ถ้าจะเทียบราคารถยนต์ไฟฟ้าในไทยว่าต่างจากต่างประเทศยังไง ต้องเทียบกับรถยนต์พวงมาลัยขวาในต่างประเทศเท่านั้น
การเทียบราคาในจีน ทำได้แค่ดูว่าเค้าวางราคาระดับรถรุ่นไหน ไม่ใช่ว่าจะขายราคาไหน แล้วบวกเท่าไหร่ แบบนี้ #คิดน้อยไปหน่อย
เพราะทางเทคนิคแล้ว รถยนต์พวงมาลัยซ้าย กับพวงมาลัยขวา คือรถคนละรุ่นกันเลย
ถ้าไม่เชื่อผม ลองถามคนทำ R&D ของผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆ ดูครับ
ผมเอง มีโอกาสนิดหน่อย พอได้คุยเป็นการส่วนตัวกับทีม R&D ทั้งแบรนด์ยุโรป, ญี่ปุ่น, จีน ตอบตรงกันหมด
โดยทั้งหมดนี้ไม่รู้จักกันนะ คนละสัญชาติกันเลยล่ะ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องเตี้ยมมาแน่นอน
สาเหตุที่ราคาไทย ต่างจากจีนเยอะเพราะ
1. ราคาในจีน คือราคาของ “รถพวงมาลัยซ้าย”
2. ราคาในไทย คือราคาของ “รถพวงมาลัยขวา”
3. ในเชิงการผลิต รถพวงมาลัยซ้ายกับพวงมาลัยขวา “คือรถคนละรุ่นกัน”
4. ปริมาณการผลิตรถพวงซ้าย โดยทั่วไปมีปริมาณมากกว่ารถพวงมาลัยขวา ยังไงราคาพวงซ้าย “ถูกกว่า” อยู่แล้ว ด้วยหลัก Economy of scale
การเทียบราคาไทยกับต่างประเทศที่ดูแล้วเป็นไปได้มากที่สุด
และเป็นสาเหตุหลักด้วยว่า “ทำไมผมทายราคาแม่น” (ความลับนางฟ้า 😆)
1. เทียบราคารถที่คุณสนใจ กับรถที่มีขายในไทยแล้ว วิธีนี้แม่นสุด เพราะเป็นวิธีเดียวกับที่ค่ายรถทำเลยเด้ะๆ
2. ยกตัวอย่าง แบรนด์ ก ต้องการนำรถยนต์ไฟฟ้าพิกัด C-SUV มาขาย การตั้งราคาต้องไม่เกิน 1,749,000 บาท ตามเพดานที่ Tesla Model Y RWD ตั้งราคาดักคอไว้ ลองคิดภาพว่ารถจีนยี่ห้ออะไรไม่รู้ ขายราคาเท่า Tesla คุณจะซื้อไหม?
3. รถแบรนด์ ข ต้องการขายรถตู้พรีเมี่ยม คู่เปรียบเทียบหนีไม่พ้นเจ้าตลาด “Toyota Alphard” ราคา +- ตามออปชั่น เพราะรถจีนใช้รถ EV มาขาย ซึ่งใช้พลังงานคนละแบบ
เพราะงั้นแล้ว จะเทียบราคาจีนกับราคาไทย “เลิกได้เลิก”
ถ้าอยากเทียบราคาไทย หรือลุ้นราคาไทย “หารถที่เค้าขายพวงมาลัยขวาในต่างประเทศ” อันนี้ถึงถูกต้อง
ในภาพคือราคาของ ZEEKR 009 ที่ขายในฮ่องกง ออปชั่นแทบไม่ต่างจากของเรา เปิดราคา 3.19 ล้าน