"คนญี่ปุ่นไม่ได้มี 'วินัย' ในความหมายที่ว่า ยอมทำตามกฎที่ผู้มีอำนาจสั่งเหมือนๆกันทุกคน แบบคำว่า วินัย ในภาษาไทย แต่เค้ามีคุณสมบัติแบบนี้แหละครับ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า เค้ามี วินัย
อันนี้เป็นความเข้าใจผิดเนื่องจากการเอา คำไทยๆ คอนเซปท์แบบไทยๆ ไปอธิบายความคิดและพฤติกรรมคนในสังคมอื่น ซึ่งมันมีรายละเอียดต่างกัน ยิ่งอธิบาย มีโอกาสมากที่เราจะหลงทาง เข้าใจผิดไปไกล
เวลาเราต้องการจะเรียนรู้ว่าทำไมคนต่างวัฒนธรรมเขาคิดแบบนี้ เราต้องรู้ว่า คำศัพท์ อะไรในภาษาของเขา ที่เขาใช้อธิบายกระบวนการคิดของเขาในเรื่องนั้น แล้ว อิมพอร์ทคำนั้น(ทับศัพท์)เข้ามาทำความเข้าใจในภาษาไทย ซึ่งทำให้คนไทยเข้าใจว่า นี่เป็นแนวคิดจากข้างนอก
เผื่อว่าคำนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อการเผยแพร่ความคิด การแคมเปญและการทำความเข้าใจ ซึ่งจำเป็นต้องหาเรฟเฟอเรนซ์ว่ามันหมายความว่าไงแน่ คนไทยจะได้หาได้ เพื่อไม่ให้สูญเสียไปกับแคมเปญผิดทิศผิดทาง และคนที่นิยามมั่วๆจะได้ถูกคนอื่นติงเอาได้ว่า ในภาษาที่เราอยากจะเข้าใจเขาเนี่ย เขาไม่ได้หมายความแบบนั้น และแนวโน้มที่คนไทยจะทำความเข้าในแนวคิดนั้นได้ในระยะยาวจะสูงขึ้น
ไอ้ปรากฎการณ์แบบ "คนญี่ปุ่นมีวินัยๆ คนต่างชาติมีวินัยๆ เรามาแคมเปญสร้างวินัยให้คนไทยกันเถอะ" แล้วก็เฟลแล้วเฟลอีก นี่มันอยู่บนความเข้าใจที่ผิดไง เราจะทำบนพื้นฐานความเข้าใจผิดต่อไปถ้าไม่พยามทำความเข้าใจแนวคิดของเขาด้วยการรับเอา คำ ซึ่งก็คือ ไอเดีย ของเขาเข้ามาทำทำความเข้าใจ เข้าใจแล้วจะดัดแปลงก็ได้ แต่ต้องเข้าใจต้นฉบับก่อน ไม่ใช่มั่วๆกันเหมือนทุกวันนี้
สูญเสียกันมาเท่าไหร่แล้วกับการไม่ยอม #ทับศัพท์
สูญเสียกันไปเท่าไหร่แล้วกับการจับผิดคนที่ใช้คำศัพท์ออริจินัลทับศัพท์แล้วถูกแซะถูกด่าว่าดัดจริตผิดวินัย
จนสุดท้ายก็เข้าใจผิดไปหมด เพราะไม่มีเรฟเฟอเรนซ์ที่ถูกต้อง"
- มิตรสหายท่านหนึ่ง