Fanboi Channel

โม่งมิตรสหายท่านหนึ่ง 2nd quotes

Last posted

Total of 1000 posts

544 Nameless Fanboi Posted ID:ksRF+GXYd

"Rei (礼)

มาว่ากันเรื่องความนอบน้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี และ จรรยาต่อ

Rei แปลผิวๆ แปลว่า etiquette หรือ ขนบธรรมเนียมประเพณี และ จรรยา
เช่นธรรมเนียมปฎิบัติเวลาฝึก martial arts ต่างๆ ของ Budo

ถ้าแปลลึกๆ Rei แปลว่า courtesy และ respect ก็ได้
เพราะธรรมเนียมเหล่านั้นมุ่งหวังให้เคารพเกรงใจผู้อื่นและสรรพสิ่ง
ครองจรรยาที่มุ่งขจัดตัวตน

ความนอบน้อมต่อผู้อื่น คือ Girei
เวลาโค้งคำนับแบบญี่ปุ่นจะมีโค้งมากกับโค้งน้อย
โค้งมากแบบหน้าถึงระดับเอวก็เรียกว่า Rei

Junshi นักปราชญ์ชาวจีนกล่าวไว้ว่า ที่มาของคำว่า rei (etiquette)
มาจากภาษาจีนที่แปลว่า "self-restraint over the desire"
และ "The function of etiquette is to maintain a dynamic balance between the spiritual and the material."
............................................................
อยากชวนให้พวกเรามี etiquette เพื่อเข้าใจใน "Rei"
เพื่อกำจัด ego ให้ตัวเล็กลง เพราะเราควรขอบคุณและเคารพสรรพสิ่งรอบๆ ตัว
เพราะมองเห็นว่าทุกคนล้วนเชื่อมโยงถึงกัน

ไม่ใช่ว่ามี etiquette เพราะ เป็นหน้าเป็นตา เป็น norm ของสังคม
ใครๆ ก็ทำจึงต้องทำ หรือทำเพราะกลัวคนอื่นว่า

แบบนั้นยิ่งยึด etiquette ยิ่งสวนทางกับ "Rei"
............................................................
จากคู่มือคิวโดของ All Nippon Kyudo Federation ยังเขียนไว้ด้วยว่า
การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีที่สุดคือการยอมให้มันเปลี่ยนอยู่เสมอ
มันจะคงอยู่ได้นานและมีแต่สิ่งดีๆ เพิ่มเสริมยิ่งขึ้นไป

คิวโดสอนไว้ว่า เราจะสืบทอดคิวโดะให้ลูกหลานได้ เราจะทำให้คิวโดเป็นที่นิยมได้
ก็โดยการยอมรับว่า....ถึงแม้ธรรมเนียมปฏิบัติของเราจะมีที่มามาอย่างยาวนานในอดีต
เราจะหยุดให้มันเหมือนเดิมตลอดไปไม่ได้

สิ่งสำคัญที่ต้องมีเสมอคือ "spirit of examination and advance"

With inner growth (Rei แบบลึกซึ้ง),
the outer structure (Rei แบบกฎระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติ) will also gain meaning.

การพัฒนาภายในใจคู่ไปด้วย
ถึงจะทำให้ท่าทางการปฏิบัติตนภายนอกตามธรรมเนียมประเพณีนั้นมีความหมาย"

-- ‪#‎มิตรสหายท่านหนึ่ง‬

""หลี่" (พิธีกรรม) นี่มันเป็นคำสอนหลักอันนึงของขงจื่อ สามารถอธิบายได้แบบง่ายๆ ว่า เวลาคนมาอยู่ด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มันก็เกิดการจัดวางความสัมพันธ์ของกันและกัน ไอ้นี่แหละคือ "หลี่" ซึ่งพวกขงจื่อมองว่าการไม่รู้จักหลี่ หรือพิธีกรรม ก็จะทำให้คนจัดวางความสัมพันธ์กันผิดพลาดไปหมด ทำให้สูญเสียความ harmony พอเป็นระดับสังคมกษัตริย์จัดวางความสัมพันธ์กับราษฎรไม่ถูกต้อง สังคมก็ปั่นป่วน ขงจื่อเลยบอกว่า ให้เราหวนกลับไปหา "หลี่" ที่ถูกต้องในยุคบรรพกาล สังคมสมัยนี้ (สมัยที่แกมีชีวิตอยู่) ขาด "หลี่" สังคมเลยปั่นป่วน

ตัวอย่าง : ในพิธีกรรมเซ่นไหว้บรรพกษัตริย์ ขุนนางทั่วทั้งแคว้นมาชุมนุมกันที่ลานของหอพระเทพบิดร อยู่ดีๆ ก็มีขุนนางสองคน อ้างว่าบรรพกษัตริย์เคยสั่งว่า ห้ามเซ่นไหว้บรรพชนด้วยการบูชายัญ เพียงแต่ให้หมอบคำนับสามครั้งเป็นพอ ก็เลยลุกจากพิธีกรรมไป หมอบคำนับสามครั้งที่หน้าแถวขุนนาง แล้วเดินทางกลับบ้าน การทำเช่นนี้ย่อมทำให้สังคมขุนนางสูญเสีย harmony เพราะขุนนางสองคนนี้ละเมิด "หลี่" หรือในทางกลับกัน พวกขุนนางส่วนใหญ่ละเมิดหลี่ สุดท้ายท่านอ๋องก็เลยต้องตัดหัวขุนนางสองคนนั้นมาเซ่นไหว้บรรพชนเพื่อดับความเคืองแค้นของขุนนางคนอื่น และเพื่อเป็นแบบอย่างในการสร้าง "หลี่" หรือแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง แต่จริงๆ ท่านอ๋องก็อาจจะละเมิดหลี่เพราะทำลายแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบรรพชนและลูกหลาน

สรุปคือมันเพ้อเจ้อน่ะไอ้ของพวกนี้ คนคิดมันอยู่สมัยที่คนนึกจะฆ่าใครก็ฆ่า ก็เลยหาวิธีให้สังคมมันปรองดอง ถามจริงว่าแล้วใครคือคนคุมจริงๆ ก็คนมีอำนาจไง ขนาดขงจื่อเป็นนายกไม่กี่วันสั่งประหารนายกคนเก่าเลย แถมยัดข้อหาบ้าๆ บอๆ ด้วย อย่าไปยึดติดพวกนี้มาก พูดจาเอาเท่ได้ แต่ความคิดมันเชยแล้ว สมาทานความคิดเหมาเจ๋อตงดีกว่า

ฮา"

-- ‪#‎มิตรสหายอีกท่านหนึ่ง‬

Posts limit exceeded

Topic has reached maximum number of posts.

Please start a new topic.

Be Civil — "Be curious, not judgemental"

  • FAQs — คำถามที่ถามบ่อย (การใช้บอร์ด การแบน ฯลฯ)
  • Policy — เกณฑ์การใช้งานเว็บไซต์
  • Guidelines — ข้อแนะนำในการใช้งานเว็บไซต์
  • Deletion Request — แจ้งลบและเกณฑ์การลบข้อความ
  • Law Enforcement — แจ้งขอ IP address

All contents are responsibility of its posters.