>>105 คำนี้มันมีที่มาจากคนต่างจังหวัดสมัยก่อนที่โอกาสในชีวิต การศึกษา การทำมาหากิน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆแม่งแตกต่างกับสมัยนี้ราวฟ้ากับเหว เช่นสมัยก่อนคน ตจว ส่วนมากจบแค่ ป1-6 หรือบางคนอาจได้เรียนแค่1-2ปีด้วยซํ้า เมื่อไร้การศึกษา ก็ย่อมไร้หนทางหากินหรือการที่จะพัฒนาตนเองให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ คน ตจว สมัยก่อนก็ต้องทนทำไร่ทำนา เลี้ยงควาย ปลูกข้าวไปตามยถากรรม ถูกนายหน้า ถูกโรงสีเอาเปรียบ ขูดเลือดขูดเนื้อ สังเกตุได้ว่า ภาพยนตร์สมัยก่อนเนี่ยถ้าเกี่ยวกับชาวนา ชาวนาจะยากจน ส่วนพวก เจ้าของโรงสีหรือนายหน้าจะรํ่ารวย เพราะพวกนี้มีความรู้ และนำความรู้นั้นมาเอาเปรียบคนที่ไม่รู้อย่างชาวนา ภายหลังเมื่อความเจริญและการศึกษาเริ่มเข้าถึงมากขึ้น ผู้คนเริ่มได้รํ่าเรียน เริ่มมีความรู้ ก็รู้ว่าหนทางที่จะทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความ ยากจนได้คือความรู้ ความรู้ไม่ใช่เฉพาะในตำรา แต่เป็นความรู้ในการใช้ชีวิตด้วย แต่ไอ้ครั้นจะหาเงินทุนในการตั้งตัวนั้นก็ไม่ได้มีมาก คนที่จะได้ไปเรียนต่อในกรุงเทพ หรือในตัวอำเภอหรือตัวเมืองยิ่งมีน้อยกว่าน้อย คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนก็อยากจะให้ลูกหลานอยู่บ้านทำนานี่แหละไม่ต้องไปเรียนหรอก เพราะความไม่รู้และไม่ได้รับการศึกษาจึงทำให้คิดแบบนี้ แต่คนรุ่นใหม่ที่คิดต่างๆคิดว่า โอกาสก้าวหน้าในชีวิตคือการศึกษาที่จะเป็นใบเบิกทางไปสู่อาชีพและการงานดีๆอย่างอื่นได้ ดังนั้นใครที่เรียนเก่ง หรือพอมีแวว แล้วทางบ้านสนับสนุนหรืออาจจะหาทางไปเรียนต่อ ไปไขว่คว้าหาโอกาสในตัวเมืองต่อได้ ก็จะถูกมองว่าเป็นความหวังของหมู่บ้าน รํ่าเรียนจบมาสูงๆ สอบเข้ารับราชการได้ก็จะเป็นหน้าเป็นตาให้หมู่บ้าน ยิ่งเติบโตในสายอาชีพได้อีก คนในหมู่บ้านก็จะพึ่งพาได้แบบระบบอุปถัมภ์ เช่น ฝากลูกหลานไปทำงานด้วย ฝากลูกหลานไปเรียนด้วย อย่างนี้ หรืออาจจะโชคดีรํ่ารวย หรือเป็นข้าราชการใหญ่โตกลับมาก็เป็นหน้าเป็นตา เป็นที่พึ่งให้ความหวังกับญาติมิตรและเผื่อแผ่ไปยังคนในหมู่บ้าน นี่คือที่มาคร่าวๆ ของคำว่า ความหวังของหมู่บ้าน