(ต่อจาก >>533 )
- กลับมาเรื่องแท็กซี่ ทั้งหมดนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สหกรณ์ฯ บริษัทธนโชค และกรมการขนส่งทางบก บทสรุปเรื่องนี้คือ สหกรณ์ฯ รับเงินค่าป้ายเหลืองแท็กซี่ คันละ 270,000 บาทโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน ไม่จ่ายเงินปันผลให้กับสมาชิก ส่วนบริษัทธนโชค ขูดเลือดเรียกดอกเบี้ยแท็กซี่อย่างมหาโหด และกรมการขนส่งทางบกที่โอนอ่อนคล้อยตามคำสั่งของสหกรณ์ฯ อย่างมีเลศนัย
เมื่อเจ้าของรถแท็กซี่จ่ายเงินให้กับมาเฟียเหล่านี้จนครบ ก็สามารถมีรถแท็กซี่ใช้รับจ้างได้ทันที เจ้าของรถจะเลือกวิ่งแบบอิสระเหมือนในกรุงเทพก็ได้ แต่ปัญหาคือ ชาวเชียงใหม่ไม่นิยมใช้บริการรถแท็กซี่เนื่องจากมีราคาแพง นิยมใช้จักรยานยนต์กัน เจ้าของแท็กซี่จึงจำเป็นต้องเลือกสถานที่จอดเพื่อรับผู้โดยสารประจำ และต้องเสียค่าคิว เช่นสนามบินเชียงใหม่ หากเจ้าของรถ ต้องการวิ่งรับส่งผู้โดยสารภายในสนามบินเชียงใหม่ จะต้องจ่ายค่าคิวให้กับผู้ที่ประมูลคิวแท็กซี่สนามบินจากการท่าอากาศยานเชียงใหม่ ซึ่งเดิม บริษัทเจ็ดยอดเคยเป็นผู้ที่บริหารสัมปทานนี้เป็นเวลา 6 ปี ส่วนที่จ่าย แยกเป็นค่าคิวรายปีและค่าคิวรายเดือน รายปี 20,000 บาท รายเดือน 8,000 บาท บริษัทเจ็ดยอดได้หมดสัมปทานนี้ในวันที่ 30 กันยายน 2558 การท่าอากาศยานได้เปิดประมูลสัมปทานขึ้นใหม่ ผู้ที่ประมูลได้คือบริษัท คาร์เรนทัล จำกัด ด้วยราคาประมูลที่ต้องจ่ายให้กับการท่าฯ คือ 1,5xx,xxx บาทต่อเดือน และกำหนดค่าคิวรายปีที่แท็กซี่ทุกคันต้องจ่ายคือ รายปี 25,000 บาท รายเดือน 4,000 บาท แต่หักค่าบิลทุกเที่ยวของแท็กซี่ เที่ยวละ 50 บาท ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว แท็กซี่จะต้องจ่ายค่ารายปีและรายเดือนเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา
ในระหว่าง 6 ปีที่สหกรณ์ต้องขมขื่นกับการแพ้ประมูล สหกรณ์ก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้กับตัวเอง โดยอาศัยสายสัมพันธ์กับนักการเมือง เปิดให้มีการบริการรถตู้ Shuttle Bus วิ่งรับส่งผู้โดยสารฝั่งผู้โดยสารอาคารขาเข้าระหว่างประเทศ โดยอ้างว่าไม่มีรถบริการรับส่งผู้โดยสารอย่างเพียงพอ ซึ่งหากใครต้องการวิ่งรถตู้นี้ จะต้องจ่ายค่าคิวคันละ 300,000 บาท หรือจะเช่ารถตู้วิ่งก็ได้ เพียงจ่ายค่าเช่าวันละ 1,000 บาทและจ่ายรายเดือน หากพิจารณาตามเนื้อหาแล้ว ถือเป็นการทับซ้อนสัมปทานของบริษัทเจ็ดยอด ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ให้บริการแท็กซี่รับส่งทั้งผู้โดยสารขาเข้าในประเทศและระหว่างประเทศ เพราะนอกจากจะมีแท็กซี่มิเตอร์ที่ให้บริการแล้ว ยังมีแท็กซี่ลิมูซีน ที่บริหารโดยทหารอากาศ ให้บริการอยู่แล้ว รวมจำนวนแท็กซี่มิเตอร์และแท็กซี่ลิมูซีนถึงกว่า 300 คัน จึงมีจำนวนรถที่ให้บริการอย่างเพียงพอแน่นอน
- นอกจากนี้ สหกรณ์ฯ ยังป่วนคิวสนามบินต่อไปด้วยการส่งรถสองแถว (รถแดง) เข้ามารับผู้โดยสารบริเวณสนามบินทั้งๆ ที่มีป้าย ห้ามรถสาธารณะที่ไม่มีผู้โดยสารเข้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งทุกสนามบินในประเทศไทยก็ได้ใช้กฎระเบียบเดียวกันนี้ แต่สหกรณ์ฯ ได้เลือกวิธีให้รถแดงจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ดูแลการจราจรคันละ 20-40 บาท และสามารถรับผู้โดยสารออกไปเต็มคันรถ และหากเห็นสภาพรถแดง หลายคันอายุมากกว่า 30 ปี เก่า ทรุดโทรมมาก จนขาดความปลอดภัยในมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะ ไม่เคยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปตรวจสอบ แต่เพราะเป็นของสหกรณ์ฯ จึงไม่มีหน่วยงานใดอยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว ทั้งการแต่งกายของคนขับ บางคนก็ใส่เสื้อยืด รองเท้าแตะ บางคนมีกิริยาไม่สุภาพ หลายครั้งที่ผู้โดยสารลืมของไว้บนรถ แต่ก็ไม่เคยได้ของคืนเลย นอกจากนี้ยังไม่มีมาตรฐานราคา เช่น หากผู้โดยสารพูดภาษาเหนือได้ ราคาจะถูก หากพูดภาษากลาง ราคาจะแพงขึ้น แต่หากพูดภาษาต่างชาติ ราคาจะแพงที่สุด ถึงเวลาหรือยัง ที่ภาครัฐจะเข้ามาดูแลมาตรฐานเหล่านี้อย่างจริงจัง
(ต่อเม้นล่าง)