เพราะสังคมเราเป็นสังคมครึ่งๆกลางๆครับ ด้านหนึ่งเราเปิดรับวัฒนธรรมฝรั่งสมัยใหม่หลัง 1960 เรื่องความเท่าเทียมในการทำงาน การเมือง แต่อีกด้านเรากลับยังอยู่ในยุควิตอเรีย ที่เน้นย้ำถึงค่านิยม สุภาพบุรุษ สตรี ที่เอาเข้าจริงๆ มาจากมุมมองด้านลบว่า ผช. ผญ. มีแค่มุมเดียว ผญ. อ่อนแอ เจ้าอารมณ์ ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่เหมาะกับงานนอกบ้าน ผช. แข็งแกร่ง เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องจ่ายต้องเลี้ยง
แต่สังคมไทยเลือกรับเอาแต่ค่านิยมที่ทำให้ผญ.ได้เปรียบคือ งานก็จะเอาเงินเท่ากัน ได้ตำแหน่งเท่ากัน แต่ พอเรื่องความรัก กลับต้องให้ผช. จ่าย ผช.ดูแล ลุกให้นั่ง ในยุคที่เรามีนายกเป็นผญ. แต่ยังมีผญ.หลายคนออกมาพูดเรื่องนี้
และสังคมไทยเป็นสังคมผลิตวาทะกรรม แบบศรีธนชัยอยู่ตลอดเวลา สังเกตุมั้ยครับ ผญ.เวลาเรื่องสินสอดจะพูดว่า เป็นธรรมเนียมประเพณี ช้านาน แต่พอเรื่องมีเมียเยอะซึ่งก็ประเพณีเหมือนกัน แต่สังคมทำเป็นลืมซะงั้น
อีกข้อสังเกตุหนึ่งคือความเห็นแก่ตัวที่มาในรูปลักษณ์ที่ ประดิษฐ์ประดอยภาษาให้ดูสวยงาม เช่น เวลาผญ.เลือกผช.รวย จะพุดว่าสมัยนี้ไม่มีใครกัดก้อนเกลือกิน การจะอยู่ด้วยกันมีอะไรมากกว่าความรัก ฟังดูดีใช่มั้ยครับ แต่ถ้าเราสกัดภาษาที่มันฉาบหน้าอยู่ออกไปเรื่องของเรื่องคือ ผญ.อยากสบายแต่ไม่พูดออกมาตรงๆ
แต่ในมุมกลับเดียวกัน พอผช.เลือก ผญ.สวยๆ ทำไมผญ.ถึงพูดได้ว่าผช.เลือกแต่ผญ.สวยๆไม่สนใจคนที่จิตใจ ทั้งที่ความสวยเป็นสเป็คไม่ใช่มาตราฐาน สวยของคนหนึ่งอาจจะแย่กับอีกคนก็ได้ ทำไมไม่ใช้วิธีคิดแบบเดียวกับที่ผญ.เลือกผช.รวย ทำไมถึงต้องพูดให้ดูดี
อีกอย่างวาทะกรรมเรื่อง เล่นของสูง มันคืออะไร ในสังคมที่ผญ.ชอบพูดเหลือเกิดเรื่องความเท่าเทียม เพลงแบบ บิ๊กแอด มันต้องไม่มีแล้วถูกมั้ยครับ
หรือแบบ ผช.มาจีบผญ. ให้ผช.จ่ายบอกดูใจ แต่พอผช.ทำบอกว่า ทำไมเป็นคนเล็กคิดน้อย
คุณเคยอยู่ในสังคมฝรั่ง คุณก็น่าจะรู้ว่าผญ.แบบนี้จะดูแย่ทันทีในสังคมฝรั่ง แต่ก็ยังมีผญ.หลายๆๆๆคนมากๆๆ ที่ไปเรียน อเมริกา อังกฤษ ก็ยังกลับมาทำเรื่องเดิมๆ แบบเดิมๆ คือเราอยู่ในสังคมที่หยุดนิ่ง มันไม่เปลี่ยนอะไรเลย
พอผช. จีบไม่นานแล้วไปก้เป็นขี้ปากว่าไม่อดทน พอจีบนานๆ ไม่ชอบก็หาว่าลุกล้ำความเป็นส่วนตัว ความสองมาตราฐานในสังคมไทยดูได้จากที่ผญ.ทำ ถ้าเราจะแก้เราต้องแก้เรื่องเล็กๆ พวกนี้ก่อนจะไปแก้สิ่งที่ใหญ่กว่านี้ครับ