Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 7th quotes

Last posted

Total of 1000 posts

231 Nameless Fanboi Posted ID:uL.JjPSl3z

( ต่อจาก >>230 )

เมื่อเป็นแบบนี้ผู้หญิงเอเชียคือ "เหยื่อ" แบบหนึ่งในสังคมโลกที่มีผู้ชายฝรั่งไม่น้อยที่มีอาการ Yellow Fever แปลตรงๆคือไข้เหลือง เป็น Fetish ในการมองผู้หญิงเอเชียเป็นวัตถุที่แสดงความคลั่งไคล้ทางเพศแบบหนึ่ง เหมือนกับผู้หญิงเอเชียจินตนาการเรื่องนิสัยผู้ชายตะวันตกและเหมารวมค่ะ เรื่องการเหมารวมนี่พูดแล้วยาว

เรื่องนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Pick Up Artist บนยูทูปหรือกลุ่มผู้ชายชาวยุโรปตะวันตกและอเมริกันที่ไปใช้ชีวิตในเอเชีย สร้างชื่อเสียงและรายได้จากการถ่ายวีดีโอตัวเองเพื่อสอนเทคนิคการ "หลอกสาวเอเชีย" ตามห้างต่างๆพร้อมทั้งเชิญชวนว่าใครหาแฟนไม่ได้ให้มาเอาผู้หญิงเอเชียเพราะผู้หญิงเอเชียหลอกง่าย

ดังนั้น CRA ที่ถ่ายทอดความเป็นคนสมัยใหม่ของคนเอเชียออกมาจึงเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่กำลังต่อสู้กับมายาคติต่อคนเอเชียที่มีมาเกือบสามร้อยกว่าปี (ฝรั่งเริ่มดูถูกคนเอเชียเมื่อประมาณคริสตวรรษ์ที่ 17 เป็นต้นมาเนื่องจากเศรษฐกิจและศาสนารุ่งเรืองในยุโรป)

สำหรับคนที่เป็นคนเอเชียเลยที่เติบโตในกรอบสังคมที่มีคนเอเชียเป็นหมู่มากจะไม่เคยผ่านเรื่องที่หลายๆคนที่เป็น Asian American (อเมริกันเชื้อสายเอเชีย) British Asian (อังกฤษเชื้อสายเอเชีย) หรือ Third Culture Asian (คนเอเชียที่มีหลากวัฒนธรรมในตัว) ต้องเจอยามที่โตมาในสังคมที่คนขาวเป็นใหญ่คือปัญหาเรื่อง bullying หรือการกลั่นแกล้งแบบคุกคาม ผ่านการเหยีดสีผิว วัฒนธรรม ภาษา หรือความเชื่อ การแก้ปัญหาของเด็กกลุ่มนี้จะพยายามเป็นฝรั่งแต่ถ้าครอบครัวเป็นครอบครัวที่ค่อนข้าง Traditional หรือประเพณีนิยม เด็กส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องอัตลักษณ์ ในอังกฤษมีการพบว่าเด็กที่กลายเป็นกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนามักผ่านประวัติการโดนกลั่นแกล้งหรือขัดแย้งรุนแรงเรื่องอัตลักษณ์ของครอบครัวกับสิ่งแวดล้อมของสังคมและโรงเรียน มันเกี่ยวกับความมั่นใจด้วยนะคะในฐานะคณะกรรมการที่ดูแลสวัสดิภาพของนักศึกษาที่นี่ทำให้ได้เห็นว่าบางครั้งเด็กหลายชาติพันธุ์ขาดความมั่นใจกับเรื่องง่ายๆแค่เรื่องการติดต่อและถามงาน วิธีแก้คือสังคมต้องช่วยกันลดทัศนคติที่ผิดๆออกไป

หลายครั้งที่ความเป็นเอเชียถูกใช้เป็นเพียงวัตถุ "ประดับ" จินตนาการของมายาคติความเป็นเอเชียโดยสังคมตะวันตก เช่นการเอาเสื้อคลุมนอนมาใส่เป็นกีโมโนสำหรับงานเลี้ยงหรือการเอาตะเกียบเสียบผม ซึ่งข้อแตกต่างในบริบทการบริโภควัฒนธรรมนั้นคือเมื่อสิ่งเหล่านี้อยู่บนตัวของชาวตะวันตกมันถูกมองว่าในทางบวกแต่คนเอเชียที่สวมใส่สิ่งเหล่านี้กลับดูเป็นของแปลกและเป็นปัจจัยให้มีการล้อเลียน ปรากฏการณ์ยืมวัฒนธรรมไปเพื่อเลือกบริโภคในแง่รูปลักษณ์ผิวเผินนี้เรียกว่า cultural appropriation หรือการยืมเอาวัฒนธรรมไปใช้ในเชิงผิดวัตถุประสงค์ในลักษณะที่เจ้าของวัฒนธรรมไม่สามารถทำได้หรือไม่ทำ

ดังนั้นคนเชื้อสายเอเชียจึงมักมองบางสิ่งว่าการคุกคามหรือล้อเลียนทางวัฒนธรรมมากกว่าคนเอเชียที่ไม่ได้มีประวัติของการเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคมตะวันตก เช่น งานนิทัศการที่ Metropolitan Museum โดยเอากีโมโนดัดแปลงจากภาพของ Monet มาลงแสดงได้รับการตอบรับที่ดีในญี่ปุ่น แต่ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นกลับออกมาประท้วงด้วยเหตุผลว่างานดังกล่าวเป็น Cultural Appropriation เหตุผลคือคนอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นนั้นมีประวัติการโดนกีดกันทางสังคมทำให้ต้องแลกวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของตนเพื่อเข้าได้กับสังคมอเมริกัน แต่ในทางกลับกันวัฒนธรรมญี่ปุ่นกลับกลายเป็นเครื่องประดับที่สวยงามและงานศิลปะบนร่างกายของผู้หญิงตะวันตก จริงๆแล้ว Monet เป็นงานช่วงที่ความคิดแนว Orientalism หรือบูรภาคดีศึกษารุ่งเรือง เคยเขียนเรื่องนี้ไว้นานแล้วตามไปอ่านได้นะคะ

https://www.facebook.com/econoarchaeology/posts/1692517447744168?__tn__=K-R

ไม่ว่าหนังเรื่องนี้จะมีข้อเสียตรงที่อาจจะแสดงถึงความหลากหลายไม่พอหรือมีหลายอย่างที่ไม่มีความเป็นสิงคโปร์ แต่หนังเรื่องนี้คือปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองเพราะทั้งหนังและหนังสือที่ขายดีมากๆในกลุ่มผู้หญิงตะวันตก (!) เพราะมันคือหนังที่เป็นตัวแทนของโลกาภิวัฒน์ในเชิงบวกด้านความเทียมของความหลากหลายวัฒนธรรม

#มิตรสหายท่านหนึ่ง

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.