เห็นข่าวหมอเตือนห้ามให้ทารกกินกล้วย แต่ดันมีชาวไทยมาด่าหมอ แล้ว ผมไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่
แม่ผมเป็นพยาบาล ผมเกิดในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เคยได้ยินวิธีการตายแบบมาสเตอร์พีชจากความเชื่อท้องถิ่นมาเป็นสิบๆรูปแบบ
ปัญหาใหญ่คือ คนไทยเชื่อหมอผี กับเรื่องที่ใครก็ไม่รู้พูดมา มากกว่าหมอ หมอบอกไม่เชื่อ แต่เชื่อจดหมายลูกโซ่สูตรยาผีบอกที่หย่อนอยู่ในตู้จดหมายก็มี
จากบันทึก เราพบว่าความเกรียนแล้วดื้อของชาวสยาม มีมาตั้งแต่วันที่การแพทย์สมัยใหม่เข้ามาในแผ่นดินสยามแล้ว โหดสัสมาตั้งแต่เมื่อสองร้อยปีก่อน
บุคคลที่ต่อสู้กับเรื่องนี้เป็นคนแรกคือ หมอปลัดเล หรือชื่อเต็มคือ แดน บีช บรัดเลย์ (Dr.Daniel Beach Bradley)
ในยุคที่หมอบรัดเลย์เกิด กระแสฟื้นฟูศาสนาในอเมริกันกำลังเฟื่องฟู มีความคิดในเรื่องรณรงค์เลิกทาส และเรียกร้องให้ผู้ศรัทธาทำมิชชั่น โดยการเดินทางไปยังประเทศที่ยังไม่พัฒนา เพื่อเผยแพร่ศาสนา และวิทยาการต่างๆ
หมอบรัดเลย์เป็นนายแพทย์ซึ่งเดินทางมายังประเทศไทยเป็นคณะมิชชันนารีของคณะอเมริกัน เข้ามาถึงประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2378 (1835)
ตอนนั้นหมออายุ 31 ปี เป็นผู้ร่วมเริ่มต้นพันธกิจคริสเตียนสายโปรแตสแตนท์ในประเทศไทย และร่วมก่อตั้งคณะเพรสไบทีเรียนสยาม ที่ต่อมาเป็นสภาคริสตจักรไทย
คิดว่าเมื่อหมอบรัดเลย์มาถึงสยาม คนไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอบรับอย่างไร กับการแพทย์ตะวันตก?
กลายเป็นว่าคนสมัยนั้นมองว่า ศาสนา กับ วิชาต่างๆ เป็นเรื่องเดียวกัน
ประมาณว่า การรักษาโรคกับการไล่ผีเป็นสิ่งเดียวกัน ยาบำรุงธาตุกับความเชื่อเรื่องจักรวาลวิทยาของพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งเดียวกัน อายุรเวทอินเดียถูกผนวกเข้ากับความเชื่อของศาสนาจนเป็นเนื้อเดียวกัน
ดังนั้นการแพทย์ตะวันตก จึงไม่อาจอธิบายให้คนสยามเข้าใจได้
พูดง่ายๆคือ สมมุติคนป่วยคือถูกผีเข้าก็ต้องหาว่านทีมีฤทธิ์ไล่ผีสิ ยาฆ่าเชื้อห่าอะไร
นอกจากนั้น เราก็รู้ดีว่าหมอหลวงจะมีท่าทียังไงเมื่อมีศาสตร์ใหม่ที่ได้ผลมากกว่าเข้ามาเหยียบแผ่นดิน คิดว่าหมอหลวงจะมีจิตวิญญาณไปขอเรียนเพื่อพัฒนาวิชาการแพทย์มารักษาคนงั้นเหรอ - คิดอะไรเป็นการ์ตูนหมอญี่ปุ่นแบบนั้น คุณก็รู้ว่าที่นี่สยาม
ผลคือการรักษาของหมอบรัดเลย์ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวสยาม เวลานั้นชาวจีนตอบรับการแพทย์ตะวันตกมากกว่า รวมถึงมีชาวจีนเปิดรับศาสนาคริสต์มากกว่า หมอบรัดเลย์ จึงเริ่มต้นก่อตั้งโรงหมอบริเวณแถวๆเยาวราชในปัจจุบัน เพื่อจ่ายยา และหนังสือศาสนาให้แก่คนไข้
ผลคือทางการสยามไม่ชื่นชอบหมอบรัดเลย์นัก จึงกลั่นแกล้งไม่ให้เช่าที่ต่อ โดยอ้างว่าเกรงจะทำให้ชาวจีนก่อกบฏ
หมออยู่ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องย้ายไปอยู่บริเวณชุมชนชาวโปรตุเกส พวกคณะมิชชันนารีช่วยกันสร้างโอสถศาลาขึ้น เปิดทำการเมื่อ 30 ตุลาคม 2378(1835)
ปี 2379(1836 ) หมอบรัดเลย์ได้สั่งแท่นพิมพ์เข้ามาเป็นเครื่องแรกในสยาม และได้พิมพ์หนังสือเล่มแรกของสยามคือ "บัญญัติ 10 ประการ" เพื่อแจกในการเผยแพร่ศาสนา
วิชาของหมอยังไม่เป็นที่ไว้วางใจของชาวสยาม จนกระทั้ง 3 มกราคม 2380(1837) มีพระสงฆ์รูปหนึ่งถูกพลุที่ใช้ในงานวัดระเบิดใส่จนแขนขาด หมอบรัดเลย์จึงทำการผ่าตัดใหญ่เป็นครั้งแรกในสยาม ชื่อเสียงของหมอก็เลยดังขึ้นมา
(ว่ากันว่ามีการผ่าตัดเอาเนื้องอกจากทาสออกก่อนหน้านั้น ซึ่งควรนับเป็นครั้งแรกมากกว่า)
นั่นทำให้ชื่อเสียงของหมอบรัดเลย์ดีขึ้น ชาวสยามยอมรับการผ่าตัดต้อกระจก และเนื้องอก แต่จุดประสงค์ทางด้านศาสนาของหมอก็ไม่คืบหน้าเท่าไหร่ ทางการสยามสนใจงานด้านการพิมพ์ของหมอมากกว่า
ทางการสยามได้ให้การสนับสนุน และจ้างให้หมอพิมพ์เอกสารเรื่องการห้ามสูบฝิ่นของรัฐบาล 9,000 ฉบับ
ในปี 2384(1841) หมอบรัดเลย์ ก็สั่งหล่อตัวอักษรไทยเพื่อใช้เรียงพิมพ์ขึ้นได้เป็นครั้งแรก จากที่ก่อนหน้านี้ใช้บล็อกพิมพ์ไม้
ปี2387(1844) หมอบรัดเลย์ก็ได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยามขึ้นในชื่อว่า หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอร์เดอร์
และแล้วก็เกิดการระบาดของไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษขึ้นในสยาม
ถ้าเราอ่านประวัติศาสตร์ของภูมิภาค จะพบว่าจะมีโรคพวกนี้ระบาดทุกประมาณ 30-50 ปี เรียกรวมๆว่า "ห่าลง" ซึ่งมีโรคยอดฮิตคือ อหิวาฯ ฝีดาษ กาฬโรค เวียนๆกันไป ลงเมื่อไหร่ก็ตายห่ากันทั้งเมือง
หมอบรัดเลย์ได้เสนอวิธีการรับมือกับฝีดาษแบบสมัยใหม่คือ การปลูกฝี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเมตตาพระราชทานเงินให้หมอซื้อเชื้อสำหรับการปลูกฝีมาจากอเมริกา หมอบรัดเลย์ได้ศึกษาต่อจนกระทั้งสามารถผลิตเชื้อที่ใช้ปลูกฝีต่อได้เอง จนสามารถปลูกฝีได้แพร่หลาย สยามจึงสามารถชนะไข้ทรพิษ ซึ่งเป็นโรคที่ฆ่าชาวสยามมาตลอดสมัยโบราณได้สำเร็จ
(ต่อเม้นล่าง)