--------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ 25 เดือน 11 >>155-156
[ท่านยามากุจิ ทรงตรัสสั่งสอนเรื่อง โลกอันอ่อนแอ]
--------------------------------------------------
>>153 คำพูดของท่านยามากุจิในที่นี้สามารถวิเคราะห์ได้จากหลายมุมมอง
"กุไม่ได้สูงส่งอะไรหรอก แต่โลกนี่มันอ่อนแอ จนเกินไปต่างหาก!!"
- Nov 24, 2024 at 21:37:51 ID:w/2qmBlr6X
การมองโลกที่อ่อนแอ (โลกนี้มันอ่อนแอจนเกินไป) : ในเชิงปรัชญา ท่านยามากุจิได้แสดงให้เห็นถึงมุมมองที่มองว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความอ่อนแอและความไม่มั่นคง เหมือนกับโลกนิยายกำลังภายใน ผู้ฝึกฝนต้องเผชิญกับโลกที่เต็มไปด้วยการคุกคามจากผู้ที่มีกำลังภายในที่เหนือกว่าและบททดสอบจากสวรรค์ สิ่งนี้สะท้อนถึงจิตใจที่แกร่งกล้าของท่านยามากุจิ ที่ต้องการทำลายข้อจำกัดทางโลกและสังคม ท้าทายสวรรค์และหนทางแห่งโชคชะตา ในทางวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ผ่านทฤษฎี การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Darwin, 1859) ที่อธิบายว่าในกระบวนการวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุดคือผู้ที่สามารถอยู่รอดและพัฒนาไปได้ ในกรณีนี้โลกที่ “อ่อนแอ” ก็คือโลกที่ยังไม่สามารถรับมือกับความท้าทายหรือการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเต็มที่ แต่ในทางกลับกันการที่จะมีชีวิตรอดในโลกนี้ไม่ใช่เพียงแค่การอยู่รอดไปวันๆ แต่หมายถึงการพัฒนาเพื่อให้สามารถรับมือกับสิ่งที่ยังมองไม่เห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นท่านยามากุจที่มีแผน 1 2 3 4
"กินเหล้า เพื่อให้มีความกล้า ดูดบุหรี่ เพื่อ ให้หายเครียดกังวล"
ในส่วนของการใช้ เหล้า และ บุหรี่ เพื่อเพิ่มความกล้าและบรรเทาความเครียด ท่านยามากุจิสะท้อนถึงการใช้ วิธีการภายนอก เพื่อจัดการกับ ภายใน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้กับ ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม (Behaviorism) ของ บี.เอฟ. สกินเนอร์ (Skinner, 1953) ที่อธิบายว่า พฤติกรรมของมนุษย์มักถูกขับเคลื่อนด้วยการกระตุ้นจากภายนอก เช่นเดียวกับการใช้สารเสพติดเพื่อเพิ่มความรู้สึกพึงพอใจชั่วคราว พฤติกรรมเหล่านี้อาจสะท้อนถึงการหลีกเลี่ยงความไม่มั่นคงภายในจิตใจที่ท่านยามากุจิเห็นว่ามันเป็นการต่อสู้เพื่อความแข็งแกร่งที่แท้จริง จากมุมมอง จิตวิทยา เช่น คาร์ล จุง (Jung, 1953) ที่พูดถึงการที่มนุษย์ต้องเผชิญกับ เงา (Shadow) หรือส่วนที่มืดมนในตัวเอง การพึ่งพาสิ่งภายนอกเหล่านี้อาจเป็นการพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง แต่ในทางกลับกันก็สะท้อนถึงความพยายามในการ ปรับสมดุลภายใน เพื่อให้ตัวเองแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเผชิญหน้ากับโลกที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ถ้าหากเทียบกับนิยายจีนที่ท่านยามากุจิชื่นชอบ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการต่อสู้กันของหยินและหยาง