ส่วนใหญ่แล้ว startup มักจะมองภาพสวยเกินความเป็นจริงครับ แล้วผมเข้าใจว่า ส่วนใหญ่แล้ว โมเดลในการหารายได้ "ไม่ค่อยชัด" คือมักจะมีแต่จำนวน user ที่โตขึ้นๆ แต่ไม่ค่อยมีความชัดเจนว่าแล้วจะหารายได้จาก user เหล่านั้นอย่างไร เพราะส่วนใหญ่จะ offer เป็นบริการฟรีให้ เพื่อเพิ่มจำนวน user ก่อน ทีนี้พอจะคิดตังปุ๊บ ก็มีปัญหาล่ะสิครับ user ก็มักจะสลับไปใช้บริการเจ้าใหม่ที่หยิบยื่นบริการฟรีๆ ให้
เพราะฉะนั้นแล้ว จุดหมายปลายทาง startup คือการสะสม user ไว้มากๆ แล้วขายต่อให้กับบริษัทขนาดใหญ่ที่จะมา take over ต่อครับ รูปแบบนี้เราเห็นกันบ่อยจากดีลระดับโลกต่างๆ เช่น instagram ที่ขายกิจการให้ facebook ซึ่งตัว IG เองมีพนักงานอยู่นิดเดียวเองนะครับ สินทรัพย์ก็ไม่ได้มีอะไร แถมยังไม่รู้จะหารายได้จากมันยังไงด้วย นอกจากโฆษณา แต่ user ของ IG ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ใครจะกล้าไปดูถูกมันล่ะครับ ก็เลยขายได้เป็นหมื่นๆ ล้าน สบายไป
ถ้าดีลแบบนี้ใกล้ๆ เมืองไทยก็ lazada ไงครับ ที่ขายให้ alibaba หรือ zalora ที่ขายให้ central online ก็คือพยายามสะสมจำนวน user ให้มากๆ เข้าไว้ เพื่อหวังเตะตาผู้ประกอบการรายใหญ่ยื่นข้อเสนอมาซื้อไป ก็จะรวยเละในพริบตาครับ เท่าที่ผมเข้าใจเนี่ย lazada ก็ไม่ได้กำไรอะไรเท่าไหร่นะครับ หักกลบลบหนี้แล้วกระเดียดไปทางขาดทุนด้วยซ้ำมั๊งผมไม่แน่ใจ แต่ตอนนี้ใครจะซื้อของออนไลน์ก็นึกถึง lazada เจ้าแรก แล้วพี่แจ๊คแกจะไม่สนใจได้ยังไงล่ะครับจริงไหม
อีก startup นึง ที่ผมว่า เขาก็รอๆ ให้ใครมาเทคอยู่ ก็น่าจะเป็นเว็บ(แอพ) ที่ทำโมเดลของการซื้อขายของมือสอง ซึ่งตอนนี้เขาบอกว่า รูปแบบการหารายได้ของเขาจะมาจากการที่เจ้าของสินค้ายอมเสียเงินซื้อโฆษณาเพื่อรีเฟรช ad ตัวเองไปอยู่หน้าแรกๆ แต่ใครเคยจ่ายตังเพื่อบริการนี้ครับ? น่าจะมีแหละ แต่ค่อนข้างน้อยมาก พอจ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นสิบๆ ชีวิต กับค่าเช่า server ค่าเช่า office ค่า internet ค่าโน่นค่านี้ไหมครับ ถ้าสายป่านยาวไม่พอ หรือยังสะสม user ได้ไม่เข้าตา อาจจะเป็นอย่าง ensogo นะครับ
#มิตรสหายท่านหนึ่ง