พี่เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับจิตวิทยานี่ล่ะ
มีบทนึงเขาเขียนเกริ่นนำไว้ว่า....
อย่าเป็นคนดี"มากเกินไป" เพราะคนมักไม่ให้ความเกรงใจ
วันต่อมา พี่เรียนวิชาจิตวิทยาแรงจูงใจ
อาจารย์ก็พูดว่า เราควรทำตัวเป็นตัวร้าย ถ้ามีโอกาส
เช่น เวลาทำงานกลุ่ม ลองทำให้กลุ่มเขวไปบ้าง
หรืออย่างเวลาเล่มเกมแข่งกับกลุ่มอื่นๆ อาจารย์ก็จะชอบทำให้กลุ่มแพ้
โดยตั้งใจไว้แล้วด้วยนะว่าจะให้แพ้ด้วยนะ ลองทำตัวมีปัญหาบ้าง
อันนี้คืออาจารย์เขาพูดมานะ ....
ว่าแต่ ทำไมมันบังเอิญดีจริง ๆ
ที่ทั้งหนังสือ และอาจารย์ก็พูดถึงการ ไม่ควรเป็นคนดีมากเกินไป
(ย้ำว่า "มากเกินไป" นะครับ)
เรามาวิเคราะห์กันว่าทำไม คนดีๆ มากๆ กลับไม่มีคนสนใจซะงั้น
คนที่เป็นคนดีมากเกินไป ส่วนใหญ่มักเป็นพวกที่อาภัพนะครับ
คือ สังคมเรานี่แหล่ะ จะไม่ค่อยเห็นหัวคนดี เพราะ..
"เรารู้อยู่แล้วว่าคนนี้ดี" ก็เลย ไม่แคร์ ไม่สนใจ ไม่ต้องไปอะไรมากหรอก
"ยังไงเขาก็ดีอยู่แล้ว" ไม่ต้องไปห่วงมาก ... พอคนคิดเช่นนี้
ก็เลยหันไปให้ความสนใจ (pay attention) กับคนไม่ดี อย่างเต็มที่
อธิบายในทางจิตวิทยาได้ด้วย นั่นคือ เราอยู่ในสังคมที่"ให้ความสำคัญ"กับคนไม่ดีมากกว่า
เอาง่ายๆ คุณลองดูหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ เขาให้ความสำคัญกับโจร
มากกว่าจะยกย่องกลุ่มกิจกรรมอาสาหรือเปล่า สังเกตครับ..
แล้วนั่นล่ะที่เป็นทิศทางของการนำสังคม
เชื่อไหมว่า ถ้าเราเปลี่ยนสื่อใหม่ ให้นำเสนอเรื่องราวของคนดีบ้าง
มันจะเกิดแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมดีๆ เพื่อสังคมมากขึ้นนะครับ
ป.ล. ขอฝากไปถึงสื่อ (อีกแล้ว) ให้ช่วยนำสังคมหน่อย
คนตื่นเช้ามาเปิดทีวีก็ซึมซับเนื้อหานั้นๆ ได้แล้ว แล้วก็มีแนวโน้มที่คนจะทำพฤติกรรมนั้นๆตาม
เอาง่ายๆ แค่คุณฉายโฆษณาให้คนทำดี ทุกวัน ๆ ๆ คนดูทุกวัน ๆ ๆ
มันจะเกิดกระบวนการจำได้ นานวันเข้าๆ ก็ฝังไปยังจิตใต้สำนึก
(เหมือนที่พวก Advertise จะชอบใช้วิธีการนี้ คือ ฉายโฆษณาซ้ำๆบ่อยๆ
หลังจบละคร ปรากฏว่าคนจำสินค้าได้ และเมื่อไปซื้อของ
คนจะเลือกหยิบสินค้าที่ถูกฉายทางโฆษณาโดยที่อาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่าทำไมต้องยี่ห้อนี้ -- ลองไปศึกษาเพิ่มเติมในหนังสือเกี่ยวกับกลยุทธ์โฆษณา หรือจิตวิทยาเรื่อง Cognition, Threshold ดู แล้วจะเข้าไปว่าทำไมเราถึงได้ต้องนั่งทนดูโฆษณาถี่ๆ ซ้ำๆ น่าเบื่อๆ แต่เรากลับจำได้ ถึงเราจะไม่ชอบ นี่หละเทคนิคหนึ่งทางจิตวิทยาเลยนะ จะบอกให้)
8)