อันนี้คือก็น่าสนใจและอยากเขียนถึงหน่อย
---------------------------
สิ่งนึงที่อยากให้เข้าใจ คือ สุดท้าย management ก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่มาบริหารงาน เขาก็ไม่ใช่เทพยดาอะไรที่จะรู้ไปหมดทุกอย่าง
คือเวลาที่อะไรออกมาไม่ดีเนี่ย management ด้วยความเป็นคน มันก็จะรู้สึกว่า “ต้องทำอะไรซักอย่าง อยู่กันแบบนี้ไม่ได้” แล้วถ้าเขาไม่เข้าใจเรื่อง technical สิ่งเดียวที่เขานึกได้ก็คือ feature ก็เลยไม่แปลกว่าทำไมมันมักจะออกมาเป็น feature factory
Incentive ของระบบมันประมาณนี้
คือจะไปบอกว่าขณะที่ผลงานทำได้ไม่ถึงเป้า บริษัทกำลังจะเจ๊ง คุณหัวหน้าผู้มีความรับผิดชอบสูง คุณจงยืนเฉยๆ นิ่งๆ อย่าคิดอย่าทำอะไรทั้งนั้น ยักไหล่ไปสิ ปล่อยพวกผมทำงานไป ผมรู้ดีว่าต้องทำอะไร
อืมมมม ถ้าเขาตายด้านกับงานแล้วก็คงทำได้แหละ
สิ่งนึงคือถ้าระบบมันถูก Setup ให้ Management สามารถ Contribute ได้โดยการแค่บอกว่า "จะสร้างอะไรดี" เขาก็จะย้ำ Contribution ไว้ที่ตรงนั้น เวลาที่เขารู้สึกว่าเขาต้องทำอะไรซักอย่าง แล้วสิ่งที่ระบบมันเปิดทางให้เขาทำมีอย่างเดียวคือ "ออกไอเดียสิว่าสร้างอะไร" มันก็ไม่แปลกใช่มั้ยที่เขาจะเลือกทำสิ่งนั้น
ก็เป็นที่มาของ Feature factory
โอเค คุณจะไปบอก management ว่าเราต้องทำอะไรซักสิ่งที่ยูไม่มีวันเข้าใจ อย่าง technical debt ทำ market research ทำ design sprint, etc. ยูไม่ต้องเข้าใจหรอกแต่ยูต้องให้พวกเราทำ
ก็อาจจะเป็นทางที่ดีกว่าพยายามปั่นงานออกไป แล้วสุดท้าย Management บางคนก็ approve ให้ได้นะ ถึงแม้ไม่เข้าใจเต็มร้อย
แต่ซักพักพอแรงกดดันลงมา ถามย้ำว่า “ทำไมเราต้องทำ technical debt” ตลอด ถ้าเขา approve ให้ด้วยความเข้าใจเต็มร้อยความเชื่อมั่นเต็มร้อย เขาก็จะบอกได้ว่าทำไม ถามอีกกี่ครั้งก็บอกได้
แต่ตรงข้าม ถ้าเขา approve ไปโดยไม่เข้าใจ เขาก็จะเอ๋อต่อหน้าคำถามนั้น เวลาลูกค้า/ระดับสูงถามลงมา แล้วก็จะกลับมาสงสัยเรื่อยๆ ว่าทำไปทำไมนะ ทำไปทำไมนะ ทำไปทำไมนะ จนถึงจุดนึงก็แบบ โอเค ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไปทำไม เลิกทำดีกว่า เลิกๆๆๆ ปั่นฟีเจอร์ต่อ
ถึงบอกว่าบางครั้ง ความเข้าใจสำคัญกว่าผลลัพธ์อีกในระยะยาว
ถามว่าจะบรรเทายังไงได้บ้าง
- พยายามทำความเข้าใจกันมากๆ คุยกันเยอะๆ ซึ่ง บอกเลยว่า เหนื่อย...... มากๆ มากเสียจนหลายคนเลือกที่ว่า ไม่คุยแล้วดีกว่า ซึ่งบางครั้งก็เสียเวลาคุยไม่ได้แล้วจริงๆ บางครั้งก็คุยกันได้แต่เหนื่อยพอเหอะ สิ่งสำคัญคือ อยากให้มีสติว่า เวลาเลือกที่จะไม่ทำความเข้าใจแต่ลงมือ เรา Trade-off อะไรออกไปบ้าง อย่ามองแค่ว่าเห้ยไม่ต้องเข้าใจก็ได้ แต่อนุญาตก็พอ อย่างน้อยถ้าจะเลือกไปทางนี้ ไปด้วยความมีสติ ไม่ใช่ไปด้วยอารมณ์ที่มองไม่เห็นเลยว่าเราเสียอะไรไปจากการไม่ทำความเข้าใจกัน
- อย่าปกป้องพื้นที่ของตัวเองมากไป เปิดโอกาสให้ Management เขาได้ Contribute อะไรบ้าง หาพื้นที่ให้เขาอยู่ในทีม อย่ากันเขาออกจากทีม เพราะอย่างที่บอกคือ ถ้าเราไปสร้างระบบ ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่สุดท้ายกลายเป็นอารมณ์ว่า "ผู้บริหารเอ๋ย สิ่งเดียวที่คุณยุ่งกับทีมได้คือบอกว่าสร้างอะไร ที่เหลืออย่ายุ่งนี่คือความชำนาญของฉัน" เขาก็จะทำแบบนั้นเสมอ คอยหาว่าต้องสร้างอะไรใหม่ มากขึ้นเรื่อยๆ เสมอ ทุกครั้งที่ที่สถานการณ์ไม่เสถียร
ถ้าใครอยู่เฉยๆ ได้คือต้องนิ่งมาก หรือไม่ก็ไม่แคร์งานอีกต่อไปเท่านั้นแหละ ผมถึงได้บอกว่ามันเป็น Human element มันไม่ใช่ Logical เพราะมันง่ายที่จะบอกในเชิงตรรกะว่า "จังหวะนี้ที่ทุกอย่างถล่มทลาย ผมพิจารณาทุกทางเลือกแล้วพบว่านิ่งไว้ไม่ทำอะไรดีที่สุด ปล่อยให้ทุกอย่างมันรันไปเองเดี๋ยวดีเอง"
โอเค อาจจะถูกต้องในทางตรรกะก็เป็นได้ ในหลายสถานการณ์
แต่ในความเป็นจริง หัวใจคนที่แคร์งานมากๆ เขาจะทำแบบนั้นได้ลงคอเหรอ ยากมากเลยนะ
------------------------------
<ต่อเม้นล่าง>