(ต่อจาก >>744 )
จนกระทั่งในปี 1955
วันที่ มัลคอมในวัย 41 ปี
คิดว่าเขามีพาวเวอร์มากพอที่จะเปลี่ยนอะไรบางอย่าง
เขาตัดสินใจขาย McLean Trucking Co.
บริษัทรถบรรทุกที่ใหญ่ 1 ใน 3 ของอเมริกาที่เขาสร้างมากับมือ จนได้เงินมาประมาณ 750 ล้านบาท
มัลคอมจึงนำเงินที่ได้ ไปซื้อเรือ และ ท่าเรือ
(Pan-Atlantic Steamship Company และ Gulf Florida Terminal Company)
และเริ่มทำสิ่งที่เค้าเก็บไว้ในใจมานาน
ถึง มัลคอม จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมาตลอด
ทว่าสิ่งที่เขากำลังจะทำในตอนนั้นไม่ง่ายเอาซะเลย
จริงๆแล้วมันโคตรยากเลยด้วยซ้ำ
เขาเริ่มต้นด้วยการพยายามเอารถบรรทุกทั้งคันขึ้นเรือ
แล้วล็อครถไว้
ก่อนเปลี่ยนมาโหลดรถบรรทุกทั้งคัน
แล้วเอาหัวรถบรรทุกออก
แต่การส่งส่วนรถพ่วงไปกับเรือ
ทำให้อดนำมาใช้ประโยชน์ ไม่น่าจะใช่วิธีที่ดีนัก
จนมาลงตัวที่การสร้างกล่องขึ้นมาใส่ของ
แล้วยกทั้งกล่องขึ้นไปบนเรือซะเลย
ยูเรก้า!!!
นั่นน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
แต่ความจริงก็คือ
ไอเดียในการใช้กล่องขนสินค้านั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
เพราะในปี 1929 บริษัทเอกชนเจ้าหนึ่ง
เคยมีการพยายามขนส่งรถกล่อง (boxcar) จากสหรัฐไปยังคิวบา
ในช่วงทศวรรษที่ 1940 กองทัพของสหรัฐ ก็เคยพยายามจะใช้กล่องขนส่งของจาก สหรัฐ ไปยัง แคนาดา
ปรากฏว่า วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าวิธีที่ใช้กันมาเป็นพันปีถึง 10 เปอร์เซ็นต์
และจะแพงมากกว่าถึง 70 เปอร์เซ็นต์
หากคำนวณค่าส่งกล่องเปล่ากลับมายังท่าเรือที่สหรัฐด้วย
เป็นไปได้อย่างไร
!?!?!?
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ
กล่องมันยังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน
ทำให้ยาก วุ่นวาย และใช้ค่าใช้จ่ายมากในการขนส่ง
รวมถึงเรือลำหนึ่งยังไม่สามารถขนกล่องได้เยอะพอ
ซึ่งหากวิธีนี้ไม่ได้รับการใช้กันอย่างแพร่หลายมากพอ
จะทำให้ต้นทุนสูงอยู่มาก
(economic of scales)
ฉะนั้นทางที่จะทำให้ไอเดียการใช้ "กล่อง" ขนส่งสินค้าของมัลคอมเป็นจริงได้ก็คือ
ต้องให้ท่าเรือ บริษัทเดินเรือ และ ระบบขนส่งทั้งหมดเห็นด้วย
และร่วมแจมกับไอเดียของเขา
ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ยากที่สุด
เพราะหมายความว่าเขาไม่ได้กำลังเปลี่ยนแค่วิธีการขนส่ง
จากทีละชิ้น เป็นทีละกล่อง
แต่
เขากำลังเปลี่ยนนิยาม
และมุมของธุรกิจการขนส่งใหม่หมด
จากที่ธุรกิจต่างๆเคยแยกกันอย่างชัดเจน
เป็น ธุรกิจ รถบรรทุก รถไฟ ท่าเรือ เดินเรือ
ต่างคนต่างทำ...ไม่เคยสนใจ...ไม่เคยยุ่งกัน
มัลคอมต้องการให้ธุรกิจเหล่านี้มาใช้มาตรฐานเดียวกันหมด
มาตรฐานกล่องของเขา
ทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีแรงต้าน
การเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆอย่างนี้ก็เช่นกัน
ซึ่ง
แรงต้านที่รุนแรงที่สุดก็มาจากกลุ่มธุรกิจที่มีมานานที่สุด
"ธุรกิจขนส่งทางทะเล"
ต้องอธิบายก่อนครับว่า
เจ้าของกิจการขนส่งทางทะเลส่วนใหญ่ในขณะนั้นทั้งในยุโรป และสหรัฐ
แทบทั้งหมดจะเป็นตระกูลใหญ่ที่สืบเชื้อสายมาจากกัปตันเรือ
ไม่ก็ขุนนางในสมัยล่าอณานิคม
พวกเขามีประวัติศาสตร์ และ ความภาคภูมิใจที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน
ซึ่งวิธีการที่ มัลคอม เห็นว่าไม่ได้เรื่อง
และพยายามจะเปลี่ยนนี่แหล่ะ
เป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขายิ่งใหญ่มายาวนาน
ทำให้พวกเขามีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตอยู่บนตึกระฟ้าในมหานครนิวยอร์ค
เปิดโอกาสให้พวกเขานอนตื่นสายๆ
ก่อนที่จะมานั่งกินบรันช์ และสูบซิการ์ใน ยอร์ช คลับได้
ดังนั้นมันจึงไม่น่าแปลกเลย
ที่สมาชิกสมาคมเดินเรือนานาชาติที่ประเทศฮอลแลนด์
จะหัวเราะเยาะ มัลคอม ซึ่งหน้าๆ
ตอนที่เขาข้ามน้ำข้ามทะเลเอาไอเดียไปขาย
หรือแม้แต่
เจ้าของท่าเรือ และ ธุรกิจเดินในสหรัฐ
ก็ยังมองเขาเป็นตัวตลก
ไม่แปลก...
เมื่อโลกทั้งใบเคยหมุนรอบตัวคนกลุ่มนี้มาตลอด
มันคงไม่ยากเกินที่จะเข้าใจว่า...
ไอ้เด็กเมื่อวานซืนจากธุรกิจใหม่อย่างรถบรรทุก
จะมายุ่มย่ามในเรื่องการขนส่งทางทะเล
ที่พวกเขาควบคุมมาอย่างยาวนานได้อย่างไร
ถึงแม้ "การขนส่งทางทะเล" ที่เป็น "หัวใจ" ของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะไม่เป็นใจให้ มัลคอม
เขาก็ไม่ถอดใจ...!!!
ในเมื่อไม้แก่มันดัดยากนัก
บางทีหาไม้อ่อนหน่อยน่าจะโน้มง่ายกว่า
นั่นทำให้ มัลคอม ไปจับมือกับ พวกธุรกิจรถไฟ และ รางรถไฟ
ธุรกิจที่เขามีสัมพันธ์อันดีมาตลอดตั้งแต่เขายังทำบริษัทรถบรรทุก
เพราะเกิดขึ้นมาในเวลาไล่เลี่ยกัน
ซึ่งในที่สุด “มัลคอม” ก็สามารถดึง
CB&Q Railroad C&EI Railroad และ SP Railroad
มาร่วมมือกับเขาได้
(ต่อเม้นล่าง)