ตอนนี้หลายๆคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Bandwidth บน WIFI มาก สาเหตุก็น่าจะมาจาก เวลาเราดูคำโฆษณา การเชื่อมต่อจากฝั่งผู้ผลิตอุปกรณ์
เค้าเอาเลข maximum เต็มที่ ทางทฤษฏีมาบอกกล่าว แต่ในความเป็นจริง ความเร็วในการเชื่อมต่อมีปัจจัยมากมาย
และสุดท้ายต่อให้คุณเชื่อมต่อได้ perfect จน ความเร็วในการเชื่อมต่อเต็มประสิทธิภาพ เท่าที่เครื่องมันจะทำได้
มันก็ยังถูกหารผ่าน Overhead ของ TCP/IP แถมคลื่นความถี่ที่ใช้ก็เป็น Unlicensed Band แปลว่า บ้านอื่นก็ใช้ความถี่ เดียวกับคุณได้ ทำให้ (ทางทฤษฏี) คุณต้องหารความเร็วกับข้างบ้านอยู่ดี
และสุดท้าย ต่อให้คุณทำทุกอย่างจนเป็น ความเร็วเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์แบบในอุดมคติ ได้แล้ว สุดท้าย คุณก็แทบไม่มีกิจกรรมอะไรให้ใช้มันอยู่ดี
เพราะกิจกรรมที่ใช้งาน internet ในยุคปัจจุบัน มันไม่ได้ ใช้ Bandwidth เยอะอะไร ยกเว้น คุณโยนไฟล์มหาศาลข้าม WIFI ซึ่งถ้าไม่ใช่สายงานเฉพาะทางก็แทบไม่ได้ทำกันหรอก และถ้าสายงานนั้นจะทำจริงๆ เค้าก็ไม่ใช้ WIFI กันหรอก เพราะมันไม่เหมาะสมครับ
ที่อยากจะเล่าก็คือ คุณอาจจะหงุดหงิด ที่มือถือที่ซื้อมา 50,000 กว่าบาท ทำไมมันไม่เห็นจะต่อ WIFI ได้ standard สูงสุด เท่าที่มาตรฐานมันกำหนดไว้เลย
แต่ต่อให้มันต่อได้ ก็มีปัจจัยสารพัดที่จะทำให้คุณใช้งานมันไม่ได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ดี
โดยพื้นฐานแล้ว การยกระดับความเร็วการเชื่อมต่อ ในแต่ละอุปกรณ์ ก็เพื่อช่วยยกระดับ ความเร็วเฉลี่ยในการใช้งานในชีวิตประจำวันเฉยๆครับ อารมณ์เหมือน เรามี Supercar ความเร็วสูงโคตร แต่ด้วยถนนในปัจจุบัน ก็ไม่ได้ทำให้เรา เหยียบ redzone ได้ตลอดเวลา แถมระยะทางในการขับ ก็ไม่ได้ไกลพอที่คุณจะหวดได้เต็มเหนี่ยวอยู่ดีนั่นแหละครับ
ไหนๆเขียนมาขนาดนี้แล้ว เขียนต่ออีกหน่อยก็แล้วกัน ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบ WIFI
1. เทคโนโลยี WIFI ใดๆ ถ้าจะใช้ความสามารถนั้น นอกจาก ตัว Access Point รองรับแล้ว ฝั่ง Client ก็ต้องรองรับด้วย
เช่น ซื้อ Router WIFI7 มา แต่มือถือยังไม่รองรับ WIFI7 แบบนี้ก็ใช้ไม่ได้ครับ
2. ความเร็วในการเชื่อมต่อ จะขน data ได้แค่ประมาณครึ่งเดียวของความเร็วเชื่อมต่อ เสมอ
iPhone ต่อ Router แสดงความเร็วได้ 866Mbps แต่ในความเป็นจริง ขน data ได้ประมาณ 300-400 Mbps เพราะว่า การเชื่อมต่อมันคือ การสร้าถนนเฉยๆ data จริงๆ จะต้องใช้ protocol อื่นขนไปให้ คิดซะว่า มีถนน แต่ของมันเคลื่อนที่ไปเองไม่ได้ คุณก็ต้องเอารถมาขนของไป นั่นแหละครับ ซึ่งถนน ก็จะเสียพื้นที่ไป เพราะตัวรถเองก็กินพื้นที่บนถนนเหมือนกัน
3. ความเร็วในการเชื่อมต่อ เป็นของใครของมัน
หมายถึง AP อาจจะเชื่อมต่อกับ Client 10 Device
แต่ละ Device มีความสามารถในการเชื่อมต่อได้ไม่เท่ากัน เพราะ กำลังส่ง เสาอากาศ มาตรฐาน แต่ละเครื่องอาจจะไม่เหมือนกัน รวมไปถึงตำแหน่งด้วย ถ้าอยู่ใกล้ก็สัญญาณดี ถ้าอยู่ไกลก็สัญญาณห่วย
ถ้าอยู่ใกล้ แต่โดยรบกวน ก็ขน data ไม่ได้ อารมณ์เหมือนคุณนั่งคุยกับเพื่อน หน้าลำโพงใน Pub ... คุณอยู่ใกล้แล้วใช้เสียงดังปกติ แต่ลำโพง Pub ก็รบกวนจนคุณคุยไม่รู้เรื่องได้ ใช่ไหมล่ะครับ
4. คลื่นวิทยุ เป็นการส่งข้อมูลแบบ Half Duplex หมายถึง ต้องผลัดกันส่ง ผลัดกันรับ ถ้าส่งพร้อมกันก็ชนกัน แล้ว ก็ต้องหาจังหวะส่งกันใหม่ เหมือนคุณพูดชนกัน ในห้องประชุม เราก็เหมือนกับ ต้องหยุดแล้วหาจังหวะพูดใหม่ครับ ดังนั้น ยิ่ง Client เยอะ ... Airtime หรือ จังหวะที่ Client จะขอคุยกับ Access point ก็จะยิ่งน้อย แต่ละ Client ก็ต้องแย่งกันชิงจังหวะครับ ซึ่งยิ่ง client เยอะ คนแย่งเราคุยก็เยอะ ทำให้โอกาสในการที่เราจะขอส่ง-รับข้อมูลกับ Access Point ก็น้อยลงเช่นกัน
5. เทคโนโลยี WIFI สมัยใหม่ จึงออกแบบมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ คือ ทำยังไงให้ "ลดความสูญเปล่า" ของการส่งข้อมูลด้วยคลื่นวิทยุในอากาศได้ เช่น MU-MIMO ใน WIFI5 , OFDMA ใน WIFI6 , preamble puncturing ใน WIFI7
ดังนั้น ในสถานที่ ที่มี Client หนาแน่น การเลือกใช้ เทคโนโลยี WIFI ที่ใหม่กว่าก็จะช่วย ลดความสูญเปล่าทางคลื่นวิทยุของ WIFI version เก่าๆลงไปได้ แต่อย่าลืมว่า การ upgrade ต้องไปทั้งระบบ ซึ่งก็คือ Access Point และ Client นั่นเอง
สำหรับ User แล้ว WIFI คงเหมือนสวรรค์ เพราะใช้งานง่ายดี แต่ Network Engineer แล้วเหมือนนรก เพราะว่า การแก้ปัญหา WIFI ช่างยากชิปหาย
ยากเพราะมองไม่เห็นคลื่นวิทยุ
ยากเพราะมาตรฐานอัพเกรดตลอด
ยากเพราะ การแก้ไขปัญหาบางอย่าง หมายถึงต้องรื้อระบบ
และยากสุดท้ายคือ ยากอธิบายให้ลูกค้า และ User เข้าใจนี่แหละครับ
เอ้า ใครเป็น Network Engineer อยากจะระบายอะไรก็ระบายมาได้เลยครับ