"หลายคนอาจเคยได้ยินผลวิจัยที่บอกว่า คนที่ชอบเสพประโยค "คำคม" ที่ฟังดูลึกซึ้งแต่จริงๆ แล้วกลวงนั้น มักมี IQ ต่ำ
ผมขอทำนายเกินจากนี้ไปอีกหน่อย ว่านอกจากนั้นแล้ว คนที่ชอบเสพบทอุปมากลวงๆ ก็น่าจะมีแนวโน้ม IQ ต่ำเช่นกัน
"บทอุปมากลวงๆ" ที่ว่านี้เป็นยังไง? ตัวอย่างต่อไปนี้ผมนำมาจากเฟสบุ๊คของ ประภาส ชลศรานนท์ ขวัญใจนักอ่านผู้นิยมความกลวงครับ:
"คำถาม: คนที่คาดว่าจะมีปัญหามักได้รับความใส่ใจมากกว่าคนที่ไม่มีปัญหา คนไม่มีปัญหามักถูกมองว่า"ไม่เป็นไร" แต่จริงๆแล้วคนไม่มีปัญหา ก็ต้องการความใส่ใจเหมือนกัน ตอนนี้กำลังรู้สึกเจ็บลึกๆกับคำว่า"ไม่เป็นไร"ชักเริ่มจะเป็นคนมีปัญหาบ้างแล้วค่ะ พี่จิกช่วยสั่งสอนคนที่กำลังจะแปลงร่างเป็นคนมีปัญหาด้วยเถอะคะ
[. . .]
คำตอบ: เป็นธรรมดาสำหรับล้อที่ส่งเสียงดัง ย่อมได้รับการดูแลด้วยการหยอดน้ำมัน ขันให้แน่น หรือล้างให้สะอาด และหากล้อนั้นยังคงส่งเสียงดังอยู่เนืองๆ วันหนึ่งเมื่อถึงช่วงเวลาของการเปลี่ยนอะหลั่ย ล้อที่ส่งเสียงดังจะถูกเปลี่ยนออกเป็นล้อแรก"
ปกติแล้วบทเปรียบเทียบ (อุปมา) นั้นมีคุณค่าอย่างหนึ่งคือ มันช่วยอธิบายเนื้อหาสาระที่ซับซ้อน ลึก เป็นนามธรรม จับต้องยาก ให้เข้าใจง่าย จับต้องได้ ...เมื่อเวลาผ่านไป การใช้บทอุปมาจึงถูกเชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระที่ลึกซึ้ง
เมื่อเป็นแบบนี้ นักเขียนจำนวนหนึ่งจึงฉวยโอกาสจากความเชื่อมโยงนี้ โดยแทนที่เขาจะใช้บทอุปมาช่วยทำสิ่งที่ลึกซึ้ง เป็นนามธรรม ให้เข้าใจง่ายขึ้น เขากลับใช้บทอุปมานำเสนอเนื้อหาสาระที่ตื้น ตรงไปตรงมา เข้าใจง่ายอยู่แล้ว ให้อยู่ในรูปแบบเปรียบเทียบ เพื่อให้เนื้อหาที่ตื้นเขินนั้นฟังดูลึกซึ้ง ราวกับเป็นอะไรที่ต้องใช้ปัญญากลั่นออกมา
แล้วคนที่หลงคิดว่าบทอุปมาเหล่านี้ลึกซึ้ง ก็คือคนที่แยกไม่ออกว่าอะไรลึกซึ้งจริง อะไรแค่ฟังดูลึกซึ้ง"
#มิตรสหายท่านหนึ่ง