อุปกรณ์ประเภท Network Switch เป็นอุปกรณ์เสริมที่ “จำเป็น” สำหรับชุดสตรีมมิ่งที่ต้องการ “คุณภาพเสียง” ที่ดี และจากการทดลองฟังเปรียบเทียบระหว่างตัว Silent Switch OCXO กับ Bonn N8 ที่ผมใช้อยู่เดิม พบว่าตัว Silent Switch OCXO ทำให้เสียงของซิสเต็มออกมาดีกว่าตัว Bonn N8 ขึ้นไปอีกหลายเปอร์เซ็นต์ ทำให้พอจะได้แนวทางว่า อุปกรณ์ประเภทเน็ทเวิร์ค สวิทช์ก็มีระดับขั้นของคุณภาพที่ลดหลั่นกันไปตามระดับราคาลักษณะเดียวกับอุปกรณ์เครื่องเสียงประเภทอื่นๆ เหมือนกัน ใครมีงบถึงสามหมื่นกว่าก็มาที่ตัว Silent Switch OCXO ได้เลย /
ในบางครั้งผมก็พบว่า การยกสายไฟเอซี, สายสัญญาณ รวมถึงสายเชื่อมต่อสัญญาณรูปแบบต่างๆ ไม่ให้แตะพื้นและไม่ให้แตะต้องกันเอง มันส่งผลกับเสียงมากจนรู้สึกได้ทันที แต่ก็มีบางครั้งที่ผมพบว่า การทำเช่นนั้นมันส่งผลต่อเสียงน้อยมากจนสังเกตยาก.. เป็นไปได้มั้ยว่า การยกสายต่างๆ ให้ลอยจากพื้นอาจจะไปสอดคล้องกับ "ปัจจัย" บางอย่างที่เกิดขึ้นในซิสเต็มด้วย คือถ้ามีปัจจัยเหล่านั้นอยู่ในซิสเต็มแล้วเรายกสายลอยจากพื้นมันจะเสริมกันให้เกิดผลกับเสียงมากจนฟังออกถึงความแตกต่างได้ง่าย..?? แต่ถ้าไม่มีปัจจัยนั้นเกิดขึ้นในซิสเต็ม หรือมีอยู่น้อย เมื่อเรายกสายลอยจากพื้นก็อาจจะไม่มีผลกระทบกับเสียงมาก.?
ความสนุกของการเล่นเครื่องเสียงก็คือการค้นหาและทดลองทำอะไรกับซิสเต็มของเราเองนี่แหละ ลองแล้วฟัง เก็บสังเกตผลของมันเอาไว้ บางอย่างอาจจะส่งผลเยอะ ในขณะที่บางอย่างอาจจะส่งผลน้อย แต่สิ่งที่ได้แน่ๆ คือประสบการณ์ในการฟังแบบ "แยกแยะ" (critical listening) ที่ประสาทหูของเราจะถูกฝึกฝนให้มีความละเอียดมากขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว จากฟังไม่ออก วันหนึ่งคุณจะฟังออก แม้ว่าความแตกต่างจะน้อยแค่ไหนก็ตาม
ลำโพงคอมมันต้องวางยังไงให้ถูกวิธีนะ บางคนเค้าก็ว่าให้หาของมารองให้ลำโพงซ้ายขวามันเชิดขึ้นเสียงจะได้เข้าหูเราได้ชัดเจนกว่าเดิม ส่วนตู้ซับให้วา
งพื้น อันนี้คือวิธีที่ถูกต้องที่สุดใช่มะ
>>45 แนะนำสำหรับคนที่ต้องการปรับแต่งด้วยการวัดค่าจริงๆ
https://www.roomeqwizard.com/
ผลทางเสียงที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้งานตัว Mellow-E กับอุปกรณ์เครื่องเสียงประเภทที่ไม่มีระบบแมคคานิกที่เคลื่อนไหว อย่างพวกปรีแอมป์, เพาเวอร์แอมป์ และ external DAC ผมพบว่าผลนั้นมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ อย่างเช่น ตอนที่ผมทดลองเอา Mellow-E ไปรองใต้อินติเกรตแอมป์ Quad รุ่น Vena II Play ผมสาระวนกับการทดลองขยับเลื่อน Mellow-E ทั้งสามก้อนที่อยู่ใต้เครื่องไปๆ มาๆ อยู่นาน วนไปวนมาแล้วทดลองฟังเสียงอยู่หลายตำแหน่ง เนื่องจากตัว Vena II Play ไม่ได้จัดวางทรานฟอร์เมอร์ไว้ตรงกลางของตัวเครื่อง แต่เอียงไปทางด้านซ้าย (หันหน้าเข้าหาตัวเครื่อง) การขยับตำแหน่งวางก้อน Mellow-E ในตำแหน่งต่างๆ กันจะส่งผลต่อเสียงออกมาไม่เหมือนกัน ฟังออกค่อนข้างชัด ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองวางใต้อินติเกรตแอมป์ตัวนี้มีทั้งแง่ดีและแง่ด้อย ในแง่ดีอย่างแรกคือ โฟกัสของเสียงจะนิ่งมากขึ้น กลางและแหลมลอยตัวขึ้นมามากขึ้น เหมือนกว่าพื้นเสียงจะใสขึ้นด้วย ทำให้ผมได้ยินว่ามีความถี่ในย่านกลางเพิ่มมากขึ้น เสียงโดยรวมฟังดูมีความหนาแน่นมากขึ้น แต่ข้อด้อยที่เกิดขึ้นกับการรองใต้อินติเกรตแอมป์ตัวนี้ก็คือ ปลายเสียงทุ้มมีลักษณะที่หดสั้นลงกว่าเดิมนิดนึง น้ำหนักเบสเบาลงนิดนึง จะสรุปว่าเสียงทุ้มมีความกระชับเก็บตัวมากขึ้นก็ได้นะ แต่ในซิสเต็มนี้ผมมองว่ามันเก็บปลายเสียงทุ้มมากไปหน่อย ถ้าจะให้น่าพอใจมากกว่านี้ ผมจะต้องทดลองแม็ทชิ่งพวกสายสัญญาณกับสายลำโพงเพิ่มเติมเพื่อปรับจูนเสียงทุ้มให้มีลักษณะที่น่าพอใจมากขึ้นโดยยังคงข้อดีที่ได้จากการรองด้วย Mellow-E เอาไว้นั่นคือพื้นเสียงที่สะอาดใสมากขึ้นกับเสียงทุ้มที่เก็บตัวดีขึ้น ซิสเต็มของใครที่กำลังรู้สึกว่า โดยรวมแล้วเสียงกลาง–แหลมไม่ค่อยโปร่งลอย เบสฟุ้ง ตัวเบสไม่แน่น หางเบสไม่รวบกระชับ ก้อน Mellow-E น่าจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้ได้
ซึ่งสายแลนธรรมดาให้เสียงแหลมของแทรคนี้ออกมาในลักษณะที่ฟังแล้วรู้สึก “รกหู” แต่พอเปลี่ยนเป็นสายแลนของ Fuse Audio เส้นนี้เข้าไปปรากฏว่าอาการรกหูลดน้อยลงไปมาก ฟังคล่องหูมากขึ้น เสียงแหลมที่ออกมาก็ยังมีลักษณะที่เปิดกระจ่างเหมือนเดิม แต่เนื้อมวลของเสียงแหลมเหล่านั้นมีความสะอาดมากขึ้น อาการซี๊ดซ้าดที่เกาะมากับปลายเสียงแหลมหายไปเยอะ และเมื่อฟังต่อเนื่องไปอีกผมก็พบว่า ผมพลอยได้จากเสียงแหลมที่สะอาดขึ้นนั้นส่งผลให้ผมได้ยินรายละเอียดของเสียงกลางที่ชัดเจนมากขึ้นด้วย นอกจากนั้นก็คือช่องไฟที่เป็นระยะห่างของชิ้นดนตรีก็ปรากฏออกมาให้รับรู้ได้มากขึ้น เปิดเผยรายละเอียดในส่วนที่เป็นฮาร์มอนิกให้เด้งออกมามากขึ้น รู้สึกได้เลยว่า อาการซี๊ดซ้าดของเสียงในย่านแหลมที่สาย LAN ธรรมดา (เส้นสีฟ้าๆ) ให้ออกมามันไปกลบทับอะไรหลายๆ อย่างลงไป
หลังจากฟังอีกหลายๆ ในอัลบั้มนี้เทียบกันระหว่างสายแลนธรรมดากับสายแลนของ Fuse Audio ผมพบว่า เมื่อผมทดลองเพิ่มวอลลุ่มของแอมป์ขึ้นมาเพื่อดึงน้ำหนักเสียงของให้ออกมามากขึ้น ตอนใช้สายแลนธรรมดาผมเปิดดังขึ้นได้อีกไม่มากก็จะรู้สึกรำคาญหูซะก่อน ในขณะที่ตอนฟังผ่านสายแลนของ Fuse Audio ผมสามารถเร่งเสียงเพื่อดังน้ำหนักเสียงขึ้นไปได้มากกว่าก่อนจะเริ่มรู้สึกรำคาญ ซึ่งการทดลองของผมครั้งนี้ทำให้รู้ว่า สายแลนของ Fuse Audio ให้เสียงที่มีความสะอาดมากกว่าและมี noise แทรกออกมาน้อยกว่าสายแลนธรรมดานั่นเอง
จุดประสงค์ในการนำเอาตัวเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์มาใช้ในซิสเต็มก็เพื่อช่วยขจัดขยะที่เข้ามารบกวนระบบไฟของซิสเต็ม ซึ่งผลลัพธ์ของมันจะส่งผลกับเสียง 2-3 ด้านขึ้นอยู่กับการออกแบบ อย่างแรกสุดคือ “ความสะอาดของพื้นเสียง” เนื่องจากพื้นฐานหลักของอุปกรณ์เพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ก็คือ “วงจรฟิลเตอร์” ที่ช่วยกรองสัญญาณรบกวนและคลื่นรบกวนประเภท EMI, RFI รวมถึง Vibration รูปแบบต่างๆ ซึ่งหากออกแบบวงจรฟิลเตอร์ได้ดี สิ่งที่ถูกกรองทิ้งไปก็จะเป็นคลื่นรบกวนต่างๆ แต่ถ้าออกแบบมาไม่ดีพอ วงจรฟิลเตอร์ที่ใช้กรองจะตัดเอาความถี่เสียงบางความถี่ออกไปด้วย ซึ่งเราสามารถรับรู้ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ตัวเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ในซิสเต็มได้ 2 ทาง คือจากการฟัง “รายละเอียดของเสียงดนตรี” ด้วยหู และใช้ความรู้สึกสัมผัสกับ “แอมเบี้ยนต์” ที่อยู่นอกเหนือระดับการได้ยิน
ผลงานอย่างที่สองของเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ที่ออกแบบมาดีก็คือ “พลังเสียง” ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของอัตราสวิงไดนามิกที่เปิดกว้างขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของเสียงมีการเน้นย้ำน้ำหนักที่ดีขึ้น เนื่องจากวงจรไฟฟ้าในตัวอุปกรณ์เครื่องเสียงทุกตัวทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นขยะในกระแสไฟนั่นเอง
Sine S20A กับ Clef Audio PowerBRIDGE-8 เป็นเพาเวอร์ คอนดิชั่นเนอร์ที่ช่วยยกระดับเสียงให้กับซิสเต็มขนาดกลางๆ (ทั้งชุดระหว่าง 100,000 – 200,000 บาท) ได้อย่างชัดเจน คนที่รู้สึกว่าซิสเต็มของตัวเองให้เสียงที่ขาดความกระชับ หนักแน่น ไม่มีความย้ำเน้น แนะนำให้เอา S20A ไปทดลองใช้ดู แต่ถ้าชอบโทนเสียงเดิมอยู่แล้ว แต่อยากให้ได้พื้นเสียงที่สะอาดมากขึ้น ลงทุนแค่ PowerBRIDGE-8 ก็คุ้มเงินที่สุดแล้ว
หลังจากลองฟังผ่านไปแล้ว สิ่งแรกที่ผมขอสรุปก่อนเลยเพราะมันชัดเจนมากคือ สายไฟเอซีของ Clef Audio ทั้งสามเส้นนี้ให้เสียงที่ “ดีกว่าสายแถม” มาก.! หลังจากฟังสายแถมเสร็จ ถอดออกแล้วเสียบสายไฟ The PowerCable ลงไปแทนแล้วฟังเพลงเดิมซ้ำ แทบจะไม่ต้องเปลี่ยนกลับไปฟังสายแถมเลย เพราะความแตกต่างมันเด่นชัดมาก แม้แต่สายรุ่นเล็กสุดคือ The PowerCable ‘ONE’ ก็ยังฟังออกชัดว่าทุกเสียงที่อยู่ในเพลงที่ฟังมันมีมวลที่เข้มข้นมากขึ้น แต่ละเสียงมันมีรูปทรงที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น คือตอนฟังผ่านสายแถม ผมก็ได้ยินว่าในเพลงที่ฟังมันมีเสียงของอะไรอยู่ในเพลงเหล่านั้นบ้าง แต่หลังจากเปลี่ยนเอาสายไฟ The PowerCable ลงไปแทนสายแถมแล้ว จะรู้ได้เลยว่า แต่ละเสียงที่เคยได้ยินจากสายแถมมันโผล่พ้นอากาศขึ้นมาแค่ “บางส่วน” เท่านั้น ซึ่งก็คือ “อิมแพ็ค” หรือหัวเสียงที่เป็นสัมผัสแรกของเสียงนั้นๆ ที่โผล่จากอากาศขึ้นมาให้ได้ยิน ในขณะที่รายละเอียดที่เป็นส่วนของ “บอดี้” ของแต่ละเสียงจะออกมาแค่จางๆ ไม่เข้มและไม่เป็นทรง ซึ่งรายละเอียดในส่วนที่เป็น “บอดี้” ของแต่ละเสียงนั้นก็คือฮาร์มอนิกของแต่ละเสียงที่มีความสำคัญมาก เพราะฮาร์มอนิกเหล่านี้แหละที่ทำให้เรารู้ว่า เสียงแต่ละเสียงที่อยู่ในเวทีเสียงที่เราฟังอยู่นั้นเป็นเสียงของเครื่องดนตรีประเภทไหนบ้าง
จากประสบการณ์ที่เคยลองสายไฟเอซีมา ผมพบว่า เมื่อเราเปลี่ยนสายไฟเอซีที่ทำขึ้นมาพิเศษเหล่านี้เข้าไปในซิสเต็มแทนสายไฟแถมที่มากับเครื่อง จะปรากฏผลลัพธ์ออกมาอย่างหนึ่งที่คล้ายๆ กัน นั่นคือ เสียงทั้งหมดจะฟังดูมี “พลังอัดฉีด” มากขึ้น เป็นแบบนี้เหมือนกันหมด จนกลายเป็นคุณสมบัติหลักๆ ของสายไฟเอซีอัพเกรดไปเลยว่า ถ้าเป็นสายไฟเอซีที่ดี เมื่อเสียบเข้าไปในซิสเต็มแล้วจะต้องทำให้ได้เสียงที่มีพลังอัดฉีดเพิ่มมากขึ้น.. บางเส้นนั้นไปไกลถึงขนาดที่ผู้ใช้กล้าพูดเลยว่า “เหมือนเปลี่ยนแอมป์ใหม่!“
ลองจินตนาการดูว่า คนออกแบบแอมปลิฟายและอุปกรณ์เครื่องเสียงทุกชนิดที่ใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงวงจร พวกเขาจะนึกถึง “กระแสไฟฟ้า” แบบไหนที่เครื่องเสียงที่เขาออกแบบต้องการ.? กระแสไฟฟ้าที่มีคลื่นขยะรบกวน.? หรือกระแสไฟฟ้าที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากความผิดเพี้ยนใดๆ เข้ามาปะปน.? ในความเป็นจริงแล้ว คงจะไม่มีนักออกแบบเครื่องเสียงคนไหนที่ตั้งใจออกแบบอุปกรณ์เครื่องเสียงของตนให้ทำงานได้ดีกับกระแสไฟฟ้าที่มีคลื่นรบกวนเป็นแน่ ดังนั้น การทำให้กระแสไฟฟ้าที่ส่งไปเลี้ยงอุปกรณ์เครื่องเสียงมีความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากคลื่นขยะรบกวน จึงเป็น “หน้าที่” ของคนใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์เครื่องเสียงนั้นๆ ที่จะต้องจัดการกันเอาเอง “ถ้า” ต้องการให้อุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้อยู่ สามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถนะที่มันถูกออกแบบขึ้นมา
โม่งเบียวออดิโอฟาย ไม่เหนื่อยเหรอวะ copy บทความคนอื่นมาลงแล้วrole play เหมือนตัวเองเขียนเอง พอมีคนแย้ง ก็ไม่ตอบ สแปมบทความรัวๆ
เอาเป็นว่ามันคือวิทยาศาสตร์วัดค่าได้หมด อุปกรณ์ยุคนี้เยอะแยะ จะวัดคลื่นไฟฟ้าใช้ scopeจับ จะวัดเสียงเขาก็มี Audio Analyzer ขาย(แต่แพงหน่อย) คนทำงานเพลงหรือทำเครื่องมือจริงๆ เขาใช้เครื่องมือวัดหมดแล้ว ยกเว้นพวกเน้นขาย snake oil ที่จะโม้บรรยายสรรพคุณ แต่ไม่มีกราฟ ไม่มีการวัดค่าใดๆเลยว่าที่โม้น่ะจริงไหม
ไม่ต้องใช้buzz word แต่ keyword หลักของการวัดคุณภาพอุปกรณ์ในทางวิทย์ เขามี SNR,Distortion,noise floor พวกนี้วัดค่าได้หมด ไม่เห็นเคยยกมาพูดกันว่า อุปกรณ์กรองนู่นกรองนี่ ทำแล้วดีแค่ไหน ช่วยได้แค่ไหน ลดnoise ได้กี่db ฯลฯ นอกจากคำพูดบรรยายหลอกขายของ
คือถ้าคนมีเงินซื้อแหลก ซื้อเพราะไม่รู้จะซื้อไรแล้วก็ไม่ว่ากันนะ บางอันมันก็สวยดี ทนทานดี แต่บางอันก็แบบ เหมือนหลอกขายของ เคยเห็นคนใช้หูฟังราคาหลักพันต้นๆ เสียเงินไปซื้อสายอัพเกรดหลักพัน ซื้อปลั๊กกรองไฟหลายพัน แล้วมโนว่าคือการอัพเกรดระบบ คือเมิง เอาเงินทั้งหมด ขายอันเดิมทิ้งไปซื้อหูฟังดีๆอันใหม่แต่แรกดีกว่าไหม
ลำโพงก็เช่นกัน ลำโพงสองพัน สายสัญญาณพันนึง มีประโยชน์อะไรวะ บางคนไปซื้อกรองไฟอันละสองพัน แต่เสียบปลั๊กบ้านไม่มีกราวน์เสี่ยงจี่มาเชียว คือเอาเงินไปเดินสายไฟใหม่ลงกราวน์ดีกว่ามั๊ง
หูตัวเองก็เช่นกัน บางทีก็อย่าเชื่อมาก ฟังตอนเช้า ตอนสาย ตอนเย็น เชื่อว่าเมิงได้ยินไม่เท่ากัน เพราะสภาพร่างกายเป็นหลักเลย รวมถึงอารมณ์ ยิ่งซื้อของใหม่แพงๆมานะ มันมโนไปแล้วว่าเสียงดีแน่ๆล่ะ สายสัญญาณดีๆนี่ความต้านทานต่ำ เพลงก็ดังขึ้นกว่าสายเดิม เฮ้ยเสียงดีขึ้น(ก็โวลุ่มมันไม่เท่ากัน)
หูเรานี่แหละที่ไม่เที่ยงที่สุดแล้ว มันเลยต้องการเครื่องมือวัดมาเปรียบเทียบไง
กรูเห็นห้องนี้ห้องเพลง อยากจะแนะนำ ไม่ต้องหลงซื้อตามกระแส อยากฟังเพลงให้เหมือนที่คนทำเพลงได้ยิน ก็ซื้ออุปกรณ์ที่คนทำเพลงใช้ สาย studio monitor ไม่ว่าหูฟังลำโพง แพงกว่าสายgamerหน่อย แต่ถูกกว่าสายออดิโอไฟล์ ให้งบ 80% ไปกับอุปกรณ์ปลายทาง ไม่ว่าลำโพงหูฟัง แล้วอีก 20% ไปลง source เช่น dac amp ซื้อเอาที่รีวิวทดสอบได้มาตรฐาน SNR 100db ขึ้น ถ้างบน้อยกรูแนะนำ apple usb type C to 3.5mm SNR 99dB ดีกว่าหางหนูเทพบางตัวอีก ส่วนสายสัญญาณมีเงินเหลือๆค่อยซื้อเพิ่มตามความสวยงาม สายแถมน่ะดีผ่านขั้นต่ำอยู่แล้ว แค่อาจจะสั้นไปหรือไม่สวยงาม
แต่ข้อเสียของการฟังเพลงแบบที่คนทำเพลงได้ยิน คือบางทีไม่สนุก เพราะมันneutral เบสไม่ตึ๊บๆ แต่เมิงจะได้ยินเสียงเครื่องดนตรีครบ เสียงร้องที่แท้จริงของนักร้อง เอาเป็นว่าถ้าเมิงเคยไปดูการแสดงสด concert ที่จัดได้มาตรฐาน(เน้นวงระดับinter หรือไม่ก็ดนตรีสด) เมิงจะเข้าใจเพลงที่ควรได้ยินจริงๆมันเป็นยังไง
ถ้าพวกมึงฟัง Spotify กันเป็นหลัก กูว่าใช้หูฟังถูกๆก็พอแล้วว่ะ
เอาคบทความมา ให้โม่งด่า>>โม่งโดนฟ้อง
ตรรกะอะไรเมิงวะ??? ถถถถ+
เหยดเข้ เหมือนตอนดราม่าสายแลนเทพเลย พวกหูทองแม่งเย้วๆจะฟ้องกันใหญ่ บังอาจมาดูหมิ่นสายแลนเทพ
ซื้อหูฟังไรดี
ก่อนเมิงจะซื้อหูฟัง ให้หมอดูดขี้หู แล้วเมิงจะได้หูฟังใหม่ ที่ไม่ต้องส่งเคลม
เพราะแคะเอง มันออกไม่หมดแถมดันเข้าไปอีก
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.