>>825 เอาโมเดลในมนุษย์ + เอาแค่กรณีทั่ว ๆ ไปไม่นับพวกกรณียกเว้นต่าง ๆ นะ
เซลล์ = นิวเคลียส + ไซโตพลาสซึม (ของเหลวและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยการทำงานของเซลล์ แตกต่างกันไปในเซลล์แต่ละชนิด)
นิวเคลียส = โครโมโซม + อวัยวะอื่น ๆ
โครโมโซม = DNA + โปรตีน (โครโมโซมคือส่วนที่หน้าตาเหมือนปาท่องโก๋ ที่เห็น ๆ กันเวลาพูดถึงพันธุศาสตร์ไง)
DNA = น้ำตาลดีออกซีไรโบส + เบส ที่เรียงกันเป็นสาย เข้าคู่กันเป็นสองสาย
เบสมี 4 ชนิด (อะดีนีน ไทมีน ไซโตซีน กวานีน)
ความแตกต่างของชนิดเบสนี่แหละที่เป็นรหัสพันธุกรรม ที่บอกว่าเจ้าของรหัสพันธุกรรมนี้จะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน หมู่เลือดอะไร มีโรคพันธุกรรมอะไร ฯลฯ
น้ำตาลดีออกซีไรโบส 3 อัน + เบส 3 ตัว จะสามารถแปลเป็นคำสั่งเรียกกรดอะมิโน 1 โมเลกุล พอมันเรียง ๆ กันหลาย ๆ คำสั่ง ก็จะทำให้กรดอะมิโนมาเรียงตัวกันใหญ่ขึ้น ๆ เป็นโปรตีน ซึ่งโปรตีนนั้นอาจจะกลายเป็นส่วนประกอบอะไรสักอย่างในร่างกายเราก็ได้ อย่างฮอร์โมน (ซึ่งจะเป็นคำสั่งต่อไปว่า การมีฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้ร่างกายเป็นยังไง) ผม ผิว เลือด และอื่น ๆ รหัสที่ต่างกัน ก็สร้างสิ่งมีชีวิตออกมารูปร่างหน้าตาต่าง ๆ กัน
(มึงอาจจะเคยได้ยินอีกคำนึง คือยีน ยีนก็คือรหัสพันธุกรรมนี่แหละ คือเวลาลำดับเบสมันเรียงตัวกัน มันจะมีส่วนที่แปลเป็นโปรตีนได้ และไม่ได้ (ไม่แปลเป็นอะไรเลย มีไว้คั่นเฉย ๆ) เฉพาะส่วนที่แปลได้ ถึงจะเรียกว่ายีน)
ยาวหน่อย แต่จะได้เข้าใจตรงกันเวลาคุยเนอะ
ี---------------------------------------
ในมนุษย์ มีโครโมโซม 46 แท่ง ซึ่งแต่ละแท่งมันมีคู่ของมัน (คือมีทั้งหมด 23 คู่ คู่สุดท้ายคือโครโมโซมเพศ ที่ในคนเป็น X กับ y ไง) เวลาจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ มันจะกระดืบมาหากัน เข้าคู่กัน แนบชิดกัน และแลกเปลี่ยน DNA กันนิดหน่อย (ซึ่งถ้าลำดับที่มันแลกเปลี่ยนกันเป็นส่วนที่เป็นยีน ก็จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้) จากนั้นจึงแยกกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์คนละเซลล์ ในเซลล์สืบพันธุ์ทุกเซลล์จึงจะต้องมีโครโมโซมลำดับที่ 1 ถึง 23 เสมอ แล้วเวลาไข่ผสมกับอสุจิ โครโมโซมที่ลดลงครึ่งนึงของทางพ่อและทางแม่จะมาเข้าคู่กัน (1 คู่ 1, 2 คู่ 2 ไปจนถึง 23 คู่ 23) ลูกก็จะมีเซลล์แรกที่มี 46 โครโมโซมเหมือนพ่อกับแม่ ก่อนจะเริ่มแบ่งตัวเพิ่มขึ้นกลายเป็นมนุษย์ต่อไป
(ลำดับเบสโครโมโซมแต่ละคู่ ไม่จำเป็นต้องเหมือนคู่ตัวเอง ไม่จำเป็นว่าขนาดต้องเท่ากันด้วย อย่างโครโมโซมเพศ X ก็ใหญ่กว่า y เยอะ ในเพศหญิงมีโครโมโซม X อย่างเดียว ดังนั้นไข่ทุกใบจึงมีโครโมโซม X ในขณะที่เพศชายมีโครโมโซม Xy ดังนั้นอสุจิจึงมีได้ทั้ง X และ y จะเห็นได้ว่า คนกำหนดเพศลูกว่าจะเป็นหญิงหรือชายนั้นคือพ่อ ไม่ใช่แม่)
ดังนั้น คำตอบของคำถามข้อ 1 คือ ใช่ เซลล์สืบพันธุ์จะมีโครโมโซมแค่ครึ่งเดียวของเซลล์ร่างกาย
้ข้อ 2 อธิบายไปแล้วเนอะ
ข้อ 3 ต้องแยกระหว่างรังไข่ กับไข่ก่อน รังไข่คือที่ ๆ มีเซลล์ไข่ระยะต้นสะสมไว้เยอะ ๆ ของคนมีขนาดเท่าหัวแม่มือ อยู่ในท้อง ต่อจากท่อนำไข่ เวลาจะมีประจำเดือน ฮอร์โมนจะกระตุ้นให้ไข่ที่ยังไม่สุก สุกออกมา 1 ใบ (ใบที่โตที่สุด) แล้วก็หลุดจากรังไข่ ไหลลงมาตามท่อนำไข่ แล้วผสมกับอสุจิในท่อนำไข่ แบ่งตัวมาเรื่อย ๆ แล้วมาฝังตัวที่มดลูก มีบ้างที่ไข่สุกพร้อมกันหลายใบ (ถ้าผสมก็จะได้แฝดไม่แท้หลายคน) ไข่ในรังไข่นี่มีจำนวนจำกัด เมื่อไข่หมด ไม่มีการตกไข่แล้ว ผู้หญิงก็จะเป็นวัยทอง หมดเมนส์ไงล่ะ
ทีนี้มาในหมา ธรรมชาติของหมาจะต่างจากคนตรงที่ธรรมชาติของหมาจะตกไข่พร้อมกันหลายใบ และร่างกายหมาเอื้อต่อการฝังตัวของตัวอ่อนหลายตัวมากกว่าคน เพราะคนฝังตัวในมดลูก ซึ่งอยู่ต่ำและมีพื้นที่จำกัด ในขณะที่ตัวอ่อนหมาจะฝังตัวในท่อนำไข่ซึ่งมีขนาดใหญ่และยาวกว่าของคน (ไส้ตันในหมูก็คือท่อนำไข่นี่แหละ ในสัตว์ ตัวอ่อนฝังตัวในท่อนำไข่เป็นเรื่องปกติ แต่ในคนถ้าฝังตัวในท่อนำไข่จะเป็นอันตรายมาก) ดังนั้น หมาจึงออกลูกเป็นครอกในรูปแบบของแฝดไข่คนละใบ และเนื่องจากการสุกของไข่แต่ละใบไม่จำเป็นต้องพร้อมกัน อาจเหลื่อมเวลากันได้ในรอบการเป็นสัดครั้งเดียวกัน ดังนั้นในการท้องหนึ่งครั้ง อาจจะมีพ่อหมาหลายตัวก็ได้ (ในคนก็เคยมีนะกรณีนี้)
ข้อ 3 ลูกหมาแฝดแท้ก็มีเกิดได้ แต่ด้วยความที่มันออกลูกเป็นครอกอยู่แล้ว ก็ไม่มีใครสนใจเท่าไหร่ว่าจะแฝดแท้หรือแฝดเทียม
จากข้อ 2. ลูกจะแตกต่างจากพ่อแม่อยู่แล้วจากการเข้าคู่กันและแยกกันของโครโมโซม และจากการเข้าคู่กันที่มีการแลกเปลี่ยน DNA กัน ก็ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ แต่สิ่งที่กลายพันธุ์ออกมาก็ไม่ใช่ว่าจะมีชีวิตอยู่ได้เสมอไป ถ้าลำดับเบสที่เปลี่ยนแปลงเป็นผลให้ร่างกายสร้างอวัยวะไม่สมบูรณ์ หรือมีความผิดปกติที่ซีเรียส ก็ตายเหมือนกัน