นักข่าว A : ช่วงนี้มีประเด็นร้อนคือเรื่อง ลูกสาวของนักการเมืองท่านหนึ่ง กับภาพแฟนอาร์ทที่ไม่แน่ว่าต่อไปอาจจะมีภาพที่หมิ่นเหม่ไปจนถึงขั้นหยาบโลน
เราจะมาถามคุณนาวินเลขานักการเมืองผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลลูกสาวนักการเมืองกันดีกว่านะคะ ว่าปรกติแล้วพวกนักการเมืองจะจัดการเรื่องนี้กันยังไง
นาวิน : ผมเป็นเลขานักการเมืองจริง แต่เรื่องดูแลลูกสาวนักการเมืองนี้อย่าพูดแบบนั้นเลยครับ
นักข่าว A : เอาแบบนี้ สมมุติว่าถ้าเกิดเรื่องแบบนี้กับคุณหนูของคุณนาวินคุณจะทำยังไง
นาวิน : ถามให้แน่ใจก่อนนะครับ เรื่องนี้คือ "สมมุติ" ว่า ผมรู้ว่ามีคนวาดภาพลามกของลูกสาวนักการเมือง ถ้าผมเป็นเลขาของฝ่ายนั้นจะทำยังไงใช่มั้ย
นักข่าว A : ค่ะ คุณจะทำยังไงคะ? จะส่งคนไปอุ้ม หรือจะทำอะไรหรือเปล่า
นาวิน : 555+ นักการเมืองไม่ใช่ยากุซ่านะครับ เรามีหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน ดังนั้นเรื่องอะไรที่มันนอกกฎหมายนั้นคงจะไม่มีแน่นอน
แต่ว่านะ ประเด็นมันอยู่ที่ว่า การประทำแบบนั้นก็เป็นการละเมิดสิทธิ์ของผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวว่าจะเป็นลูกสาวนักการเมืองหรือเปล่า ซึ่งเมื่อเขาเป็นผู้เยาว์อายุไม่ถึง 20 พ่อแม่ของเขาก็มีสิทธิ์ที่จะปกป้องลูกตามวิธีทางกฎหมาย
นักข่าว A : ค่ะ
นาวิน : "สมมุตินะครับ" ปรกติแล้วเรื่องแบบนี้จะเป็นความผิดที่ฟ้องร้องได้ 3 สถาน
1 พรบ คอมในเรื่องการนำเข้าข้อมูลที่เป็นสื่อลามก ซึ่งเป็นกฎหมายอาญา
2 หมิ่นประมาท ซึ่งเป็นกฎหมายอาญาเช่นกัน เนื่องจากนักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ แต่ลูกสาวนักการเมืองไม่ใช่บุคคลสาธารณะ และคงบอกไม่ได้ว่าภาพลามกเป็นการติชมอย่างสุจริตด้วย นอกจากนั้นการเอาลงเน็ตเนี่ยและอาจถือเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาซึ่งแรงกว่าหมิ่นประมาททั่วไป
3 ความผิดทางแพ่ง ซึ่งฟ้องเอาค่าเสียหายได้ กรณีถือว่านั่นเป็นการโฆษณาซึ่งสร้างภาพลักษณ์ที่นำไปสู่ความเสียหาย ซึ่งจะประเมินค่าเสียหายเป็นตัวเงินยังไงก็แล้วแต่
นักข่าว A : หมายความว่าคุณนาวินจะฟ้อง? ถ้าทำแบบนั้นก่อนช่วงเลือกตั้งจะไม่เป็นปัญหากับฐานคะแนนเสียงเหรอคะ?
นาวิน : 555+ “สมมุตินะครับ” อย่าลืมว่าการเลือกตั้งอาจมีขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า ดังนั้นการฟ้องร้องหลังเลือกตั้งก็ไม่มีผลกับคะแนนเสียงจริงมั้ยล่ะครับ
นักข่าว A : แต่ว่าคดีหมิ่นประมาทนั้นมีอายุความเพียงแค่ 3 เดือน ไม่ใช่เหรอคะ
นาวิน : คุณนักข่าวก็รู้เรื่องกฎหมายดีอยู่แล้วนะครับ ดังนั้นน่าจะรู้ด้วยว่า อายุความ 3 เดือนนั้นนับจากวันที่ “รับรู้” ถึงการหมิ่นประมาทนั้น พอดีว่าช่วงนี้กำลังเข้าสู่ช่วงเลือกตั้งผมจึงยุ่งอยู่กับงานจนไม่ได้รับรู้เรื่องอะไรในเฟสบุ๊คเลย
ดังนั้น “สมมุติ” ว่ามันมีเรื่องแบบนั้นจริง ผมอาจจะเปิดเฟสบุ๊คขึ้นมาอ่านและเห็นหลังจากที่เลือกตั้งเสร็จแล้วก็ได้ นอกจากนั้น พรบ คอมก็มีอายุเท่ากับคดีอาญาปรกติครับ รอให้ได้เป็นรัฐบาลก่อนค่อยฟ้องยังได้เลย
นักข่าว A : แต่ถ้าทำแบบนั้น ข้อต่อสู้ทางกฎหมายจะค่อนข้างอ่อนหรือเปล่า ฝ่ายที่วาดภาพก็อาจอ้างได้ว่าตัวละครเป็นตัวละครอื่นไม่เกี่ยวกับคนที่มีอยู่จริง
อาจอ้างต่อสู้เรื่อง พรบ คอมว่ามันไม่ถึงขึ้นอนาจาร
หรือเรื่องอายุความก็อาจเป็นเหตุผลในชั้นศาลของฝ่ายที่ถูกฟ้องเพื่อสู้ว่าคดีหมดอายุความแล้วก็ได้ไม่ใช่เหรอคะ
นาวิน : ใช่ครับ แต่คดีคอมพิวเตอร์เนี่ย ผมอาจจะเปิดคอมขึ้นมาดู และเห็นความผิดนั้นที่ไหนก็ได้จริงมั้ยล่ะ
หมายความว่า หลังจากเลือกตั้ง ผมอาจจะไปเปิดคอมอ่านในเขตที่ผมทำงานอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นปัตตานี หรือเชียงราย หรือเขตอะไรที่เป็นพื้นที่ของนักการเมืองคนนั้นก็เป็นได้
เอาแบบนั้นก็แล้วกัน ลองคิดดูว่าคุณต้องเสียทั้งค่าทนาย เสียทั้งเวลา และต้องนั่งรถเข้าไปในเขตอิธิพลของนักการเมืองที่คุณลวนลามลูกสาวเขาทุกเดือน โดยส่วนตัว ผมคิดว่าแค่นั้นก็พอแล้ว
ที่จริงถ้าเขาโกรธมาก เขาอาจจะฟ้องคุณทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศพร้อมกันเลยก็ได้ ผมคิดว่าเข้าจ้างทนายจังหวัดละคนได้ แต่คุณมีเวลาเดินทางไปขึ้นศาลครบหรือเปล่าล่ะ?
นักข่าว A : แล้วคิดว่าในเคสนี้เขาจะฟ้องหรือเปล่าคะ
นาวิน : นาวิน : ส่วนตัวผมมองว่าแฟนอาร์ทอะไรนี่ก็เป็นเรื่องดีนะ มันเป็นสิ่งแสดงศักยภาพของนักวาดไทย ซึ่งรัฐบาลควรส่งเสริม และการที่เขาวาดเพราะชื่นชมอยากเชียร์ก็เป็นสิ่งดี แต่ก็ต้องดูระดับของความเหมาะสมด้วยเหมือนกัน
ถ้าทำอะไรเกินเลยมันไม่ได้เสี่ยงแค่โดนฟ้อง แต่เสี่ยงจะทำให้ภาพลักษณ์ของวิชาชีพทั้งหมดที่ควรจะได้รับความสนใจและเข้าใจจากผู้ใหญ่มันเสียไปด้วยทั้งหมด
ส่วนเรื่องฟ้องไม่ฟ้องก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นใคร และพ่อแม่เขาโกรธกันขนาดไหน
นักข่าว A : สมมุติว่าถ้าเป็นคุณหนูของคุณนาวิน คุณนาวินจะฟ้องมั้ยคะ
นาวิน : นั่นสิครับ เพราะมันยังไม่เกิดขึ้น ผมยังไม่รู้เรื่องนี้ ดังนั้นผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นยังไง คงไม่มีใครรู้จนหมายศาลไปถึงบ้านนั่นแหละครับ 555+