จะว่าไปผลงานของเจ๊ซูซานหว่องนี่เป็นระดับ must have ของวงการนักเล่น hires บ้านเราสินะ
แต่สำหรับกูๆว่าเฉยๆหว่ะ องค์ประกอบเพลงมันรีดลำโพงให้เค้นมาทุกย่านเสียงก็จริงแต่ฟังแล้วไม่รู้สึกเพราะเลย
ถ้าสรุปแบบอคติหน่อยคือบางคนมันเน้นฟังเสียงไม่ได้ฟังเพลง
Last posted
Total of 107 posts
จะว่าไปผลงานของเจ๊ซูซานหว่องนี่เป็นระดับ must have ของวงการนักเล่น hires บ้านเราสินะ
แต่สำหรับกูๆว่าเฉยๆหว่ะ องค์ประกอบเพลงมันรีดลำโพงให้เค้นมาทุกย่านเสียงก็จริงแต่ฟังแล้วไม่รู้สึกเพราะเลย
ถ้าสรุปแบบอคติหน่อยคือบางคนมันเน้นฟังเสียงไม่ได้ฟังเพลง
ใช่ไอ้พวกที่บอกว่า HDD จานหมุนกับ HDD แบบ SSD ให้เสียงต่างกันป่ะ ทุกวันนี้โลกจะไปถึงเรื่อง UFO มนุษย์ต่างดาวกันแล้วนี่มึงยังดักดานกันอยู่แค่นี้เหรอวะ 55555+ วันหลังก็จุดธูปกราบไหว้ System ก่อนใช้งานนะเผื่อเสียงมันอาจจะดีขึ้น 55555+
>>2 บางเรื่องมันก็เกินไป อย่างไม่ให้สายไฟแตะพื้นเดี๋ยวเสียงจะเพี้ยน สายแลนแพงให้เสียงดีกว่าสายแลนถูก หลายๆเรื่องมันชักจะเป็นวิทยาศาสตร์เทียมไปละ เคยเจอเว็บนึงให้คนที่ใช้คอมลงโปรแกรมจูนวินโดวส์ให้กินทรัพยากรเครื่องน้อยที่สุดจนแทบจะเป็นเซฟโหมด ซีพียูจะได้ทำงานน้อยไม่มีสัญญาณไปรบกวนชิปการ์ดเสียง
งบไม่เกินหมื่นตอนนี้เล่นลำโพงตัวไหนดีคับ ไม่ต้องมีบลูทูธก็ได้คับเน้นต่อคอม ชอบแนวเสียงใสเบสนุ่ม ฟังเพลงทุกแนวแต่เน้นป็อปร็อคเป็นหลักคับ
หลังจากสาย CAT8 ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่องมานานเกิน 100 ชั่วโมง ใกล้ๆ 200 ชั่วโมงผมก็เริ่มทดลองฟังเทียบกับสาย CAT6a เดิม พบว่า สาย CAT8 ให้เสียงที่ดีกว่าใน “ทุกด้าน” แม้ว่าในช่วงแรกที่เปลี่ยนสาย CAT6a ลงไปแทน CAT8 ผมได้ยินว่าเสียงโดยรวมมีลักษณะที่นุ่มลง แต่จริงๆ แล้ว เสียงในย่านแหลมมันถูกฟิลเตอร์หายไป ไม่เปิดกระจ่างออกมา ทำให้เสียงโดยรวมมีลักษณะที่อึมครึม และสาย CAT6a ก็ให้อัตราสวิงของไดนามิกเร้นจ์แคบกว่า ทำให้ความสดของเสียงไม่แสดงตัวออกมาอย่างเต็มที่ เมื่อเปลี่ยนเอา CAT8 ลงไปแทน อาการอึมครึมที่ปกคลุมเสียงทั้งหมดหายไป ความถี่ด้านบนเปิดกระจ่างขึ้น ส่งผลให้รายละเอียดของโน๊ตในย่านสูงเผยตัวออกมาได้อย่างเต็มที่ ไดนามิกเร้นจ์และไดนามิกคอนทราสน์ดีขึ้นมาก สวิงตัวได้เต็มสเกลมากขึ้น “โดยไม่มี” อาการแสบหู
จริงๆ แล้ว ไม่ใช่แค่เสียงแหลมที่เปิดกระจ่างมากขึ้น เสียงกลางกับเสียงทุ้มก็เปิดกระจ่างออกมามากขึ้นเช่นกัน แต่เนื่องจากเปอร์เซ็นต์ที่เกิดกับเสียงแหลมมันเยอะกว่าและหูของเราก็ไวกับเสียงแหลมมากกว่าความถี่อื่น จึงรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่า สรุปแล้ว สาย Ethernet CAT8 ที่คุณอึ่งเอามาให้ผมทดลองฟังมันมีผลช่วยอัพเกรดเสียงของซิสเต็มที่ผมใช้ทดสอบมากเกิน 20% รับรู้ได้ชัดเจนถึงลักษณะของเสียงที่เปิดและโล่งมากขึ้น เป็นความเปิดโล่งที่เกิดจากพื้นเสียงที่ทีความโปร่งใส (transparent) มากขึ้น เมื่อเทียบกับใช้สาย Ethernet CAT6a ตัวเดิม
มีคนบอกว่าริปซีดีออกมาเป็นไฟล์ WAV เสียงดีกว่า FLAC จริงหรือครับ.? เพราะอะไร ในเมื่อ FLAC ก็เป็นไฟล์ Lossless?
----------
คำตอบคือ "จริง" ส่วนเหตุผลที่ริปซีดีออกมาเป็นไฟล์ WAV แล้วให้เสียงดีกว่า FLAC เป็นเพราะว่า เมื่อเลือกไฟล์ WAV ในการริปเพลงจากแผ่นซีดี ตัวโปรแกรมริปแผ่นจะทำการก๊อปปี้สัญญาณเพลงที่อยู่ในแผ่นซีดีออกมา "ทั้งหมด" โดยไม่มีการตัดทอนส่วนใดทิ้ง สัญญาณที่ริปออกมาจากแผ่นซีดีจะเป็นสัญญาณ PCM 16/44.1 ที่มีจำนวนบิตข้อมูลเสียงครบถ้วนตามที่ถูกบันทึกอยู่บนแผ่น และถูกแพ็คเข้าไปในแพ็คเกจของ WAV ทั้งหมดนั้น และสัญญาณเสียงเหล่านั้นจะถูกส่งผ่านไปบนคอมพิวเตอร์ด้วยอัตราความเร็วอยู่ที่ 1411kbps ตรงตามมาตรฐานของซีดี
.
ส่วนการริปเพลงจากแผ่นซีดีแล้วเลือกเอ๊าต์พุตจากโปรแกรมริปแผ่นให้ออกมาเป็นไฟล์ FLAC นั้น แม้ว่าตัวฟอร์แม็ตจะระบุชื่อว่าเป็นไฟล์แบบ Lossless (FLAC = Free Lossless Audio Coding) คือไม่มีความสูญเสียเกิดขึ้นในขั้นตอนเข้ารหัส (endcode), ขั้นตอนส่งผ่าน (transfer) ไปจนถึงขั้นตอนที่แตกไฟล์ (decode) FLAC ออกมาเป็นสัญญาณ PCM ซึ่งทีมผู้ให้กำเนิดฟอร์แม็ต FLAC ยืนยันไว้แบบนั้น
.
ทว่า หลังจากมีการทดลองริปเพลงจากซีดีแผ่นเดียวกันออกมาเป็นไฟล์ WAV และไฟล์ FLAC แล้วนำไฟล์เพลงทั้งสองรูปแบบนั้นมาฟังเปรียบเทียบกันผ่านชุดเครื่องเสียงชุดเดียวกัน ผลออกมาว่า เสียงไม่เหมือนกัน ซึ่งผลจากการทดลองฟังหลายๆ เพลงได้ข้อสรุปออกมาว่า ไฟล์ WAV ให้คุณภาพเสียงออกมา "ดีกว่า" ไฟล์ FLAC
.
เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น.?
.
จริงๆ แล้ว การเข้ารหัสสัญญาณเสียงด้วยไฟล์ FLAC ก็มีการ "ตัด" ข้อมูลเสียงบางส่วนทิ้งไปในขั้นตอนการเข้ารหัส เพียงแต่ว่า ข้อมูลเสียงที่ตัดทิ้งไปนั้นคือส่วนที่เป็นแค่องค์ประกอบย่อยมากๆ ที่เรียกว่า Less Significant Bit = LSB ของเสียง อย่างเช่น ปลายๆ เสียงฮาร์มอนิกที่เบามากๆ ซึ่งไม่ใช่ส่วนสำคัญ (Most Significant Bit = MSB) ที่เป็นข้อมูลเสียงที่ได้ยินชัดๆ ผู้ให้กำเนิดไฟล์ FLAC ใช้มาตรฐานการวัดผลที่อิงอยู่กับ human perception โดยทั่วไปที่ไม่สามารถรับรู้ถึงรายละเอียดลึกๆ ที่ตัดทิ้งไป คนทั่วไปจึงฟังความแตกต่างของเสียงที่ได้จากการเล่นไฟล์ทั้งสองประเภทไม่ออก แต่ถ้าผู้ฟังมีเวลามากพอในการนั่งฟังเพื่อจับความแตกต่างผ่านชุดเครื่องเสียงที่มีคุณภาพสูง จะสามารถรับรู้ได้.. /
#ยิ่งเครื่องเสียงดีบวกกับเซ็ตอัพดียิ่งฟังออกง่าย
>>9 FLAC ใช้วิธี Compression โดยการย่อ Bit ที่ซ้ำกันให้สั้นลงแล้วพอจะ Playback ก็ขยายคืนตามเดิม LSB,MSB เชี่ยอะไรแค่ชื่อเรียกบิตตัวหน้ากับตัวหลังไม่เกี่ยวห่าไรกับ Harmonic เลยคนละเรื่อง อยากรู้มั้ยว่า WAV กับ FLAC เสียงต่างกันยังไง ก็เอามากลับ Phase ไงผลออกมาคือ Phase Cancellation 100% เสียงเงียบสนิท ต่างกันตรงไหนวะ บอกแล้ววงการไสยศาสตร์อ้างศัทพ์เทคนิคมั่วซั่วใครหลงเชื่อหลงเอาตังไปเปย์ให้พวกนี้แม่งหน้าโง่ชิบหาย
ผมยอมรับเลยว่า ผมรู้สึกกังวลมากเป็นพิเศษกับการทำรีวิวของ QNET ตัวนี้ ผมไม่ได้กังวลสงสัยในประสิทธิภาพของมัน เพราะฟังออกและสัมผัสได้ แต่สิ่งที่รบกวนความรู้สึกของผมก็คือผลที่เกิดขึ้นกับบางเงื่อนไขของการเซ็ตอัพใช้งานตัว QNET ที่ทำให้มันแสดงผลลัพธ์ออกมาต่างจากที่ผมคาดคิดไว้ในใจ เหมือนกับว่า การใช้งานตัว Network Switch ในชุดเครื่องเสียงยังมี “อะไร” บางอย่างที่เรายังไม่รู้ความสัมพันธ์ของมันอย่างถ่องแท้ ทำให้การคาดเดาสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนการทดลองฟังจริงมีความคลาดเคลื่อนไปได้ ผลลัพธ์มันบิดไปจากแนวทางที่คาดคิดไว้ในบางแง่มุม ใครที่คิดจะซื้อหาตัว Network Switch เข้าไปใช้ในชุดเครื่องเสียง แนะนำให้ทดลองสลับรูปแบบการเชื่อมต่อแล้วฟังเสียงดูด้วยนะ
มีบางช่วงได้ทำการฟังเปรียบเทียบกับ Network Switch ระดับไอที เกรดที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์ทั่วไปด้วย ผลลัพธ์ก็เป็นไปในแนวทางที่คาด คือ Network Switch ระดับออดิโอ เกรดให้ผลทางเสียงที่ดีกว่าระดับไอที เกรดมาก ฟังแค่ไม่กี่นาทีก็ต้องถอดออก..
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ทดลองใช้งานตัว QNET นานนับเดือน ผลที่ได้ยินก็ถือว่าเป็นประจักษ์พยานที่ยืนยันได้ว่า Network Switch ระดับออดิโอ เกรดที่ออกแบบมาเพื่อการสตรีมไฟล์เพลงโดยเฉพาะมีส่วนทำให้เสียงของแหล่งต้นทางประเภทมิวสิค สตรีมมิ่งดีขึ้นจริง เนื่องจาก Network Switch “ทุกตัว” ที่ผมทดสอบไปมันก็ให้ผลออกมาทางเดียวกันนี้ จะต่างกันก็แค่ระดับความมาก–น้อยของผลที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งเบาะแสที่ค้นพบตอนนี้ยังชี้นำไปในแนวทางที่ว่า “ยิ่งแพง–ยิ่งดี” แสดงว่าแนวคิดเบื้องต้นที่ผู้ผลิตแต่ละเจ้านำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบตัว Network Switch นั้นถูกต้องแล้ว สิ่งที่ทำให้ Network Switch ของแต่ละแบรนด์ให้ผลทางเสียงออกมาต่างกันก็อยู่ที่ว่า แบรนด์ไหนใครจะใส่ใจพิถีพิถันในแต่ละจุดมาก–น้อยกว่ากันแค่ไหนเท่านั้นเอง /
อยากรู้หูฟังระดับหลักหมื่นหลักแสนนี่เสียงมันจะเทพขนาดไหนวะ
>>13
ตัวนี้เป็นอุปกรณ์เสริมประเภทที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน (active accessories) โดยตรง.! ถือว่าเป็นปราการด่านหน้าสุดของชุดเครื่องเสียง ซึ่งส่งผลต่อเสียงอย่างมาก เนื่องจากเต้ารับบนผนังเป็นช่องทางที่ใช้เชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าที่เดินทางจากตู้เมนไปยังชุดเครื่องเสียงของเรา ถ้าเต้ารับบนผนังไม่มีคุณภาพ นำกระแสได้ไม่ดี กระแสไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงชุดเครื่องเสียงก็จะไหลไปได้ไม่เต็มที่ แน่นอนว่าต้องส่งผลลัพธ์ต่อคุณภาพเสียงของชุดเครื่องเสียงอย่างไม่มีทางเลี่ยง เพราะอุปกรณ์เครื่องเสียงที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค “ทุกชิ้น” ในชุดเครื่องเสียงล้วนอาศัยกระแสไฟฟ้าเป็นพื้นฐานในการทำงานทั้งสิ้น
เมื่อพิจารณาทางด้านโทนเสียงซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งที่บ่งชี้ถึงบุคลิกของเสียงระหว่างเต้ารับ Panasonic ตัวเก่ากับ Life Audio ตัวใหม่ ผมพบว่า โทนเสียงของซิสเต็มเมื่อเสียบผ่านเต้ารับของ Life Audio มีลักษณะที่สด และสว่างกว่าเสียบผ่านเต้ารับของพานาฯ เล็กน้อย ซึ่งอาการของบุคลิกเสียงของซิสเต็มที่มีลักษณะสด กระจ่างมากขึ้นนั้นถือว่าเป็นปกติวิสัยที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อชุดเครื่องเสียงได้รับกระแสไฟเต็มที่มากกว่าเดิม คล้ายๆ อาการที่เกิดขึ้นตอนไฟมาเต็มเทียบกับตอนไฟตกนั่นแหละ ซึ่งความแตกต่างที่เกิดขึ้นกับบุคลิกเสียงเมื่อเปลี่ยนเต้ารับของ Life Audio เข้าไปแทน Panasonic นี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เพราะมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ทำให้อรรถรสของเพลงด้อยลง มิหนำซ้ำ กลับช่วยทำให้ได้อรรถรสเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก
สรุป
ผมพอใจกับคุณภาพเสียงและบุคลิกเสียงที่ได้จากซิสเต็มหลังจากใช้เต้ารับของ Life Audio ชุดนี้มาก มันทำให้เสียงออกมาดีขึ้นโดยมีผลเปลี่ยนแปลง “บุคลิกเสียง” ของซิสเต็มที่ผมแม็ทชิ่งอุปกรณ์ไว้ดีแล้วไปบ้างเล็กน้อย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ดีขึ้น สดขึ้น ซึ่งตรงกับรสนิยมของผมพอดี
>>17
ลุ่มถูกเร่งขึ้นมา ซึ่งนี่แหละคือกำแพงหนาๆ ที่ขวางกั้นไม่ให้ซิสเต็มเครื่องเสียงทะยานไปถึงจุด top performance ของมัน จนเมื่อได้ Venom PS10 เข้ามาปลดล็อคให้นี่แหละ ผมถึงได้รู้ว่า จริงๆ แล้วซิสเต็มที่ฟังดีอยู่แล้วของผมมันสามารถขยับคุณภาพขึ้นไปได้อีกไกลเลย.!!!
Venom PS10 ไม่ได้แสดงอาการของผลข้างเคียงใดๆ ออกมาให้ได้ยินเลยตลอดการใช้งานอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา ไม่ว่าผมจะทดลองเสียบแบบไม่ครบรู หรือทดลองเสียบเข้าไปจนเต็มจนไม่เหลือรูเสียบ หรือแม้แต่ทดลองเสียบอะแด๊ปเตอร์ 2 ขาที่ไม่แยกกราวนด์ลงไปก็ไม่ส่งผลกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ และไม่ทำให้ผลโดยรวมของเสียงแย่ลงด้วย สุดยอดมาก.!! แสดงว่ามันเสียบได้ทุกอย่างจริงๆ
ในช่วงท้ายๆ ของการทดสอบผมลองเอา Venom PS10 ไปทดลองใช้กับชุดดูหนังที่ห้องรับแขก โดยเสียบทีวีกับแอมป์สองแชนเนลที่ใช้ดูหนัง–ฟังเพลง เสียงกับภาพก็ออกมาดีกว่าเสียบปลั๊กจากตัวเครื่อง (ทีวี, แอมป์) เข้าไปที่เต้ารับบนผนังเยอะมาก แสดงว่า วงจรฟิลเตอร์ของ Venom PS10 มันทำงานไปไกลถึงระดับเมกกะเฮิร์ตแน่ๆ (ในสเปคฯ ระบุว่าสามารถกรองสัญญาณรบกวนตั้งแต่ย่านความถี่ 100kHz – 30MHz ลงไปได้มากกว่า 24dB)
สรุป
จริงๆ แล้ว ปลั๊กพ่วงหลายๆ ตัวในท้องตลาดก็มีความสามารถในการรองรับการจ่ายกระแสไฟ (หรือยอมให้กระแสไหลผ่านอย่างสะดวก) ได้เยอะ แต่ที่พบว่าบางตัวมีอาการที่ทำให้เสียงอั้นเหมือนจ่ายกระแสไม่ทันเวลาเสียบแอมป์หรือเสียบเครื่องเสียงหลายชิ้นพร้อมกันก็คงจะมาจากการออกแบบฟิลเตอร์ที่ใช้ในการกรอง noise ที่ยังไม่ดีพอ กับอีกอย่างคือประเภทของ “เบรคเกอร์” ที่ใช้ก็น่าจะมีผลเยอะ
หลังจากใช้งานมาเดือนกว่าๆ ผมรู้สึกว่า คุณภาพเสียงมันไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากวันแรกมาก มีอิ่มและเปิดขึ้นแน่ๆ แต่ไม่มาก แสดงว่าเทคนิคพิเศษที่ชื่อว่า KPIP ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าไม่ต้องเบิร์นฯ ก็ให้เสียงดีตั้งแต่แรกเหมือนผ่านการเบิร์นฯ มาแล้ว มันน่าจะได้ผลจริงตามที่เขาว่า เพราะผมรู้สึกว่าเสียงมันเปลี่ยนไปน้อยมาก รู้สึกถึงเสียงของซิสเต็มที่ดีขึ้นตั้งแต่นาทีแรกๆ ที่เสียบใช้งาน
>>19
ตัวนี้เป็นอุปกรณ์เสริมประเภท standalone isolation จัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์เสริมที่ไม่ต้องเสียบไฟฟ้า ทำหน้าที่เป็นแท่นรองสำหรับวางอุปกรณ์เครื่องเสียงไว้ด้านบน ใช้ได้กับเครื่องเสียงทุกประเภท ตั้งแต่ อุปกรณ์ประเภทเครื่องเล่นต่างๆ (เครื่องเล่นซีดี, เครื่องเล่นแผ่นเสียง, DAC, Streamer ฯลฯ) รวมถึงอุปกรณ์ประเภทแอมปลิฟาย (ปรีแอมป์, เพาเวอร์แอมป์, อินติเกรตแอมป์, ออล–อิน–วัน ฯลฯ)
จุดเด่นที่ผมชอบมากๆ ของแท่นรอง Solid Tech ตัวนี้ คือมันสามารถปรับจูนเสียงให้ออกไปทาง “นุ่ม + สลัว (dark)” หรือ “กระชับ + สว่าง (bright)” หรือระหว่างแนวเสียงทั้งสองแบบนั้นได้ตามต้องการ ด้วยการปรับใช้จำนวนสปริงที่ขาตั้งแต่ละขาของแท่นรองตัวนี้เท่านั้น พอได้ลองใช้งานจริงจะพบว่ามันไม่ยากในการเพิ่ม/ลดจำนวนสปริง และมันให้ผลลัพธ์ที่ฟังออกชัดเจนมาก บางครั้งผลลัพธ์ของมันเยอะมากจนทำเอาผมรู้สึกประหลาดใจซะด้วยซ้ำ เมื่อเลือกจำนวนสปริงที่ใช้ให้ลงตัวสัมพันธ์กับน้ำหนักของเครื่องเสียงที่วางบนแท่นได้แล้ว ผมบอกเลยว่าพอใจมากกับผลลัพธ์ทางเสียงที่ได้กลับมา ซึ่งผลลัพธ์ทางเสียงโดยรวมที่ได้ออกมามันไปทางบวกทั้งหมด ไม่มีผลข้างเคียงทางลบออกมาเลย
>>21 จากประสบการณ์ผมพบว่า การอัพเกรดสายไฟเอซีเป็นวิธีที่มักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่าเสีย “ถ้า” คุณเลือกสายไฟเอซีที่มีคุณภาพดีจริงๆ
หลังจากทดสอบมาเป็นเวลานาน ทดลองฟังกับซิสเต็มที่หลากหลาย ผมพบว่า Diamond Revision “NEPTUNE” เส้นนี้ให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจมากในความเห็นของผม มันให้ผลทางเสียงที่โดดเด่นชัดเจนไปในแนวทางของมัน กรณีที่คุณต้องการปรับจูน “เสียงกลาง” ของซิสเต็มให้มีความนุ่มหวานมากขึ้น สายไฟเอซีเส้นนี้จะให้ผลลัพธ์ตรงความต้องการมากที่สุด แนะนำให้หาโอกาสทดลองฟังสายไฟเอซีเส้นนี้ให้ได้ถ้าคุณตั้งงบประมาณในการอัพเกรดสายไฟเอซีไว้ในระดับเฉียดๆ 100K /
>>23
vibration หรือความสั่นสะเทือนมีหลายระดับ แตกต่างกันทั้งในแง่ของ “ความถี่” และ “ความรุนแรง” และสามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ได้ทุกชนิด สามารถแพร่กระจายไปได้ดีบนวัตถุที่มีความหนาแน่นของมวลสูงๆ เหตุที่ vibration ที่เกิดบนอุปกรณ์เครื่องเสียงส่งผลกระทบกับคุณภาพเสียงก็เพราะว่า เสียงเพลงที่เราฟังก็เกิดจาก vibration ที่เกิดขึ้นบนไดอะแฟรมของลำโพง ดังนั้น ถ้ามี vibration ที่เกิดขึ้นจากแหล่งต้นทางอื่นๆ ปะปนเข้าไปในสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า เจ้าคลื่นความสั่นสะเทือนที่ว่านั้นมันจะเข้าไป modulate หรือ “ควบกล้ำ” เข้ากับสัญญาณเพลง ก่อให้เกิดการ “เสริม” และ “หักล้าง” ขึ้นระหว่างความถี่เดียวกันที่เป็นส่วนของสัญญาณเสียงกับคลื่นความสั่นสะเทือนภายนอก ส่งผลให้สัญญาณเสียงมีลักษณะที่ผิดไปจากต้นฉบับที่ออกมาจากเครื่องเล่นต้นทาง
หลังจากใช้ DoS รองใต้เครื่องแล้ว เสียงโดยรวมจะลอยตัวขึ้น ในขณะที่ความถี่ต่ำก็ยังสามารถแผ่ลงด้านล่างได้ นั่นเป็นเพราะว่าอาการขุ่นที่เกิดจากความฟุ้งในย่านเสียงทุ้มลดลง แสดงว่า ข้อมูลที่ผู้ผลิตเคลมไว้ว่าสามารถลดความสั่นสะเทือนที่ระดับความถี่ 20Hz ลงไปได้ถึง 88.48% เป็นความจริง..??? ซึ่งอุปกรณ์ประเภท absorber ส่วนมากจะใช้วิธี filter หรือลดปริมาณความสั่นสะเทือนด้วยการ “ตัด” ความถี่บริเวณย่านที่ถูกกระตุ้นให้สั่นลงไปดื้อๆ ซึ่งจะส่งผลให้ความถี่ที่เป็นรายละเอียดของเสียงดนตรีในย่านเดียวกันรวมถึงบริเวณความถี่ใกล้เคียงถูกตัดทิ้งไปด้วย เสียงทุ้มที่ออกมาจากการทำงานของ absorber เหล่านั้นจึงมีลักษณะที่ด้วนกุด พื้นเสียงใสขึ้นจริงและให้น้ำหนักหัวเบสที่ชัดขึ้น แต่เบสจะไม่ทิ้งตัวกระจายลงพื้นและไม่ยกเวทีเสียงให้ลอยขึ้น
Be Civil — "Be curious, not judgemental"
All contents are responsibility of its posters.