จากบทสัมภาษณ์ (สด) เรื่อง ยาแอสไพรินที่ปนเปื้อนในปลาหมึกที่แอดเต้ยได้พูดไป (ง่วงไป) บางคนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรนัก (หรือเพราะเวลาอธิบายไม่พอ55) งั้นวันนี้เดี๋ยวแอดเต้ยจะมาเสริมนิดๆหน่อยๆกับคำถามเอาให้เข้าประเด็นแบบเข้าใจง่ายๆตามที่หลายคนสงสัยเลยแล้วกัน 555
-
-
-
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
1.ทำไมถึงต้องใช้ยาแอสไพรินมาผสมกับปลาหมึก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปกติปลาหมึกเป็นโปรตีน หากทิ้งไว้นานจนไม่สด อาจดูเปื่อยยุ่ยไม่เต่งตึง การใช้เกลือ (ในทางวิทยาศาสตร์คือสารละลายที่แตกตัวได้ประจุไม่ได้หมายถึงเกลือปรุงอาหาร) ซึ่ง อาจจะเป็นผลึกเกลือแกง น้ำตาล หรือแม้แต่แอสไพรินก็ได้ เมื่อละลายน้ำในปริมาณมากเพื่อให้เกิดความเข้มข้นต่ำ ก็จะทำให้โปรตีนของปลาหมึกละลายน้ำได้ดีขึ้นหรือดูเต่งขึ้น ส่วนข้อดีของแอสไพรินที่นำมาใช้อาจเป็นเพราะความชอบของกรดกับโปรตีนที่มีมากกว่าเกลือตัวอื่น เนื่องจากแอสไพรินเมื่อละลายน้ำแล้วจะได้ salicylic acid กับ acetic acid ซึ่งเป็นกรดทั้งคู่
-
-
-
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
2.แล้วถ้าเอาแอสไพรินมาผสมแบบนี้ จะเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างไร
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
กรณีผู้บริโภคสุขภาพดี ไม่แพ้ยาและไม่มีข้อห้ามใช้ ก็สามารถรับประทานได้แต่ความปลอดภัยอาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เพราะกระบวนการที่จะทำให้ปลาหมึกดูเต่งจะต้องใช้เกลือที่ความเข้มข้นต่ำดังที่ได้กล่าวไป ดังนั้นผู้ผลิตจึงมักผสมยาในปริมาณน้อย เช่น 1 ซอง ต่อ 1 ถังของปลาหมึก เพราะเนื่องจากหากใส่ไปในปริมาณมากๆจะทำให้ปลาหมึกดูเหี่ยวแทน ซึ่งการปนเปื้อนของยาในปริมาณที่น้อยเช่นนี้จึงถือว่าน่าจะไม่อันตรายถึงขั้นเป็นพิษ เนื่องมาจากว่าในธรรมชาติเราก็สามารถพบสาร salicylate ได้ปริมาณนึงอยู่แล้ว โดยเฉพาะจากพืช เช่น ชะเอมเทศ ปาปริก้า หรือผงเครื่องเทศต่างๆ (ก่อนที่จะมาเป็นยากลุ่มนี้เราก็สังเคราะห์มาจากพืช willow bark เช่นเดียวกัน)
-
แต่หากจะว่ามีอันตรายก็มีเหมือนกัน เนื่องจากยาแอสไพริน (มีชื่อเคมีว่า acetylsalicylic acid) เมื่อสลายตัวจากปฏิกิริยา hydrolysis ด้วยความชื้นหรือน้ำแล้วจะได้กรดถึงสองตัว (salicylic acid กับ acetic acid)
ดังนั้นจึงมีฤทธิ์ในการกัดกระเพาะมากเมื่อรับประทาน จากคุณสมบัติของกรดเอง สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในทางเดินอาหารหรือมีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้ยาแอสไพรินยังสามารถออกฤทธิ์ไปยับยั้งเอนไซม์ COX ทั้ง 1 และ 2 แบบไม่ผันกลับ มีผลทำให้ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ prostaglandin ซึ่งหนึ่งในผลกระทบของการไม่สังเคราะห์นี้จะทำให้ร่างกายไม่ผลิตเมือกมาปกคลุมและป้องกันกรดในทางเดินอาหาร และสามารถเกิดได้แม้ในทุกปริมาณและระยะเวลาของการได้รับยานี้ ดังนั้นถ้ากินบ่อยๆอย่างต่อเนื่องก็อาจพัฒนาทำให้เกิดกลุ่มอาการแผลหรือเลือดในทางเดินอาหารได้ ส่วนผลข้างเคียงอย่างอื่นที่สามารถเกิดขึ้น ได้แก่ การได้ยินที่ผิดปกติ ไตเสื่อม ผื่นแพ้ edema เป็นต้น
-
-
แต่ในบางครั้งปริมาณที่ร่างกายได้รับจากปลาหมึกที่ปนเปื้อนอาจจะไม่เท่ากัน เพราะผู้ผลิตปลาหมึกอาจใส่ปริมาณที่แตกต่างกัน (ไม่สามารถรู้ได้) รวมไปถึงร่างกายของคนเรามีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงยาที่แตกต่างกัน (ดูดซึม กระจาย ทำลาย ขับออก) บางคนมียาหรือวิตามินที่ใช้ร่วมซึ่งมีผลต่อระดับยาในเลือด เช่น vitaminC สามารถเพิ่มการขับออกของแอสไพรินได้ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้คนสุขภาพดีหลายคนได้รับปลาหมึกที่ปนเปื้อนนี้ไปแล้วเกิดอันตรายมากน้อยต่างกัน อันตรายที่หมายถึงจึงน่าจะขึ้นกับปริมาณหรือความเข้มข้นของยาที่ออกฤทธิ์ในร่างกาย จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าทุกคนที่กินจะเกิดหรือไม่เกิดอันตราย “ทางที่ดีคือไม่ใช้ถ้าไม่มีความจำเป็น”และก็ไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ยาแอสไพรินมาผสมในอาหาร เพราะอาหารก็ไม่ควรที่จะมียาเป็นองค์ประกอบ เนื่องจากยามีทั้งประโยชน์และโทษขึ้นกับการใช้ที่ต่างกัน
-
-
(ต่อเม้นล่าง)