Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 7th quotes

Last posted

Total of 1000 posts

846 Nameless Fanboi Posted ID:QHtf0QZwJj

แนวคิดชาตินิยม (แบบผิดๆ) จากการเรียน รด. สมัยมัธยมฯ
.
.
"ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้จนถึงตัวเราคนหนึ่งนี้ เพราะบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต เอาความลำบากเข้าแลกไว้ เราต้องบำรุงชาติ เราต้องรักษาชาติ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ"
คำกล่าวปลุกใจที่นักศึกษาวิชาทหาร (นศท) จะต้องกล่าวก่อนขึ้นชั้นเรียนในช่วงการเรียนวิชาทหารทั้งหมด (อย่างน้อย) 3 ปี ของนักเรียนช่วงชั้นมัธยมฯปลายหลายคน และคงทหารทุกกรมกอง
วันนี้ทางเพจของนำเสนอความผิดพลาดของแนวคิดดังกล่าวทั้งในเชิงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์และในแง่ของแนวทางการนำแนวคิดนี้ไปใช้
.

ข้อผิดพลาดที่ 1 : "สมัยโบราณก่อนรัชสมัย ร.5 ไม่มีแนวคิดเรื่อง 'ชาติ' อย่างชัดเจน แล้วบรรพบุรุษจะสละชีพเพื่อปกป้อง 'ชาติ' ได้อย่างไร?"

ชาติคืออะไรกันแน่? "เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson) ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ความเป็นชาติก็คือ 'จินตกรรมทางวัฒนธรรม' แบบหนึ่ง ประชาชนจินตนาการว่า ชาติเป็นชุมชนที่มีขอบเขตจำกัดและมีความเฉพาะตัวเป็นชุมชนที่ควรค่าต่อการเสียสละ" (ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, 4) แนวคิด "รัฐชาติ" ปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยช่วงรัชสมัย ร.5 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลาที่ชาติตะวันตกมีความพยายามในการสร้างอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สยามจึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างประเทศให้มีความเป็นปึกแผ่น รวมอำนาจการจัดการเข้าสู่ศูนย์กลาง สร้างความรู้สึกร่วมในความเป็นหนึ่งเดียวให้แก่ผู้คนในประเทศ ซึ่งเป็นความพยายามในการผูกแนวคิด "ชาติ" เข้ากับความเป็น "รัฐ" มีนักวิชาการหลายท่านพยายามอธิบายถึงความเป็นมาของคำว่า ชาติ เช่น แอร์เนสต์ เรอนอง (Ernest Renan) กล่าวว่า 'ชาติเป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่ในประวัติศาสตร์ โลกในยุคโบราณไม่รู้จักชาติ อียิปต์ จีน หรือคาลเดียโบราณ ไม่ใช่ชาติ พวกเขาคือกลุ่มคนที่มีบุตรของพระอาทิตย์หรือบุตรของท้องฟ้าเป็นผู้นำ เดิมในอียิปต์หรือจีนไม่มีสิ่งที่เรียกว่าพลเมืองอย่างที่เรารู้จัก โลกในยุคโบราณมีสาธารณรัฐ ราชอาณาจักร สาธารณรัฐที่มารวมกลุ่มกันเป็นสมาพันธ์ มีจักรวรรดิ แต่ไม่มีชาติในความหมายแบบที่เราเข้าใจกันทุกวันนี้' (อ้างอิงจาก https://www.matichonweekly.com/special-report/article_93153)
ดังนั้นการต่อสู้เพื่อ "ชาติ" ของคนในอดีต (ยิ่งนักชาตินิยมมักจะยกตัวอย่างถึงเหตุการณ์สละชีพเพื่อชาติส่วนใหญ่ คือ สงครามไทย-พม่า ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น) เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ บรรพบุรุษจะต่อสู้เพื่อชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีในสมัยก่อนคงไม่ได้

ข้อผิดพลาดที่ 2 : "ความเต็มใจของบรรพบุรุษที่จะสละชีพเพื่ออาณาจักร (ชาติ)"

ประเทศไทยในสมัยก่อนมีระบบการปกครองโดยใช้ระบบศักดินา ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับระบบฟิวดัลในยุโรปช่วงยุคกลาง (ก่อนมีกระแสสร้างรัฐชาติหลังจากเหตุการณ์สงคราม 30 ปี) ในสมัยก่อน เจ้าเมือง เจ้าแคว้น ในแต่ละแห่งมีความเป็นอิสระต่อกันสูง การสืบทอดตำแหน่งผู้ปกครองเป็นกิจการภายในตระกูล ผู้ปกครองศูนย์กลางไม่มีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุม หรือ แทรกแซงกิจการภายใน คนในสมัยก่อนมีความรู้สึกผูกผันกับเมืองท้องถิ่นมากกว่าความเป็นอาณาจักรที่เมืองหลวงสร้างให้ ในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการกบฏหัวเมืองอยู่บ่อยครั้งและต้องมีการกวาดต้อนผู้คนครั้งใหญ่ที่เรียกว่า "เทครัว" อยู่บ่อยครั้งเพื่อลดทอนอำนาจของหัวเมืองและเสริมความเข้มแข็งให้เมืองราชธานี จากหลักฐานนี้บ่งชี้ได้ว่า คนในสมัยก่อนไม่ได้ศรัทธากับความเป็นอาณาจักร (ความเป็นชาติ) ใดๆร่วมกันมาก การจะกล่าวว่าบรรพบุรุษสละชีพเพื่อความมั่นคงของรัฐศูนย์กลาง (ตัวแทนของคำว่า "ชาติ" ตามคติชาตินิยม) นั้นจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ในกองทัพของเมืองหลวงสมัยก่อนนั้น ไม่ใช่ทหารของเมืองหลวงที่เป็นส่วนใหญ่ แต่เป็นทหารของต่างเมือง หรือ เชลยศึก จึงไม่อาจกล่าวได้ทั้งหมดว่าบรรพบุรุษจะเต็มใจปกป้องความมั่นคงของรัฐส่วนกลางทั้งหมด การถูกเกณฑ์ไปสู้รบในสงครามของอาณาจักรแต่ละครั้ง ในมุมมองของบรรดาไพร่สามัญสมัยนั้นอาจจะไม่เต็มใจที่จะเข้าร่วมเพื่อสละชีพ เพราะบางสงครามก็ไม่ใช่สงครามเพื่อความอยู่รอด แต่เป็นสงครามภายใต้ผลประโยชน์ของชนชั้นนำ
.

แนวคิดเรื่องชาตินิยมเป็นกลยุทธ์ที่หลายรัฐนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสามารถแพร่กระจายได้เร็วและมีประสิทธิผลในการใช้งานสูงอย่างยิ่ง แต่ก็มีความน่ากลัวซ่อนอยู่ไม่น้อย เมื่อแนวคิดนี้ถูกปลูกฝังลงไป ผู้คนจะตีความว่า ชาติ คือ สถาบันสูงส่งสถาบันหนึ่งที่คนต้องให้ความเคารพและเชิดชู หากใครไม่ทำตามจะต้องถูกตอบแทนด้วยความรุนแรง ซึ่งตามความจริงแล้ว ชาติ ไม่ใช่สถาบันที่ห่างไกลใดๆ แต่ชาติ คือ "พวกเราทุกคน" เราต้องคำนึงถึงความเป็นสุขของผู้คนเป็นหลักก่อนจะนึกถึงอะไรอย่างอื่น ดังนั้นอย่าให้ความรักชาติมาอยู่เหนือความเป็นมนุษย์เด็ดขาด

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.