Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 6th quotes

Last posted

Total of 1000 posts

182 Nameless Fanboi Posted ID:nzZ3jRv2Q

พุทธแท้ไม่มีตั้งแต่พศ.300(พุทธศตวรรษที่3)หลังพระเจ้าอโศกมหาราชเริ่มบันทึกตำราศาสนา
(ไม่เหมาะสำหรับผู้นิยมว่าเถรวาทไทยเป็นพุทธแท้)

หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ชัดว่า
1 ไม่มีเมืองกบิลพัศดุ์และไม่ปรากฎการบันทึกของอินเดีย แต่หลักฐานบ่งบอกว่า เมืองของเจ้าชายสิทธัตถะคือเมือง ติเลาราโกต ซึ่งนักโบราณคดีค้นพบเมื่อปี พศ.2442 ที่ประเทศเนปาล

2 หลักฐานที่นักโบราณคดีค้นพบคือ
เจ้าชายสิทธัตถะไม่ใช่เจ้าชายอินโดอารยันวรรณะกษัตริย์ตามคติพราหมฮินดูอย่างที่พระเจ้าอโศกบันทึก แต่เป็นชนเผ่า ทารู (มองโกลอยด์)ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของเนปาล(ลักษณะทางกายวิภาคเหมือนคนจีนมากกว่าอินเดีย) โดยสมัยพุทธกาลถือเป็นชนเผ่านักรบที่เข้มแข็ง

3 การที่พระเจ้าอโศกมหาราช หันมานับถือศาสนาพุทธ ทำให้พราหมจำนวนมากแทรกคำสอนของตนใว้กับศาสนาพุทธ(เช่นเรื่องบุญกรรมชาติที่แล้วส่งผลต่างๆกับชีวิต)ซึ่งภายหลังเปลี่ยนให้พุทธะเป็นพระนารายอวตารตามคติฮินดูแทน(ศาสนาฮินดูเกิดขึ้นภายหลังก่อนหน้านั้นเป็นแต่พราหมสอน)

4 นักวิชาการทั่วโลกยอมรับว่า พุทธแบบทิเบตใกล้เคียงกับสมัยพุทธกาลมากกว่าพุทธทุกนิกาย

พุทธที่อินเดียรับอิทธิพลพราห์ม ฮินดู

ที่จีนรับอิทธิพล ลัทธิหยู เต๋า

ส่วนไทยนั้นมีทั้งพราห์ม ฮินดูแบบเขมร และผี

ส่วนทิเบตนั้น สภาพทางภูมิศาสตร์ทำให้ไม่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิศาสนาอื่น ศาสนาพุทธแบบทิเบตถือว่าใกล้เคียงของเดิมมากกว่าทุกนิกาย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1 ตามพุทธประวัติของเนปาล ทิเบต ระบุว่า พระเจ้าสุทโธทนะ สั่งสร้างกำแพงวังให้สูงแล้วให้คน"กระโดดข้ามกำแพง" แสดงว่า วัง ของเจ้าชายสิทธัตถะเป็นวังสร้างจากไม้ แทนที่สร้างจากหิน หินอ่อน ศิลา ไม่ได้มีกำแพงใหญ่โตแบบวังกษัตริย์อินเดียแสดงว่าการอยู่อาศัยเป็นแบบชุมชนที่ไม่ซับซ้อน

2 จากข้อ1 การให้คน"กระโดด"ข้ามกำแพง แสดงว่าต้องมีการฝึกฝนคนให้เป็นนักรบที่แกร่งมากเพราะพื้นที่ของเมืองอยู่ท่ามกลางป่าที่มีสัตว์ร้าย และตามประวัติ ชาวเมืองถือว่ายิงธนูแม่นยำมาก

3 ทั้งการออกนอกวังพบเทวทูตทั้ง4 และการออกบวช ตามพุทธประวัติดั้งเดิมเจ้าชายสิทธัตถะและนายฉันนะต่าง นั่งม้าตัวเดียวกัน อันเป็นรูปแบบของชนเผ่านักรบ ซึ่งผิดกับคติวรรณะแบบพราหมฮินดู ที่กษัตริย์อยู่บนหลังช้างและ กษัตริย์และผู้รับใช้ไม่นั่งม้าตัวเดียวกันอันเป็นธรรมเนียม

4 พุทธเป็นแบบ อเทวะนิยม นั่นคือปฏิเสฐพระเจ้า แต่พุทธไทยนอกจากรับมาจากศรีลังกาที่พยายามแทรกเรื่องการสวามิภักดิ์กษัตริย์แล้ว ก็ยังมีการรับเอาระบบคติเทวะราชาสมมุติเทพของเขมรมาใช้และแทรกเพิ่มเติมอีก ทำให้ พุทธแบบไทยๆไม่เหมือนใครบนโลก

เกร็ดเล็กน้อย
พระพุทธเจ้าไม่เคยทำนายอายุศาสนาพุทธว่าอยู่ถึง5,000ปี
แต่เคยกล่าวตอนพระอานนท์ขอให้พระพุทธเจ้าบวชให้พระนางปชาบดีโคตมีว่า

หากไม่ให้ผู้หญิงบวช พระธรรมอันไม่ปลอมปนจะคงอยู่กว่า1,000ปี

แต่หากให้ผู้หญิงบวชพระธรรมอันไม่ปลอมปนจะคงอยู่เพียง500ปี

ซึ่งพระอานนท์คงกล่าวราวๆว่า 500หรือ1,000ปีคำสอนก็ถูกปลอมปนอยู่ดี บวชให้พระนางผู้เป็น(ดั่ง)มารดาเลี้ยงเถิด

(ต่อคอมเม้นล่าง)

183 Nameless Fanboi Posted ID:nzZ3jRv2Q

(ต่อจาก >>182 )

บางส่วนจากเวปศิลปะ-วัฒนะธรรม

พุทธประวัตินอกกระแส (ในไทย): “สิทธัตถะ” เกิดในสังคมแบบชนเผ่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์

ผู้เขียนอดิเทพ พันธ์ทอง
เผยแพร่วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2559

การเรียนในหัวข้อพุทธประวัติ (ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา) ในเมืองไทย ล้วนแต่มีเรื่องราวที่สอดคล้องกันไปในทิศทางเดียวกันว่า “สิทธัตถะ โคตมะ” เป็น พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์
อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน

ฟังแล้วย่อมทำให้เข้าใจได้ว่า กรุงกบิลพัสดุ์ ปกครองด้วย “ระบอบกษัตริย์” ที่อำนาจปกครองตัดสินและสืบทอดกันด้วยชาติกำเนิด

แต่แหล่งข้อมูลจากต่างประเทศบางส่วนกลับให้คำอธิบายที่ต่างออกไป เช่น โดนัลด์ เอส. โลเปซ (Donald S. Lopez) ศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสนาและธิเบตศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่า

นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่า ในช่วงปลายยุคพระเวท ผู้คนในลุ่มน้ำคงคาตอนใต้ของเนปาล ซึ่งรวมถึงกรุงกบิลพัสดุ์ น่าจะรวมตัวกันในลักษณะของ"สภาชนเผ่า"
ปกครองผ่านที่ประชุมผู้อาวุโส หรือผู้นำที่มาจากการลงคะแนนเสียง
ส่วนปราสาทราชวังต่างๆที่ถูกบรรยายในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาก็ไม่เหลือหลักฐานทางโบราณคดีมาถึงปัจจุบัน

แม้ตระกูลศากยะได้รับการเล่าขานว่าพวกเขาถูกจัดอยู่ในวรรณะกษัตริย์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่าลำดับชั้นทางสังคมของผู้คนในภูมิภาคนี้ได้หลอมรวมเข้ากับระบบวรรณะแบบอินเดียมากน้อยเพียงใด

ด้าน ริชาร์ด เอฟ. กอมบริช (Richard F. Gombrich) นักอินเดียวิทยาและนักวิชาการด้านภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศึกษา ซึ่งเคยเป็นศาสตราจาย์ด้านภาษาสันสกฤต แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ก็มีความเห็นไปในทางเดียวกันกับโลเปซ เขากล่าวว่า
กบิลพัสดุ์อยู่ค่อนข้างไกลจากศูนย์กลางอารยธรรมพราหมณ์ (ฮินดู) ตำราของพราหมณ์จึงแทบมิได้กล่าวถึงสถานที่แห่งนี้
และก็น่าสงสัยว่าอิทธิพลของคัมภีร์พระเวทน่าจะยังเข้าไม่ถึงบ้านเกิดของสิทธัตถะ (ในยุคพุทธกาล) เห็นได้จากการที่ครอบครัวของสิทธัตถะเองยังมีการแต่งงานในหมู่เครือญาติ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวถือเป็นเรื่องต้องห้ามตามสังคมพราหมณ์ และมีความเป็นไปได้ที่ภาษาแม่ของสิทธัตถะจะไม่ใช่ภาษาในตระกูลอินโด-อารยัน

ขณะเดียวกัน กรอมบริชกล่าวว่า การใช้คำว่า “ชนเผ่า” กับสังคมของกลุ่มศากยะต้องมีความระมัดระวัง
เนื่องจากคำนี้ทำให้รู้สึกว่าสังคมดังกล่าว ดูตัดขาดจากโลกภายนอก ไม่มีการจัดลำดับทางสังคมที่ต่างชนชั้นกัน

แต่กลุ่มศากยะ แม้จะไม่มีระบบวรรณะแต่พวกเขาก็มีคนรับใช้
และการตัดขาดจากภายนอกก็เพียงเพื่อให้พวกเขามีอำนาจในการปกครองตนเองด้วยระบอบการเมืองที่ต่างไปจากสังคมพราหมณ์

จากคำบอกเล่าของกรอมบริช การปกครองของพวกศากยะน่าจะใช้ระบบที่ประชุมของผู้อาวุโส

ซึ่งเป็นตัวแทนจากครอบครัวต่างๆเข้ามาแสดงความเห็นเพื่อหามติร่วมกัน

ซึ่งนักประวัติศาสตร์มักเรียกว่าระบบ “คณาธิปไตย” หรือ “สาธารณรัฐ” ซึ่งมิใช่การปกครองด้วยระบบกษัตริย์แบบสังคมพราหมณ์แน่ๆ
และภายหลังเมื่อสิทธัตถะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า
พระองค์ก็เป็นผู้ที่นำระบบการปกครองแบบนี้ไปปรับใช้กับการปกครองในคณะสงฆ์ที่ไม่มีลำดับศักดิ์แต่ใช้ระบบอาวุโสเป็นหลัก

ด้วยเหตุนี้ กรอมบริชมองว่า การที่ตำนานบอกเล่าในยุคหลังกล่าวว่า บิดาของสิทธัตถะเป็นกษัตริย์ท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ
เป็นไปได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าได้พบปะกับสังคมพราหมณ์การจะอธิบายสถานะของพระองค์ให้คนกลุ่มนี้เข้าใจ
ก็ต้องอาศัยการเทียบเคียงกับระบบวรรณะของสังคมพราหมณ์
พระองค์ที่มาจากครอบครัวชนชั้นนำในสังคมเดิมจึงแทนตนเองว่ามาจากวรรณะกษัตริย์โดยอนุโลม

นี่ก็เป็นมุมมองหนึ่งของนักวิชาการต่างชาติ (อาจจะถูกหรือผิดก็ได้) ซึ่งต่างไปจากระบบความคิดของผู้ศรัทธาที่ต้องยึดถือ “คัมภีร์” (ซึ่งเขียนขึ้นหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานหลายร้อยปี) เป็นหลัก บางครั้งจึงอาจจะหลงลืมไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไปบ้าง
เพราะถือว่ามิใช่แก่นสารของศาสนา หากเป็นการศึกษาตามจารีตในวัดวาย่อมเป็นเรียกปกติ

แต่หากเป็นการศึกษาในระบบการศึกษาสมัยใหม่ก็น่าจะให้ความรู้ในเชิงวิชาการและข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์เสริมเข้าไปให้มากเสียยิ่งกว่าเรื่องของหลักธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความหลากหลายของสังคมสมัยใหม่ด้วย

ที่มา
https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_289
ผมใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปบ้าง ไม่ว่ากันนะครับ

#มิตรสหายท่านหนึ่ง

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.