>>758 แต่มันก็จะมี 2 แนวคิดอีก ถ้าโซนยุโรปที่แคร์สิทธิมนุษยชนมากๆ เขาเน้นจูงใจนำก่อน คือปรับสภาพแวดล้อมให้คนรู้สึกว่าทำดีง่ายกว่าทำชั่ว ที่หลายๆ คนบอกว่ารัฐสวัสดิการดีมาก แต่ละคนได้รับการส่งเสริมเชิงบวกที่หลากหลาย จนนึกไม่ออกว่าจะไปทำผิดทำไม
สิงคโปร์ที่เป็นเผด็จการ ส่วนหนึ่งที่มันอยู่ได้คือเขาให้ทางเลือกที่ทดแทนกันได้ด้วย ตัวอย่างคลาสสิกคือแต่ก่อนมีแผงลอยบนทางเท้า ต่อมารัฐบาลก็ให้ย้ายเข้าไปขายในตึก แต่ขอโทษเถอะตึกน่ะทำเลเดิมที่ขายกัน แถมช่วยโฆษณาให้ด้วย เป็นกูกูก็ไม่ดิ้นรนกลับมาขายบนทางเท้านะ แต่นั่นคือสิงคโปร์ ที่ดินเป็นของหลวง รัฐบริหารจัดการง่าย ต่างจากบ้านเรา ที่ดินเป็นของเอกชน จะเวนคืนทำอะไรก็ยากเหลือเกิน กำลังภายในมันเยอะ เลยเห็นนโยบายแบบมีเรื่องทีจัดระเบียบที พอเรื่องเงียบก็เหมือนเดิม นี่ยังไม่นับขนาดประเทศที่คนละเรื่องอีกนะ สิงคโปร์เกาะเล็กๆ คนไม่มาก บริหารจัดการอะไรก็ง่ายกว่า ถึงเป็นประเทศที่ความเหลื่อมล้ำน้อย อย่าเอาไปเทียยกับจีน จีนนี่เห็นเจริญๆ ใช่อยู่แต่ความเหลื่อมล้ำ ความเครียดจากการแข่งขันเยอะมาก ประเทศเขาใหญ่ คนกว่าพันล้าน และรัฐบาลไม่แคร์ คนตายไปดีเสียอีกลดประชากรด้วย ทุกวันนี้ก็แทบจะกดดันให้คนออกไปตายเอาดาบหน้าใน ปท. อื่นอยู่แล้ว (แอฟริกาหลายประเทศมีไชน่าทาวน์นะ คนไทยกับฝรั่งยังงง คือคนจีนไปลงทุน ไปทำงานกันเยอะ)
ฝั่งเอเชียเรามักใช้การลงโทษนำ พวกประเทศที่เจริญๆ ฝั่งเอเชีย อย่างญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ปัญหาอย่างหนึ่งคือคนในนั้นมีกรอบชีวิตกรอบเดียว ไม่ค่อยมีเสรีภาพในการเลือกเท่าฝั่งยุโรป การแข่งขันเลยสูง คนเครียดมากเพราะไม่ค่อยเหลียวแลคนรอบข้าง อย่างญี่ปุ่นนี่เคยมีคนบอกถ้าเป็น loser ในระบบก็ตายไปซะ เพราะถึงพยายามทำอะไรที่เป็นการแหกกฎระเบียบคนก็ไม่เห็นใจอยู่ดี