สรุปเลือกตั้งกลางเทอมอเมริกา 2018
1. เดโมแครตได้เสียงข้างมากสภาผู้แทน พลิกจากเดิมพอสมควรแต่ไม่มากอย่างที่สื่อออกข่าว (+24 โดยประมาณ)
2. รีพับลิกันได้เสียงข้างมากวุฒิสภาเพิ่มขึ้น ไม่ปริ่มน้ำแล้ว (46-54 อาจเปลี่ยนแปลงได้ +/-2)
3. เลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ เดโมแครตได้เยอะขึ้นมาก (24/26)
4. อำนาจสำคัญของสภาผู้แทน คือเสนอร่างกฎหมาย และอนุมัติงบประมาณ การที่เดโมแครตได้เสียงข้างมาก จะทำให้ร่างกฎหมายของรีพับลิกันเสนอขึ้นมายาก และงบประมาณผ่านยากมากขึ้นแน่ๆ
5. ดังนั้น แผนยกเลิกโอบาม่าแคร์ และแผนสร้างกำแพง แท้งแน่นอน
6. อาจเกิด government shutdown แบบยุคโอบาม่าได้ ถ้าสภาเสียงข้างมากไม่ผ่านร่างงบประมาณ
7. ทรัมป์ยังสามารถใช้ executive order อนุมัติกฎหมายได้เป็นครั้งๆ ไป (มีอำนาจเท่ามติคณะรัฐมนตรี) แต่ถ้าปธน.คนใหม่มาก็ยกเลิกได้ทันที ต่างจากร่างกฎหมายรัฐบัญญัติ (bills/act) ที่ผ่านสภา
8. เดโมแครตยังต้องเลือกประธานสภาผู้แทน (Speaker of the house) คนใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นแนนซี่ เพโลซี่ เจ้าเก่า แต่ก็มี ส.ส. รุ่นใหม่ที่ไม่พอใจเธอเยอะ เพราะลำเอียงให้ฮิลลารี่ตอน 2016 คงมีการท้าชิงกันเกิดขึ้น
9. วุฒิสภา รีพับลิกันได้เสียงข้างมากขาดมากขึ้น น่าจะ 54-46
10. อำนาจสำคัญของวุฒิสภา (Senate) คือเห็นชอบและแต่งตั้ง (Approve and appoint) ดังนั้นต่อไปทรัมป์เสนอใครมารับตำแหน่ง น่าจะผ่านสบายๆ ต่างจากยุคที่เสียงปริ่มน้ำ 51-49 ที่ผ่านมา
11. ส.ว. รีพับลิกันสายต่อต้านทรัมป์ ไม่ตาย (แมคเคน) ก็เกษียณ ทำให้ ส.ว. เดินตามแนวทางทรัมป์มากขึ้น ทั้งการตั้งทูต ตุลาการ ข้ารัฐการ และเจ้าหน้าที่ชั้นสูง
12. แต่ ส.ว.รีพับลิกัน ก็ยังไม่มากพอที่จะมีเสียงเด็ดขาด (60 เสียง) พอที่จะปิดการอภิปรายประท้วง (Filibuster) ของฝ่ายเดโมแครตด้วยการเสนอนับเสียงปิดประชุม (Cloture)
13. สมดุลสองสภาทำให้การเจรจาและต่อรองเข้มข้นมากขึ้นแน่นอน จากเดิมที่รีพับลิกันครองทั้งสองสภา กฎหมายหรือระเบียบการ งบประมาณ ผ่านง่ายๆ ต่อไปก็จะยากขึ้น
14. เดโมแครตครองตำแหน่งผู้ว่าการรัฐ ที่มีอำนาจสั่งแบ่งเขตเลือกตั้งในจำนวนรัฐมากขึ้น (24/26 จากเดิม 16/33) ทำให้ปี 2020 การเลือกตั้งน่าจะสูสีกว่าเดิมที่รีพับลิกันเคยใช้อำนาจผู้ว่าการรัฐทำเขตเลือกตั้งในประชากรที่ได้เปรียบมาแล้วในปี 2016
15. ส.ส.เดโมแครตทำสถิติสมัยแรกเยอะมาก โดยเฉพาะผู้สมัครหญิง เกย์ มุสลิม พวกที่เป็นฝ่ายของ Bernie Sanders แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้หาเสีียงด้วยเพศศาสนาและสภาพของตัวเอง แต่หาเสียงด้วยนโยบายจริงจังเช่น สุขภาพ การจ้างงาน ค่าแรง
16. ผู้สมัครที่โด่งดังในสื่อหลัก แพ้เรียบ โดยเฉพาะตัวเก็งลุ้นของเดโมแครตในสื่อ แพ้เจ้าสังเวียนเดิมของรีพับลิกันกระจุย
17. ประเด็นอันดับ 1 ในการเลือกตั้งคือสาธารณสุข (healthcare) ที่แม้คนรู้สึกว่าเศรษฐกิจดีขึ้น (80%) แต่ก็คิดว่าไม่ต้องการให้ล้มโครงการอุดหนุนประกันสุขภาพ (Obamacare)
18. ความเป็นทรัมป์ทั้งหนุนและต้านพอๆ กัน ทำให้ไม่ส่งผลรุนแรงในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะคนหนุนก็ออกมา และคนต้านก็ออกมา
19. ผู้มาใช้สิทธิ์เยอะเป็นประวัติการณ์ในการเลือกตั้งกลางเทอมที่ปกติจะมาลงคะแนนเสียงน้อย วัยรุ่นออกมาเลือกเดโมแครต คนแก่ออกมาเลือกรีพับลิกัน (อเมริกาใช้ระบบ registered vote การเลือกตั้งเป็นสิทธิ์ไม่ใช่หน้าที่ ใครอยากมาก็มาลงทะเบียนแล้วค่อยเลือก) เป็นนิมิตหมายอันดีต่อระบอบประชาธิปไตยแบบอเมริกาว่าคนสนใจการเมืองและกระตือรือร้นมากขึ้นที่จะสะท้อนเสียงของตัวเองออกให้นักการเมืองและผู้ทำงานบริหารประเทศรับฟัง
20. นอกจากนี้ยังมีการลงมติอื่นๆ เช่น เลือกอัยการเขต เลือกผอ.เขตการศึกษา เลือกผู้พิพากษา เลือกผบ.ตำรวจ เลือกบ่อยๆ น่ะดี เลือกไม่ดีก็ได้เลือกใหม่ไง อ้อ มีประชามติให้กัญชาถูกกฎหมายในหลายรัฐด้วย
21. แต่ประเทศไทยเราก็ยังรอต่อไปว่าจะมีเลือกตั้งจริงมั้ย เมื่อไร เลือกแล้วจะโดนรัฐประหารอีกม้ายยยยยยยยยยย #ประเทศกูไม่มี